[เล่มที่ 21] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 24
๒. รัฏฐปาลสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 21]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 24
๒. รัฏฐปาลสูตร
[๔๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวกุรุ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวกุรุอันชื่อว่า ถุลลโกฏฐิตะ. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวนิคมถุลลโกฏฐิตะ ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวกุรุ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงถุลลโกฏฐิตะแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม พระองค์ทรงทําโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีคุณอันงามในเบื้องต้น มีคุณอันงามในท่ามกลาง มีคุณอันงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นการดีดังนี้.
[๔๒๔] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 25
ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนิ่งอยู่แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพราหมณ์และคฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา.
รัฏฐปาละขอบรรพชา
[๔๒๕] สมัยนั้น กุลบุตรชื่อรัฏฐปาละ เป็นบุตรของสกุลเลิศ ในถุลลโกฏฐิตนิคมนั้น นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย. รัฏฐปาลกุลบุตร มีความคิดเห็นว่าด้วยประการอย่างไรๆ แล เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทําได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. ครั้งนั้น พวกพราหมณ์ คฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณแล้วหลีกไป. เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคมหลีกไปไม่นาน รัฏฐปาลกุลบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยประการไรๆ แล ข้าพระพุทธเจ้าจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทําได้ง่าย ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 26
บวชเป็นบรรพชิต ขอข้าพระพุทธเจ้าพึงได้บรรพชาอุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนรัฏฐปาละ ท่านเป็นผู้ที่มารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วหรือ.
รัฏฐปาลกุลบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเลย พระเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนรัฏฐปาละ พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่บวชบุตรที่มารดาบิดามิได้อนุญาต.
ร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารดาบิดาจักอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยประการใด ข้าพระพุทธเจ้าจักกระทําด้วยประการนั้น.
[๔๒๖] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณแล้วเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่คุณแม่คุณพ่อ ด้วยประการอย่างไรๆ แล ฉันจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทําได้ง่าย ฉันปรารถนาจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ขอคุณแม่คุณพ่อจงอนุญาตให้ฉันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.
การบอกลามารดาบิดา
[๘๒๗] เมื่อรัฏฐปาลกุลบุตรกล่าวเช่นนี้แล้ว มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของเราทั้งสองมีแต่ความสุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข พ่อรัฏฐปาละ เจ้าไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 27
รู้จักความทุกข์อะไรเลย มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ พ่อจงบริโภค จงดื่ม จงให้บําเรอเถิด เจ้ายังกําลังบริโภคได้ กําลังดื่มได้ กําลังให้บําเรอได้ จงยินดีบริโภคกามทําบุญไปพลางเถิด เราทั้งสองจะอนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ ถึงเจ้าจะตาย เราทั้งสองก็ไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากเจ้า เหตุไฉน เราทั้งสองจักอนุญาตให้เจ้าซึ่งยังเป็นอยู่ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า. แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม รัฏฐปาลกุลบุตรก็กล่าวว่า ข้าแต่คุณแม่คุณพ่อ ด้วยประการๆ แล ฉันจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ขอคุณแม่คุณพ่อจงอนุญาตให้ฉันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. แม้ครั้งที่สาม มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของมารดาบิดา มีแต่ความสุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข พ่อรัฏฐปาละ เจ้าไม่ได้รู้จักความทุกข์อะไรๆ เลย มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ พ่อจงบริโภค จงดื่ม จงให้บําเรอเถิด เจ้ายังกําลังบริโภคได้ กําลังดื่มได้ กําลังให้บําเรอได้ จงยินดีบริโภคกามทําบุญไปพลางเถิด มารดาบิดาจะอนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ ถึงเจ้าจะตาย เราทั้งสองก็ไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากเจ้า เหตุไฉน เราทั้งสองจักอนุญาตให้เจ้าซึ่งยังเป็นอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า.
[๔๒๘] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรน้อยใจว่า มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ดังนี้ จึงนอนอยู่บนพื้นอันปราศจากเครื่องลาด ณ ที่นั้นเอง ด้วยตั้งใจว่า ที่นี้จักเป็นที่ตายหรือที่บวชของเรา ไม่บริโภคอาหารตั้งแต่หนึ่งวัน สองวัน สามวัน สี่วัน ห้าวัน หกวัน ตลอดถึงเจ็ดวัน.
[๔๒๙] ครั้งนั้น มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของเราทั้งสอง มีแต่ความสุข
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 28
ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข พ่อรัฏฐปาละ เจ้าไม่ได้รู้จักความทุกข์อะไรๆ เลย เจ้าจงลุกขึ้น พ่อรัฏฐปาละ เจ้าจงบริโภค จงดื่ม จงให้บําเรอเถิด เจ้ายังกําลังบริโภคได้ กําลังดื่มได้ กําลังให้บําเรอได้ จงยินดีบริโภคกามทําบุญไปพลางเถิด เราทั้งสองจักอนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ ถึงเจ้าจะตาย เราทั้งสองก็ไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากเจ้า เหตุไฉน เราทั้งสองจักอนุญาตให้เจ้าซึ่งยังเป็นอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า. เมื่อมารดาบิดากล่าวเช่นนี้แล้ว รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเสีย. แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่สาม มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของเราทั้งสอง มีแต่ความสุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข พ่อรัฏฐปาละ เจ้าไม่ได้รู้จักความทุกข์อะไรๆ เลย เจ้าจงลุกขึ้น พ่อรัฏฐปาละ เจ้าจงบริโภค จงดื่ม จงให้บําเรอเถิด เจ้ายังกําลังบริโภคได้ กําลังดื่มได้ กําลังให้บําเรอได้ จงยินดีบริโภคกามทําบุญไปพลางเถิด แม้ครั้งที่สาม รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเสีย.
การอ้อนวอนมารดาบิดา
[๔๓๐] ครั้งนั้น พวกสหายของรัฏฐปาลกุลบุตร พากันเข้าไปหารัฏฐปาลกุลบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า เพื่อนรัฏฐปาละ ท่านเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของมารดาบิดา มีแต่ความสุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข ท่านไม่ได้รู้จักความทุกข์อะไรๆ เลย เชิญลุกขึ้น เพื่อนรัฏฐปาละ ท่านจงบริโภค จงดื่ม จงให้บําเรอเถิด ท่านยังกําลังบริโภคได้ กําลังดื่มได้ กําลังให้บําเรอได้ จงยินดีบริโภคกามทําบุญไปพลางเถิด มารดาบิดาจะอนุญาตให้ท่านออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ ถึงท่านจะตาย มารดาบิดาก็ไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากท่าน เหตุไฉน มารดาบิดาจะอนุญาตให้ท่านซึ่งยังเป็นอยู่ออก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 29
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า. เมื่อสหายเหล่านั้นกล่าวเช่นนี้ รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเสีย. แม้ครั้งที่สอง... แม้ครั้งที่สาม พวกสหายของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า เพื่อนรัฏฐปาละ ท่านเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของมารดาบิดา มีแต่ความสุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข ท่านไม่รู้จักความทุกข์อะไรๆ เลย เชิญลุกขึ้น เพื่อนรัฏฐปาละ ท่านจงบริโภค จงดื่ม จงให้บําเรอเถิด ท่านยังกําลังบริโภคได้ กําลังดื่มได้ กําลังให้บําเรอได้ จงยินดีบริโภคกามทำบุญไปพลางเถิด แม้ครั้งที่สาม รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเสีย.
ลําดับนั้น พวกสหายพากันเข้าไปหามารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่คุณแม่คุณพ่อ รัฏฐปาลกุลบุตรนี้ นอนอยู่ที่ฟื้นอันปราศจากเครื่องลาด ณ ที่นั้นเอง ด้วยตั้งใจว่าที่นี้จักเป็นที่ตายหรือที่บวชของเรา ถ้าคุณแม่คุณพ่อจะไม่อนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็จักตายเสียในที่นั้นเอง แต่ถ้าคุณแม่คุณพ่อจะอนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คุณแม่คุณพ่อก็จักได้เห็นเขาแม้บวชแล้ว หากรัฏฐปาลกุลบุตรจักยินดีในการบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ เขาจะไปไหนอื่น ก็จักกลับมาที่นี่เอง ขอคุณแม่คุณพ่ออนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.
[๔๓๑] มารดาบิดากล่าวว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เราอนุญาตให้รัฏฐปาลกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แต่เมื่อเขาบวชแล้วพึงมาเยี่ยมมารดาบิดาบ้าง. ครั้งนั้น สหายทั้งหลายพากันเข้าไปหารัฏฐปาลกุลบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า คุณแม่คุณพ่ออนุญาตให้ท่านออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เมื่อท่านบวชแล้ว พึงมาเยี่ยมคุณแม่คุณพ่อบ้าง.
[๔๓๒] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรลุกขึ้น บํารุงกายให้เกิดกําลังแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 30
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารดาบิดาอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด. รัฏฐปาลกุลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเมื่อท่านรัฏฐปาละอุปสมบทแล้วไม่นาน พอได้กึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในถุลลโกฏฐิตนิคมตามควรแล้ว เสด็จจาริกไปทางนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลําดับ ได้เสด็จถึงนครสาวัตถีแล้ว.
รัฏฐปาละสําเร็จพระอรหัต
[๔๓๓] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านรัฏฐปาละหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ท่านพระรัฏฐปาละได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจํานวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
[๔๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะไปเยี่ยมมารดาบิดา ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตกะข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการกําหนดใจของท่านพระรัฏฐปาละด้วยพระหฤทัยแล้ว ทรงทราบชัดว่า รัฏฐปาลกุลบุตรไม่สามารถที่จะบอกลาสิกขาสึกออกไปแล้ว. ลําดับนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนรัฏฐปาละ ท่านจงสําคัญกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด. ท่านพระรัฏฐปาละลุกจาก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 31
อาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณแล้ว เก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางถุลลโกฏฐิตนิคม จาริกไปโดยลําดับ บรรลุถึงถุลลโกฏฐิตนิคมแล้ว.
[๔๓๕] ได้ยินว่า ท่านพระรัฏฐปาละพักอยู่ณ พระราชอุทยาน ชื่อ มิคาจีระ ของพระเจ้าโกรัพยะในถุลลโกฏฐิตนิคมนั้น. ครั้งนั้นเวลาเช้า ท่านพระรัฏฐปาละนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังถุลลโกฏฐิตนิคม. เมื่อเที่ยวบิณฑบาตในถุลลโกฏฐิตนิคมตามลําดับตรอก ได้เข้าไปยังนิเวศน์ของบิดาท่าน. สมัยนั้น บิดาของท่านพระรัฏฐปาละ กําลังให้ช่างกัลบกสางผมอยู่ที่ซุ้มประตูกลาง ได้เห็นท่านพระรัฏฐปาละกําลังมาแต่ไกล แล้วได้กล่าวว่า พวกสมณะศีรษะโล้นเหล่านี้ บวชบุตรคนเดียวผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา. ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละไม่ได้การให้ ไม่ได้คําตอบที่บ้านบิดาของท่าน ที่แท้ได้แต่คําด่าเท่านั้น.
