อย่างไรคือมนสิการ
โดย บ้านธัมมะ  18 มี.ค. 2566
หัวข้อหมายเลข 45675

何為如理作意

อย่างไรคือมนสิการ


阿姜舒淨佛法討論 25-12-2022

問: 當各長輩,舒淨老師,Jon&Sarah,面對疼痛的時候,會以怎樣的想法去看待,去面對,去思考,那個所出現疼痛的這個法?

ผู้ถาม: เวลาที่ท่านอาจารย์สุจินต์ คุณจอน คุณซาร่า ต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ท่านพิจารณาอย่างไรในขณะที่ความเจ็บปวดนั้นปรากฏ?

Sarah: 就跟每個人面對疼痛一樣。那一刻疼痛的真相,其實就只是緣起滅去的法,它的真相就是這樣。 很常見的反應就是我要怎麼面對疼痛,我該作什麼才可以避免疼痛,那一刻的當下是有我在那裡,認為是我的疼痛。 當想著要去看醫生,要去休息一下,一切都是在思考。每一刻在想什麼,思考什麼,善的思考還是不善的思考,這都是長久以來累積的習性。

ซาร่า: ก็ไม่ได้ต่างไปจากที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ความจริงของความเจ็บปวดในขณะนั้น ก็คือมีเหตุปัจจัยให้สภาพธรรมเกิดขึ้นแล้วดับไป ความจริงเป็นอย่างนี้ โดยทั่วไปที่พบบ่อยๆ คือ เราพยายามคิดว่าควรจะรับมือกับความเจ็บปวดนั้นอย่างไร เราควรทำอย่างไรจึงจะเลี่ยงความเจ็บปวดนั้นได้ ในขณะนั้นมีเราอยู่ที่ตรงนั้น เข้าใจว่าเป็นความเจ็บปวดของเรา ในขณะที่คิดว่าจะไปหาหมอ จะไปพักผ่อนสักครู่ ทั้งหมดนี้คือความคิด ทุกขณะจะคิดอะไร จะพิจารณาอะไร หรือคิดเป็นไปในอกุศล ทั้งหมดนี้เป็นอุปนิสัยที่ได้สะสมมาแล้ว นานแสนนาน

通常我們想著身體疼痛的時候,通常的想,都是伴隨著瞋恨,伴隨著不愉快的感受,不愉快的思考,但,痛生起就滅了。 在關注別人的不舒服,別人的疼痛時,那一刻的擔心並不是愉快的感受。 所以還是要回到這些因緣合和,那一刻會有怎麼樣思考,都是累積的習性,因緣條件。會有怎麼樣反應,會怎麼的去面對疼痛,都是自然而然的,是跟過去的累積的習性有關的。

เวลาที่เราคิดถึงความเจ็บปวดทางกายนั้น โดยทั่วไปก็จะประกอบด้วยโทสะ ประกอบด้วยความรู้สึกที่ไม่พอใจ ความคิดก็เป็นไปด้วยความไม่พอใจ แต่ความเจ็บปวดเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปแล้ว หรือในขณะที่สนใจในความไม่สบายของผู้อื่น ในความเจ็บปวดของผู้อื่น ความกังวลในขณะนั้นคือความรู้สึกที่ไม่พอใจ เพราะฉะนั้นก็ต้องกลับไปที่เหตุปัจจัย แม้แต่ขณะนั้นจะคิดพิจารณาอะไร ก็เป็นเพราะการสะสม เป็นไปโดยปกติธรรมดา ทั้งหมดนั้นเกี่ยวเนื่องด้วยอุปนิสัยที่ได้สะสมมา

老師一直以來在強調的,就是一點一點的去瞭解法,這才是真正累積最珍貴的習性。 當疼痛生起的時候,疼痛它是可以被瞭解的,因為有 因緣條件而生起的法,是不被控制的,不是我,不是任何某個東西,疼痛生起就滅去了。 不管發生什麼都是無法阻止,無法挽留,發生了就發生了,過去了就已經過去了。 如實的去瞭解這些法,不管出現的是什麼法,法就是法,它是什麼就是什麼,不能改變,不能去作什麼,不是任何人,任何東西,不是我,這樣的思考才是有利益有幫助的。

