[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓
พระวินัยปิฏก เล่ม ๑ ภาค ๓
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
สมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย
มหาวิภังค์วรรณนา ภาค ๒
เตรสกัณฑวรรณนา
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระอุทายี 414/216
พระบัญญัติ 221
สิกขาบทวิภังค์ 415/221
บทภาชนีย์สตรีคนเดียวเป็นต้น 416/224
อนาปัตติวาร 418/234
วินีตวัตถุอุทานคาถา 419/234
วินีตวัตถุเรื่องหญิงหมันเป็นต้น 420/234
พรรณนาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ 237
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอุทายี 237
อธิบายสิกขาบทวิภังค์จตุตถสังฆาทิเสส 239
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 3]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 216
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระอุทายี
[๔๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นพระกุลุปกะในพระนครสาวัตถี เข้าไปสู่สกุลเป็นอันมาก ครั้งนั้นมีสตรีหม้ายผู้หนึ่ง รูปงาม น่าดู น่าชม ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเดินไปทางเรือนของสตรีหม้ายนั้น ครั้นแล้วนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดถวาย จึงสตรีหม้ายนั้นเข้าไปหาท่านพระอุทายี กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอุทายีได้ยังสตรีหม้ายนั้น ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 217
ครั้นแล้วสตรีหม้ายนั้นได้กล่าวปวารณาท่านพระอุทายีว่า โปรดบอกเถิด เจ้าข้า ต้องการสิ่งใดซึ่งดิฉันสามารถจัดหาถวายพระคุณเจ้าได้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้
พระอุทายีขอร้องว่า น้องหญิง ปัจจัยเหล่านั้น ไม่เป็นของหาได้ ยากสำหรับฉัน ขอจงให้ของที่หาได้ยากสำหรับฉันเถิด
สตรีหม้ายถามว่า ของอะไร เจ้าข้า
อุ. เมถุนธรรม จ้ะ
ส. พระคุณเจ้าต้องการหรือ เจ้าคะ
อุ. ต้องการ จ้ะ
สตรีหม้ายนั้นกล่าวว่า นิมนต์มาเถิด เจ้าค่ะ แล้วเดินเข้าห้อง เลิกผ้าสาฎกนอนหงายบนเตียง
ทันใดนั้น ท่านพระอุทายีตามเข้าไปหานางถึงเตียง ครั้นแล้วถ่ม เขฬะรด พูดว่า ใครจักถูกต้องหญิงถ่อย มีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ดังนี้แล้ว หลีกไป
จึงสตรีหม้ายนั่นเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังจักปฏิญาณ ว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติเรียบร้อย ประพฤติพรหมจรรย์ พูด จริง มีศีล มีกัลยาณธรรม ดังนี้เล่า ติเตียนว่า ความเป็นสมณะของ พระสมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ไม่มี ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้พินาศแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของ พระสมณะเหล่านี้พินาศแล้ว ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ จะมี แต่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 218
โพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ขาดจากความเป็นสมณะแล้ว พระสมณะ เหล่านี้ขาดจากความเป็นพราหมณ์แล้ว ไฉนพระสมณะอุทายีจึงได้ขอ เมถุนธรรมต่อเราด้วยตนเอง แล้วถ่มเขฬะรด พูดว่า ใครจักถูกต้องหญิง ถ่อยมีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ดังนี้แล้วหลีกไป เรามีอะไรชั่วช้า เรามีอะไรที่มี กลิ่นเหม็น เราเลวกว่าหญิงคนไหน อย่างไร ดังนี้
แม้สตรีเหล่าอื่นก็เพ่งโทษว่า พระสมณะเธอสายพระศากยบุตร เหล่านั้น เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านั้น ยังจักปฏิญาณ ว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติเรียบร้อย ประพฤติพรหมจรรย์ พูด จริง มีศีล มีกัลยาณธรรม ดังนี้เล่า ติเตียนว่า ความเป็นสมณะ ของ พระสมณะเหล่านั้นไม่มี ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านั้นไม่มี ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านั้นพินาศแล้ว ความเป็นพราหมณ์ของ พระสมณะเหล่านั้นพินาศแล้ว ความเป็นสมณะของพระสมณะเหล่านี้ จะ มีแต่ที่ไหน ความเป็นพราหมณ์ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน และ โพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ขาดจากความเป็นพระสมณะแล้ว พระสมณะเหล่านั้นขาดจากความเป็นพราหมณ์แล้ว ไฉนพระอุทายีจึงได้ขอ เมถุนธรรมต่อสตรีนี้ด้วยตนเอง แล้วจึงถ่มเขฬะรด พูดว่า ใครจักถูก ต้องหญิงถ่อยมีกลิ่นเหม็นนี้ได้ ดังนี้ แล้วหลีกไป นางคนนี้มีอะไรชั่วช้า นางคนนี้มีอะไรที่มีกลิ่นเหม็น นางคนนี้ เลวกว่าสตรีคนไหน อย่างไร คนนี้
ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อ สิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 219
กล่าวคุณ แห่งการบำเรอตนด้วยกามในสำนักมาตุคามเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม ท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอกล่าวคุณแห่งการบำเรอตน บำเรอด้วยกาม ในสำนักมาตุคามจริงหรือ
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ กระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจงได้กล่าว คุณแห่งการ บำเรอตนด้วยกาม ในสำนักมาตุคามเล่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อความกำหนัด เพื่อความ พราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่ เพื่อความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดง แล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เรา แสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น
ดูก่อนโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความกระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 220
อาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับทุกข์ เพื่อปราศจาก ตัณหาเครื่องร้อยรัดมิใช่หรือ
ดูก่อนโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมาย ในกาม การกำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึก อันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เรา บอกไว้แล้วโดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ
ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน บำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยง ง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย แล้วทรงกระทำ ธรรมมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 221
สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็น ที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน เพื่อ กำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของ ชุนชนที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อ ถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘. ๔. อนึ่ง ภิกษุใด กำหนัดแล้ว มีจิตแปรปรวนแล้ว กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักมาตุคาม ด้วย ถ้อยคำพาดพิงเมถุนว่า น้องหญิง สตรีใด บำเรอผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม เช่นเรา ด้วยธรรมนั่น นั่นเป็นยอดแห่งความบำเรอทั้งหลาย เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระอุทายี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๑๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มี การงานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 222
อย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่าง เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกประพฤติแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน อุปสมบทให้แล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ บรรดา ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้แล้วด้วย ญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า กำหนัดแล้ว คือ มีความยินดี มีความเพ่งเล็ง มีจิต ปฏิพัทธ์.
บทว่า แปรปรวนแล้ว ความว่า จิตที่ถูกราคะย้อมแล้วก็แปรปรวน ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้วก็แปรปรวน ที่ถูกโมหะให้ลุ่มหลงแล้วก็แปร ปรวน แต่ที่ว่าแปรปรวนในอรรถนี้ ทรงประสงค์จิตที่ถูกราคะยอมแล้ว.
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 223
หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบ ถึงถ้อยคำเป็นสุภาษิต ทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบ และสุภาพ.
บทว่า ในสำนักมาตุคาม คือ ในที่ใกล้มาตุคาม ในที่ไม่ห่าง มาตุคาม.
บทว่า กามของตน ได้แก่ ความใคร่ของตน เหตุของตน ความ ประสงค์ของตน การบำเรอของตน.
บทว่า นั่นเป็นยอด คือนั่นเป็นเลิศ ประเสริฐ สูงสุด อุดมเยี่ยม.
บทว่า สตรีใด ได้แก่ นางกษัตริย์ พราหมณี หญิงแพศย์ หรือ หญิงศูทร.
