[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 340
๕. จังกีสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 340
๕. จังกีสูตร
[๖๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชนชาวโกศลชื่อว่า โอปาสาทะ ได้ทราบว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละ อันชื่อว่า เทพวัน ทางทิศเหนือแห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่า จังกี ปกครองหมู่บ้านโอปาสาทะ อันคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมไปด้วยหญ้า ไม้และน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร เป็นราชสมบัติอันพระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดพระราชทานเป็นรางวัลให้เป็นสิทธิ์.
[๖๔๗] พราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านโอปาสาทะ ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านโอปาสาทะ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละ อันชื่อว่า เทพวัน ทางทิศเหนือแห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ ก็กิตติศัพท์อันงดงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ได้ขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกธรรม พระองค์ทรงทําโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้น ย่อมเป็นความดีแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 341
ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านโอปาสาทะ พากันออกจากหมู่บ้านโอปาสาทะเป็นหมู่ๆ มุ่งหน้าไปทางทิศอุดร พากันไปทางป่าไม้สาละ อันชื่อว่า เทพวัน ก็สมัยนั้นแล จังกีพราหมณ์นอนพักผ่อนกลางวันอยู่ในปราสาทชั้นบน.
[๖๔๘] จังกีพราหมณ์ได้เห็นพราหมณ์ และคฤหบดี ชาวบ้านโอปาสาทะ พากันออกจากหมู่บ้านโอปาสาทะเป็นหมู่ มุ่งหน้าไปทางทิศอุดร พากันไปยังป่าไม้สาละ อันชื่อว่า เทพวัน ครั้นเห็นแล้วจึงเรียกนักการมาถามว่า พ่อนักการ พราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านโอปาสาทะ พากันออกจากหมู่บ้านโอปาสาทะเป็นหมู่ๆ มุ่งหน้าไปทางทิศอุดร พากันไปยังป่าไม้สาละ อันชื่อว่า เทพวัน ทําไมกัน นักการตอบว่า ข้าแต่ท่านจังกี มีเรื่องอยู่ พระสมณโคดมศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านโอปาสาทะ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละ อันชื่อว่า เทพวัน ทางทิศเหนือแห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นได้ขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกธรรม พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น พากันไปเพื่อเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น.
จังกี. พ่อนักการ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเข้าไปหาพราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านโอปาสาทะ แล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย จังกีพราหมณ์สั่งมาอย่างนี้ว่า ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรออยู่ก่อน แม้จังกีพราหมณ์ก็จะไปเฝ้าพระสมณโคดม.
นักการรับคําจังกีพราหมณ์แล้ว เข้าไปหาพราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านโอปาสาทะ แล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย จังกีพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 342
สั่งมาอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงรอก่อน แม้จังกีพราหมณ์ก็จักไปเฝ้าพระสมณโคดมด้วย.
[๖๔๙] ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ต่างเมืองประมาณ ๕๐๐ พักอยู่ในหมู่บ้านโอปาสาทะ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง พราหมณ์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่าจังกีพราหมณ์จักไปเฝ้าพระสมณโคดม ลําดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นพากันเข้าไปหาจังกีพราหมณ์ถึงที่อยู่ แล้วได้ถามจังกีพราหมณ์ว่า ได้ทราบว่า ท่านจังกีจักไปเฝ้าพระสมณโคดมจริงหรือ จังกีพราหมณ์ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นความจริงอย่างนั้น แม้เราก็จักไปเฝ้าพระสมณโคดม.
พวกพราหมณ์. ท่านจังกีอย่าไปเฝ้าพระสมณโคดมเลย ท่านจังกีไม่สมควรจะไปเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมสมควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี เพราะว่าท่านจังกีเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ แม้เพราะเหตุที่ท่านจังกีเป็นอุภโตสุชาติ... ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาตินี้ ท่านจังกีจึงไม่สมควรจะไปเฝ้าสมณโคดม แต่พระสมณโคดมนั่นแล สมควรเสด็จมาหาท่านจังกี ท่านจังกีแลเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก... ท่านจังกีแลเป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏภะ พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชํานาญในคัมภีร์โลกายตะ และตําราทํานายมหาปุริสลักษณะ... ท่านจังกีแลเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีวรรณคล้ายพรหม มีสรีระคล้ายพรหม น่าดูน่าชมไม่น้อย... ท่านจังกีแลเป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน ท่านจังกีแลเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีเสียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองสละสลวย ไม่มีโทษ ให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ชัด... ท่านจังกีแลเป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 343
อันมาก สอนมนต์ให้มาณพ ๓๐๐ คน... ท่านจังกีแลเป็นผู้อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม... ท่านจังกีแลเป็นผู้อันพราหมณ์โปกขรสาติ สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม... ท่านจังกีแลปกครองหมู่บ้านโอปาสาทะ อันคับคั่งไปด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า ไม้และน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร เป็นราชสมบัติอันพระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดพระราชทานเป็นรางวัลให้เป็นสิทธิ์ แม้เพราะเหตุที่ท่านจังกีปกครองหมู่บ้านโอปาสาทะ อันคับคั่งไปด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า ไม้และน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร เป็นราชสมบัติอันพระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดพระราชทานเป็นรางวัลให้เป็นสิทธิ์นี้ ท่านจังกีจึงไม่สมควรจะไปเฝ้าพระสมณโคดม แต่พระสมณโคดมสมควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี.