ท่านอาจารย์สุจินต์ก็ได้ย้ำเตือนเสมอมา ว่าค่อยๆ เข้าใจธรรมะหรือสิ่งที่กำลังปรากฏทีละนิดทีละนิด นี่จึงจะเป็นการสะสมที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง ในขณะที่เจ็บปวด ลักษณะของความเจ็บปวดนั้นก็สามารถที่จะเป็นสิ่งที่ถูกรู้ได้ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมนั้นเกิดเพราะมีเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย ความเจ็บปวดเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมใดก็ตาม ไม่สามารถที่จะรั้งไว้ได้ เกิดขึ้นคือเกิดขึ้นแล้ว ผ่านไปก็คือผ่านไปแล้ว เขาเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ไม่เปลี่ยน ไม่สามารถที่จะไปทำอะไรได้ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สิ่งของ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ สิ่งหนึ่งสิ่งใด การพิจารณาอย่างนี้จึงจะเป็นประโยชน์

所以,當疼痛時,一直沉浸在疼痛是我的疼痛,怎麼樣才能夠緩解或者怎麼樣才能夠讓它趕快過去,這一切都是沒有任何的幫助。 除了如理作意的去思考三藐三佛陀的教導,這個疼痛到底是什麼?

ดังนั้น ในขณะที่เจ็บปวด ถ้ามัวแต่ไปจมดิ่งกับความเจ็บปวดของเรา หาทางว่าจะทำอย่างไรดีจึงจะลดความเจ็บปวดของเราลงได้ หรือ ทำอย่างไรจึงจะให้ความเจ็บปวดของเราผ่านไปเร็วๆ การคิดอย่างนี้ไม่มีประโยชน์ใดๆ เลยทั้งสิ้น ประโยชน์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีโยนิโสมนสิการคิดพิจารณาในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าความเจ็บปวดนี้ ความจริงคืออะไร?

Jon: 我想,沒有什麼最好的方式來面對所謂的身體疼痛。對我來說或對大部份的人來說,當痛的那一刻,很自然的就會有瞋恨生起。 每個人累積的是不一樣的,是累積各種不同的習性,對疼痛的反應也不一樣。

จอน: ผมคิดว่าไม่มีวิธีการที่ดีที่สุดใดๆ เลย ที่จะไปเผชิญกับความเจ็บปวดทางกาย สำหรับผมหรือแม้แต่กับคนโดยส่วนใหญ่ ในขณะที่เจ็บนั้น โทสะก็เกิดขึ้นโดยปกติธรรมดา การสะสมมาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ละหนึ่งก็สะสมอุปนิสัยมาไม่เหมือนกัน การที่จะมีปฏิกิริยาต่อความเจ็บก็ย่อมไม่เหมือนกัน

有些人會安慰自己,痛它只是生滅的法,生起了就滅去了,它不會持續的。實際上,在痛的時候也有別的時刻,例如、在看、在聽、在聞、在嚐、在碰觸,那些時刻是沒有痛的。 這樣的思考可能會掉入一種去管理疼痛,形成一種策略怎麼樣去思考疼痛,才能夠降低疼痛的程度,也是一種試圖去管理疼痛。 這個問題與我們要怎麼面對貪愛愉快的感受是同樣的問題。不過,在面對貪愛愉快的感受時,通常都是不 會像面對瞋恨一樣,要怎麼樣才能降低愉快的感受。 所以在痛的那一刻,它也是跟其他法一樣,它只是因緣和合而生起的法。

บางคนก็ปลอบใจตนเองว่า ความเจ็บปวดเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดดับ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่อาจคงอยู่ได้ตลอด แต่ความจริงคือ ในขณะที่กำลังเจ็บปวด ก็มีอย่างอื่นด้วย เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส ขณะเหล่านั้นไม่ได้เจ็บปวด การคิดอย่างนี้ก็จะกลายเป็นการวางแผนที่คิดหาวิธีที่จะคิดพิจารณาเรื่องของความเจ็บปวด จะทำอย่างไรจึงจะบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ ก็ตกเข้าไปในอีกรูปแบบหนึ่งที่คิดจะบริหารจัดการกับความเจ็บปวด ที่จริงคำถามนี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากคำถามที่ว่าเราควรจะเผชิญกับความพอใจอย่างไร เป็นคำถามที่เหมือนกันเลย เพียงแต่ในขณะที่ประสบกับความยินดีพอใจนั้น ก็จะไม่เหมือนกับเวลาที่โทสะเกิด ต้องการที่จะหาวิธีบรรเทาความรู้สึกนั้น เพราะฉะนั้นในขณะที่เจ็บปวด ก็เหมือนกับขณะอื่นๆ สภาพธรรมอื่นๆ ซึ่งเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยจึงเกิดแล้วก็ดับ