บอกเรื่องพระรัฏฐปาละ
[๔๓๖] สมัยนั้น ทาสีแห่งญาติของท่านพระรัฏฐปาละปรารถนาจะเอาขนมกุมมาสที่บูดไปทิ้ง. ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวกะทาสีของญาตินั้นว่า ดูก่อนน้องหญิง ถ้าสิ่งนั้นจําต้องทิ้ง จงใส่ในบาตรของฉันนี้เถิด. ทาสีของญาติเมื่อเทขนมกุมมาสที่บูดนั้นลงในบาตรของท่านพระรัฏฐปาละ จํานิมิตแห่งมือเท้าและเสียงได้ แล้วได้เข้าไปหามารดาของท่านรัฏฐปาละ แล้วได้กล่าวว่า เดชะคุณแม่เจ้า แม่เจ้าพึงทราบว่า รัฏฐปาละลูกเจ้ามาแล้ว.
มารดาท่านพระรัฏฐปาละกล่าวว่า แม่คนใช้ ถ้าเจ้ากล่าวจริง ฉันจะทําเจ้าไม่ให้เป็นทาสี.
ลําดับนั้น มารดาของท่านพระรัฏฐปาละเข้าไปหาบิดาถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า เดชะท่านคฤหบดี ท่านพึงทราบว่า ได้ยินว่ารัฏฐปาลกุลบุตรมาถึงแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 32
[๔๓๗] ขณะนั้น ท่านพระรัฏฐปาละอาศัยฝาเรือนแห่งหนึ่งฉันขนมกุมมาสบูดนั้นอยู่. บิดาเข้าไปหาท่านพระรัฏฐปาละถึงที่ใกล้ แล้วได้ถามว่า มีอยู่หรือพ่อรัฏฐปาละ ที่พ่อจักกินขนมกุมมาสบูด พ่อควรไปเรือนของตัวมิใช่หรือ.
ท่านพระรัฏฐปาละตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี เรือนของอาตมภาพผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะมีที่ไหน อาตมภาพไม่มีเรือน อาตมภาพได้ไปถึงเรือนของท่านแล้ว แต่ที่เรือนของท่านนั้น อาตมภาพไม่ได้การให้ ไม่ได้คําตอบเลย ได้เพียงคําด่าอย่างเดียวเท่านั้น.
มาไปเรือนกันเกิด พ่อรัฏฐปาละ.
อย่าเลยคฤหบดี วันนี้อาตมภาพทําภัตกิจเสร็จแล้ว.
พ่อรัฏฐปาละ ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงรับภัตตาหารเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้. ท่านพระรัฏฐปาละรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพแล้ว.
เข้าไปนิเวศน์บิดา
[๔๓๘] ลําดับนั้น บิดาของท่านพระรัฏฐปาละทราบว่า ท่านพระรัฏฐปาละรับนิมนต์แล้ว เข้าไปยังนิเวศน์ของตน แล้วสั่งให้ฉาบไล้ที่แผ่นดินด้วยโคมัยสดแล้วให้ขนเงินและทองมากองเป็นกองใหญ่ แบ่งเป็นสองกอง คือเงินกองหนึ่ง ทองกองหนึ่ง เป็นกองใหญ่อย่างที่บุรุษผู้ยืนข้างนี้ไม่เห็นบุรุษที่ยืนข้างโน้น บุรุษที่ยืนข้างโน้นไม่เห็นบุรุษผู้ยืนข้างนี้ ฉะนั้น ให้ปิดกองเงินทองนั้นด้วยเสื่อลําแพนให้ปูลาดอาสนะไว้ท่ามกลาง แล้วแวดวงด้วยม่าน แล้วเรียกหญิงทั้งหลายที่เป็นภรรยาเก่าของท่านพระรัฏฐปาละมาว่า ดูก่อนแม่สาวๆ ทั้งหลาย เจ้าทั้งหลายประดับด้วยเครื่องประดับชุดใดมา จึงเป็นที่รักที่ชอบใจของรัฏฐปาละบุตรของเราแต่ก่อน จงประดับด้วยเครื่องประดับชุดนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 33
ครั้นล่วงราตรีนั้นไป บิดาของท่านพระรัฏฐปาละ ได้สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอย่างประณีต แล้วใช้คนไปเรียนเวลาแก่ท่านพระรัฏฐปาละว่า ถึงเวลาแล้วพ่อรัฏฐปาละ ภัตตาหารสําเร็จแล้ว. ครั้งนั้น เวลาเช้าท่านพระรัฏฐปาละ นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์แห่งบิดาท่าน แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้. บิดาของท่านพระรัฏฐปาละสั่งให้เปิดกองเงินและทองนั้น แล้วได้กล่าวกะท่านพระรัฏฐปาละว่า พ่อรัฏฐปาละ ทรัพย์กองนี้เป็นส่วนของมารดา กองอื่นเป็นส่วนของบิดา ส่วนของปู่อีกกองหนึ่ง เป็นของพ่อผู้เดียว พ่ออาจจะใช้สอยสมบัติและทําบุญได้ พ่อจงลาสิกขาสึกเป็นคฤหัสถ์มาใช้สอยสมบัติและทําบุญไปเถิด.
ท่านพระรัฏฐปาละตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ถ้าท่านพึงทําตามคําของอาตมภาพได้ ท่านพึงให้เขาขนกองเงินกองทองนี้บรรทุกเกวียนให้เข็นไปจมเสียที่กลางกระแสแม่น้ำคงคา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความโศก ความร่ําไร ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส มีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ จักเกิดขึ้นแก่ท่าน.
ลําดับนั้น ภรรยาเก่าของท่านพระรัฏฐปาละ ต่างจับที่เท้าแล้วถามว่า พ่อผู้ลูกเจ้า นางฟ้าทั้งหลายผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้นเป็นเช่นไร.
ท่านพระรัฏฐปาละตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางฟ้าทั้งหลายหามิได้.
หญิงเหล่านั้นเสียใจว่า รัฏฐปาละผู้ลูกเจ้าเรียกเราทั้งหลายด้วยวาทะว่าน้องหญิง ดังนี้ สลบล้มอยู่ ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละได้กล่าวกะบิดาว่า ดูก่อนคฤหบดี ถ้าจะพึงให้โภชนะก็จงให้เถิด อย่าให้อาตมภาพลําบากเลย.
บริโภคเถิด พ่อรัฏฐปาละ ภัตตาหารสําเร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 34
ลําดับนั้นบิดาท่านพระรัฏฐปาละ ได้อังคาสท่านพระรัฏฐปาละด้วยของเคี้ยวของฉันอย่างประณีต ให้อิ่มหนําด้วยมือของตนเสร็จแล้ว.
[๔๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระรัฏฐปาละฉันเสร็จชักมือออกจากบาตรแล้วได้ยืนขึ้นกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
จงมาดูอัตภาพอันวิจิตร มีกายเป็นแผล อันคุมกันอยู่แล้ว กระสับกระส่าย เป็นที่ดําริของชนเป็นอันมาก ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง จงมาดูรูปอันวิจิตรด้วยแก้วมณีและกุณฑล มีกระดูกอันหนังหุ้มห่อไว้ งามพร้อมด้วยผ้า [ของหญิง] เท้าที่ย้อมด้วยสีแดงสด หน้าที่ไล้ทาด้วยจุรณะ พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้ แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝังคือพระนิพพานไม่ได้ ผมที่แต่งให้เป็นแปดลอนงามตา ที่เยิ้มด้วยยาหยอด พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้ แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝังคือพระนิพพานไม่ได้ กายเน่า อันประดับด้วยเครื่องอลังการ ประดุจทนานยาหยอดอันใหม่วิจิตร พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้ แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝังคือพระนิพพานไม่ได้ ท่านเป็นดังพรานเนื้อวางบ่วงไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อพรานเนื้อกําลังคร่ําครวญอยู่ เรากินแต่อาหารแล้วก็ไป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 35
ครั้นท่านพระรัฏฐปาละยืนกล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว จึงเข้าไปยังพระราชอุทยานมิคาจีระของพระเจ้าโกรัพยะ แล้วนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.
พระเจ้าโกรัพยะเสด็จเข้าไปหาพระรัฏฐปาละ
[๔๔๐] ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะ ตรัสเรียกพนักงานรักษาพระราชอุทยานมาว่า ดูก่อนมิควะ ท่านจงชําระพื้นสวนมิคาจีระให้หมดจดสะอาด เราจะไปดูพื้นสวนอันดี. นายมิควะทูลรับพระเจ้าโกรัพยะว่า อย่างนั้น ขอเดชะ แล้วชําระพระราชาอุทยานมิคาจีระอยู่ ได้เห็นท่านพระรัฏฐปาละซึ่งนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโกรัพยะ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชอุทยานมิคาจีระของพระองค์หมดจดแล้ว และในพระราชอุทยานนี้มีกุลบุตรชื่อรัฏฐปาละ ผู้เป็นบุตรแห่งตระกูลเลิศในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้ ที่พระองค์ทรงสรรเสริญอยู่เสมอๆ นั้น เธอนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.
พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า ดูก่อนเพื่อนมิควะ ถ้าเช่นนั้น ควรจะไปยังพื้นสวนเดี๋ยวนี้ เราทั้งสองจักเข้าไปหารัฏฐปาละผู้เจริญนั้นในบัดนี้.
ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะรับสั่งว่า ของควรเคี้ยวควรบริโภคสิ่งใดอันจะตกแต่งไปในสวนนั้น ท่านทั้งหลายจงแจกจ่ายของสิ่งนั้นทั้งสิ้นเสียเถิด ดังนี้แล้ว รับสั่งให้เทียมพระราชยานชั้นดี เสด็จออกจากถุลลโกฏฐิตนิคมด้วยพระราชยานที่ดีๆ ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เพื่อจะพบท่านพระรัฏฐปาละ ท้าวเธอเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนยานพระที่นั่งไปจนสุดทาง เสด็จลงทรงพระดําเนินด้วยบริษัทชนสูงๆ เข้าไปหาท่านพระรัฏฐปาละ แล้วทรงปราศรัยกับท่านพระรัฏฐปาละ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วรับสั่งว่า เชิญท่านรัฏฐปาละผู้เจริญนั่งบนเครื่องลาดนี้เถิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 36
ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร อย่าเลย เชิญมหาบพิตรนั่งเถิดอาตมภาพนั่งที่อาสนะของอาตมภาพดีแล้ว. พระเจ้าโกรัพยะประทับนั่งบนอาสนะที่พนักงานจัดถวาย.
[๔๔๑] ครั้นพระเจ้าโกรัพยะประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระรัฏฐปาละว่า ท่านรัฏฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อมสี่ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ถึงเข้าแล้ว ย่อมปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ความเสื่อม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน คือความเสื่อมเพราะชรา ๑ ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้ ๑ ความเสื่อมจากโภคสมบัติ ๑ ความเสื่อมจากญาติ ๑.