[๖๕๐] เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กล่าวกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้าบ้าง เรานี้แหละสมควรจะไปเฝ้าพระสมณโคดมพระองค์นั้นทุกประการ แต่ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น ไม่สมควรเสด็จมาหาเราเลย ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงพระชาติ แม้เพราะเหตุที่พระสมณโคดมเป็นอุภโตสุชาติ ฯลฯ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงพระชาตินี้ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นจึงไม่สมควรจะเสด็จมาหาเราทั้งหลาย ที่ถูก เราทั้งหลายนี่แหละสมควรจะไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงสละเงินและทองมากมาย ทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในอากาศ เสด็จออกผนวช... พระสมณโคดมกําลังรุ่น พระเกศาดําสนิท ยังหนุ่มแน่นตั้งอยู่ในปฐมวัย เสด็จ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 344
ออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต... เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาให้ทรงผนวช พระพักตร์อาบไปด้วยพระอัสสุชล ทรงกันแสงอยู่ พระสมณโคดมทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อมน้ำฝาด เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต... พระสมณโคดมมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีพระวรรณะคล้ายพรหม มีพระสรีระคล้ายพรหม น่าดูน่าชมมิใช่น้อย... พระสมณโคดมทรงมีศีล มีศีลเป็นอริยะ มีศีลเป็นกุศล ทรงประกอบด้วยศีลเป็นกุศล... พระสมณโคดมมีพระวาจาไพเราะ มีพระสําเนียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวยไม่มีโทษ ยังผู้ฟังให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดแจ้ง... พระสมณโคดมทรงเป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนหมู่มาก... พระสมณโคดมทรงมีกามราคะสิ้นแล้ว ทรงปราศจากลูกศร (คือความโศก)... พระสมณโคดมทรงเป็นกรรมวาที เป็นกิริยวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายแก่พวกพราหมณ์... พระสมณโคดมเสด็จออกทรงผนวชจากสกุลสูง คือ จากสกุลกษัตริย์อันไม่เจือปน... พระสมณโคดมเสด็จออกทรงผนวช จากสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก... คนต่างรัฐ ต่างชนบท พากันมาทูลถามปัญหาพระสมณโคดม... เทวดาหลายพันพากันมอบกายถวายชีวิต ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ... กิตติศัพท์อันงามของพระสมณโคดม ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกธรรม... พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ... พระเจ้าแผ่นดินมคธจอมทัพทรงพระนามว่า พิมพิสาร พร้อมทั้งพระโอรสและพระมเหสี ทรงมอบกายถวายพระชนม์ ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ... พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบกายถวายพระชนม์ ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ... พราหมณ์โปกขรสาติพร้อมด้วยบุตรและภรรยา มอบกายถวายชีวิต ถึงพระสมณโคดม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 345
เป็นสรณะ... พระสมณโคดมเสด็จถึงหมู่บ้านโอปาสาทะ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละ อันชื่อว่า เทพวัน ทางทิศเหนือแห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมาสู่เขตบ้านของเราทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นแขกของเราทั้งหลาย และเป็นแขกที่เราทั้งหลายพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้เพราะเหตุที่พระสมณโคดมเสด็จถึงหมู่บ้านโอปาสาทะ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละ อันชื่อว่า เทพวัน ทางทิศเหนือแห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ ชื่อว่าเป็นแขกของเราทั้งหลาย และเป็นแขกที่เราทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นี้ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น จึงไม่สมควรจะเสด็จมาหาเราทั้งหลาย ที่ถูก เราทั้งหลายนี่แหละสมควรไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทราบพระคุณของพระโคดมพระองค์นั้นได้เพียงเท่านี้ แต่ท่านพระโคดมพระองค์นั้น มีพระคุณเพียงเท่านี้หามิได้ ความจริง ท่านพระโคดมพระองค์นั้น มีพระคุณหาประมาณมิได้ ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถึงแม้ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบด้วยองค์คุณแต่ละอย่างๆ ก็ไม่สมควรจะเสด็จมาหาเราทั้งหลาย ที่ถูก เราทั้งหลายนี้แหละ สมควรไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น.
พวกพราหมณ์. ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราทั้งปวงเทียว จักไปเฝ้าพระสมณโคดม.
ครั้งนั้นแล จังกีพราหมณ์พร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งตรัสปราศรัยถึงเรื่องบางเรื่อง พอให้เป็นเครื่องระลึกถึงกันกับพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่าอยู่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 346
[๖๕๑] ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อว่า กาปทิกะ ยังเป็นเด็กโกนศีรษะ มีอายุ ๑๖ ปีแต่กําเนิด เป็นผู้รู้จบไตรเพท... ชํานาญในคัมภีร์โลกายตะและตําราทํานายมหาปุริสลักษณะ นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย เขาพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่ากําลังเจรจาอยู่กับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามกาปทิกมาณพว่า เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่ากําลังเจรจาอยู่ ท่านภารทวาชะอย่าพูดสอดขึ้นในระหว่างๆ ท่านภารทวาชะจงรอให้จบเสียก่อน.
[๖๕๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมอย่าทรงห้ามกาปทิกมาณพเลย กาปทิกมาณพเป็นบุตรของผู้มีสกุล เป็นพหูสุต เป็นบัณฑิต เจรจาถ้อยคําไพเราะ และสามารถจะเจรจาโต้ตอบในคํานั้นกับท่านพระโคดมได้ ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดําริว่า กาปทิกมาณพจักสําเร็จการศึกษาในปาพจน์ คือ ไตรวิชาเป็นแน่แท้ พราหมณ์ทั้งหลายจึงยกย่องเขาถึงอย่างนั้น ครั้งนั้น กาปทิกมาณพได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมจักทอดพระเนตรสบตาเราเมื่อใด เราจักทูลถามปัญหากะพระสมณโคดมเมื่อนั้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของกาปทิกมาณพด้วยพระหฤทัยแล้ว ทรงทอดพระเนตรไปทางกาปทิกมาณพ ครั้งนั้นแล กาปทิกมาณพได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมทรงใส่พระทัยเราอยู่ ผิฉะนั้น เราพึงทูลถามปัญหากะพระสมณโคดมเถิด ลําดับนั้นแล กาปทิกมาณพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านโคดม ก็ในบทมนต์อันเป็นของเก่าของพราหมณ์ทั้งหลาย โดยนําสืบต่อกันมาตามคัมภีร์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมถึงความตกลงโดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 347
[๖๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภารทวาชะ ก็บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย แม้พราหมณ์คนหนึ่งเป็นใครก็ตาม ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ มีอยู่หรือ.
กา. ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ก็แม้อาจารย์ท่านหนึ่ง แม้ปาจารย์ท่านหนึ่ง จนตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลาย ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ มีอยู่หรือ.
กา. ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ก็ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ เป็นผู้บอกมนต์ พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ขับตามกล่าวตามซึ่งบทมนต์เก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านได้กล่าวไว้ บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ข้อนี้เราทั้งหลายรู้อยู่ ข้อนี้เราทั้งหลายเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.
กา. ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ แม้อาจารย์ แม้ปาจารย์คนหนึ่ง จะเป็นใครก็ตาม ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลาย ที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ มีอยู่หรือ.
กา. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ก็ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 348
ยมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ เป็นผู้แต่งมนต์ เป็นผู้บอกมนต์ ได้สาธยายบทมนต์อันเป็นของเก่า ได้บอกมาแล้ว ได้รวบรวมไว้แล้ว เดี๋ยวนี้พราหมณ์ทั้งหลายสาธยายตามนั้น กล่าวตามนั้น ภาษิตได้ตามที่ได้รับภาษิตไว้ บอกได้ตามที่ได้รับบอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.
กา. ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.
[๖๕๔] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ไม่มีพราหมณ์แม้คนหนึ่งจะเป็นใครก็ตาม ที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ไม่มีใครแม้คนหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์เป็นปาจารย์ ของอาจารย์ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลาย ที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ เป็นผู้บอกมนต์ พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนต์เก่านี้ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านได้กล่าวไว้ บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ดูก่อนภารทวาชะ เปรียบเหมือนแถวคนตาบอด ซึ่งเกาะกันต่อๆ ไป แม้คนต้นก็ไม่เห็น แม้คนกลางก็ไม่เห็น แม้คนหลังก็ไม่เห็น ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลาย เห็นจะเปรียบได้กับแถวคนตาบอด ฉะนั้น คือ แม้คนชั้นต้นก็ไม่เห็น แม้คนชั้นกลางก็ไม่เห็น แม้คนชั้นหลังก็ไม่เห็น ดูก่อนภารทวาชะ ท่านจะเข้าใจ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 349
ความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเชื่อของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมหามูลมิได้มิใช่หรือ.
กา. ท่านพระโคดม ในข้อนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมเล่าเรียนกันมา มิใช่ด้วยความเชื่ออย่างเดียว แต่ย่อมเล่าเรียนด้วยการฟังตามกันมา.
[๖๕๕] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้ไปสู่ความเชื่อ เดี๋ยวนี้ท่านกล่าวการฟังตามกัน ดูก่อนภารทวาชะ ธรรม ๕ ประการนี้ มีวิบากเป็นสองส่วนในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือ ศรัทธาความเชื่อ ๑ รุจิความชอบใจ ๑ อนุสสวะ การฟังตามกัน ๑ อาการปริวิตักกะ ความตรึกตามอาการ ๑ ทิฐินิชฌานขันติ ความทนได้ซึ่งความเพ่งด้วยทิฐิ ๑ ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบากเป็นสองส่วนในปัจจุบัน ดูก่อนภารทวาชะ ถึงแม้สิ่งที่เชื่อกันด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นของว่างเปล่า เป็นเท็จไปก็มี ถึงแม้สิ่งที่ไม่เชื่อด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี อนึ่ง สิ่งที่ชอบใจทีเดียว... สิ่งที่ฟังตามกันมาด้วยดีทีเดียว... สิ่งที่ตรึกไว้ด้วยดีทีเดียว... สิ่งที่เพ่งแล้วด้วยดีทีเดียว เป็นของว่างเปล่า เป็นเท็จไปก็มี ถึงแม้สิ่งที่ไม่ได้เพ่งด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี ดูก่อนภารทวาชะ บุรุษผู้รู้แจ้งเมื่อจะตามรักษาความจริง ไม่ควรจะถึงความตกลงในข้อนั้นโดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า.
กา. ท่านพระโคดม ก็ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร จึงจะชื่อว่าเป็นการตามรักษาสัจจะ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ.
[๖๕๖] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา เขากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูก่อนภารทวาชะ การ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 350
ตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมปฏิบัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน ดูก่อนภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีความชอบใจ... มีการฟังตามกัน... มีความตรึกตามอาการ... มีการทนต่อการเพ่งด้วยทิฐิ เขากล่าวว่า การทนต่อการเพ่งด้วยทิฐิของเราอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูก่อนภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน.
กา. ท่านพระโคดม การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการตรัสรู้สัจจะ.
[๖๕๗] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือนิคมแห่งหนึ่งอยู่ คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว ย่อมใคร่ครวญดูในธรรม ๓ ประการ คือ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ๑ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ๑ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ ว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็พึงกล่าวว่าเห็น และสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ เมื่อเขาใคร่ครวญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 351
เธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงํา ท่านผู้นี้เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่โลภ ฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ธรรมนั้นอันคนโลภแสดงไม่ได้โดยง่าย เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งความโลภ เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงํา เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ได้หรือหนอ เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงํา เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ไม่มีเลย อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ธรรมนั้นอันบุคคลผู้ประทุษร้ายแสดงไม่ได้โดยง่าย เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 352
ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงํา เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงํา เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย อนึ่งท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่หลง ฉะนั้น ก็ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ธรรมนั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง เขาเกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เขาเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจําธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้ เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อมเกิดฉันทะ เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขะมักเขม้น ครั้นขะมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง ครั้นเทียบเคียงแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่ ย่อมทําปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ดูก่อนภารทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมปฏิบัติการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 353
กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ.
[๖๕๘] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การเสพจนคุ้น การเจริญ การทําให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ดูก่อนภารทวาชะ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมปฏิบัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้.
กา. ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
[๖๕๙] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้งความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียร จึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียรจึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณาจึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 354
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้าไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด ก็พึงอุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่ง ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น ธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 355
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญเนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่ง ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การทรงจําธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ ถ้าไม่พึงทรงจําธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจําธรรมไว้จึงใคร่ครวญเนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจําธรรมไว้จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจําธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจําธรรม.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจําธรรม ถ้าไม่พึงฟังธรรม ก็พึงทรงจําธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจําธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะมากแก่การทรงจําธรรม.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลง ก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 356
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้ ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหา ก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้.
กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
[๖๖๐] กา. ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตรัสรู้สัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์ และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 357
ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงข้อใดๆ ท่านพระโคดมได้ทรงพยากรณ์ข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า พวกสมณะหัวโล้นเชื้อสายคฤหบดีกัณหโคตร เกิดจากพระบาทท้าวมหาพรหม จะแปลกอะไรและจะรู้ทั่วถึงธรรมที่ไหน พระโคดมผู้เจริญได้ทรงทําความรักสมณะในสมณะ ความเลื่อมใสสมณะในสมณะ ความเคารพสมณะในสมณะ ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจําข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
จบจังกีสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 358
อรรถกถาจังกีสูตร
จังกีสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในจังกีสูตรนั้น คําว่า เทววเน สาลวเน ความว่า ได้ยินว่าประชาชนกระทําพลีกรรมแก่เทวดาในป่าสาละนั้น เพราะเหตุนั้น ป่าสาละนั้นจึงเรียกว่า เทพวันบ้าง สาลวันบ้าง.
คําว่า ปกครองหมู่บ้านชื่อว่า โอปาสาทะ ความว่า จังกีพราหมณ์ ครอบครองอยู่ในหมู่บ้านพราหมณ์มีชื่อว่า โอปาสาทะ คือ เป็นใหญ่ของหมู่บ้านนั้น ปกครองอยู่ในหมู่บ้านนั้นตลอดเขตแดนที่พึงรับผิดชอบ.
ก็ในคําว่า โอปาสาทํ อชฺฌาวสติ นี้พึงทราบว่า ทุติยาวิภัติลงในความหมายเป็นสัตตมีวิภัติ เนื่องด้วยอุปสรรค. ในบทที่เหลือในพระสูตรนั้น ควรขวนขวายหาลักษณะจากคัมภีร์ศัพทศาสตร์ เพราะการที่ศัพท์นั้นเป็นทุติยาวิภัติ.
บทว่า สตฺตุสฺสทํ หนาแน่นด้วยมนุษย์และสัตว์ ความว่า หนาแน่น คือ แออัดด้วยมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า มีคนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น และพลุกพล่านด้วยสัตว์หลายชนิด มีช้างม้า นกยูง และเนื้อที่เลี้ยงไว้ เป็นต้น.
ก็เพราะเหตุที่บ้านนั้นสมบูรณ์ด้วยหญ้าสําหรับช้าง ม้าเป็นต้น กิน และหญ้าสําหรับมุงบ้านซึ่งเกิดรอบนอก อนึ่ง สมบูรณ์ด้วยไม้ฟืนและไม้เครื่องเรือน และเพราะเหตุที่ภายในบ้านนั้น มีสระโบกขรณีมากมาย มีทั้งสัณฐานกลมและสี่เหลี่ยมเป็นต้น และภายนอก (บ้าน) มีบึงมิใช่น้อยวิจิตรงดงามด้วยดอกไม้ที่เกิดในน้ำ มีน้ำเต็มอยู่เป็นนิจทีเดียว เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า มีหญ้า ไม้และน้ำ.
ชื่อว่า มีธัญญาหาร เพราะเป็นไปกับด้วยธัญญาหาร. อธิบายว่า สะสมธัญญาหารไว้มากมาย มีชนิดอาหารที่จะกินก่อนและอาหารที่จะกินหลังเป็นต้น.
ด้วยเหตุดังกล่าวมาเพียงเท่านี้ พราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 359
จึงให้ยกเศวตฉัตรอยู่อย่างพระราชาในบ้านนั้น และย่อมเป็นอันแสดงสมบัติความพรั่งพร้อมของพราหมณ์นั้น. ทรัพย์ที่ได้จากพระราชา ชื่อว่า ราชทรัพย์.
