ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สภาพของจิตประเภทที่ ๑ คือ ...สราคจิต สติเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพจิตที่ประกอบด้วยราคะ ความยินดีพอใจติดข้อง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดา เมื่อสติปัฏฐานไม่เกิด ก็จะไม่รู้เลยว่า เมื่อเห็นสิ่งใด โลภมูลจิตซึ่งเป็นจิตที่ยินดีพอใจสิ่งที่เห็นนั้น ก็เกิดสืบต่ออย่างรวดเร็วการที่จะดับกิเลสได้นั้น ปัญญาจะต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามปกติตามความเป็นจริง คือ รู้สภาพที่ต่างกันของวิบากจิต ซึ่งเป็นผลของอดีตกรรม และกุศลจิต อกุศลจิตซึ่งเป็นกิเลสหรือกรรมปัจจุบันอันจะเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากจิตในอนาคต
ฉะนั้น การรู้ลักษณะของวิบากจิตนั้น จึงไม่ใช่รู้เพียงหยาบๆ เมื่อมีอุบัติเหตุ มีโรคภัยไข้เจ็บ มีลาภหรือเสื่อมลาภได้ยศหรือเสื่อมยศ แต่ต้องรู้ว่าวิบากจิตคือขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ ทางตา หู จมูก ลิ้นกายในชีวิตประจำวัน เมื่อรู้ว่า วิบากจิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลของกรรมของตนเองแล้วจะโกรธหรือโทษคนอื่นไหมว่าผู้นั้นผู้นี้ทำให้เป็นอย่างนี้
ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป
สาธุ
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