ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สนทนาธรรมกับท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
มีชาวต่างประเทศท่านหนึ่งท่านก็เป็นผู้ที่สนใจ และ ฝักใฝ่ ในการเจริญวิปัสสนาและท่านก็ไปสู่สำนักที่สงบแห่งหนึ่ง ห่างไกลจากพระนครแล้วท่านก็ปฏิบัติอยู่ที่นั่น เป็นเวลานานพอสมควร เมื่อท่านกลับมาใช้ชีวิตตามปกติประจำวัน เวลาที่ท่านเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสกับสภาพธรรมต่างๆ ที่เป็นอิฏฐารมณ์บ้าง อนิฏฐารมณ์บ้าง ตามเหตุตามปัจจัยท่านเกิดความไม่สงบ ไม่พอใจ เพราะว่าช่างไม่เหมือนกับเวลาที่ท่านอยู่ในสถานที่ซึ่งสงบเป็นสถานที่ ที่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ
แต่ ท่านเป็นผู้ที่ได้สะสม "ความเห็นถูก" มาที่จะเกิดเฉลียวใจ และรู้ได้ว่า การปฏิบัติอย่างนั้น ผิดเสียแล้ว เพราะว่า การกระทำเช่นนั้น ไม่สามารถที่จะเป็นปัจจัย ให้ปัญญาเกิดขึ้นระลึกรู้ "ลักษณะของสภาพธรรม" ที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริงได้
เพราะถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ที่เกิดขึ้นระลึกรู้ "ลักษณะของสภาพธรรม" ขณะใดขณะนั้นต้องสงบจากอกุศล สติระลึกรู้ พร้อมกับความสงบ ไม่หวั่นไหว เพราะ "รู้ด้วยปัญญา" ว่า ขณะนั้น ลักษณะ ที่ปรากฏนั้น เป็นเพียงแต่นามธรรม และ รูปธรรม เท่านั้น
ถ้าปัญญาเกิดขึ้นเมื่อไร ก็สงบเมื่อนั้น แต่ถ้าสติไม่เกิด ปัญญาก็ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม คือ ความไม่สงบเพราะฉะนั้น ข้อปฏิบัติ "ที่เป็นเหตุให้เกิดความสงบ" ได้จริงๆ คือ "สติ" ระลึก ตรงลักษณะของสภาพธรรม"ปัญญา" รู้ว่า ลักษณะนั้นๆ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ในขณะนั้น"ลักษณะของจิต" จะไม่หวั่นไหวไปกับอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ที่ปรากฏเกิดขึ้น ตามเหตุตามปัจจัย ตามความเป็นจริง
ท่านที่พอใจในความสงบ ในบางสถานที่จะติดข้อง และคิดว่าท่านมีความสงบมากแต่ความสงบเหล่านั้น ไม่เป็นผลเลย กับชีวิตประจำวันจริงๆ ของท่านเพราะว่าชีวิตประจำวัน มีการรับกระทบอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ และเมื่อท่านไม่เคยเจริญปัญญา รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงจิตย่อมสงบไม่ได้ จิตย่อมหวั่นไหวไป ตามเหตุตามปัจจัย แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติใดๆ ซึ่งไม่ใช่ "ปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง" การปฏิบัตินั้น ไม่สามารถ "เป็นเหตุให้เกิดความสงบ" ได้
ขออนุโมทนา
การปฏิบัติใดๆ ซึ่งไม่ใช่ "ปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง" การปฏิบัตินั้น ไม่สามารถ "เป็นเหตุ" ให้เกิด "ความสงบ" ได้
ขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
มีผู้คนจำนวนมากที่ใคร่จะศึกษาธรรม แต่ด้วยความไม่รู้หลงไปปฎิบัติที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดปัญญา ก็เป็นที่น่าเห็นใจเพราะเมื่อผิดทางแล้วจะแก้มาให้ถูกนั้นยากมาก เพราะจะไม่สามารถหรือยากที่จะทิ้งสิ่งที่ปฎิบัติผิดมา จึงมีการสนทนากันมากมายว่าปฎิบัติ อย่างไรถูกอย่างไรผิดอย่างไรได้ผลหรือเห็นผลเร็ว ทั้งนั้นและทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการสั่งสมของแต่ละบุคคลด้วย สั่งสมอย่างหนี่งจะให้เห็นดีด้วยกับอีกอย่างก็ยาก จึงเป็นสิ่งที่ต้องเกื้อกูล เกื้อได้ก็ดีไป ไม่ได้ก็ต้องปล่อยไป ไม่ควรที่จะไปโต้จนเกิดอกุศล จริงๆ แล้วผู้ศึกษาต้องตอบได้เองว่าอะไรถูกอะไรผิดเมื่อศึกษาไป สิ่งที่ยากอีกอย่างคือต้องใช้เวลาและเวลานี้แหละที่พาหลงทาง ครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