หากจะถามว่า ใครประทาน.
ตอบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลประทาน.
บทว่า ราชทายํ รางวัลของหลวง แปลว่า เป็นรางวัลของพระราชา อธิบายว่า เป็นทรัพย์มรดก.
บทว่า พฺรหฺมเทยฺยํ ให้เป็นพรหมไทย คือ เป็นทรัพย์ที่พึงประทานให้อย่างประเสริฐ อธิบายว่า พราหมณ์ให้ยกเศวตฉัตรขึ้นแล้วใช้สอยอย่างพระราชา.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ราชโภคฺคํ ราชทรัพย์ ความว่า พราหมณ์สั่งการตัดและการแบ่งทุกอย่าง เก็บส่วยที่ท่าน้ำและภูเขา ให้ยกเศวตฉัตรขึ้นเป็นพระราชาใช้สอย.
ในคําว่า ราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานแล้ว นี้ ในพระสูตรนั้น ชื่อว่า รางวัลของหลวง เพราะพระราชาประทาน.
ท่านกล่าวคํานี้ว่า พระราชาปเสนทิโกศลพระราชทานแล้ว เพื่อแสดงพระราชาผู้ประทานรางวัลนั้น.
บทว่า พฺรหฺมเทยฺยํ พรหมไทย แปลว่า ให้เป็นทรัพย์ที่พระราชทานอย่างประเสริฐ อธิบายว่า พระราชทานแล้วโดยประการที่พระราชทานแล้ว ไม่เป็นอันจะต้องเรียกคืน เป็นอันสละแล้ว บริจาคแล้ว.
ชื่อว่า เป็นหมู่ เพราะคนเป็นจํานวนมากๆ มารวมกัน. ไม่เหมือนให้เฉพาะทิศใดทิศหนึ่ง. หมู่มีอยู่แก่พราหมณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า เป็นหมู่.
ชื่อว่า เป็นคณะ เพราะในกาลก่อนไม่เป็นคณะ (ตอนอยู่) ในบ้าน ออกไปภายนอกจึงเป็นคณะ.
ชื่อว่า มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ เพราะหันหน้าไปทางเหนือ.
คําว่า เรียกนักการมา ความว่า มหาอํามาตย์ผู้สามารถพยากรณ์ปัญหาที่ถามแล้วได้เรียกว่า นักการ เรียกนักการนั้นมาแล้ว.
บทว่า จงรอก่อน ความว่า จงยับยั้งอยู่สักครู่ อธิบายว่า จงคอยก่อน.
คําว่า ผู้เป็นชาวประเทศต่างๆ ความว่า ชื่อว่า ชาวประเทศต่างๆ เพราะพวกเขาเกิดหรืออยู่ในประเทศต่างๆ คือรัฐอื่นมีแคว้นกาสีและโกศลเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 360
หรือมาจากประเทศต่างๆ นั้น. ผู้เป็นชาวประเทศต่างๆ เหล่านั้น.
บทว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ความว่า ด้วยกิจบางอย่าง มีการบูชายัญเป็นต้น ซึ่งไม่กําหนดแน่นอน.
พราหมณ์เหล่านั้นได้ยินว่าท่านจังกีพราหมณ์จะไป จึงพากันคิดว่า ท่านจังกีพราหมณ์นี้เป็นพราหมณ์ชั้นสูง ก็โดยมาก พราหมณ์ทั้งหลายพวกอื่น ถึงพระสมณโคดมเป็นที่พึ่ง จังกีพราหมณ์นี้เท่านั้นยังไม่ได้ไป หากจังกีพราหมณ์นั้นจักไป ณ ที่นั้นไซร้ ถูกพระสมณโคดมดลใจด้วยเล่ห์สําหรับดลใจ ก็จักถึงสรณะ ต่อจากนั้นพวกพราหมณ์ก็จักไม่ประชุมกันที่ประตูบ้านของจังกีพราหมณ์นั้น เอาละ พวกเราจักกระทําการขัดขวางการไปของจังกีพราหมณ์นั้น. ครั้นปรึกษากันแล้ว จึงรออยู่ ณ ที่นั้น. ท่านหมายเอาอาการนั้น จึงกล่าวคํามีอาทิว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์เหล่านั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า แต่ข้างทั้งสอง ได้แก่ แต่ทั้งสองข้างคือ ข้างฝ่ายมารดาและบิดา. อธิบายว่า มารดาเป็นนางพราหมณี ยายเป็นพราหมณี แม้มารดาของยายก็เป็นนางพราหมณี บิดาเป็นพราหมณ์ ปู่เป็นพราหมณ์ แม้บิดาของปู่ก็เป็นพราหมณ์ (จังกีพราหมณ์) ผู้เจริญเกิดดีแล้วจากทั้งสองฝ่าย คือ ข้างฝ่ายมารดาและข้างฝ่ายบิดา อย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.
บทว่า ผู้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดี ความว่า ครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิทางฝ่ายมารดาของท่าน บริสุทธิ์ดี แม้ครรภ์เป็นที่ปฏิสนธิทางฝ่ายบิดาของท่านก็บริสุทธิ์ดี.
ในคําว่า จนถึงปิตามหยุคที่ ๗ นี้ ปู่ชื่อว่า ปิตามหะ ยุคของปู่ชื่อว่า ปีตามหยุค. ประมาณอายุ เรียกว่า ยุค. ก็คําว่า ยุค นี้ เป็นเพียงพูดกันเท่านั้น. แต่โดยความหมาย ปิตามหยุค ก็คือ ปิตามหะ นั่นเอง. บรรพบุรุษแม้ทั้งหมดสูงขึ้นไปกว่านั้น ก็ถือเอาด้วยศัพท์ว่า ปิตามหะ นั่นแหละ. ผู้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีถึง ๗ ชั่วคนอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง แสดงว่า ไม่ถูกคัดค้านติเตียนด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ.
บทว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 361
ไม่ถูกห้าม ความว่า ไม่ถูกคัดค้าน คือ ไม่ถูกโต้แย้งอย่างนี้ว่า จงนําผู้นี้ออกไป ประโยชน์อะไรกับผู้นี้.
บทว่า ไม่ถูกติเตียน ความว่า ไม่ถูกติเตียน คือ ไม่เคยถูกด่าหรือติเตียน.
ถามว่า ด้วยเหตุอะไร.
ตอบว่า ด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ. อธิบายว่า ด้วยคําพูดเห็นปานนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ผู้นี้เป็นผู้มีชาติกําเนิดเลว.
บทว่า ด้วยองค์นี้ ความว่า เพราะเหตุแม้นี้.
บทว่า มั่งคั่ง แปลว่า เป็นใหญ่.
บทว่า มีทรัพย์มาก แปลว่า ประกอบด้วยทรัพย์มาก. แสดงว่า ก็ในบ้านของจังกีพราหมณ์ผู้เจริญ มีทรัพย์มากเหมือนฝุ่นและทรายบนแผ่นดิน ส่วนพระสมณโคดมไม่มีทรัพย์ ทําท้องให้เต็มด้วยการขอ แล้วยังอัตภาพให้ดําเนินไป.
