พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 11 นันทเถราปทานที่ ๓ (๑๓) ว่าด้วยผลแห่งการถวายผ้า [๑๕] เราได้ถวายผ้าทอด้วยเปลือกไม้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลกผู้มั่นคง ตรัสรู้เอง แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง. พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงพยา- กรณ์เรานั้นว่า ด้วยการถวายผ้านี้ ท่านจักเป็นผู้มีผิวพรรณดัง ทองคำ. ได้เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน จักได้. เป็นพระอนุชาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าโคดม. ท่าอันราคะย้อมแล้ว มีปกติสุข ประกอบด้วยความ กำหนัดในกาม เป็นผู้อันพระพุทธเจ้าตักเตือนแล้ว แต่นั้น จักบวช. ครั้นบวชในพระศาสนาของพระโคดมนั้นแล้วอันกุศลมูล ตักเตือนแล้ว จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง ไม่มีอาสวะ นิพพาน. ในแสนกัปจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง มีพระนามว่า เจละ ใน ๖ ล้านกัปจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง มีพระนาม ว่า อุปเจละ. ใน ๕,๐๐๐ กัป จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้งพระนาม ว่า เจละเหมือนกัน สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นใหญ่ ในทวีปทั้ง ๔. คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล. ทราบว่า ท่านพระนันทเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล. จบนันทเถราปทาน
อันกุศลมูลตักเตือน หมายความว่า กุศลที่เคยสั่งสมมาแล้วในอดีต
เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย กุศลมูล ก็คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันเป็นธรรมฝ่ายดีที่ทำ ตักเตือนแล้วคือ
กรรมนั้นให้ผล ไม่มีใครหรือตัวตนตักเตือน แต่สภาพธรรมที่ได้ทำเหตุดีไว้ เมื่อถึงกาล
เวลาและเหตุปัจจัยพร้อมก็ให้ผล (ตักเตือน) ซึ่งก็แล้วแต่ประเภทของกุศลครับ บาง
ประเภทเป็นปัจจัยเพียงเกิดในภพภูมิที่ดี บางประเภทก็ทำให้เกิดในภพภูมิดี เกิดมามี
ปัญญา และ ได้พบสัตบุรุษ ได้ฟังธรรม เข้าใจพระธรรมจนบรรลุครับ ดังเช่น พระนันท-
เถระ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 674
ข้อความบางตอนจาก... อรรถกถามูลสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยในมูลสูตรที่ ๒ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. บทว่า กุสลมูล ได้แก่ กุศลธรรม ๓ อย่างมี อโลภะ เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุกฺโก ธมฺโม ได้แก่ ปริยายเทศนาแห่งกุศลธรรม นั้นเอง. ส่วนความสังเขปในข้อนี้ มีดังนี้ เทวทัตพึงเกิดบนสวรรค์ หรือพึงบรรลุมรรคผลได้ เพราะธรรมที่ไม่มีโทษ กล่าวคือกุศลมูลเป็นต้น ยังไม่ขาด. แต่เทวทัตนั้น อาศัยการตัดขาดแห่งกุศลธรรมนั้น จึงขาดแล้ว จึงฉิบหายแล้ว. จบอรรถกถามูลสูตรที่ ๒ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนา