๗. พราหมณสูตร ว่าด้วยโลกและผู้ถึงที่สุดโลก
โดย บ้านธัมมะ  3 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 39707

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 857

ปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๔

๗. พราหมณสูตร

ว่าด้วยโลกและผู้ถึงที่สุดโลก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 37]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 857

๗. พราหมณสูตร

ว่าด้วยโลกและผู้ถึงที่สุดโลก

[๒๔๒] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ ๒ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปูรณกัสสปเป็นผู้รู้ สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้การเห็นอันไม่มีส่วนเหลือ ว่า เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะปรากฏติดต่อ เนื่องกันไป ปูรณกัสสปนั้นกล่าวอยางนี้ว่า เรารู้เราเห็นโลกอันไม่มี ที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุด ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้นิครณฐ- นาฏบุตรก็เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้การเห็น ไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสนะ ปรากฏติดต่อเนื่องกันไป นิครณฐนาฏบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นโลกอันไม่มีที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุด ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญคนทั้ง ๒ ต่างก็พูดอวดรู้กัน มีวาทะเป็นข้าศึกกัน ใครจริง ใครเท็จ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ อย่าเลย ข้อ ที่คนทั้ง ๒ นี้ต่างพูดอวดรู้กัน มีวาทะเป็นข้าศึกกัน ใครจริง ใคร เท็จนั้น พักไว้ก่อนเถิด ดูก่อนพราหมณ์ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 858

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว พราหมณ์ เหล่านั้น รับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนชาย ๔ คน ยืนอยู่ใน ๔ ทิศ ต่าง ก็มีฝีเท้าในการเดินและมีฝีเท้าในการวิ่งเป็นเยี่ยมพอๆ กัน เปรียบ เหมือนนายขมังธนูถือธนูไว้อย่างมั่น ศึกษามาเจนฝีมือแล้ว ผ่าน การประลองฝีมือแล้ว จะพึงใช้ลูกธนูอย่างเบายิงต้นตาลที่เรียงแถว ให้ทะลุโดยง่าย และยิงได้เร็วกว่าการวิ่งดังกล่าวมานั้น เปรียบ เหมือนมหาสมุทรในทิศประจิม ตรงข้ามมหาสมุทรทิศบูรพา ถ้า คนๆ หนึ่ง ยืนอยู่ทางทิศบูรพาจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจะเดิน ไปให้ถึงที่สุดโลก เขาเว้นการดื่ม การกิน การลิ้ม เว้นการถ่าย อุจจาระปัสสาวะ และเว้นจากการหลับและการพัก เขามีอายุ ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปตลอด ๑๐๐ ปี ยังไม่ทันถึงที่สุด โลกเลย ก็พึงกระทำกาละลงในระหว่าง ถ้าคนๆ หนึ่ง ยืนอยู่ใน ทิศประจิม ฯลฯ ถ้าคนๆ หนึ่งยืนอยู่ในทิศทักษิณ จะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า เราจะเดินไปให้ถึงที่สุดโลก เขาเว้นจากการดื่ม การกิน การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ และเว้นจากการหลับ และการพัก เขามีอายุ ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปตลอด ๑๐๐ ปี ยังไม่ถึงที่สุดโลกเลย พึงกระทำกาละในระหว่าง ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะเราไม่กล่าวว่า บุคคลจะพึงรู้จะพึงเห็น จะพึงถึงที่สุด ของโลกด้วยการวิ่งเห็นปานนั้น และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก ก็ไม่กล่าวการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 859

ดูก่อนพราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้ เรียกว่าโลกในวินัย ของพระอริยเจ้า กามคุณ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอไจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูก่อนพราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้แล เรียกว่า โลกในวินัยของพระอริยเจ้า.