บทว่า มีโภคะมาก คือ เป็นผู้มีเครื่องอุปโภคมากเนื่องด้วยกามคุณ ๕. พวกพราหมณ์กล่าวคุณใดๆ ด้วยประการอย่างนี้ ย่อมกล่าวดูถูกว่า พวกเราจักกล่าวเฉพาะโทษของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณนั้นๆ.
บทว่า มีรูปงาม ความว่า มีรูปงามยิ่งกว่ามนุษย์อื่น.
บทว่า ทสฺสนีโย ความว่า ควรแก่การดู เพราะทําความไม่เบื่อแก่ผู้ดูอยู่ทั้งวัน.
ชื่อว่า น่าเลื่อมใส เพราะทําความเลื่อมใสให้เกิดด้วยการดูเท่านั้น.
ความงามเรียกว่า โปกขรตา. ความงามแห่งผิวพรรณ ชื่อว่า วัณณโปกขรตา. ด้วยความงามแห่งผิวพรรณนั้น. อธิบายว่า ด้วยความถึงพร้อมแห่งผิวพรรณ. ส่วนอาจารย์รุ่นเก่าเรียกสรีระว่า โปกขระ. วรรณะก็คือผิวพรรณนั่นเอง. ตามมติของท่าน วรรณะและสรีระ ชื่อว่า วรรณะและสรีระ. ภาวะแห่งวรรณะและสรีระ ชื่อว่า ความเป็นแห่งวรรณและสรีระ.
คําว่า แม้เพราะเหตุนี้ มีผิวงามอย่างยิ่ง ความว่า ด้วยวรรณะอันบริสุทธิ์อย่างสูงสุด และด้วยความถึงพร้อมด้วยสรีรสัณฐาน.
บทว่า มีวรรณะดุจพรหม แปลว่า มีวรรณะประเสริฐที่สุด. อธิบายว่า ประกอบด้วยวรรณะดุจทองคําอันประเสริฐสุด แม้ในบรรดาวรรณะอันบริสุทธิ์ทั้งหลาย.
คําว่า มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 362
สรีระดุจพรหม ได้แก่ ประกอบด้วยสรีระดุจสรีระของท้าวมหาพรหม.
คําว่า อขุทฺทาวกาโส ทสฺสนาย ความว่า โอกาสแห่งการได้เห็นสรีระของท่านผู้เจริญ ไม่เล็กน้อย คือ ใหญ่. ท่านแสดงว่า อวัยวะน้อยใหญ่ของท่านทั้งหมดทีเดียวน่าดูด้วย ทั้งใหญ่โตด้วย.
ชื่อว่า มีศีล เพราะอรรถว่า ศีลของพราหมณ์นั้นมีอยู่. ชื่อว่า มีศีลยั่งยืน เพราะอรรถว่า ศีลของพราหมณ์นั้นเบิกบานแล้ว คือเจริญแล้ว.
บทว่า พุทฺธสีเลน แปลว่า ด้วยศีลอันเบิกบานแล้ว คือ เจริญแล้ว.
บทว่า มาตามพร้อมแล้ว แปลว่า ประกอบแล้ว.
คํานี้เป็นไวพจน์ของบทว่า พุทฺธสีลี นั่นแหละ.
พวกพราหมณ์กล่าวคํา (ว่าศีล) ทั้งหมดนั้น หมายเอาเพียงศีลห้าเท่านั้น.
ในคําว่า มีวาจางาม เป็นต้น ที่ชื่อว่า มีวาจางาม เพราะอรรถว่า วาจาของพราหมณ์นั้น งาม คือ ดี ได้แก่ มีบทและพยัญชนะกลมกล่อม.
ชื่อว่า เปล่งเสียงไพเราะ เพราะอรรถว่า การเปล่งเสียงของพราหมณ์นั้นงาม คือ ไพเราะ. เสียงที่เปล่งออก ชื่อว่า วากฺกรณํ. ชื่อว่า มีวาจาเป็นของชาวเมือง เพราะเป็นวาจามีในเมือง โดยเป็นวาจาที่สมบูรณ์ด้วยคุณ.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีวาจาดุจของหญิงชาวเมือง เพราะอรรถว่า มีวาจาเหมือนวาจาของหญิงชาวเมืองนั้น เพราะหญิงชาวเมือง ชื่อว่า ชาวบุรี เพราะมีในเมือง เป็นผู้ละเอียดอ่อน. ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองนั้น.
บทว่า วิสฏาย ได้แก่ ไม่ติดขัด คือ เว้นจากโทษ มีเสียงสูงและเสียงต่ําเป็นต้น.
บทว่า อเนลคฬาย ความว่า เว้นจากโทษ. อธิบายว่า ก็เมื่อบุคคลบางคนกําลังพูดอยู่ โทษย่อมไหลออกคือน้ำลายไหล หรือก้อนเขฬะกระเด็น วาจาของคนนั้นชื่อว่าเป็นวาจามีโทษ. ด้วยวาจาที่ตรงข้ามกับวาจาที่มีโทษนั้น.
คําว่า อตฺถสฺส วิฺาปนิยา ความว่า สามารถทําเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดให้ปรากฏ ทําผู้ฟังให้เข้าใจชัดเนื้อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 363
ความที่กล่าว.
คําที่เหลือในการพรรณนาคุณของพราหมณ์ในที่นี้ง่ายทั้งนั้น.
คําว่า เอวํ วุตฺเต แปลว่า เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้.
จังกีพราหมณ์คิดว่า พวกพราหมณ์เหล่านี้ เข้าใจว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ เมื่อกล่าวคุณของตนจะไม่ยินดี ย่อมไม่มี พวกเราจักกล่าวคุณของจังกีพราหมณ์นั้น ห้าม (มิให้ไป) จึงกล่าวคุณของเราโดยอ้างถึงชาติเป็นต้น การยินดีในการพรรณนาคุณของตนเอง หาควรแก่เราไม่ เอาเถอะ เราจะทําลายวาทะของพราหมณ์เหล่านั้นเสีย ให้พวกเขารู้ว่า พระสมณโคดมเป็นใหญ่ ทําให้พวกเขาไปในที่นั้น ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคําเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงฟังเราบ้าง.
ก็จังกีพราหมณ์รู้คุณทั้งหลายอันยิ่งกว่าคุณของตนว่า บรรดาคุณเหล่านั้น คุณแม้ใดเช่นเดียวกับคุณของตนมีเป็นต้นว่า เกิดดีแล้วแต่ทั้งสองฝ่าย คุณแม้นั้นมีความถึงพร้อมด้วยพระชาติเป็นต้น ก็ล้วนเป็นของพระสมณโคดมทั้งสิ้น จึงประกาศคุณทั้งหลายที่นอกเหนือขึ้นไป เพื่อแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นใหญ่โดยส่วนเดียวแท้.
