[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์
วรรคที่ ๑๒
สังวโรกัมมันติกถาและอรรถกถา 1476/328
กัมมกถาและอรรถกถา 1479/333
สัทโทวิปาโกติกถาและอรรถกถา 1485/337
สฬายตนกถาและอรรถกถา 1489/340
สัตตักขัตตุปรมกถาและอรรถกถา 1492/344
โกลังโกลเอกพีชีกถาและอรรถกถา 1500/347
ชีวิตาโวโรปนกถาและอรรถกถา 1502/350
ทุคคติกถาและอรรถกถา 1507/354
สัตตมภวิกกถาและอรรถกถา 1512/358
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 328
วรรคที่ ๑๒
สังวโรกัมมันติกถา
[๑๔๗๖] สกวาที ความสำรวมเป็นกรรม หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความสำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมใน ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมใน ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 329
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความสำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความสำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมใน ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความสำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๗๗] ส. ความไม่สำรวม เป็นกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความไม่สำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวม ในฆานินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมในชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวม ในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความไม่สำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความไม่สำรวมในกายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 330
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่สำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวม ในฆานินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมในชิวหินทรีย์ เป็นชิวหากรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความไม่สำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความไม่สำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความไม่สำรวมในมนินทรีย์ เป็นมโนกรรม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความไม่สำรวมในโสตินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมใน ฆานินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมในชิวหินทรีย์ ฯลฯ ความไม่สำรวมใน กายินทรีย์ เป็นกายกรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๗๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดี เป็นกรรม หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต ฯลฯ ไม่เป็น ผู้ถือนิมิต ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 331
ผู้ถือนิมิต ฯลฯ ไม่เป็นผู้ถือนิมิต ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดี ก็เป็นกรรม น่ะสิ.
สังวโรกัมมันติกถา จบ
อรรถกถาสังวโร กัมมันติกถา
ว่าด้วย ความสำรวมเป็นกรรม
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความสำรวมเป็นกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดี เป็นกรรม เพราะอาศัยพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ภิกษุเห็นรูปด้วยจักขุแล้วเป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต ... ไม่ถือเอา โดยนิมิต ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวว่า ความสำรวมในจักขุนทรีย์ เป็นจักขุกรรมหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า การกล่าวคำอันใดที่ สกวาทีกล่าวไว้ในลัทธิของตนว่า เจตนาเป็นกรรม การกล่าวนั้นเป็น ไปในกายวจีและมโนทวาร ย่อมได้ชื่อว่าเป็นกายกรรมเป็นต้น ฉันใด ถ้าความสำรวมเป็นกรรมตามลัทธิของท่านไซร้ ความสำรวมแม้นั้น เมื่อเป็นไปในจักขุนทรีย์เป็นต้น ก็พึงได้ชื่อว่า จักขุกรรมเป็นต้น ดังนี้. ฝ่ายปรวาทีเมื่อไม่เห็นบทพระสูตรเช่นนั้น จึงตอบปฏิเสธในทวารทั้ง ๔ และย่อมปฏิเสธโดยหมายเอาประสาทกายในกายทวารที่ ๕ แต่ตอบรับรอง หมายเอาวิญญัตติกาย. จริงอยู่ ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาประสาทกาย
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 332
บ้าง วิญญัตติกายบ้าง ว่าเป็นกายินทรีย์นั่นแหละ. ย่อมตอบปฏิเสธ หมายเอาวิปากทวาร แม้เป็นมโนทวาร. ย่อมตอบรับรอง หมายเอา กรรมทวาร. แม้ในความไม่สำรวมก็นัยนี้.
พระสูตรว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นต้น นี้ย่อมแสดงเฉพาะความสำรวมกับความไม่สำรวมในทวารทั้งหลายเท่านั้น ไมใช่แสดงซึ่งความที่ความสำรวมและความไม่สำรวมเป็นกรรม เพราะ ฉะนั้น พระสูตรที่ยกมานั้น จึงไม่ใช่ข้ออ้างในที่นี้ ดังนี้แล.
อรรถกถาสังวโรกัมมันติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 333
กัมมกถา
[๑๔๗๙] สกวาที กรรมทั้งปวงมีวิบาก หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ก็มีวิบาก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ก็มีวิบาก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ฝ่ายกามาวจร ก็มี วิบาก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ฝ่ายรูปาวจร ฝ่าย อรูปาวจร ฝ่ายโลกุตตระ ก็มีวิบาก หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 334
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายกามาวจร ก็มี วิบาก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เจตนาทั้งปวงมีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายรูปาวจร ฝ่าย อรูปาวจร ก็มีวิบาก หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๘๐] ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ไม่มีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ไม่มีวิบากก็ ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก
[๑๔๘๑] ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ไม่มีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ไม่มี วิบาก ก็ ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก
[๑๔๘๒] ส. เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ฝ่ายกามาวจร ฝ่าย รูปาวจร ฝ่ายอรูปาวจร ฝ่ายโลกุตตระ ไม่มีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 335
ส. หากว่า เจตนาที่เป็นวิบากอัพยากฤต ฝ่ายโลกุตตระ ไม่มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก
[๑๔๘๓] ส. เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายกามาวจร ฝ่าย รูปาวจร ฝ่ายอรูปาวจร ไม่มีวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เจตนาที่เป็นกิริยาอัพยากฤต ฝ่ายอรูปาวจร ไม่มีวิบาก ก็ต้องไม่กล่าวว่า เจตนาทั้งปวงมีวิบาก
[๑๔๘๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า กรรมทั้งปวงมีวิบาก หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า กรรมทั้งหลายที่ทำด้วยความจงใจ อันบุคคลกระทำแล้ว สั่งสมแล้ว หรือในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพสืบๆ ไป ดังนี้๑ เป็น สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น กรรมทั้งปวงก็มีวิบาก น่ะสิ.
กัมมกถา จบ
อรรถกถากัมมกถา
ว่าด้วย กรรม
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องกรรม. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า กรรมทั้งปวงเป็นสวิบาก คือ
๑. อง. ทสก. ๒๔/๑๙๔.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 336
มีวิบาก เพราะอาศัยบทพระสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าว ความสิ้นไปแห่งวิบากเพราะไม่เสวยกรรมอันประกอบด้วยสัญเจตนา คือความจงใจ อันตนทำแล้วสั่งสมแล้ว เป็นต้น คำถามของสกวาทีว่า กรรมทั้งปวง เป็นต้น เพื่อแสดงวิภาคนี้แก่ชนเหล่านั้นว่า เจตนา พระศาสดาทรงตรัสเรียกว่า กรรม โดยไม่แปลกกันในคำว่า ภิกษุ ทั้งหลายเราเรียกเจตนาว่าเป็นกรรม ดังนี้ เจตนาแม้นั้นเป็นกุศลก็ดี เป็น อกุศลก็ดีมีวิบาก ส่วนเจตนาที่เป็นอัพยากตะไม่มีวิบาก ดังนี้ คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาทั้งหลายว่า เจตนาทั้งปวง อีก ปรวาที ตอบปฏิเสธ หมายเอาเจตนาที่เป็นอัพยากตะ และพึงทราบการตอบ รับรองโดยหมายเอาเจตนาที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล. คำว่า เจตนาที่ เป็นวิบากอัพยากตะ เป็นต้น ท่านสกวาทีกล่าวเพื่อแสดงเจตนาที่มีวิบาก และไม่มีวิบากโดยย่อ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
พระสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งวิบาก เป็นต้น ที่ปรวาทีนำมากล่าวนั้นหมายถึงการเสวยวิบากในภพทั้งหลาย มีภพอันสัตว์พึงเห็นได้เป็นต้น ได้แก่ ภพปัจจุบัน ในเมื่อปัจจุบันยังมีอยู่ เพราะ ฉะนั้น พระสูตรนั้น จึงไม่ใช่ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถากัมมกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 337
สัทโทวิปาโกติกถา
[๑๔๘๕] สกวาที เสียงเป็นวิบาก หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เสียงเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข เป็นผลที่บุคคลเสวย เป็นทุกข์ เป็นผลที่บุคคลเสวยไม่ทุกข์ไม่สุข สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วย จิต มีอารมณ์ มีความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เสียง ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ไม่เป็นผลที่ บุคคลเสวยเป็นทุกข์ ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เสียงไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า เสียงเป็น วิบาก
[๑๔๘๖] ส. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เสียงเป็นวิบาก เสียงเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 338
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๘๗] ส. เสียงเป็นวิบาก. แต่เสียงไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็น สุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่เป็นผลที่บุคคลเสวย เป็นสุข ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นทุกข์ ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๘๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า เสียงเป็นวิบาก หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตนั้น เป็นผู้ มีเสียงดุจเสียงพรหม กล่าวคำด้วยน้ำเสียงอันไพเราะดุจเสียงนกการะเวก เพราะกรรมนั้นอันได้ทำไว้แล้ว ได้สะสมแล้ว ได้เพิ่มพูนแล้ว เป็นกรรม ไพบูลย์ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น เสียงก็เป็นวิบาก น่ะสิ. สัทโทวิปาโกติกถา จบ