บทว่า เช่นเรา คือ เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็น แพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม.
บทว่า มีศีล คือ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากมุสาวาท.
บทว่า ผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ คือ ผู้เว้นขาดจากเมถุนธรรม
ที่ชื่อว่า มีกัลยาณธรรม คือ เป็นผู้ชื่อว่ามีธรรมงาม เพราะ ศีลนั้นและเพราะพรหมจรรย์นั้น.
บทว่า ด้วยธรรมนั่น คือ ด้วยเมถุนธรรม.
บทว่า บำเรอ คือ อภิรมย์.
บทว่า ด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุน คือ ด้วยถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยเมถุน ธรรม.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 224
ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล แม้ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
สตรีคนเดียว
[๔๑๖] สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สตรี ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรี ต้องอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์คนเดียว
บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่ง การบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 225
บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติ ทุกกฎ
บัณเฑาะก์ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ต้องอาบัติทุกกฎ
บรุษคนเดียว
บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฎ
บุรุษ ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการ บำเรอกามของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ
บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฎ
บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และกล่าวคุณ แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฏ
บุรุษ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษ ต้องอาบัติทุกกฎ
สัตว์ดิรัจฉานตัวเดียว
สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 226
สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสงสัย มีความกำหนัด และกล่าวคุณ แห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติทุกกฎ
สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ ทุกกฏ
สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
สตรี ๒ คน
[๔๑๗] สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มี ความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๒ ตัว
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าว คุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 227
กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มี ความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฎ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 228
บุรุษ ๒ คน
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุบุรุษทั้งสองคน มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุก กฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มี ความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ตัว มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง ตัวมีความกำหนัด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 229
และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้อง อาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองตัว มี ความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองตัว มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สัตว์ดิรัจฉาน ๒ ตัว ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุบุรุษทั้งสองตัว มี ความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-บัณเฑาะก์
สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและ บัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส
สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและ บัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๒ ตัว
สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 230
มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของคนในสำนักสตรีและ บัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๑ บัณเฑาะก์ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง คน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรี และบัณเฑาะก์ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี-บุรุษ
สตรี บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบุรุษ ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส
สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด และ กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบุรุษทั้งสอง ต้อง อาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและ บุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและบุรุษ ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองคน มีความกำหนด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและ บุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 231
สตรี-สัตว์ดิรัจฉาน
สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและ สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส
สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง สอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามในสำนักสตรี และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักสตรีและ สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
สตรี ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนัก สตรีและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์- บุรุษ
บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ และบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสองคน มีความกำหนัด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 232
และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ และบุรุษ ทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ และบุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๑ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งสองคน มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนใน สำนักบัณเฑาะก์และบุรุษทั้งสองง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ บุรุษ ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความกำหนัด กล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และ บุรุษทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ตัว
บัณเฑาะก์-สัตว์ดิรัจฉาน
บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ ทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนัก บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติถุลลัจจัย
บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความ กำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์และ สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุรุษ ทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนัก บัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสองง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 233
ดิรัจฉานทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตน ในสำนักบัณเฑาะก์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว บัณเฑาะก์ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบัณเฑาะก์ และสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ-สัตว์ดิรัจฉาน
บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบุบุรุษทั้งสอง มี ความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษและ สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสงสัยทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้ง สอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนัก บุรุษและสัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษและ สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
บุรุษ ๑ สัตว์ดิรัจฉาน๑ ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นบัณเฑาะก์ทั้งสอง มีความกำหนัด และกล่าวคุณแห่งการบำเรอกามของตนในสำนักบุรุษและ สัตว์ดิรัจฉานทั้งสอง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 234
อนาปัตติวาร
[๔๑๘] ภิกษุกล่าวว่า ขอท่านจงบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัย ของภิกษุไข้ ดังนี้ เป็นต้น ๑ ภิกษุวิกลจริต ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา
[๔๑๙] เรื่องหญิงหมันว่าทำไฉนจะได้บุตร เรื่องหญิงมีบุตรถี่ เรื่องเป็นที่รัก เรื่องมีโชคดี เรื่องจะถวายอะไรดี เรื่องจะอุปัฏฐากด้วย อะไรดี เรื่องไฉนจึงได้ไปสุคติ.
