กราบเรียนอาจารย์ สุจินต์ ที่เคารพ ผมไม่เข้าใจว่าสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแต่เหตุปัจจัย ทำไมใช้คำว่า เหตุปัจจัย สมควรใช้คำว่า ปัจจัยเฉยๆ เพราะตามที่ได้ฟังอาจารย์บรรยาย "เหตุ" เป็นหนึ่งใน 24 ปัจจัยหลักใช่ไหมครับ ขอความกรุณาช่วยอธิบายด้วยอีกประการหนึ่ง ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นโดยมีกรรมหนึ่งกรรมใดในสังสารวัฏฏ์เป็นปัจจัย เช่นนี้แล้วกรรมในภพชาติใดจะเป็นตัวส่งผล ด้วยเพราะเหตุใด
โดยความหมายคำว่า เหตุและปัจจัย มีความหมายกว้างขวางมาก ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง แม้คำว่า เหตุ ก็มีหลายความหมาย คือ เหตุเหตุก็ได้ ปัจจัยเหตุก็ได้ สาธาร-ณะเหตุก็ได้ และอุดมเหตุก็ได้ สำหรับเรื่องการเกิดขึ้นของปฏิสนธิจิตมีได้เพราะเป็นผลของกรรม กรรมใดกรรมหนึ่งในสังสารวัฏฏ์เป็นปัจจัย เพราะได้โอกาสแห่งกรรมนั้นเมื่อวัฏฏะยังไม่สิ้นสุด การเกิดขึ้นของปฏิสนธิจิตย่อมมี เพราะมีจุติจิตของชาติที่แล้วเป็นปัจจัย และยังไม่ดับเหตุของการเกิดก็ยังต้องเกิด ส่วนการจะเกิดที่ไหนแล้วแต่กรรม บังคับบัญชาไม่ได้
[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 211
ในข้อว่ารูปไม่ใช่เหตุนั้น เหตุมี ๔ อย่าง คือ เหตุเหตุ คือเหตุที่เป็นมูล ปัจจยเหตุ คือเหตุที่เป็นปัจจัย อุตตมเหตุ คือเหตุที่เป็นประธาน สาธารณเหตุ คือเหตุทั่วไปแก่สรรพสัตว์
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
เหตุมี ๔ อย่าง [ธรรมสังคณี]
เหตุ ในที่นี้ จะหมายถึง เหตุ 6 ก็ได้ โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตหุ
ปัจจัย หมายถึง สภาพธรรมหนึ่งอุดหนุนสภาพธรรมหนึ่ง คือ ค้ำชูอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน เวลาที่เราทำกุศลครั้งหนึ่ง เช่น ให้ทาน ชวนะดวงที่ 1 ให้ผลในชาตินี้ ชวนะดวงที่ 2 - 6 ให้ผลนับชาติไม่ถ้วน ชวนะดวงที่ 7 ให้ผลชาติหน้า (ตรงข้ามถ้าเป็นฝ่ายอกุศลก็ให้ผลนัยนี้เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นฝ่ายอกุศลน่ากลัวมาก ถ้าให้ผลนับชาติไม่ถ้วน)
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