คําว่า พวกเราเท่านั้นย่อมควร ความว่า ก็เมื่อพราหมณ์กําหนดแน่ลงไปอย่างนี้ จึงแสดงคํานี้ไว้ในที่นี้ว่า ผิวว่าพระสมณโคดม ชื่อว่าเป็นผู้ที่เราควรจะเข้าไปหา เพราะทรงเป็นใหญ่โดยพระคุณไซร้. เมล็ดพันธุ์ผักกาด เทียบกับเขาพระสุเมรุ เป็นของนิดหน่อย ต่ำทราม. น้ำในรอยเท้าโคเทียบกับน้ำมหาสมุทรเป็นของนิดหน่อย ต่ําต้อย, หยาดน้ำค้างเทียบกับน้ำในสระใหญ่ทั้ง ๗ สระก็เป็นของนิดหน่อย ต่ําต้อย ฉันใด คุณของพวกเราเมื่อเทียบกับพระคุณมีชาติสมบัติเป็นต้น ของพระสมณโคดม ก็เป็นของเล็กน้อย ต่ําทราม ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พวกเราเท่านั้นย่อมควรเข้าไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น.
ในคําว่า ภูมิคตฺจ เวหาสฏฺจ นี้ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดินทําสระโบกขรณีอันโบกด้วยปูนขาวให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทั้งในพระลานหลวง และในพระราชอุทยาน ชื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 364
ว่าทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน. ส่วนทรัพย์ที่เก็บไว้เต็มปราสาทและที่เก็บรวบรวมไว้เป็นต้น ชื่อว่าทรัพย์ตั้งอยู่ในอากาศ. ทรัพย์ที่มีมาตามวงศ์ตระกูลอย่างนี้ก่อน.
ส่วนเฉพาะในวันที่พระตถาคตเจ้าประสูติ มีขุมทรัพย์ผุดขึ้น ๔ ขุม คือ ขุมทรัพย์สังขะ ขุมทรัพย์เอละ ขุมทรัพย์อุปปละ ขุมทรัพย์ปุณฑริกะ.
บรรดาขุมทรัพย์เหล่านั้น ขุมทรัพย์กว้างหนึ่งคาวุต ชื่อสังขะ. ขุมทรัพย์กว้างกึ่งโยชน์ ชื่อเอละ. ขุมทรัพย์กว้าง ๓ คาวุต ชื่ออุปปละ. ขุมทรัพย์กว้าง ๑ โยชน์ ชื่อปุณฑริกะ. ที่ที่หยิบเอาทรัพย์ในขุมทรัพย์แม้เหล่านั้น คงเต็มอยู่ตามเดิม พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเงินและทองมากมายออกผนวชด้วยประการดังนี้.
คําว่า หนุ่ม ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้าให้พิสดารแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ในคําว่า มีโอกาสไม่น้อย นี้ พึงทราบว่า (ได้แก่) โอกาสที่เห็นไม่มีประมาณในพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ในข้อที่ว่า มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง.
ได้ยินมาว่า พราหมณ์คนใดคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ฟังมาว่า เขาเล่าลือกันว่า ใครๆ ไม่สามารถวัดประมาณ (ขนาด) ของพระสมณโคดมได้ จึงในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาต เขายืนถือไม้ไผ่ยาวหกสิบศอกอยู่ภายนอกประตูเมือง พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึง จึงถือไม้ไผ่ยืนอยู่ใกล้ๆ. ไม้ไผ่ยาวเพียงพระชานุของพระผู้มีพระภาค. วันรุ่งขึ้น เขาเอาไม้ไผ่ต่อเข้า ๒ ลํา แล้วได้ยืนเทียบอยู่ในที่ใกล้ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ ท่านทําอะไร ปรากฏแต่เพียงไม้ไผ่ ๒ ลํา (ต่อ) บนไม้ไผ่ ๒ ลํา.
พ. ข้าพระองค์จะวัดขนาดของพระองค์.
ภ. พราหมณ์ แม้หากว่าท่านเอาไม้ไผ่มาต่อจนเต็มห้องจักรวาลทั้งสิ้นแล้ว ยืนเทียบอยู่ในที่ใกล้ ท่านก็ไม่อาจวัดขนาดของเราได้ เพราะเราบําเพ็ญบารมีมาสิ้นสี่อสงไขยแสนกัป โดยประการที่คนอื่นจะพึงวัดขนาดของเรานั้นหา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 365
มิได้ พระตถาคตนับคํานวณไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ดังนี้แล้วตรัสพระคาถาในพระธรรมบท. ในเวลาจบพระคาถา สัตว์แปดหมื่นสี่พันดื่มน้ำอมฤตแล้ว.
ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง. เขาว่า ท้าวอสุรินทราหูสูงถึงสี่พันแปดร้อยโยชน์. ระหว่างแขนกว้างหนึ่งพันสองร้อยโยชน์. ฝ่ามือฝ่าเท้ากว้างสามร้อยโยชน์. ข้อนิ้วมือห้าสิบโยชน์. ระหว่างคิ้วกว้างห้าสิบโยชน์. หน้าผากกว้างสามร้อยโยชน์. ศีรษะเก้าร้อยโยชน์. ท้าวราหูนั้นไม่มาเฝ้าด้วยคิดว่า เราสูง ไม่อาจก้มดูพระศาสดา.
วันหนึ่ง ได้ฟังการพรรณนาคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จมาเฝ้าด้วยความคิดเสียว่า จักดูตามแต่จะดูได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอ จึงทรงพระดําริว่า เราจักแสดงโดยอิริยาบถไหนในบรรดาอิริยาบถทั้ง ๔ แล้วทรงดําริสืบไปว่า ธรรมดาคนยืนแม้จะต่ําก็ปรากฏเหมือนว่าสูง เราจักนอนแสดงตนแก่ท้าวเธอ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า อานนท์ เธอจงลาดเตียงน้อย ณ บริเวณพระคันธกุฎี แล้วทรงสําเร็จสีหไสยาสน์บนเตียงน้อยนั้น. ท้าวราหูเสด็จมา แล้วชะเง้อคอมองดูพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงบรรทมอยู่ เหมือนแหงนคอดูพระจันทร์เพ็ญในท่ามกลางนภากาศ ฉะนั้น. และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี้อะไรกัน จอมอสูรก็กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่มาเฝ้าด้วยคิดว่า ข้าพระองค์ไม่อาจก้มดูพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาตรัสว่า จอมอสูร เรามิได้บําเพ็ญบารมี เหมือนอย่างก้มหน้า เราให้ทาน กระทําให้มีผลเลิศ ชั้นสูงทั้งนั้น. วันนั้น ท้าวราหูได้ถึงสรณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีโอกาสมิใช่น้อยที่จะได้เห็นด้วยประการอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีศีลด้วยปาริสุทธิศีล ๔. ก็ศีลนั้นเป็นอริยะ คือ สูงสุดบริสุทธิ์. เพราะเหตุนั้น จังกีพราหมณ์จึงกล่าวว่า ทรงมีศีลเป็นอริยะ. ศีลนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นกุศล เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ. เพราะเหตุนั้น จังกีพราหมณ์จึงกล่าวว่า ทรงมีศีลเป็นกุศล.
คําว่า มีศีลเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 366
กุศล นี้ เป็นไวพจน์ของคําว่า มีศีลเป็นกุศล นั้น.
คําว่า พหุนฺนํ อาจริยปาจริโย ทรงเป็นอาจารย์ และปาจารย์ของคนเป็นอันมาก ความว่า สัตว์แปดหมื่นสี่พัน ทั้งเทวดาและมนุษย์ไม่มีประมาณ ดื่มอมตธรรม คือ มรรคผลด้วยพระธรรมเทศนากัณฑ์เดียวของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า เป็นปาจารย์ของชนเป็นอันมาก คือ ของอาจารย์และสาวกเวไนย.
