[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 365
๒. ทุกขสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 365
๒. ทุกขสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔
[๒๗๙] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ แก่เธอทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงฟัง.
[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์คืออะไร? ทุกข์มีคำที่จะพึงกล่าวว่า คือ อุปาทานขันธ์ ๕. อุปาทานขันธ์ ๕ นั้นคืออะไร? คืออุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ทุกข์.
[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์คืออะไร? คือตัณหานี้ ที่ให้เกิดในภพใหม่ ไปด้วยกันกับความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ทุกขสมุทัย.
[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์คืออะไร? คือความดับโดยการสำรอกตัณหานั้นนั่นแหละไม่มีเหลีอ การสละ การสลัดทิ้ง การปล่อยไป การไม่อาลัยใยดี. ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ทุกขนิโรธ.
[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์คืออะไร? คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ ทุกขสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 366
อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๒
พึงทราบวินิจฉัยในทุกขสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
แม้ทุกขสูตรที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยคำว่า ทุกฺขํ โดยทรงประกอบขันธ์ ๕ เข้ากับอริยสัจ ๔.
จบ อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๒