[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 494
๓. อจริสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาความแช่มชื่นแห่งธาตุทั้ง ๔
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 26]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 494
๓. อจริสูตร (๑)
ว่าด้วยการแสวงหาความแช่มชื่นแห่งธาตุทั้ง ๔
[๔๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ ได้พบความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ
(๑) ม. อจริงสตร.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 495
นั้นแล้ว เราได้เห็นความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เราได้แสวงหาโทษแห่งปฐวีธาตุ ได้พบโทษแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นโทษแห่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา เราได้แสวงหาเครื่องสลัดออกซึ่งปฐวีธาตุ ได้พบเครื่องสลัดออกซึ่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นเครื่องสลัดออกซึ่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา.
เราได้แสวงหาความแช่มชื่นแห่งอาโปธาตุ ฯลฯ เราได้แสวงหาความแช่มชื่นแห่งเตโชธาตุ ฯลฯ เราได้แสวงหาความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุ ได้พบความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งวาโยธาตุ ได้พบโทษแห่งวาโยธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นเครื่องสลัดออกซึ่งวาโยธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา.
[๔๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่เรายังไม่ได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้เพียงใด เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น.
แต่เมื่อใดเราได้ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
อนึ่ง ญาณทัสสนะ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 496
ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ การเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้.
จบอจริสูตรที่ ๓
อรรถกถาอจริสูตรที่ ๓
พึงทราบวินิจฉัยในอจริสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
บทว่า อจริํ ความว่า เราได้เที่ยวไปด้วยญาณ อธิบายว่า ด้วยการท่องเที่ยวไปตามลำดับภาวนา.
บทว่า ยาวตา แปลว่า ประมาณเท่าใด.
จบอรรถกถาอจริสูตรที่ ๓