ในคําว่า ทรงมีกามราคะสิ้นแล้ว นี้ กิเลสแม้ทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้าสิ้นไปแล้วโดยแท้ แต่พราหมณ์ไม่รู้จักกิเลสเหล่านั้น กล่าวคุณในฐานะที่ตนรู้เท่านั้น.
บทว่า วิคตาจาปลฺโล ปราศจากความโลเล ความว่า ทรงปราศจากความโลเลที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ประดับบาตร ประดับจีวรและเสนาสนะ อีกอย่างหนึ่ง การรัก การยึดถือกายอันเปือยเน่านี้.
บทว่า อปาปปุเรกฺขาโร ไม่ทรงมุ่งความชั่ว คือ ทรงมุ่งโลกุตตรธรรม ๙ อันไม่ชั่วร้าย เสด็จเที่ยวไป.
คําว่า ชนที่เป็นพราหมณ์ ได้แก่ พวกพราหมณ์แต่ละพวกมีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปเป็นต้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่ทรงมุ่งร้าย ทรงทําหมู่ชนนี้แหละไว้เบื้องหน้า. อธิบายว่า ก็หมู่ชนนี้กระทําพระสมณโคดมไว้เบื้องหน้า เที่ยวไป. อีกอย่างหนึ่ง ไม่ประพฤติมุ่งความชั่ว คือ ไม่ประพฤติมุ่งความชั่ว อธิบายว่า ไม่ปรารถนาความชั่ว.
ถามว่า แก่ใคร.
ตอบว่า แก่พวกพราหมณ์.
มีอธิบายว่า ไม่ทรงมุ่งร้าย คือ ทรงปรารถนาประโยชน์สุขต่อพราหมณ์ถ่ายเดียว แม้ผู้มุ่งร้ายเฉพาะพระองค์.
บทว่า ติโรรฏา ชนต่างรัฐ คือ คนรัฐอื่น.
บทว่า ติโรชนปทา ต่างชนบท คือ ชนบทอื่น.
คําว่า สํปุจฺฉิตุํ อาคจฺฉนฺติ มาเพื่อทูลถามปัญหา ได้แก่ ชนทั้งหลายมีกษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้น พราหมณ์และคนธรรพ์ (นักขับร้อง) เป็นต้น แต่งปัญหามาด้วยหวังว่า จักทูลถามปัญหา.
บรรดาชนเหล่านั้น บางพวกกําหนดเห็นโทษของการถามปัญหา และความที่ไม่สามารถในการแก้ปัญหาและการรับรองปัญหา จึงนั่งนิ่งไม่ถามเลย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 367
บางพวกถาม. สําหรับบางพวก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําความอุตสาหะในการถามปัญหาให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงแก้. เมื่อเป็นอย่างนี้ ความสงสัยของคนเหล่านั้นทั้งหมด พอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หมดไป เหมือนคลื่นของมหาสมุทร พอถึงฝังก็ละลายหายไปฉะนั้น.
คําที่เหลือในการพรรณนาคุณของพระตถาคตในอธิการนี้ง่ายทั้งนั้น.
คําว่า อติถิโน เต โหนฺติ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นแขก ความว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอาคันตุกะ คือ เป็นแขกของพวกเรา.
บทว่า ปริยาปุณามิ ข้าพเจ้าทราบ คือ ข้าพเจ้ารู้.
บทว่า อปริมาณวณฺโณ มีพระคุณหาประมาณมิได้ ท่านแสดงความว่า มีพระคุณที่แม้พระสัพพัญูเหมือนๆ กัน ก็ประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปใยกับคนเช่นเรา.
สมจริง ดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า
แม้พระพุทธเจ้าจะพึงกล่าวคุณของพระพุทธเจ้า หากกล่าวคุณของกันและกันไปตลอดทั้งกัป กัปพึงสิ้นไปในระหว่างเป็นเวลาช้านาน พระคุณของพระตถาคตหาสิ้นไม่ ดังนี้.
พราหมณ์เหล่านั้นได้ฟังถ้อยคําพรรณนาคุณนี้แล้ว พากันคิดว่า จังกีพราหมณ์กล่าวคุณไรๆ ของพระสมณโคดม พระสมโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ทรงมีพระคุณไม่ต่ําทรามด้วยประการใด ก็จังกีพราหมณ์นี้รู้พระคุณทั้งหลายของพระสมณโคดมพระองค์นั้น จึงรั้งรออยู่เนิ่นนานด้วยประการนั้น เอาเถอะ พวกเราจะอนุวรรตตามจังกีพราหมณ์นั้น ดังนี้ เมื่อพวกพราหมณ์จะอนุวรรตตาม จึงกล่าวคําเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ดังนี้.
บทว่า โอปาเตติ แปลว่า เข้าไป.
บทว่า สํปุรกฺขโรนฺติ ย่อมมุ่งดี คือ ย่อมมุ่งเสมอปูนลูกปูนหลาน เที่ยวไป.
บทว่า มนฺตปทํ บทมนต์ ความว่า บทมนต์ ก็คือมนต์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 368
นั่นแหละ อธิบายว่า พระเวท.
ด้วยบทว่า อิติหิติหปรมฺปราย โดยสืบๆ กันมาอย่างนี้ๆ นี้แสดงว่า บทมนต์มาโดยภาวะสืบๆ กันว่า เขาว่าอย่างนี้ เขาว่าอย่างนี้.
บทว่า ปิฏกสมฺปทาย ด้วยสมบัติ คือ ตํารา ได้แก่ ด้วยสมบัติ คือ คําพูด. ท่านแสดงว่า แต่งมาโดยการประพันธ์เป็นฉันท์มีสาวิตติฉันท์เป็นต้น และโดยการประพันธ์ทั่วไป อย่างร้อยแก้ว.
บทว่า นั้นด้วย แปลว่า ในบทมนต์นั้น.
บทว่า ผู้กล่าว แปลว่า เป็นผู้บอกมนต์.
บทว่า เหล่าใด แปลว่า อันเป็นของมีอยู่ของพราหมณ์เหล่าใด.
บทว่า บทมนต์ ได้แก่ มนต์ คือ พระเวทนั่นแหละ.
บทว่า เพลงขับ ความว่า อันพราหมณ์แต่เก่าก่อนสิบคน มีพราหมณ์อัฏฐกะเป็นต้นสวดแล้ว เนื่องด้วยความถึงพร้อมด้วยเสียง.
บทว่า กล่าวแล้ว ได้แก่ บอกแล้ว อธิบายว่า กล่าวแล้วแก่ผู้อื่น.
บทว่า สมิหิตํ รวบรวมไว้แล้ว ความว่า รวมไว้ คือ ทําให้เป็นหมวดหมู่ อธิบายว่า จัดตั้งไว้เป็นหมวด.
บทว่า ตทนุคายนฺติ ขับตามบทมนต์นั้น ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายในบัดนี้ ขับตาม คือ สวดตามบทมนต์นั้น ซึ่งท่านเหล่านั้นขับแล้วในปางก่อน.
บทว่า กล่าวตามบทนั้น แปลว่า กล่าวตามบทมนต์นั้น. คํานี้เป็นไวพจน์ของคําก่อนนั่นแล.
