การกำหนดรู้ทุกข์
โดย Suvidech  6 มิ.ย. 2550
หัวข้อหมายเลข 3911

หมายความว่าอย่างไร



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 6 มิ.ย. 2550

รู้ทุกข์ หรือ เห็นทุกข์ โดยความหมายของพระอริยะ หมายถึง การรู้ตามความเป็นจริงเช่น รู้อัสสาทะ (ความน่าพอใจ) รู้อาทีนวะ (โทษ) รู้นิสสรณะ (การสลัดออก) รู้ปฏิปทาเพื่อการสลัดออก (หนทางที่เป็นข้อปฏิบัติ) ทุกข์ ได้แก่ ขันธ์ ๕ หรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บางนัยหมายถึงรู้ทุกข์คือขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม กำหนดรู้หรือรอบรู้ด้วยปริญญา ๓


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 6 มิ.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...ติตถิยสูตร [ว่าด้วยทุกข์]


ความคิดเห็น 3    โดย Suvidech  วันที่ 6 มิ.ย. 2550
สาธุ

ความคิดเห็น 4    โดย wannee.s  วันที่ 6 มิ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

๑๕. นิฆสูตร ว่าด้วยทุกข์ ๓ อย่าง

[๓๒๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ได้แก่ทุกข์ คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๒ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.

[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบนิฆสูตรที่ ๑๕


ความคิดเห็น 5    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 มิ.ย. 2550

กำหนดรู้ทุกข์ด้วยปัญญา โดยเห็นตามความเป็นจริงของสภาพธัมมะ ที่เป็นอย่างนั้น เช่น ไม่งาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 6    โดย khan  วันที่ 14 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 22 ก.พ. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