問: 因為我們有聽聞佛法了,就知道“心”是可以去經驗的名法,去知道那個疼痛,是“身識”經驗疼痛。可是也有另一個可以經驗的名法,叫作“心所”。在所有心所裡面之一有一個心所叫作“智慧心所”,它可以如實的去經驗法。 所以這些都是可以去經驗法,是名法,要如何去瞭解這些名法,因為在這裡很難區分。

ผู้ถาม: เป็นเพราะเราได้ศึกษาได้ฟังพระธรรมมาบ้างแล้ว จึงรู้ว่า "จิต"เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ สามารถที่จะรู้ความเจ็บปวด เป็น"กายวิญญาน"ที่รู้ความเจ็บปวดทางกาย แต่ก็ยังมีสภาพรู้อีกอย่างที่เป็นนามธรรมเรียกว่า "เจตสิก" และหนึ่งในเจตสิกทั้งหลายนั้น มีเจตสิกหนึ่งที่เรียกว่า "ปัญญาเจตสิก" ซึ่งเจตสิกดวงนี้เขาสามารถรู้ตรงตามความเป็นจริง ดังนั้นทั้งหมดนี้เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ จะทำความเข้าใจอย่างไรกับสภาพนามธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุว่า ตรงนี้ยากที่จะแยกแยะได้อย่างชัดเจน

Jon: 通常當疼痛生起的時候,法的生滅是很快的。痛,瞋恨,討厭這個痛,心裡的不愉快,都是混在一起的。 當試圖要去專注某一個法時,跟真正的如理作意是不一樣的。有一個法真的清楚的出現了,成為思考的對象,它沒有發生就沒有發生,就這樣一刻接著一刻,一堆法生起就這樣的過去了。

จอน: โดยปกติแล้ว ขณะที่ความเจ็บปวดเกิดขึ้นนั้น สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก ความเจ็บปวด โทสะ ไม่พอใจในความเจ็บปวด ความรู้สึกที่ไม่มีความสุข ทั้งหมดก็รวมอยู่ในที่ตรงนั้น แต่ในขณะที่ตั้งใจจะไปจดจ้องในสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งนั้น กับการโยนิโสมนสิการ เป็นเรื่องที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ขณะที่มีสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งปรากฎ สามารถเป็นอารมณ์ของการพิจาณาได้ แต่หากไม่ได้ปรากฎ ก็คือไม่ได้ปรากฎ ก็เป็นไปอย่างนี้ สภาพธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นแล้ว ดับ ไปแต่ละขณะ แล้วมีสภาพอื่นเกิดปรากฏ แต่ละขณะสืบต่อกันไปอย่างนี้

所以在疼痛的那一刻,去經驗的是什麼法,有身識。痛的那一刻是身識去經驗痛的感受,接下來很快的在意門的心路過程有瞋恨心生起去瞋恨疼痛這個經驗,然後瞋恨的時候又有不愉快的感受,一個是身體的疼痛“伴隨身識的感受”,一個是心的疼痛“伴隨意識的感受”。 那麼基本上,當我們在痛的時候,我們一般發生的都是這幾個主要的法。

ดังนั้นขณะที่กำลังเจ็บ สภาพธรรมที่รู้นั้นคือสภาพธรรมอะไร มีกายวิญญาน ขณะที่เจ็บ ความรู้สึกเจ็บปวดเกิดโดยอาศัยกาย หลังจากนั้นด้วยความรวดเร็ว โทสมูลจิตก็เกิดขึ้นทางมโนทวารไม่พอใจในความรู้สึกเจ็บปวดนั้น จากนั้นขณะที่โทสะเกิด เวทนาความรู้สึกไม่สบายก็เกิดขึ้น หนึ่งคือความรู้สึกไม่สบายทางกายคือเวทนาที่เกิดทางกายทวาร อีกหนึ่งคือความไม่สบายทางใจคือเวทนาที่เกิดทางมโนทวาร ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่เรากำลังเจ็บปวด โดยทั่วไปแล้วสภาพธรรมที่เกิดขึ้นโดยหลักคือสภาพเหล่านี้