๑. ที. ปา. ๑๑/๑๖๖.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 339
อรรถกถาสัทโท วิปาโกติกถา
ว่าด้วย เสียงเป็นวิบาก (๑)
ชื่อว่า เรื่องเสียงเป็นวิบาก. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า เสียงเป็นวิบาก เพราะไม่ พิจารณาความถือเอาคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระตถาคตนั้น เป็นผู้มีเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ... เพราะทำกรรม อันได้ทำแล้ว ได้ สะสมไว้แล้ว ได้เพิ่มพูนแล้ว เป็นกรรมไพบูลย์ ดังนี้ คำถามของสกวาที กล่าวเพื่อแสดงแก่ชนเหล่านั้นว่า อรูปธรรมทั้งหลาย คือนามขันธ์ ๔ มี กรรมเป็นสมุฏฐาน ย่อมได้ชื่อว่า วิบาก แต่โวหารนี้ไม่มีในรูปธรรม ทั้งหลาย. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า เสียงเป็นผลที่บุคคล เสวยเป็นสุข เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่าขึ้นชื่อว่าวิบากแล้วย่อม เป็นอย่างนี้.
พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระตถาคตนั้นเป็นผู้ มีเสียงดุจเสียงแห่งพรหมเพราะกรรมนั้นได้ทำไว้แล้ว เป็นต้น ที่ปรวาที นำมากล่าวนั้นก็เพื่อจะแสดงให้ทราบถึงการได้ลักษณะ คือภาวะที่ดี อันที่จริง พระมหาบุรุษแม้เป็นผู้มีบริวารที่ดีก็เพราะทำกรรมไว้ใน กาลก่อน และทั้งบริวารนั้นก็ไม่ใช่วิบาก เพราะฉะนั้นพระสูตรนี้ จึงมิใช่ ข้อพิสูจน์ว่าเสียงเป็นวิบาก ดังนี้แล.
อรรถกถาสัทโทวิปาโกติกถา จบ
๑. คำว่าวิปากะ ได้แก่วิปากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ วิบากนี้เรียกว่าผลด้วย แต่คำว่าผลมี ๒ คือ มุขยผล และ สามัญญผล สำหรับสามัญญผล ได้แก่ กัมมชรูป คือรูปที่เกิดแต่กรรมเป็นสมุฏฐาน ไม่จัดเป็นวิบาก.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 340
สฬายตนกถา
[๑๔๘๙] สกวาที จักขายตนะเป็นวิบาก หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. จักขายตนะเป็นผลอันบุคคลเสวยเป็นสุข เป็นผลอัน บุคคลเสวยเป็นทุกข์ ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จักขายตนะ ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่ มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า จักขายตนะไม่เป็นผลอันบุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จักขายตนะเป็นวิบาก ฯลฯ
ส. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะเป็นผลอันบุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จักขายตนะ เป็นวิบาก จักขายตนะเป็นผลที่บุคคล เสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. จักขายตนะเป็นวิบาก แต่จักขายตนะไม่เป็นผลที่ บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่เป็นผลที่บุคคลเสวย
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 341
เป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ฯลฯ ชิวหายตนะ ฯลฯ
[๑๔๙๐] ส. กายายตนะเป็นวิบาก หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กายายตนะ เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ มี อารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กายายตนะ ไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มี อารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กายายตนะไม่เป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ก็ต้องไม่กล่าวว่า กายายตนะเป็นวิบาก ฯลฯ
ส. ผัสสะ เป็นวิบาก ผัสสะเป็นผลที่บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กายายตนะ เป็นวิบาก กายายตนะ เป็นผลที่บุคคล เสวยเป็นสุข ฯลฯ มีอารมณ์ มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กายายตนะเป็นวิบาก แต่กายายตนะไม่เป็นผลที่ บุคคลเสวยเป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 342
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ผัสสะไม่เป็นผลที่บุคคลเสวย เป็นสุข ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สฬายตนะเป็นวิบาก หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะได้ทำกรรมไว้ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะได้ทำกรรมไว้ ด้วย เหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า สฬายตนะเป็นวิบาก
สฬายตนะกถา จบ
อรรถกถาสฬายตนกถา
ว่าด้วย สฬายตนะ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสฬายตนะ คืออายตนะภายใน ๖. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายมหาสังฆิกะทั้งหลายว่า สฬายตนะ เกิดขึ้นเพราะทำกรรมไว้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น สฬายตนะจึงเป็นวิบาก ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า จักขวายตนะเป็นวิบากหรือ เป็นต้น หมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้ว ในหนหลังนั่นแหละ.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 343
ก็แต่ มนายตนะพึงเป็นวิบากได้ในคำว่า สฬายตนะเป็นวิบาก นี้ ส่วนอายตนะที่เหลือนอกนั้นมีกรรมเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว ไม่เป็น วิบาก เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่า สฬายตนะเป็นวิบาก (ไปทั้งหมด) ดังนี้แล.
อรรถกถาสฬายตนกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 344
สัตตักขัตตุปรมกถา
[๑๔๙๒] สกวาที บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะได้ปลงชีวิตมารดา ได้ปลง ชีวิตบิดา ได้ปลงชีวิตพระอรหันต์ ได้มีจิตประทุษร้าย ยังพระโลหิตของ พระตถาคตให้ห้อ ได้ทำลายสงฆ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙๓] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ ธรรมในระหว่าง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ ธรรมในระหว่าง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะนั้น ได้ปลงชีวิตมารดา ได้ ปลงชีวิตบิดา ได้ปลงชีวิตพระอรหันต์ ได้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิต ของพระตถาคตให้ห้อ ได้ทำลายสงฆ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙๔] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 345
ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นิยมที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความ เกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง มีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง มีอยู่หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๒๕] ส. นิยมที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความ เกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า นิยมที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ ด้วยความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง
[๑๔๙๖] ส. สติปัฏฐาน ฯลฯ โพชฌงค์ ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตัก- ขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง ไม่มี หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า โพชฌงค์ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง ไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
[๑๔๙๗] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 346
ส. ด้วยสกทาคามีนิยม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ด้วยอนาคามีนิยม หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ด้วยอรหัตนิยม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ด้วยนิยมอะไร?
ป. ด้วยโสตาปัตตินิยม.
[๑๔๙๘] ส. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้ง เป็นอย่างยิ่ง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนเหล่าหนึ่งเหล่าใด ก้าวลงสู่โสตปัตตินิยม ชน เหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๔๙๙] ส. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยง ต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลนั้น เป็นสัตตักขัตตุปรมะ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง. สัตตักขัตตุปรมกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 347
โกลังโกลเอกพีชีกถา
[๑๕๐๐] ปรวาที ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้โกลังโกละเป็นผู้เที่ยงต่อ ความเกิดอีก ๒ - ๓ ครั้ง หรือ?
สกวาที ถูกแล้ว.
ป. บุคคลนั้น เป็นโกลังโกละ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลนั้น เป็นโกลังโกละ ด้วยเหตุนั้นนะ ท่านจึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้โกลังโกละเป็นผู้เที่ยงต่อความเกิดอีก ๒ - ๓ ครั้ง.