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่ วิเวกอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุด แห่งโลก คนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่อง อยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก ดูก่อนพราหมณ์ เป็นความ จริง แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยณาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่ง โลก และอยู่ในที่สุดแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พันไปจากโลก ดูก่อนพราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุ นี้ก็ยังนับเนืองอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 860

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการ ทั้งปวง... บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน... ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึง ที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าว ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตน ไม่พ้นไปจากโลก ดูก่อนพราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าว อย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไป จากโลก.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ ทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญาตนฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดโลกแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่น กล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตน ไม่พ้นไปจากโลก ดูก่อนพราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าว อย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไป จากโลก.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะของเธอ สิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุนี้ เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก ข้ามพ้น ตัณหาเครื่องข้องในโลกนี้แล้ว.

จบ พราหมณสูตรที่ ๗


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 861

อรรถกถาพรหมณสูตรที่ ๗

พราหมณสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โลกายติกา ได้แก่ หพราหมณ์ผู้สอนคัมภร์โลกายตะ (คัมภีร์ที่ไม่น่าเชื่อถือ). บทว่า สตตํ คือในกาลทุกเมื่อ. บทว่า สมิตํ ได้แก่ ไม่มีระหว่างคั่น. บทว่า ติฏฺฐเตตํ ตัดบทเป็น ติฏฺฐุ เอตํ แปลว่า ข้อนี้ยกไว้ก่อน คือ พวกท่านอย่าเริ่มถึงเรื่องนี้เลย ไม่มี ประโยชน์อะไรแก่พวกท่านดอก. บทว่า ธมฺมํ โว พราหมณา เทเสสฺสามิ ความว่า เราจักแสดงจตุสัจธรรมแก่พวกท่าน. บทว่า ทฬฺหธมฺโม ได้แก่ นายธนถือธนูหนักยืนอยู่. บทว่า ธนุคฺคโห ได้แก่นายธนู. ชื่อว่าธนูหนัก ท่านกล่าวว่าต้องใช้กำลังคนถึง สองพันคนยก. ชื่อว่าใช้กำลังคนถึงสองพันคนก็ถือสายธนูเป็น โลหะ เมื่อจะยกก็จับคัน ยกขึ้นจนถึงคอ จึงจะพ้นแผ่นดิน. บทว่า สิกฺขิโต ได้แก่เรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ตลอด ๒๒. ปี.

บทว่า คตหตฺโถ ได้แก่นายธนูผู้หนึ่งศึกษาศิลปะเท่านั้น ยังมิได้ประลองฝีมือ แต่นายธนูผู้นี้ได้ประลองฝีมือแล้ว คือมีความ ชำนาญมาก. บทว่า กตุปาสโน ได้แก่ ได้แสดงฝีมือในราชตระกูล มาแล้ว. บท ลหุเกน อสเนน ได้แก่ด้วยลูกศรที่เบา ทำข้างใน ให้เป็นโพรง เอานุ่นเป็นต้น ยัดจนเต็ม ทำเป็นเครื่องหมายไว้. จริงอยู่ ลูกศรธรรมดาที่ทำกันยิงแล่นไปเพียง ๑ อุสภะ แต่ลูกศร ของนายธนูแล่นไปได้ ๒ อุสภะ ฯลฯ ลูกศรธรรมดาแล่นไป ๘ อุสภะ แต่ของนายธนูแล่นไปได้ ๑๖ อุสภะ. บทว่า อปฺปกสิเรน คือ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้า 862

โดยไม่ลำบาก. บทว่า อติปาเตยฺย คือ ล่วงเลยไปได้ (ทะลุ) ท่านอธิบายว่า นายธนูนั้นก้าวข้ามเงาประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว ได้ ฉับพลันทันที ฉันใด บุคคลมีฝีเท้าเร็วสามารถก้าวเลยสกลจักรวาล ได้ฉับพลันฉันนั้น. บทว่า สนฺธาวนิกาย ได้แก่ วิ่งไปด้วยเท้า. บทว่า เอวมาหํสุ แปลว่า ได้กล่าวแล้วอย่างนี้.

จบ อรรถกถาพราหมณสูตรที่ ๗