Sarah: 就像現在有沒有試圖著去指定某一個法要去思考要去瞭解嗎? 一旦有這樣子的要去試圖的時候,那一刻就是有一個我,有我要去作點什麼,要得到什麼,又把法當成是我的。

ซาร่า: ก็เหมือนกับเดี๋ยวนี้ มีความจงใจตั้งใจที่จะเลือกคิดพิจารณาในสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งหรือเปล่า? เมื่อไหร่ที่มีความจงใจตั้งใจ ขณะนั้นมีเราทันที มีเราที่จะทำอะไร จะได้อะไร จากนั้นก็ยึดถือสิ่งนั้นว่าเป็นของเรา

有智慧生起的時刻,如理作意的。或沒有智慧生起的時刻,不如理作意的。不如理作意的時刻很正常的生起就滅去了。 可是一旦有我想要知道這個,有我想著到底有沒有如理作意,那個時刻是有一個我又想要去知道那一刻。

ขณะที่มีปัญญาเกิดขึ้นเป็นไปโดยโยนิโสมนสิการ หรือขณะที่ไม่มีปัญญาเกิดขึ้นเป็นไปโดยอโยนิโสมนสิการ ขณะที่เป็นไปโดยอโยนิโสมนสิการก็เป็นปกติธรรมดาเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่เมื่อไหร่ที่มีเราต้องการที่จะรู้อันนี้ เป็นเราที่คิดว่าตกลงมีโยนิโสมนสิการหรือไม่ ขณะนั้น ก็เป็นเราที่อยากจะไปรู้ในขณะนั้น

這就是為什麼培養真相是很細微、深奧、難懂。有一個我想試圖要瞭解,這個其實也不是你,是因緣和合,只是法。 所以我們一定會有不如理作意的時候,我見,邪見,一定會常常的生起的。

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าการอบรมเจริญความจริงเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะรู้ มีเราตั้งใจที่จะเข้าใจ แต่แท้จริงแล้วก็ไม่ใช่เรา เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย เป็นเพียงธรรมะ ดังนั้นก็ต้องมีขณะที่เป็นอโยนิโสมนสิการ อัตตานุทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ เกิดขึ้นบ่อยๆ อย่างแน่นอน

Ajhan Sujin: 有没有一个可以作任何一个事情的人存在呢?

อ.สุจินต์: มีใครสักคนหนึ่ง สามารถที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งได้ไหม?

現在,在那裡的法是如實的真實的。 可是沒有語言去表達那個真相,我們也是不可能會知道,不管我們聽到的是作意心所,還是智慧心所。

เดี๋ยวนี้ มีสภาพธรรมอยู่ตรงนั้นจริงๆ แต่ไม่มีคำพูดใดๆ ที่จะแสดงความจริงของสิ่งนั้นให้ปรากฏออกมาได้ เราเองก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นมนสิการเจตสิก หรือว่าปัญญาเจตสิก

所以什麼是作意呢? 它只是一個字嗎還是它是一個法?

ดังนั้น อะไรคือมนสิการ? เป็นเพียงตัวหนังสือหรือว่าเป็นสภาพธรรมหนึ่ง?

作意這個法它是智慧嗎?它是愉快的感受嗎?

มนสิการอันนี้ใช่ปัญญาไหม? เป็นความรู้สึกที่ดีหรือเปล่า?

作意這個法它每一刻都跟著心一起生起,在看的那一刻,是不是也有作意心所。作意心所這個法在看的那一刻它是眼識嗎?

มนสิการเจตสิกเกิดร่วมกับจิตทุกๆ ขณะ ขณะที่เห็นมีมนสิการเจตสิกเกิดร่วมด้วยใช่ไหม? มนสิการที่เกิดกับจิตเห็นเป็นจิตเห็นใช่ไหม?

