ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
นามธรรม ๒ ประเภท คือจิต และ เจตสิก (เจตสิก เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปพร้อมกับจิต)
จิต เป็น สภาพ-รู้-สิ่งหนึ่งสิ่งใดจิตแต่ละดวง (แต่ละขณะ-แต่ละประเภท) จะต้องมี "สิ่งที่จิตรู้" .. "สิ่งที่จิตรู้" ภาษาบาลี เรียกว่า "อารมฺมณ" (อารมณ์) เช่นจิตที่ "เห็น" ต้องมี "สิ่งที่ปรากฏทางตา" เป็นอารมณ์จิตที่ "ได้ยิน" ต้องมี "เสียง" เป็นอารมณ์ (เป็นต้น) ไม่มีจิตดวงใด ที่เกิดขึ้นโดยปราศจาก อารมณ์ แม้ในขณะที่นอนหลับสนิท จิต ก็ รู้-อารมณ์
จิต มีมากมายหลายประเภท ซึ่งจำแนกได้เป็น "หลายนัย" จิตบางประเภท เป็น อกุศลจิตบางประเภท เป็น กุศล ฯลฯ อกุศลจิต เป็น "เหตุ" ให้เกิด กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรมที่เป็น อกุศลกรรม กุศลจิต เป็น "เหตุ" ให้เกิด กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรมที่เป็น กุศลกรรม จิตบางประเภท เป็น วิบากจิตวิบากจิต คือ จิต ซึ่งเป็น "ผล" ของ อกุศลกรรม หรือ กุศลกรรม
จิตบางประเภท เป็น กิริยาจิต กิริยาจิต คือ จิตประเภทที่ไม่ใช่ กุศลจิต ไม่ใช่ อกุศลจิต (ไม่ใช่ อกุศลวิบากจิต และ ไม่ใช่ กุศลวิบากจิต) ดังนั้น เมื่อจำแนกจิต โดย "ชาติ" (ชาติ คือ การเกิดขึ้นของจิต) จิต มี ๔ ชาติ คือ อกุศลจิต ๑ กุศลจิต ๑ วิบากจิต ๑ กิริยาจิต ๑
การรู้ว่า จิตแต่ละดวง (ขณะ-ประเภท) เป็นชาติอะไร เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเหตุว่า เราไม่สามารถเจริญกุศลได้ ถ้าเรา "สำคัญผิด" ว่า อกุศลจิต เป็น กุศลจิต หรือ อกุศลจิต เป็นวิบากจิต เช่น ขณะที่ได้ยิน คำพูดที่ไม่เป็นที่พอใจ ขณะที่ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ นั้นหมายความว่า "โสตวิญญาณ" (จิตที่ได้ยิน) เป็น (ชาติ) อกุศลวิบาก จิตอกุศลวิบากจิต เป็น "ผล" ของ-อกุศล-กรรมหนึ่งที่ได้ "กระทำไปแล้ว" แต่ "โทสะ" (ความไม่พอใจ) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้น หลังจากที่-ได้ยิน-เสียง-ที่ไม่น่าพอใจ นั้น ไม่ใช่ "วิบากจิต" (ซึ่งเป็น-ผล-ของกรรม-ที่ได้กระทำไปแล้ว) แต่ "โทสะ" เป็น "อกุศลจิต" (ซึ่งเป็น-เหตุ-ให้เกิดอกุศลกรรม) (เป็นต้น)
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...
พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