ว่าด้วยความเสื่อมเพราะชราเป็นต้น
[๔๔๒] ท่านรัฏฐปาละ ความเสื่อมเพราะชราเป็นไฉน ท่านรัฏฐปาละ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนแก่แล้ว เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลําดับ. เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เดี๋ยวนี้เราเป็นคนแก่แล้ว เป็นคนเฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลําดับ ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทําโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทําได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. เขาประกอบด้วยความเสื่อมเพราะชรานั้น จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ นี้เรียกว่า ความเสื่อมเพราะชรา. ส่วนท่านรัฏฐปาละผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ก็ยังหนุ่มแน่น มีผมดําสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มกําลังเจริญเป็นวัยแรก ไม่มีความเสื่อมเพราะชรานั้นเลย. ท่านพระรัฏฐปาละรู้เห็น หรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 37
[๔๔๓] ท่านรัฏฐปาละ ก็ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้เป็นไฉน. ท่านรัฏฐปาละ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมีอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก. เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เดี๋ยวนี้เราเป็นคนมีอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทําโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทําได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่มห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. เขาประกอบด้วยความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้น จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้เรียกว่าความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้. ส่วนท่านรัฏฐปาละ เดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่อาพาธ ไม่มีทุกข์ ประกอบด้วยไฟธาตุที่ย่อยอาหารสม่ําเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ไม่มีความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้นเลย. ท่านรัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.
[๔๔๔] ท่านรัฏฐปาละ ก็ความเสื่อมจากโภคสมบัติเป็นไฉน. ท่านรัฏฐปาละ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก โภคสมบัติเหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลําดับ. เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก โภคสมบัติเหล่านั้นของเราถึงความสิ้นไปโดยลําดับแล้ว ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทําโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทําได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด ดังนี้. เขาประกอบด้วยความเสื่อมจากโภคสมบัตินั้น จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านรัฏฐปาละผู้เจริญ นี้เรียกว่าความเสื่อมจากโภคสมบัติ. ส่วนท่านรัฏฐปาละเป็นบุตรของตระกูลเลิศในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้ ไม่มีความเสื่อมจากโภคสมบัตินั้น. ท่านรัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 38
[๔๔๕] ท่านรัฏฐปาละ ก็ความเสื่อมจากญาติเป็นไฉน. ท่านรัฏฐปาละ คนบางคนในโลกนี้ มีมิตร อํามาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก ญาติเหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลําดับ. เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีมิตร อํามาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก [เดี๋ยวนี้] ญาติของเรานั้นถึงความสิ้นไปโดยลําดับ ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทําโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทําได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด ดังนี้. เขาประกอบด้วยความเสื่อมจากญาตินั้นจึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านรัฏฐปาละ นี้เรียกว่าความเสื่อมจากญาติ. ส่วนท่านรัฏฐปาละ มีมิตร อํามาตย์ ญาติสาโลหิตในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้เป็นอันมาก ไม่ได้มีความเสื่อมจากญาติเลย. ท่านรัฏฐปาละ รู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า. ท่านรัฏฐปาละ ความเลื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้ถึงเข้าแล้ว จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านรัฏฐปาละไม่ได้มีความเสื่อมเหล่านั้นเลย. ท่านรัฏฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.
ธัมมุทเทส ๔
[๔๔๖] ท่านพระรัฏฐปาละถวายพระพรว่า มีอยู่แล มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ข้อ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ธัมมุทเทส ๔ ข้อเป็นไฉน คือ
๑. ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่หนึ่งว่า โลกอันชรานำเข้าไปไม่ยั่งยืน ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 39
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
๒. ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สองว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตนดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
๓. ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สามว่า โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จําต้องละสิ่งทั้งปวงไปดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
๔. ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สี่ว่า โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหาดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสสี่ข้อนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
[๔๔๗] ท่านรัฏฐปาละกล่าวว่า โลกอันชรานําไป ไม่ยั่งยืน ดังนี้ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้จะพึงเห็นได้อย่างไร.
ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรเมื่อมีพระชนมายุยี่สิบปีก็ดี ยี่สิบห้าปีก็ดี ในเพลงช้างก็ดี เพลงม้าก็ดี เพลงรถก็ดี เพลงธนูก็ดี เพลงอาวุธก็ดี ทรงศึกษาอย่างคล่องแคล่ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 40
ทรงมีกําลัง พระเพลา มีกําลังพระพาหา มีพระกายสามารถ เคยทรงเข้าสงความมาแล้วหรือ.
ท่านรัฏฐปาละ ข้าพเจ้าเมื่อมีอายุยี่สิบปีก็ดี ยี่สิบห้าปีก็ดี ในเพลงช้างก็ดี เพลงม้าก็ดี เพลงรถก็ดี เพลงธนูก็ดี เพลงอาวุธก็ดี ได้ศึกษาอย่างคล่องแคล่ว มีกําลังขา มีกําลังแขน มีตนสามารถ เคยเข้าสงครามมาแล้ว บางครั้งข้าพเจ้าสําคัญว่ามีฤทธิ์ ไม่เห็นใครจะเสมอด้วยกําลังของตน.
ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน แม้เดี๋ยวนี้ มหาบพิตรก็ยังมีกําลังพระเพลา มีกําลังพระพาหา มีพระกายสามารถเข้าสงครามเหมือนฉะนั้นได้หรือ.
ท่านรัฏฐปาละ ข้อนี้หามิได้ เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าแก่แล้ว เจริญวัยแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลําดับแล้ว วัยของข้าพเจ้าล่วงเข้าแปดสิบ บางครั้งข้าพเจ้าคิดว่า จักย่างเท้าที่นี้ ก็ไพล่ย่างไปทางอื่น.
ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึง ตรัสธัมมุทเทสข้อที่หนึ่งว่า โลกอันชรานําเข้าไป ไม่ยั่งยืน ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้อว่าโลกอันชรานําเข้าไป ไม่ยั่งยืนนี้ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ เป็นความจริง โลกอันชรานําเข้าไป ไม่ยั่งยืน ในราชสกุลนี้ มีหมู่ช้าง หมู่ม้า หมู่รถ และหมู่คนเดินเท้า หมู่ใดจักครอบงําอันตรายของเราได้.
[๔๔๘] ท่านรัฏฐปาละกล่าวว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตนดังนี้ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จึงพึงเห็นได้อย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 41
ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรเคยทรงประชวรหนักบ้างหรือไม่.
ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ ข้าพเจ้าเคยเจ็บหนักอยู่ บางครั้ง บรรดามิตร อํามาตย์ ญาติสาโลหิตแวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ ด้วยสําคัญว่า พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคตบัดนี้ พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคตบัดนี้ ดังนี้.
ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรได้มิตร อํามาตย์ ญาติสาโลหิต [ที่มหาบพิตรจะขอร้อง] ว่า มิตร อํามาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เจริญของเราที่มีอยู่ทั้งหมด จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป โดยให้เราได้เสวยเวทนาเบาลง ดังนี้ หรือว่ามหาบพิตรต้องเสวยเวทนาแต่พระองค์เดียว.
ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ ข้าพเจ้าจะได้มิตร อํามาตย์ ญาติสาโลหิต [ที่ข้าพเจ้าจะขอร้อง] ว่า มิตร อํามาตย์ ญาติสาโลหิตที่มีอยู่ทั้งหมด จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้ไป โดยให้เราได้เสวยเวทนาเบาลงไป ดังนี้ หามิได้ ที่แท้ข้าพเจ้าต้องเสวยเวทนานั้นแต่ผู้เดียว.
ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทสข้อที่สองว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้อว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตนนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว ท่านรัฏฐปาละ เป็นความจริง โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ในราชสกุลนี้ มีเงินและทองอยู่ที่พื้นดินและในอากาศมาก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 42
[๔๔๙] ท่านรัฏฐปาละกล่าวว่า โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จําต้องทิ้งสิ่งทั้งปวงไป ดังนี้ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร.
ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน เดี๋ยวนี้มหาบพิตรเอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บําเรอพระองค์อยู่ ฉันใด มหาบพิตรจักได้สมพระราชประสงค์ว่า แม้ในโลกหน้า เราจักเป็นผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บําเรอตนอยู่ ฉันนั้น หรือว่าชนเหล่าอื่นจักปกครองโภคสมบัตินี้ ส่วนมหาบพิตรก็จักเสด็จไปตามยถากรรม.
ท่านรัฏฐปาละ เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าเอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บําเรอตนอยู่ ฉันใด ข้าพเจ้าจักไม่ได้ความประสงค์ว่า แม้ในโลกหน้า เราจะเป็นผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บําเรอตนอยู่ ฉันนั้น ที่แท้ ชนเหล่าอื่นจักปกครองโภคสมบัตินี้ ส่วนข้าพเจ้าก็จักไปตามยถากรรม.
ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทสข้อที่สามว่า โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จําต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้อว่าโลกไม่มีอะไรเป็นของตน จําต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไปนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมนาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว ท่านรัฏฐปาละ เป็นความจริง โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จําต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป.
[๔๕๐] ท่านรัฏฐปาละกล่าวว่า โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ดังนี้ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร.
ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรทรงครอบครองกุรุรัฐอันเจริญอยู่หรือ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 43
อย่างนั้น ท่านรัฏฐปาละ ข้าพเจ้าครอบครองกุรุรัฐอันเจริญอยู่.
มหาบพิตรจักเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ราชบุรุษของมหาบพิตรที่กุรุรัฐนี้ เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุ พึงมาจากทิศบูรพา เขาเข้ามาเฝ้ามหาบพิตรแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์พึงทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากทิศบูรพา ในทิศนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ได้เห็นชนบทใหญ่ มั่งคั่งและเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น ในชนบทนั้น มีพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้ามาก มีสัตว์อชินะที่ฝึกแล้วมาก มีเงินและทองทั้งที่ยังไม่ได้ทํา ทั้งที่ทําแล้วก็มาก ในชนบทนั้น สตรีปกครอง พระองค์อาจจะรบชนะได้ด้วยกําลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบเอาเถิด มหาราชเจ้า ดังนี้ มหาบพิตรจะทรงทําอย่างไรกะชนบทนั้น.
ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ พวกเราก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสียน่ะซิ.
ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ราชบุรุษของมหาบพิตรที่กุรุรัฐนี้ เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุ พึงมาจากทิศปัจจิม... จากทิศอุดร... จากทิศทักษิณ... จากสมุทรฟากโน้น เขาเข้ามาเฝ้ามหาบพิตร แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์พึงทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากสมุทรฟากโน้น ณ ที่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นชนบทใหญ่ มั่งคั่งและเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น ในชนบทนั้น มีพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้ามาก มีสัตว์อชินะที่ฝึกแล้วมาก มีเงินและทองทั้งที่ยังไม่ได้ทําทั้งที่ทําแล้วมาก ในชนบทนั้น สตรีปกครอง พระองค์อาจจะรบชนะได้ด้วยกําลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบเอาเถิด มหาราชเจ้า ดังนี้ มหาบพิตรจะทรงทําอย่างไรกะชนบทนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 44
ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ พวกเราก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสียน่ะซิ.
ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทสข้อที่สี่ว่า โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ดูก่อนท่านรัฏฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้อว่า โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหานี้ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว ท่านรัฏฐปาละเป็นความจริง โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.