法就是這麼的複雜,即使是短短的看的那一刻,就已經有很多法在那裡了。 因此這就是為什麼我們把法當成是人或東西,而不是瞭解法它就只是一個法。

ธรรมะเป็นเรื่องที่ละเอียดซับซ้อน แม้เพียงแค่ขณะเห็นสั้นๆ ก็มีสภาพธรรมอยู่ที่ตรงนั้นแล้วมากมาย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงมีความสำคัญว่าสภาพธรรมนั้นเป็นคน เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ไม่ได้เข้าใจว่าธรรมะเป็นเพียงธรรมะหนึ่งเท่านั้น

作意心所它在每一刻會伴隨著心一起生起,它的作用就是去注意那一刻正在經驗的對象。 所以,任何一刻不管是什麼類型的心,這個作意心所就一定在那裡,它的特徵就是去注意那一刻的對象。

มนสิการเจตสิกเกิดร่วมกับจิตทุกๆ ขณะ หน้าที่ของเขาคือใส่ใจในอารมณ์ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนั้น ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใด มนสิการเจตสิกต้องเกิดร่วมด้วยแน่นอน ลักษณะเฉพาะของเขาคือใส่ใจในอารมณ์ที่กำลังปรากฎในขณะนั้น

在聽的那一刻作意心所也在那裡?它會去注意那個聲音,因此,那一刻的經驗才能發生。 在想的時候作意心所也在那裡,去思考剛剛被聽到的那個聲音也是有作意心所去注意被聽到的那個對象。 耳門心路過程結束之後,緊接著是意門心路過程。在聽之後立刻馬上就是在想,在聽和在想的時候的作意心所是不同的。 耳識的耳門心路過程和意識的意門心路過程的作意心所是不同的作意心所。

ขณะที่ได้ยิน มนสิการเจตสิกอยู่ที่ไหน? มนสิการเจตสิกเขาก็ใส่ใจในเสียงนั้น ด้วยเหตุนี้ ขณะนั้นสิ่งที่ถูกรู้จึงเกิดขึ้น ขณะที่กำลังคิด มนสิการเจตสิกก็อยู่ที่ตรงนั้น ที่กำลังคิดถึงเสียงที่ได้ยินเมื่อกี้นั้น ก็มีมนสิการเจตสิกใส่ใจในสิ่งที่ได้ยิน มนสิการเจตสิกที่เกิดกับจิตที่กำลังได้ยิน กับมนสิการเจตสิกที่เกิดกับจิตที่กำลังคิดนั้น ไม่ใช่มนสิการเจตสิก อันเดียวกัน มนสิการเจตสิกที่เกิดกับจิตได้ยินทางโสตทวาร กับมนสิการเจตสิกที่เกิดกับจิตคิดนึกทางมโนทวารก็เป็นมนสิการเจตสิกคนละขณะ

如果,在聽的時候沒有作意心所去注意聲音,在想的時候沒有作意心所去注意那個聲音的影子。 那,這個聲音是什麼聲音? 它可以被知道,可以被認出來,可以被瞭解嗎?

ถ้าในขณะที่ได้ยินไม่มีมนสิการเจตสิกใส่ใจในเสียง และขณะที่กำลังคิดก็ไม่มีมนสิการเจตสิกไปใส่ใจในนิมิตนั้น แล้วเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร? สามารถที่จะถูกรู้ สามารถที่จะเข้าใจได้ไหม?

因此,聽到任何的聲音之後,可以去想著聽到的聲音是什麼意思的時候,那一刻作意心所也是在那裡。

ด้วยเหตุนี้ หลังจากที่ไม่ว่าจะได้ยินเสียงอะไร สามารถที่จะคิดถึงความหมายของเสียงที่ได้ยินว่ามีความหมาย ว่าอย่างไร ขณะนั้นมนสิการเจตสิกก็อยู่ที่ตรงนั้น

所以,就是現在。現在,聽到聲音的那一刻有作意心所在那裡。然後,在想到聽到聲音意思的那一刻,作意心所也在那裡。因為作意心所它注意耳識去經驗的這個所緣,去注意心在思考的那個所緣。

เพราะฉะนั้นก็คือเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ ขณะที่ได้ยิน มนสิการเจตสิกก็อยู่ตรงนั้น จากนั้นขณะที่คิดถึงเสียงที่ได้ยิน ที่คิดเป็นความหมายของเสียงในขณะนั้น มนสิการเจตสิกก็อยู่ตรงนั้น เพราะว่ามนสิการเจตสิกใส่ใจในอารมณ์ที่จิตได้ยินกำลังได้ยิน ใส่ใจในอารมณ์ที่จิตคิดกำลังคิดนึก

