๑. การพูดความจริงเป็นสิ่งที่ควรในบางสถานการณ์ที่รุนแรงต่อจิตใจผู้อื่นหรือไม่
๒. การพูดความเท็จเพื่อช่วยให้ผู้อื่นสบายใจ หมดกังวลชั่วขณะ เป็นสิ่งที่ควรหรือไม่
๓. ถ้าพูดความเท็จแล้วผิดศีล และการพูดความจริงก็เป็นสิ่งที่ลำบากที่จะพูดออกไป การนิ่งเงียบหรือการบอกความจริงเพียงบางส่วนโดยไม่คิดโกหกจะสมควรไหม แล้วพูดอย่างไรจึงจะดีครับ?
๑. การพูดความจริง ย่อมควรในบางสถานการณ์ บางบุคคล เช่น ทรงตรัสกับพระเทวทัต
๒. การพูดความเท็จเพื่อช่วยให้ผู้อื่นสบายใจ ไม่ควรทำ ควรหลีกเลี่ยง หรือไม่พูดดีกว่า๓.ไม่ควรพูดเท็จ ถ้านิ่งเงียบได้ก็ควรในบางกาล การบอกความจริงเพียงบางส่วนหรือพูด อ้อมๆ โดยไม่โกหกย่อมดีกว่า
ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย
๑. พูดคำจริง แต่จิตคนอื่นเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศลก็ได้เพราะการสะสมมาของแต่ละบุคคล สะสมกิเลสมามากก็น้อมไปทางกิเลส แม้ฟังคำจริง สะสมปัญญามากก็น้อมไปในทางกุศลได้ เมื่อได้ยินคำจริง
๒. จะคำจริงหรือเท็จ นั่นเป็นเพียงเสียงที่ปรากฏทางหู แต่จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลของเรา แล้วแต่การสะสมมาของบุคคลนั้น ว่าสะสมมาทางไหนมาก กิเลสมากหรือกุศลมากก็ย่อมน้อมไปในทางนั้น
๓. จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ถูกกาลเทศะ เชิญคลิกอ่านที่นี่....
วาจาสุภาษิต
ขอบูชาคุณพระรัตนตรัย
จากความเห็นที่ 2 ที่ตอบไป ตอบผิดกระทู้ เลยขอตอบใหม่ในความเห็นที่ 3
๑.ถ้าทำแล้วทำให้เขาออกจากอกุศลตั้งอยู่ในกุศลก็ควรพูด เพราะประโยชน์คือ ทำให้เขาตั้งอยู่ในกุศลแม้เขาจะไม่พอใจทีแรก แต่ต้องเป็นคำจริง ดังข้อความ ในพระไตรปิฎก
[เล่มที่ ๒๒] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๘
กินติสูตร
อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด
๒. พูดจริง มีประโยชน์ ถูกกาล คำไม่จริง ไม่ควรพูดเลย
๓. พูดจริง เป็นนประโยชน์ ถูกกาลเทศะ เป็นไปในทางกุศล นิ่งในเวลาที่ควรนิ่ง
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาค่ะ