[๑๕๐๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้เอกพีชี เป็นผู้เที่ยงต่อความ เกิดอีกครั้งเดียว หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลนั้น เป็นเอกพีชี มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลนั้น เป็นเอกพีชี ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้เอกพีชี เป็นผู้เที่ยงต่อความเกิดอีกครั้งเดียว
โกลังโกลเอกพีชีกถา จบ
อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมกถา
ว่าด้วย บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ คือบุคคลผู้มีการเกิด อีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 348
นิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สัตตักขัตตุปรมบุคคลมีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้นั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ จึงชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงโดยความเป็นผู้มีการเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อแสดงวิภาคนี้แก่ชนเหล่านั้นว่า ยกเว้น อริยมรรคแล้วการกำหนดแน่นอนอย่างอื่นไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้น พึงเป็นผู้เที่ยงเพราะความเป็นผู้มีการเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุ อันใด ดังนี้. คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
ในคำทั้งหลาย คำว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ได้ปลงชีวิตมารดา เป็นต้น พึงทราบคำอธิบายอย่างนี้ว่า นิยาม๑ คือธรรมที่กำหนดแน่นอน มี ๒ อย่าง คือ สัมมัตตนิยาม คือธรรมที่กำหนดแน่นอนในทางที่ถูก ๑ มิจฉัตตนิยาม คือธรรมที่กำหนดแน่นอนในทางที่ผิด ๑ อริยมรรค ชื่อว่า สัมมัตตนิยาม ก็อริยมรรคนั้นย่อมกำหนดซึ่งความเป็นอวิปากธรรมและ ความเกิดขึ้นแห่งผลธรรม ส่วนมิจฉัตตนิยามย่อมกำหนดแน่นอนซึ่ง อนันตริยกรรม คือความเกิดขึ้นในนรกอันไม่มีภพอื่นคั่นในระหว่าง ใน ปัญหานั้น สัตตักขัตตุปรมบุคคลย่อมเป็นผู้อันโสดาปัตติมรรคกำหนด แล้วโดยความเป็นสภาพธรรมที่ไม่ตกไปสู่อบาย และโดยความเกิดขึ้น แห่งผลธรรม ส่วนนิยามแห่งมรรคที่เหลืออยู่ย่อมไม่มีแก่สัตตักขัตตุปรมบุคคล นั้น เพราะมิใช่เป็นธรรมที่ท่านบรรลุแล้ว แม้สัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้น ก็ไม่อาจทำอนันตริยกรรม ก็แต่ว่าท่าน คือปรวาที ปรารถนานิยามแห่ง สัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า สัตตัก-
๑. บาลีพระอภิธรรมใช้คำว่า นิยาโม แต่อรรถกถาใช้คำว่า นิยโม แปลว่า ความแน่นอน คือความกำหนด แน่นอนเหมือนกัน หรือจะแปลทับศัพท์ว่า นิยาม, นิยาม ก็ได้.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 349
ขัตตุปรมบุคคลนั้นเป็นผู้อันมิจฉัตตนิยามนี้กำหนดแล้วตามลัทธิของท่าน หรือ. ในปัญหาทั้งหลายว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควร เพื่อตรัสรู้ธรรมในระหว่างหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มี ธรรมอื่นคั่นในระหว่าง ย่อมตอบรับรองหมายเอาการเกิดอีก ๗ ชาติ เป็นอย่างยิ่ง.
ในปัญหาทั้งหลายว่า นิยามที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง มีอยู่มิใช่หรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็น นิยามของความเป็นสัตตักขัตตุปรมบุคคล จึงตอบปฏิเสธ. คำว่า สติปัฏฐาน ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงซึ่ง มรรคธรรมทั้งหลายที่ท่านเรียกว่านิยาม. อนึ่ง ธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น นั้นย่อมไม่มีเพราะความไม่เกิดขึ้นแห่งปฐมมรรคของสัตตักขัตตุปรมบุคคล นั้นอีก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงตอบปฏิเสธ. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น ทั้งนั้น.
ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะมิใช่หรือ ที่ปรวาทีนำมา นี้อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงพยากรณ์บุคคลเหล่านั้นด้วย กำลังแห่งพระญาณของพระองค์ว่า บุคคลนี้ท่องเที่ยวไปสิ้นภพมี ประมาณเท่านี้ๆ แล้วจักปรินิพพาน ดังนี้เป็นต้น ก็คำอะไรๆ ที่ พระองค์ตรัสว่า สัตตักขัตตุปรมบุคคล โกลังโกละบุคคลและเอกพีชีบุคคล ดังนี้ ชื่อว่าเป็นนิยามแห่งภพหามีไม่ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงไม่สำเร็จ ประโยชน์ ดังนี้แล.
อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมกถา จบ
แม้การพรรณนากถาว่าด้วย บุคคลผู้โกลังโกละ และ บุคคลผู้ เอกพีชี บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้แล.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 350
ชีวิตาโวโรปนกถา
[๑๕๐๒] สกวาที บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตมารดา ฯลฯ พึงแกล้งปลงชีวิตบิดา ฯลฯ พึงแกล้งปลงชีวิตพระอรหันต์ ฯลฯ พึงมีจิต คิดประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ฯลฯ พึงทำลายสงฆ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๐๓] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ เป็นผู้ไม่มี ความเคารพในพระสงฆ์ ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในสิกขา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๐๔] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่าบุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพใน พระศาสดา ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 351
ฯลฯ ในพระสงค์ ฯลฯ ในสิกขา มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้มีความเคารพใน สิกขา ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์
[๑๕๐๕] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระ- ศาสดา หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงถ่ายอุจจาระรด พึงถ่ายปัสสาวะ รด พึงถ่มเขฬะรด ที่พระพุทธสถูป พึงทำพุทธสถูปไว้ทางเบื้องซ้าย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๐๖] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรดำรงสภาวะไว้ ย่อมไม่ล่วงขอบเขต ฉันใด สาวกของเราย่อม ไม่ล่วงสิกขาบทนั้น ที่เราบัญญัติไว้แก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่ง ชีวิต ฉันนั้นแล๑ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ ชีวิตาโวโรปนกถา จบ
๑. ขุ.อุ. ๒๕/๑๑๘.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 352
อรรถกถาชีวิตาโวโรปนกถา
ว่าด้วย การแกล้งปลงชีวิต
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่อง การแกล้งปลงชีวิต คือเจตนาให้ตาย. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายว่า ปาณาติบาต ย่อมมีด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยโทสะ ก็พระอริยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ คือพระโสดาบัน ละโทสะยังไม่ได้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐินั้นพึงแกล้งปลงชีวิตสัตว์ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ เป็นต้น หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็น ของปรวาที.
ในปัญหาทั้งหลายมีคำว่า บุคคลสมบูรณ์ด้วยทิฏฐิพึงแกล้งปลง ชีวิตมารดา เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะกลัวผิดจากพระสูตรที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็คำว่าพระอริยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ แกล้งปลงชีวิตมารดานี้เป็นอฐานะ คือเป็นไปไม่ได้. คำว่า บุคคลผู้มี ทิฏฐิสมบัติเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา เป็นต้น ที่สกวาทีกล่าว เพื่อแสดงความไม่ก้าวล่วงสิกขาบทของผู้มีความเคารพในพระศาสดา เป็นต้น. ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยคำว่า ชื่อว่า ความไม่เคารพของพระอริยะ ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐินั้นย่อมไม่มีด้วยอำนาจแห่งอกุศลจิต และตอบรับรอง ซึ่งความที่ท่านเป็นผู้มีความเคารพ. ถูกถามอีกว่า เป็นผู้ไม่มีความเคารพ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองโดยหมายเอาความไม่มีการทำอภิวาทและ การประทักษิณพระเจดีย์ โดยไม่ได้มนสิการด้วยสติของผู้มีจิตฟุ้งซ่านเพราะ มัวแต่ขวนขวาย ในกิจทั้งหลายเหล่านั้นๆ. ถูกถามโดยนัยว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 353
ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิก็พึงถ่ายอุจจาระ เป็นต้นอีก ปรวาที ตอบปฏิเสธเพราะไม่กระทำการแกล้งด้วยกิริยาเช่นนั้น. คำที่เหลือมี อรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถาชีวิตาโวโรปนกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 354
ทุคคติกถา
[๑๕๐๗] สกวาที บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้หรือ? (๑)
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในรูปของสัตว์ที่เกิด ในอบาย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในรูปของสัตว์ ที่เกิดในอบาย ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้.
[๑๕๐๘] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงยินดีในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ฯลฯ ในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ ของสัตว์ที่เกิดในอบาย ฯลฯ พึงเสพ เมถุนธรรมกับนางอมนุษย์ กับนางดิรัจฉาน กับนางนาค พึงรับแพะ พึงรับไก่ และสุกร พึงรับช้าง โค ม้า และลา ฯลฯ พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ละทุคคติ ได้.