[๔๕๑] ท่านรัฏฐปาละได้กล่าวคํานี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าวคาถาประพันธ์นี้อื่นอีกว่า
เราเห็นมนุษย์ทั้งหลายในโลก ที่เป็นผู้มีทรัพย์ ได้ทรัพย์ แล้วย่อมไม่ให้เพราะความหลง โลภแล้วย่อมทําการสั่งสมทรัพย์ และยังปรารถนากามทั้งหลายยิ่งขึ้นไป พระราชาทรงแผ่อํานาจชํานะตลอดแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นที่สุด มิได้ทรงรู้จักอิ่มเพียงฝังสมุทรข้างนี้ ยังทรงปรารถนาฝังสมุทรข้างโน้นอีก พระราชาและมนุษย์เหล่าอื่นเป็นอันมาก ยังไม่สิ้นความทะเยอทะยาน ย่อมเข้าถึงความเป็นผู้พร่องอยู่ ละร่างกาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 45
ไปแท้ ความอิ่มด้วยกามย่อมไม่มีในโลกเลย อนึ่ง ญาติทั้งหลายพากันสยายผม คร่ําครวญถึงผู้นั้น พากันกล่าวว่าได้ตายแล้วหนอ พวกญาตินําเอาผู้นั้นคลุมด้วยผ้าไปยกขึ้นเชิงตะกอน แต่นั้นก็เผากันผู้นั้น เมื่อกําลังถูกเขาเผา ถูกแทงอยู่ด้วยหลาวมีแต่ผ้าผืนเดียว ละโภคสมบัติไป ญาติก็ดี มิตรก็ดี หรือสหายทั้งหลายเป็นที่ต้านทานของบุคคลผู้จะตายไม่มี ทายาททั้งหลายก็ขนเอาทรัพย์ของผู้นั้นไป ส่วนสัตว์ย่อมไปตามกรรมที่ทําไว้ ทรัพย์อะไรๆ ย่อมติดตามคนตายไปไม่ได้ บุตร ภรรยา ทรัพย์และแว่นแคว้นก็เช่นนั้น บุคคลย่อมไม่ได้อายุยืนด้วยทรัพย์ และย่อมไม่กําจัดชราได้ด้วยทรัพย์ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนี้ ว่าน้อยนัก ว่าไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทั้งคนมั่งมี ทั้งคนยากจน ย่อมกระทบผัสสะ ทั้งคนพาล ทั้งนักปราชญ์ ก็กระทบผัสสะเหมือนกัน แต่คนพาล ย่อมนอนหวาดอยู่เพราะความที่ตนเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะเหตุนั้นแล ปัญญาจึงประเสริฐกว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 46
ทรัพย์ ปัญญาเป็นเหตุถึงที่สุดในโลกนี้ได้ คนเป็นอันมากทําบาปกรรมเพราะความหลงในภพน้อยภพใหญ่ เพราะไม่มีปัญญาเครื่องให้ถึงที่สุด สัตว์ที่ถึงการท่องเที่ยวไปมา ย่อมเข้าถึงครรภ์บ้าง ปรโลกบ้าง ผู้อื่นนอกจากผู้มีปัญญานั้น ย่อมเชื่อได้ว่า จะเข้าถึงครรภ์และปรโลก หมู่สัตว์ผู้มีบาปธรรม ละโลกนี้ไปแล้วย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนเองในโลกหน้า เปรียบเสมือนโจรผู้มีความผิด ถูกจับเพราะโจรกรรม มีตัดช่อง เป็นต้น ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนเอง ฉะนั้น ความจริง กามทั้งหลายวิจิตร รสอร่อยเป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ํายีจิต ด้วยรูปมีประการต่างๆ มหาบพิตร อาตมภาพเห็นโทษในกามทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นจึงบวชเสีย ผลไม้ทั้งหลายยังไม่หล่นทีเดียว มาณพทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ย่อมมีสรีระทําลายได้ มหาบพิตร อาตมภาพรู้เหตุนี้จึงบวช ความเป็นสมณะ เป็นข้อปฏิบัติอันไม่ผิด เป็นคุณประเสริฐแท้ดังนี้แล.
จบรัฏฐปาลสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 47
อรรถกถารัฏฐปาลสูตร
รัฏฐปาลสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในรัฏฐปาลสูตรนั้น ดังต่อไปนี้.
บทว่า ถุลฺลโกฏฺิตํ ได้แก่ แน่นยุ้ง คือ เต็มเปียมเรือนยุ้ง.
ได้ยินว่า ชนบทนั้น มีข้าวกล้าเป็นนิตย์ คือ เมล็ดข้าวออกไปเข้าลานทุกเมื่อ. ด้วยเหตุนั้น ในนิคมนั้น ยุ้งทั้งหลายจึงเต็มอยู่เป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น ชนบทนั้นจึงนับได้ว่า ถุลลโกฏฐิตะ แปลว่า มีข้าวแน่นยุ้งทีเดียว.
เหตุไร ท่านพระรัฏฐปาล จึงชื่อว่า รัฏฐปาละ.
ที่ชื่อว่า รัฏฐปาละ เพราะเป็นผู้สามารถดํารงรักษารัฐที่แบ่งแยกได้.
ถามว่าชื่อของท่านพระรัฏฐปาละนั้น เกิดขึ้นเมื่อไร.
ตอบว่า เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ.
