[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 1
๑. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 30]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 1
๑. อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิด
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 2
มีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.
[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งมั่นชอบย่อมบังเกิดมีแก่ผู้มีระลึกชอบ.
จบอวิชชาสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 3
อรรถกถามัคคสังยุต ในมหาวารวรรค
อวิชชาวรรคที่ ๑
อรรถกถาอวิชชาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอวิชชาสูตรที่ ๑ แห่งมหาวรรค. (๑)
บทว่า ปุพฺพงฺคมา ได้แก่ เป็นหัวหน้าด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย ๑ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ๑. บทว่า สมาปตฺติยา ความว่า เพื่อการเข้าถึง เพื่อการได้สภาพ เพื่อความเกิดขึ้น. บทว่า อนฺวเทว อหิริกํ อโนตฺตปฺปํ ความว่า ก็อหิริกะ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความไม่ละอาย และอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความไม่กลัวนั่นใด อวิชชานี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นร่วมกับอหิริกะและอโนตตัปปะนั้น เว้นอหิริกะและอโนตตัปปะนั้นเสียหาเกิดขึ้นได้ไม่. บทว่า อวิชฺชาคตสฺส ความว่า มิจฉาทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ผู้เข้าถึง คือประกอบด้วยอวิชชา. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ความไม่เห็นตามเป็นจริง คือความไม่เห็นธรรมเครื่องนำสัตว์ให้พ้นทุกข์. บทว่า ปโหติ คือย่อมมี ได้แก่ย่อมเกิดขึ้น. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น พึงทราบความเป็นมิจฉาด้วยสามารถความไม่จริง และไม่นำสัตว์ให้พ้นทุกข์นั่นแล. ชื่อว่า องค์แห่งความเป็นมิจฉาเหล่านี้ ย่อมมี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ๘ ด้วยประการฉะนี้. ส่วนองค์แห่งมิจฉัตตะทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไม่เกิดในขณะเดียวกัน ย่อมเกิดในขณะต่างๆ กัน. ถามว่าอย่างไร. ตอบว่า เมื่อใดจิตประกอบด้วยทิฏฐิ เมื่อยังกายวิญญัติให้ตั้งขึ้นย่อมเกิดเมื่อนั้น ก็ย่อมมีองค์ ๖ คือ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) มิจฉาสังกัปปะ
(๑) บาลีเป็น มหาวารวรรค
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 4
(ความดำริผิด) มิจฉาวายามะ (ความพยายามผิด) มิจฉาสติ (ความระลึกผิด) มิจฉาสมาธิ (ความตั้งมั่นผิด) มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด). เมื่อใด จิตไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เมื่อนั้นมีองค์ ๕ เว้นมิจฉาทิฏฐิ. เมื่อใดสององค์เหล่านั้นแล ย่อมยังวจีวิญญัติให้ตั้งขึ้น เมื่อนั้นย่อมมีองค์ ๖ หรือองค์ ๕ ตั้งอยู่ในมิจฉาวาจา ในฐานะมิจฉากัมมันตะ ชื่อว่า อาชีวะนี้ เมื่อกำเริบ ย่อมกำเริบในกายทวารและวจีทวารในทวารใดทวารหนึ่งเท่านั้น หากำเริบในมโนทวารไม่. เพราะฉะนั้น องค์ ๖ หรือองค์ ๕ เหล่านั้นแล ย่อมมีด้วยอำนาจมิจฉาชีวะว่า เมื่อใด จิตเหล่านั้นแล ย่อมยังกายวิญญัติและวจีวิญญัติให้ตั้งขึ้น โดยมุ่งถึงอาชีวะ เมื่อนั้นกายกรรม จึงชื่อว่า มิจฉาชีวะ วจีกรรม ก็อย่างนั้น. ก็เมื่อใดจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะไม่ยังวิญญติให้ตั้งขึ้น เมื่อนั้นย่อมมีองค์ ๕ ด้วยสามารถแห่งมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ และมิจฉาสมาธิ หรือองค์ ๔ ด้วยสามารถแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ดังนั้น องค์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เกิดในขณะเดียวกันทั้งหมด ย่อมเกิดในขณะต่างๆ กันอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
ในสุกกปักข์ บทว่า วิชฺชา ได้แก่ รู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน. แม้ในวิชชานี้ พึงทราบความที่วิชชาเป็นหัวหน้า โดยอาการ ๒ คือ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย ๑ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ๑. บทว่า หิโรตฺตปฺปํ ได้แก่ ความละอายบาป และความกลัวบาป. ในธรรม ๒ อย่างนั้น หิริ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความละอาย โอตตัปปะ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความกลัว. นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้. ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวในวิสุทธิมรรคแล้วแล. บทว่า วิชฺชาคตสฺส ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ย่อมเกิดมีแก่ผู้เข้าถึงคือ,,,,ประกอบด้วยวิชชา. บทว่า วิทฺทสุโน ได้แก่ ผู้รู้แจ้งคือบัณฑิต. บทว่า สมฺมาทิฏิ ได้แก่ความเห็นตามเป็นจริง คือความเห็นนำสัตว์ให้พ้นทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 5
แม้ในสัมมากัมมันตะเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. องค์ ๘ เหล่านี้ย่อมมีเพื่อความเกิดแห่งกุศลธรรมด้วยประการฉะนี้. องค์แม้ ๘ เหล่านั้น ย่อมไม่เกิดพร้อมกันในขณะแห่งโลกิยมรรค แต่ย่อมเกิดพร้อมกันในขณะแห่งโลกุตรมรรค. ก็แลองค์ ๘ เหล่านั้น ย่อมมีในมรรคอันประกอบด้วยปฐมฌาน ส่วนในมรรคอันประกอบด้วยทุติยฌานเป็นต้น ย่อมมีองค์ ๗ เท่านั้น เว้นสัมมาสังกัปปะ.