作意心所它不是單獨的生起的,它是跟著其它很多心所一起生起的。所以,當作意心所去注意它在經驗的對象的時候。那一刻,也是有其它的心所一起生起。 有智慧心所伴隨一起生起的時候,那一刻的注意就是有智慧伴隨一起生起去注意到那個對象。或者當作意心所沒有智慧伴隨一起生起的時候,那一刻就是沒有智慧心所伴隨去注意在經驗的那個法。

มนสิการเจตสิกไม่ได้เกิดขึ้นมาตามลำพังเดี่ยวๆ แต่ เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกอื่นๆ อีกหลายตัว ดังนั้น ในขณะที่มนสิการเจตสิกใส่ใจในอารมณ์ในขณะนั้น ขณะนั้นก็มีเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วย ในขณะที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นก็มีปัญญาเกิดขึ้นพร้อมกับมนสิการที่กำลังใส่ใจในอารมณ์นั้น หรือในขณะที่มนสิการเจตสิกไม่ได้มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นก็ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมกับมนสิการเจตสิกที่ใส่ใจในอารมณ์นั้น

有貪愛或瞋恨的時候,這一刻的注意當然是不可能是善的注意。 因此,倘若沒有如理作意,沒有智慧伴隨著去如理作意又怎麼可能去瞭解這個話,這些文字的意義是什麼?

ในขณะที่มีโลภะหรือโทสะ ความใส่ใจในขณะนั้นแน่นอนว่าจะเป็นกุศลไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ถ้าไม่มีปัญญาเกิดพร้อมกับมนสิการ จะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้าใจในคำ เข้าใจในอรรถความหมายของพยัญชนะว่าคืออะไร?

當作意和無明一起生起的時候,那一刻當然不會是如理作意。 如果有智慧一起生起的時候,這個時候有智慧的去注意到那個所經驗的對象,能夠瞭解這個聲音真正的意義是什麼,這是智慧能夠生去的因緣條件。

ในขณะที่มนสิการเกิดขึ้นพร้อมกับโมหะ ขณะนั้นแน่นอนว่าไม่ใช่โยนิโสมนสิการ ถ้าเป็นขณะที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย แน่นอนว่าขณะนั้นต้องมีความใส่ใจในสิ่งที่กำลังเป็นอารมณ์ และสามารถเข้าใจอรรถความหมายของเสียงจริงๆ ว่าคืออะไร นี่คือปัจจัยที่จะทำให้ปัญญาเกิดขึ้น

智慧還沒有生起之前必須有三藐三佛陀所說的話為所緣,被作意心所去注意到了佛陀所說的話,對佛陀的話是有興趣的,這件事情會成為智慧生起的因緣條件。 因為不善的累積是有那麼多的,那麼深的。因此,如 理作意累積的機會就比較少一點。

ก่อนที่จะมีปัญญาเกิดขึ้น จำเป็นต้องมีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ มนสิการเจตสิกใส่ใจในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความสนใจในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาเกิดขึ้นได้ เพราะเหตุว่าการสะสมของอกุศลธรรมนั้นเยอะมาก ลึกมาก ด้วยเหตุนี้ โอกาสที่โยนิโสมนสิการจะเกิดขึ้นสะสมจึงมีน้อยมาก

所以,現在,有沒有足夠累積善的因緣條件能夠讓如理作意生起? 這才能夠慢慢的放掉有一個我,有一個什麼東西,認為是真的存在的,實際上它就只是生滅的法。

เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้ การสะสมของกุศล การสะสมเหตุที่จะทำโยนิโสมนสิการเกิดขึ้นมีมากพอแล้วหรือยัง? นี่จึงจะเป็นการที่ค่อยๆ ละความเป็นตัวเรา ละความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ละความเห็นผิดในสิ่งที่เคยเข้าใจว่ามี จริงๆ เพราะแท้จริงนั่นก็เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

所以,我們該學習去瞭解的是,每一刻只是不同的法經驗一個對象,什麼樣的法去經驗什麼樣的對象都不是誰可以控制決定的,一切都只是緣起的。

ดังนั้น สิ่งที่เราควรศึกษาให้เข้าใจคือ ทุกๆ ขณะมีสภาพธรรมแต่ละอย่างที่รู้ในอารมณ์นั้น สภาพธรรมใดจะไปรู้ในอารมณ์ใด ไม่มีใครสามารถที่จะไปบังคับตัดสินได้ ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