วินีตวัตถุ
เรื่องหญิงหมันว่าทำไฉนจะได้บุตร
[๔๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีหมันคนหนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าขา ทำไฉน ดิฉันจึงจะมีบุตร
ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ
ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ
ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ
ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 235
เรื่องหญิงมีบุตรถี่
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งมีบุตรถี่ ได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่าน เจ้าข้า ทำไฉน ดิฉันจึงจะไม่มีบุตร ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ
ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ
ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ
ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องเป็นที่รัก
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉนดิฉันจึงจะเป็นที่รักของสามี
ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ
ส. อะไรเจ้าคะ ชื่อว่าทานที่เลิศ
ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ
ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องมีโชคดี
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉนดิฉันจึงจะโชคดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 236
ภิกษุตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวายทานที่เลิศ
ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ
ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ
ภิกษุรูปนั้น มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องจะถวายอะไรดี
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุสุปกะว่า ท่านเจ้าข้า
ดิฉันจะถวายอะไรแก่พระคุณเจ้าดี
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า น้องหญิง เธอจงถวายทานที่เลิศ
ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ
ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ
ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว กระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องจะอุปัฏฐากด้วยอะไร
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ดิฉันจะอุปัฏฐากพระคุณเจ้าด้วยอะไรดี
ภิกษุนั้นตอบว่า น้องหญิง เธอจงอุปัฏฐากด้วยทานที่เลิศ
ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ
ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 237
ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว
เรื่องไฉนจึงจะไปสุคติ
ก็โดยสมัยนั้นแล สตรีผู้หนึ่งได้ถามภิกษุกุลุปกะว่า ท่านเจ้าข้า ทำไฉนดิฉันจึงจะได้ไปสุคติ
ภิกษุนั้น ตอบว่า น้องหญิง ถ้าเช่นนั้นเธอจงถวายทานที่เลิศ
ส. อะไร เจ้าคะ ชื่อว่า ทานที่เลิศ
ภิ. เมถุนธรรม จ้ะ
ภิกษุรูปนั้นมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วกระมัง หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ
พรรณนาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
อัตตกามปาริจริยสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
วินิจัยในอัตตกามปาริจริยสิกขาบทนั้น พึงทราบดังนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระอุทายี]
บทว่า กุลุปโก ความว่า เป็นผู้เข้าใกล้ชิดตระกูล คือ เป็นผู้ ขวนขวายเป็นนิตย์ในการเข้าหาตระกูล เพื่อต้องการปัจจัย ๔.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 238
บทว่า จีวรปิณฺฑปาคเสนาสนคิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารํ ได้แก่ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ก็ในบทว่า คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกขารํ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ที่ชื่อว่าปัจจัย เพราะอรรถว่า ทำการบำบัด. คำว่า ปัจจัย เป็นชื่อแห่งเภสัชอันสบาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง. ชื่อว่ากรรมของหมอ เพราะหมอนั้นอนุญาต ฉะนั้น จึงชื่อว่า เภสัช คิลานปัจจัยด้วย เภสัชด้วย ชื่อว่า คิลานปัจจัยเภสัช. มีคำอธิบายว่า การงานของหมอมีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น ชนิดใด ชนิดหนึ่ง เป็นที่สบายแก่คนไข้. ก็เครื่องล้อม ท่านเรียกว่า บริขาร ในคำเป็นต้นว่า เมืองเป็นอันเขาล้อมดีแล้วด้วย เครื่องล้อมเมือง ๗ ชั้น๑ ดังนี้. เครื่องประดับท่านก็เรียกว่า บริขาร ในคำเป็นต้นว่า รถมีเครื่อง ประดับขาว มีฌานเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ๒ ดังนี้. เครื่องค้ำจุน ท่านเรียกว่า บริขาร ในประโยคเป็นต้นว่า เครื่องค้ำจุนชีวิตแม้เหล่านี้ อันบรรพชิตพึงแสวงหา ๓ ดังนี้. ในบทว่า คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารํ นี้ย่อมควรทั้งเครื่องค้ำจุน ทั้งเครื่องล้อม.
