อิทัปปัจจยตา เป็นการกล่าวถึงว่า เมื่อมีสิ่งนี้และสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป ซึ่งก็เป็นการกล่าวถึงสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน แต่ก็ยังมีอีกชื่อหนึ่งที่เคยได้ยิน คือ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งก็เป็นการกล่าวถึงสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน จึงขอความกรุณาท่านอาจารย์ช่วยแสดงความละเอียดลึกซึ้ง และอธิบายความแตกต่างของคำทั้ง 2 คำนี้ ว่าต่างกันอย่างไรครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทั้งสองคำ ต่างโดยศัพท์ แต่ อรรถ ไม่ต่างกัน ครับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ยํ อิทํ หมายเอาปฏิจจสมุปบาทพึงเห็นเนื้อความ
อย่างนี้ว่าโย อยํ ดังนี้. บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท ความว่า ปัจจัย
แห่งธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยา. อิทปฺปจฺจยา นั่นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา
อิทปฺปจฺจยตา นั้นด้วย ปฏิจจสมุปบาทด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อิทัปปัจจยตา
ปฏิจจสมุปบาท. คำว่าอิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปปาโท นี้เป็นชื่อของปัจจัยมีสังขาร เป็นต้น.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอเชิญคลิกศึกษาจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
หมดความสงสัยในความหมายของคำว่าธรรม
ปฏิจจสมุปบาท หมายความว่าอย่างไร
....อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ และ ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
สาธุค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