在看到一個生病的人的那一刻,看到的那一刻,是有很多因緣條件才會發生看到的那一刻。 在看到一個生病的人之後,會有什麼條件,會生起悲傷的感受還是有可能智慧生起去瞭解真相,這也不是誰可以控制的。 但是智慧有條件生起瞭解真相的時候,它才會是條件逐漸的放掉有一個人,有某個東西。

ในขณะที่เห็นคนป่วย ขณะที่กำลังเห็นมีปัจจัยมากมายที่ทำให้เห็นเกิดขึ้น เห็นจึงเกิดขึ้นเห็นได้ในขณะนั้น หลังจากที่เห็นแล้ว จะมีเหตุอะไร มีปัจจัยอะไรให้ความรู้สึกเสียใจเกิดขึ้น หรืออาจจะมีปัญญาเกิดขึ้นเข้าใจความจริงก็ได้ นี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ใครสามารถจะไปบังคับได้ ถ้าปัญญามีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นรู้ความจริง นั่นถึงจะเป็นปัจจัยที่ค่อยๆ ละความเป็นเรา ละความเห็นผิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง

所以,現在,每一刻都有心正在經驗,作意心所一定也在那裡,然而作意心所會是善的作意還是不善的作意都是取決於心是善的還是不善的。

ดังนั้น เดี๋ยวนี้ มีจิตเกิดขึ้นรู้ทุกขณะ มนสิการก็ต้องอยู่ตรงนั้นอย่างแน่นอน และมนสิการเจตสิกจะเป็นไปในกุศลหรือเป็นไปในอกุศลก็ขึ้นอยู่ที่จิตว่า จิตเป็นกุศลหรืออกุศล

所以,現在有沒有作意心所。倘若,不能夠知道作意 現在就有,它只是一個法,它並不是我。 倘若不是這樣的知道,我們就會認為是我在注意,我在想這個或那個。倘若不能夠有這樣的瞭解,那麼,是不可能知道不是我在注意,不是我在想。

เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้มีมนสิการเจตสิกไหม? ถ้าไม่สามารถรู้ว่ามนสิการก็คือกำลังมีเดี๋ยวนี้ เป็นเพียงธรรมะหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เรา ถ้าไม่รู้อย่างนี้ เราก็จะเข้าใจว่าเป็นเราที่ใส่ใจ เป็นเราที่คิดอย่างนี้หรือคิดอย่างนั้น ทั้งที่ความจริงไม่ใช่เราที่ใส่ใจ ไม่ใช่เราที่คิด

但是,真的開始瞭解作意這個法的時候,它會幫助智慧去瞭解,會協助智慧能夠生起慢慢的累積,慢慢瞭解,慢慢的放掉我在注意這件事情。 真相,是沒有我去注意,每一刻就只是不同的法,它就作它們的作用,執行它們的功能而已。

แต่ถ้าเริ่มเข้าใจมนสิการจริงๆ สิ่งนี้จะเกื้อกูลให้ปัญญาค่อยๆ เจริญ ค่อยๆ สะสม ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ ละความ เป็นเราที่ใส่ใจ ความจริงคือ ไม่มีเราที่ใส่ใจ ทุกๆ ขณะเป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง ที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นเท่านั้นเอง


敬感恩阿姜舒淨 (Ajhan Sujin Boriharnwanaket) 的恩惠

น้อมเคารพในคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

謹以此施法之功德與我們在輪迴裡每一世的父母 師長 同修 親友 仙人 各位讀者及其他一切眾生分享

กุศลในการนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศแด่บิดามารดาในทุกภพทุกชาติ ครูบาอาจารย์ ญาติมิตรสหาย เทวดา และผู้อ่าน รวมถึงสัตว์ทั้งหลาย

By line group Just Dhamma

หมายเหตุ

ที่มา : การสนทนาธรรมออนไลน์ระหว่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ กับ ชาวจีน

สรุปใจความภาษาจีน โดย 陳品彤 เฉินผิ่นถง (คุณแพท)

แปลภาษาไทย โดย คุณปาล สว่างพัฒนกุล (黃如蓮)


อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... บทความแปลภาษาจีน



ความคิดเห็น 1    โดย siraya  วันที่ 18 มี.ค. 2566

ขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย เมตตา  วันที่ 19 มี.ค. 2566

ขอบพระคุณ และยินดีในกุศลจิตค่ะ