๑. คำว่า ทุคคติในที่นี้หมายถึง (๑) ทุคคติ (๒) ตัณหาอันมีรูปเป็นต้นของสัตว์ที่เกิดในทุคคติเป็นอารมณ์ คำถามนี้ เท่าตั้งหมาย คนบางพวก เช่น พวกอุตตราปถก ที่อ้างว่า พระโสดาบันละทุคคติทั้งสองอย่าง นั้นได้.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 355
[๑๕๐๙] ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ แต่บุคคลผู้มีทิฏฐิ- สมบัติ พึงยินดีในรูปของสัตว์ที่เกิดในอบาย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ละทุคติได้ แต่พระอรหันต์พึงยินดีในรูป ของสัตว์ที่เกิดในอบาย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ แต่บุคคลผู้มีทิฏฐิ- สมบัติ พึงยินดีในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ฯลฯ ในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ ของสัตว์ที่เกิดในอบาย ฯลฯ พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ละทุคติได้ แต่พระอรหันต์พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๑๐] ส. พระอรหันต์ละทุคคติได้ และพระอรหันต์ไม่พึงยินดี
ส. พระอรหันต์ละทุคคติได้ และพระอรหันต์ไม่พึงยินดี ในรูปของสัตว์ที่เกิดในอบาย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ และบุคคลผู้มีทิฏฐิ- สมบัติ ไม่พึงยินดีในรูปของสัตว์ที่เกิดในอบาย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระอรหันต์ละทุคคติได้ และพระอรหันต์ไม่พึงยินดี ในเสียง ฯลฯ ในกลิ่น ฯลฯ ในรส ฯลฯ ในโผฏฐัพพะ ของสัตว์ที่เกิดใน อบาย ฯลฯ ไม่พึงเสพเมถุนธรรมกับนางอมนุษย์ กับนางดิรัจฉาน กับ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 356
นางนาค ไม่พึงรับแพะ ไม่พึงรับไก่และสุกร ไม่พึงรับช้าง โค ม้า และลา ฯลฯ ไม่พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ และบุคคลผู้มีทิฏฐิ- สมบัติ ไม่พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๑๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงเข้าถึงนรก ฯลฯ พึงเข้าถึง กำเนิดดิรัจฉาน ฯลฯ พึงเข้าถึงภูมิแห่งเปรต หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ก็ละทุคคติได้ น่ะสิ.
ทุคคติกถา จบ
อรรถกถาทุคคติกถา
ว่าด้วย ทุคคติ (๑)
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทุคคติ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดถือเอาทุคคติแม้ ทั้ง ๒ คือ ทุคคติ ๑ ตัณหาอันมีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ของทุคคติสัตว์ ๑ เพราะไม่จำแนกประเภทอย่างนั้น จึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติละ
๑. คำว่า ทุคคติมี ๒ คือ ทุคคติ และตัณหาที่มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ คือหมายความว่า ตัณหานั้นมี ชื่อว่า ทุคคติ ด้วย.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 357
ทุคคติได้โดยไม่เหลือเลย ดังนี้ ดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย คำถาม ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ หมายถึงพระโสดาบัน พึงยินดีในรูปอัน ยังสัตว์ให้เกิดในอบาย เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยอำนาจลัทธิ ของปรวาทีว่า พระโสดาบันละทุคคติไม่ได้. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น ทั้งนั้นแล.
คำว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติพึงเข้าถึงนรก เป็นต้น อธิบายว่า ท่านย่อมแสดงการละทุคคติ คือ อบายภูมิ ๔ หรือย่อมแสดงการละตัณหา ที่เป็นเหตุนำไปสู่ทุคคติ มิใช่แสดงถึงการละตัณหาอันมีรูปเป็นต้นเป็น อารมณ์ของทุคคติสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.
อรรถกถาทุคคติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 358
สัตตมภวิกกถา
[๑๕๑๒] ปรวาที ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีภพที่ ๗ เป็นอย่างยิ่ง ละทุคคติได้ หรือ?
สกวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีภพที่ ๗ เป็นอย่างยิ่ง พึงเข้าถึงนรก พึง เข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน พึงเข้าถึงภูมิแห่งเปรต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น บุคคลเกิดในภพที่ ๗ ก็ละทุคคติได้ น่ะสิ.
สัตตมภวิกกถา จบ
อรรถกถาสัตตมภวิกกถาวัณณนายปิ เอเสว นโยติ
แม้ในการพรรณนากถาว่าด้วย พระโสดาบันผู้มีภพที่ ๗ ก็นัยนี้ นั่นแหละ คือเช่นเดียวกับเรื่องบุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ดังนี้แล.
อรรถกถาสัตตมภวิกกถา จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. สังวโรกัมมันติกถา ๒. กัมมกถา ๓. สัทโทวิปาโกติกถา ๔. สฬายตนกถา ๕. สัตตักขัตตุปรมกถา ๖. โกลังโกลเอกพีธีกถา ๗. ชีวิตาโวโรปนกถา ๘. ทุคคติกถา ๙. สัตตมภวิกกถา.
วรรคที่ ๑๒ จบ