ในองค์ ๗ เหล่านั้น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เพราะในมหาสฬายตนสูตร ในมัชฌิมนิกาย ท่านกล่าวว่า ความเห็นของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิของผู้นั้น ความดำริของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะของผู้นั้น ความพยายามของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาวายามะของผู้นั้น ความระลึกของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสติของผู้นั้น. ความตั้งใจมั่นของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสมาธิของผู้นั้น. ก็แล ในเบื้องต้นกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของผู้นั้น ก็ย่อมบริสุทธิ์ด้วยดี ดังนี้. ฉะนั้น โลกุตรมรรค ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ ๕ เท่านั้นดังนี้. ผู้นั้นพึงถูกเขาต่อว่า ในสูตรนั้นแลว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่เห็นคำนี้ว่า อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงความเจริญเต็มที่แก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ ดังนี้. ส่วนข้อที่ท่านกล่าวว่า ปุพฺเพว โข ปนสฺส นั้น ท่านกล่าวแล้วเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ จำเดิมแต่วันที่บวชแล้ว ในข้อนี้ท่านแสดงความหมายไว้ดังนี้ว่า ก็จำเดิมแต่วันที่บวชแล้ว กายกรรมเป็นต้นอันบริสุทธิ์ ย่อมบริสุทธิ์ยิ่งนัก ในขณะแห่งโลกุตรมรรคดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้า 6
แม้คำใด อันท่านกล่าวในอภิธรรมว่า ก็ในสมัยนั้นแล มรรคย่อมประกอบด้วยองค์ ๕ คำนั้นท่านกล่าวเพื่อแสดงในระหว่างกิจอย่างหนึ่ง. ก็ในกาลใด บุคคลละการงานผิดแล้ว ย่อมยังการงานที่ชอบให้บริบูรณ์ในกาลนั้น.
มิจฉาวาจา หรือมิจฉาชีวะ ย่อมไม่มี สัมมากัมมันตะ ย่อมให้บริบูรณ์ในองค์ที่เป็นตัวการทั้งหลาย ๕ เหล่านี้คือ ทิฏฐิ ๑ สังกัปปะ ๑ วายามะ ๑ สติ ๑ สมาธิ ๑. ก็สัมมากัมมันตะ ชื่อว่า ย่อมให้บริบูรณ์ได้ด้วยสามารถแห่งวิรัติ แม้ในสัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะ ก็มีนัยนี้แล. คำอันท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ เพื่อแสดงในระหว่างกิจนี้. ส่วนในขณะแห่งโลกิยมรรค ย่อมมีองค์ ๕ แน่. แต่วิรัติไม่แน่ เพราะฉะนั้น ท่านไม่กล่าวว่าองค์ ๖ แต่กล่าวว่า มีองค์ ๕ เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. ก็บัณฑิตพึงทราบว่า โลกุตรมรรคย่อมมีองค์ ๘ เพราะความสำเร็จแห่งสัมมากัมมันตะเป็นต้น เป็นองค์แห่งโลกุตรมรรค ในสูตรหลายสูตรมีมหาจัตตทาฬีสกสูตรเป็นต้น อย่างนี้ว่า ก็ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีจิตเป็นอริยะ หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ การงด การเว้น การเว้นขาด จากกายทุจริต ๓ คือเจตนาเครื่องงดเว้นไม่กระทำ การไม่ทำอันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะนี้ ย่อมเป็นโลกุตรมรรค เป็นอริยะหาอาสวะมิได้ ดังนี้. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมรรคมีองค์ ๘ นี้ เจือด้วยโลกิยและโลกุตระ.
จบอรรคกถาอวิชชาสูตรที่ ๑