แท้จริง คิลานปัจจัยเภสัชนั้น เป็นเครื่องล้อมชีวิตบ้าง เพราะ ไม่ให้ช่องแก่ความเกิดขึ้น แห่งอาพาธอันจะยังชีวิตให้พินาศ เป็นเครื่อง ค้ำจุนบ้าง เพราะเป็นเหตุให้ชีวิตนั้น เป็นไปได้นาน เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า บริขาร พึงทราบเนื้อความอย่างนั้นว่า คิลานปัจจัยเภสัชนั้นด้วย เป็นบริขารด้วย โดยนัยดังกล่าวมานี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คิลานปัจจัย เภสัชบริขาร. ซึ่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น.
(๑) อง. สตฺตก. ๒๗/๑๐๗.
(๒) สํ. มหาวาร. ๑๙/๗.
(๓) ม. มู. ๑๒/๒๑๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 239
บทว่า วสลํ แปลว่า เลว คือ ชั่วช้า. อีกนัยหนึ่ง ผู้ที่ชื่อว่า วสละ เพราะอรรถว่า ไหลออกมา. อธิบายว่า ย่อมหลั่งออก.
บทว่า นิฏฺหิตฺวา แปลว่า บ้วนเขฬะให้ตกไป
ด้วยคำว่า กิสฺสาหํ เกน หายามิ ดังนี้ หญิงนั้นแสดงว่า เรา จะด้อยกว่าหญิงอื่นคนไหน? ว่าโดยอะไร? คือ ว่าโดยโภคะก็ตาม โดย เครื่องแค่แต่งตัวก็ตาม โดยรูปร่างก็ตาม หญิงชื่ออะไรเล่า? จะเป็นผู้ดียิ่ง ไปกว่าเรา.
บทว่า สนฺติเก แปลว่า ยืนอยู่ในที่ใกล้เคียง คือ ในที่ไม่ไกล โดยรอบ. แม้ด้วยบทภาชนะ ท่านก็แสดงเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า อตฺตกามปาริจริยาย ความว่า การบำเรอด้วยกาม กล่าวคือ เมถุนธรรม ชื่อว่า กามปาริจริยา. การบำเรอด้วยกามเพื่อประโยชน์ แก่ตน ชื่อว่า อัตตกามปาริจริยา. อีกอย่างหนึ่ง การบำเรอที่ตนใคร่ คือ ปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตกามา. อธิบายว่า อันภิกษุ เองปรารถนาแล้วด้วยอำนาจแห่งความกำหนด ในเมถุน การบำเรอนั้นด้วย อันตนให้ใคร่ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตกามปาริจริยา. แห่งการ บำเรอด้วยกามเพื่อประโยชน์แก่ตน (หรือแห่งการบำเรออันตนใคร่) นั้น.