บทว่า กล่าวตามภาษิต แปลว่า ท่องบ่นตามที่ท่านเหล่านั้นกล่าวแล้วท่องแล้ว.
บทว่า บอกตามที่บอก แปลว่า บอกตามที่ท่านเหล่านั้นบอกแก่ผู้อื่น.
คําว่า เสยฺยถีทํ หมายความว่า ท่านเหล่านั้น คือ ท่านเหล่าไหน.
คําว่า อัฏกะ เป็นต้น เป็นชื่อของท่านเหล่านั้น.
ได้สดับมาว่า ท่านเหล่านั้นตรวจดูด้วยตาทิพย์ ไม่ทําการเบียดเบียนผู้อื่น เทียบเคียงกับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วร้อยกรองมนต์ทั้งหลายไว้. ส่วนพราหมณ์พวกอื่นเติมการฆ่าสัตว์เป็นต้นเข้าไป ทําลายพระเวททั้งสาม ทําให้ผิดกับพระดํารัสของพระพุทธเจ้า.
บทว่า ลําดับคนตาบอด แปลว่า แถวคนตาบอด. คือคน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 369
ตาบอดคนหนึ่ง จับปลายไม้เท้าที่คนตาดีคนหนึ่งถืออยู่. คนตาบอด ๕๐ - ๖๐ คน ต่อกันตามลําดับอย่างนี้คือ คนตาบอดคนอื่นเกาะคนตาบอดคนนั้น คนอื่นเกาะคนนั้น ต่อๆ ไป เรียกว่า แถวคนตาบอด.
บทว่า ปรมฺปราสํสตฺตา เกาะกันต่อๆ ไป ความว่า เกาะกันแลกัน อธิบายว่า เว้นคนตาดีผู้ถือไม้เท้า.
เขาว่า นักเลงคนหนึ่งเห็นคณะคนตาบอด ก็พูดปลุกใจว่า ในบ้านชื่อโน้น ของเคี้ยวของบริโภคหาได้ง่าย พวกคนตาบอดเหล่านั้นพูดว่า นายช่วยนําพวกฉันไปที่บ้านนั้นเถิด พวกฉันจะให้สิ่งนี้แก่ท่าน เขารับเอาค่าจ้าง (พาไปถึงกลางทาง) ก็แวะลงข้างทาง พาเดินตามกันรอบกอไม้ใหญ่ แล้วให้เอามือของคนตาบอดคนแรกจับรักแร้ของตนตาบอดคนหลังแล้วพูดว่า ฉันมีงานบางอย่าง พวกท่านจงเดินไปก่อน ดังนี้ แล้วก็หนีไปเสีย. คนตาบอดเหล่านั้นพากันเดินทั้งวัน ไม่พบทางไป ต่างคร่ําครวญว่า ท่านผู้เจริญ! ไหนคนตาดี ไหนหนทาง เมื่อไม่พบหนทางก็พากันตายอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล.
คําว่า ปรมฺปราสตฺตา เกาะกันต่อๆ ไป ตรัสหมายถึงคนตาบอดพวกนั้น.
บทว่า ปุริโมปิ แม้คนชั้นแรก ความว่า บรรดาพราหมณ์ ๑๐ คนรุ่นแรก แม้พราหมณ์คนหนึ่ง.
บทว่า มชฺฌิโมปิ แม้คนชั้นกลาง ความว่า บรรดาอาจารย์และปาจารย์ในรุ่นกลาง แม้อาจารย์คนหนึ่ง.
บทว่า ปจฺฉิโมปิ แม้คนรุ่นหลัง ความว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลายในบัดนี้ แม้พราหมณ์คนหนึ่ง.
บทว่า ปฺจ โข ห้าแล ความว่า ตรัสเพิ่มธรรมอื่นที่คล้ายกันอีก ๓ ข้อ เข้าไปในธรรม ๒ ข้อ ซึ่งมีมาในพระบาลี.
คําว่า ทฺวิธา วิปากา มีวิบากเป็น ๒ ส่วน คือ มีวิบากที่เป็นจริง หรือมีวิบากที่ไม่เป็นจริง.
คําว่า นาลเมตฺถ ในข้อนี้ไม่ควร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 370
แนวทางคําถามไว้อย่างสูงว่า ดูก่อนภารทวาชะ วิญูชนเมื่อปฏิบัติด้วยหวังว่าจักตามรักษาสัจจะ ไม่ควร คือ ไม่สมควรที่จะถึงการตกลงโดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า สิ่งที่เรายึดถือเท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า.
คําว่า อิธ ภารทฺวาช ภิกฺขุ ภารทวาชะ ภิกษุในศาสนานี้ ความว่า ตรัสหมายถึงพระองค์เอง เหมือนในชีวกสูตรและมหาวัจฉสูตร.
คําว่า โลภนีเยสุ ธมฺเมสุ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ คือ ในธรรมคือความโลภ.
แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
คําว่า สทฺธํ นิเวเสติ ย่อมตั้งลงชื่อศรัทธา คือ ย่อมตั้งลงซึ่งศรัทธาที่ไว้ใจได้.
บทว่า เข้าไป แปลว่า เข้าไปหา.
บทว่า ปยิรุปาสติ แปลว่า นั่งในที่ใกล้.
บทว่า โสตํ ได้แก่ เงี่ยโสตประสาท.
บทว่า ธรรม คือ ฟังเทศนาธรรม.
บทว่า ทรงไว้ ความว่า กระทําให้คล่องแคล่วทรงไว้.
บทว่า ย่อมไต่สวน คือ พิจารณาโดยอัตถะและการณะ.
คําว่า ย่อมควรการเพ่ง คือ ย่อมควรตรวจดู. อธิบายว่า ย่อมปรากฏได้อย่างนี้ว่า ศีลตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิตรัสไว้ในที่นี้.
ความพอใจคือความต้องการที่จะทํา ชื่อว่า ฉันทะ.
บทว่า ย่อมอุตสาหะ คือ ย่อมพยายาม.
คําว่า ย่อมเทียบเคียง คือ ย่อมพิจารณาด้วยอํานาจอนิจจลักษณะเป็นต้น.
บทว่า ย่อมตั้งความเพียร คือ ย่อมตั้งความเพียรในมรรค.
คําว่า ทําให้แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ความว่า ทําให้แจ้งพระนิพพานด้วยนามกายอันเป็นสหชาต และชําแหละกิเลสด้วยปัญญาเห็นแจ้งพระนิพพานนั้นนั่นแหละ อย่างปรากฏชัดแจ้ง.
บทว่า การตรัสรู้สัจจะ คือ การตรัสรู้มรรค.
บทว่า การบรรลุสัจจะ คือ การทําให้แจ้งผล.
บทว่า เหล่านั้นนั่นแหละ คือ ธรรม ๑๒ ประการ ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ท่านย่อมอนุโลมการกล่าวถึงมรรคอย่างยืดยาวอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีอธิบายอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 371
บทว่า เหล่านั้นนั่นแล ได้แก่ ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคเหล่านั้น.
ความเพียรในมรรคชื่อว่า ปธานความเพียร.
ก็ความเพียรในมรรคนั้น มีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ กล่าวคือ การทําให้แจ้งผล เพราะเมื่อมรรคไม่มี ผลก็ไม่มี เหตุนั้นพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
คําที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาจังกีสูตรที่ ๕