[อธิบายสิกขาบทวิภังค์จตุตถสังฆาทิเสส]
สองบทว่า วณฺณํ ภาเสยฺย ความว่า พึงประกาศคุณ คืออานิสงส์. ในอรรถวิกัปทั้งสองนั้น เพราะในอรรถวิกัปนี้ว่า การบำเรอกามเพื่อ ประโยชน์ตน ได้ใจความ คือ กาม ๑ เหตุ ๑ การบำเรอ ๑ พยัญชนะ ยังเหลือ ในอรรถวิกัปนี้ว่า การบำเรอนั้นด้วย อันตนใคร่ด้วย ชื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 240
อัตตกามปาริจริยา ได้ใจความ คือ ความประสงค์ การบำเรอ ๑ พยัญชนะยังเหลือ เพราะเหตุนั้น เพื่อไม่ทำความเอื้อเฟื้อในพยัญชนะแสดง แต่ใจความเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทภาชนะว่า คือ เป็นเหตุ แห่งตน เป็นที่ประสงค์แห่งตน. จริงอยู่ เมื่อตรัสคำว่า การบำเรอตน บัณฑิตทั้งหลายจักทราบว่า การบำเรอด้วยกาม เพื่อประโยชน์แก่ตน ท่าน กล่าวแล้วว่าด้วยคำมีประมาณเท่านี้ แม้เมื่อท่านกล่าวคำว่า การบำเรอตน ซึ่งเป็นที่ประสงค์แห่งตน บัณฑิตทั้งหลาย ก็จักทราบว่า การบำเรอ ที่ตนใคร่ ด้วยอรรถว่า ที่ตนต้องการประสงค์ ท่านกล่าวด้วยคำมี ประมาณเท่านี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงอาการในการสรรเสริญ คุณแห่งการบำเรอตนด้วยกายนั้น จึงตรัสคำว่า เอตทคฺคํ เป็นอาทิ คำนั้น มีเนื้อความชัดเจนทีเดียว ทั้งโดยอุเทศทั้งโดยนิเทศ.
ส่วนบทสัมพันธ์ และวินิจฉัยอาบัติในสิกขาบทนี้ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า เอตทคํ ฯเปฯ ปริจเรยฺย มีความว่า หญิงในพึงบำเรอ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีศีล มีกัลยาณธรรมเช่นเรา ด้วยธรรมนั่น ขึ้นชื่อว่าการบำเรอใด ของหญิงนั้น ผู้บำเรอผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เช่นเราอย่างนั้น, การบำเรอเป็นยอดของการบำเรอทั้งหลาย.
สองบทว่า เมถุนูปสํหิเตน สงฺฆาทิเสส มีความว่า ภิกษุใด เมื่อกล่าวคุณแห่งการบำเรอตนด้วยกามอย่างนั้น พึงกล่าวด้วยคำพาดพิง เมถุนจังๆ คือ หมายเฉพาะเมถุนจังๆ เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุนั้น.
บัดนี้ ท่านปรับสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้กล่าวด้วยคำพาดพิงเมถุน เท่านั้น; เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นสังฆาทิเสสแม้แก่ภิกษุผู้กล่าวคุณแห่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 241
การบำเรอ ด้วยถ้อยคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ฉันก็เป็นกษัตริย์ หล่อนก็เป็น กษัตริย์ นางกษัตริย์สมควรให้แก่กษัตริย์ เพราะมีชาติเสมอกัน แต่เป็น สังฆาทิเสสแก่ภิกษุผู้กล่าวปริยายแม้มาก มีคำว่า ฉันก็เป็นกษัตริย์ หล่อน ก็เป็นกษัตริย์ เป็นต้น แล้วกล่าวด้วยถ้อยคำพาดพิงเมถุนจังๆ อย่างนี้ว่า หล่อนสมควรให้เมถุนแก่ฉัน.
คำว่า อิตฺถี จ โหติ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล พระอุทานเถระเป็นอาทิกัมมิกะในสิกขาบท ไม่เป็นอาบัติแก่ท่านผู้เป็น อาทิกัมมิกะฉะนี้แล.
บทภาชนียวรรณนา จบ
ปกิณกะทั้งปวงมีสมุฏฐานเป็นต้น เหมือนทุฏฐุลลวาจาสิกขาบท. แม้วินีตวัตถุทั้งหลาย ก็มีอรรถชัดเจนทั้งนั้น ด้วยประการนี้.
พรรณนาสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