จริงอยู่ ปลาย ๑๐๐,๐๐๐ กัป ก่อนแต่กัปนี้ มนุษย์มีอายุ ๑๐๐,๐๐๐ ปี พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตระ อุบัติขึ้น มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป เป็นบริวาร เสด็จจาริก เพื่อโปรดโลกที่ท่านหมายเอากล่าวไว้ว่า
พระศาสดา พระนามว่า ปทุมุตตระ มีพระชนก พระนามว่า พระเจ้าอานันทะ พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา ณ นครหังสวดี.
ครั้นพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ยังไม่ทรงอุบัติ. กุฎมพีสองคนแห่งกรุงหังสวดี มีศรัทธาเลื่อมใส ตั้งโรงทานสําหรับคนเข็ญใจ คนเดินทางและยาจกเป็นต้น. ครั้งนั้น ดาบส ๕๐๐ ตน ผู้อยู่ในภูเขา มาถึงกรุงหังสวดี. คนทั้งสองนั้นก็แบ่งดาบส คนละครึ่งบํารุงกัน. ดาบสทั้งหลาย อยู่ชั่วเวลานิดหน่อย ก็กลับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 48
ไปยังภูเขา. พระสังฆเถระทั้งสองก็แยกย้ายไป.
ครั้งนั้น กุฎุมพีทั้งสองนั้น ก็ทําการบํารุงดาบสเหล่านั้นจนตลอดชีวิต. เมื่อเหล่าดาบสบริโภค แล้วอนุโมทนา รูปหนึ่งกล่าวพรรณนาคุณของภพท้าวสักกะ. รูปหนึ่งพรรณนาคุณภพของนาคราชเจ้าแผ่นดิน. บรรดากุฎุมพีทั้งสอง คนหนึ่งปรารถนาภพท้าวสักกะ ก็บังเกิดเป็นท้าวสักกะ. คนหนึ่งปรารถนาภพนาค ก็เป็นนาคราช ชื่อปาลิตะ. ท้าวสักกะเห็นนาคนั้นมายังที่บํารุงของตน จึงถามว่า ท่านยังยินดียิ่งในกําเนิดนาคอยู่หรือ. ปาลิตะนาคราชนั้นตอบว่า เราไม่ยินดีดอก. ท้าวสักกะบอกว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถวายทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระสิ แล้วทําความปรารถนาจะอยู่ในที่นี้ เราทั้งสองจะอยู่เป็นสุข.
นาคราชนิมนต์พระศาสดา มาถวายมหาทาน ๗ วัน แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งมีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป เป็นบริวาร เห็นสามเณรโอรสของพระปทุมุตตรทศพล ชื่ออุปเรวตะ วันที่ ๗ ถวายผ้าทิพย์แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงปรารถนาตําแหน่งของสามเณร. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูอนาคตกาล ทรงเห็นว่าเขาจักเป็นราหุลกุมาร โอรสของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ ในอนาคตกาล จึงตรัสว่า ความปรารถนาของท่านจักสําเร็จ.
นาคราชก็บอกความนั้นแก่ท้าวสักกะ. ท้าวสักกะฟังแล้วก็ถวายทาน ๗ วัน อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นกุลบุตรชื่อรัฏฐปาละผู้ธํารงรัฐที่แบ่งแยกกัน แล้วบวชด้วยศรัทธา จึงทั้งความปรารถนาว่า ในอนาคตกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์อุบัติในโลก แม้ข้าพระองค์ก็บังเกิดในตระกูลที่สามารถธํารงรักษารัฐที่แบ่งแยกกัน พึงมีชื่อว่า รัฏฐปาละผู้บวชด้วยศรัทธาเหมือนกุลบุตรผู้นี้. พระศาสดาทรงทราบว่าความปรารถนาสําเร็จ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 49
ตระกูลใดชื่อตระกูลรัฏฐปาละ จักมีอยู่เพื่อเลี้ยงคนสี่วรรณะ พร้อมทั้งพระราชา กุลบุตรผู้นี้จักเกิดในตระกูลนั้น.
พึงทราบว่า ชื่อนี้ของท่านพระรัฏฐปาละนั้นเกิดขึ้น ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความคิดอะไรๆ ว่า ยถา ยถา โข เป็นต้น ได้มีแล้ว.
คําสังเขปในคํานั้นมีดังนี้.
เราแลรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยเหตุใดๆ ก็เป็นอันเราพิจารณาใคร่ครวญแล้วด้วยเหตุนั้นๆ อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ คือ สิกขา ๓ นั้นใด เราพึงประพฤติให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เพราะทําไม่ให้ขาดแม้วันหนึ่ง ให้ถึงจริมกจิต และพึงประพฤติให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดังสังข์ขัด เช่นกับสังข์ที่ขัดสีแล้ว ได้แก่ เทียบกับสังข์ที่ชําระแล้ว เพราะทําให้ไม่มีมลทิน โดยมลทินคือกิเลสแม้ในวันหนึ่ง แล้วให้ถึงจริมกจิต.
บทว่า อิทํ น สุกรํ อคารํ อชฺฌาวสตา ความว่า พรหมจรรย์นั้นอันผู้อยู่ท่ามกลางเรือน ประพฤติให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ฯลฯ กระทําไม่ได้ง่ายเลย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด ห่มผ้าอันเหมาะแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ที่ชื่อว่า กาสายะ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาดออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน.
บทว่า อจิรปกฺกนฺเตสุ ถุลฺลโกฏิตเกสุ พฺราหฺมณคหปติเกสุ เยน ภควา เตนูปสงฺกมิ ความว่า ในเมื่อพราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นยังไม่ลุกไป รัฏฐปาลกุลบุตรก็ไม่ทูลขอบรรพชาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า.
เพราะเหตุไร.
เพราะญาติสาโลหิตมิตรทั้งหลายของเขาในที่นั้นเป็นจํานวนมาก ก็หวังกันอยู่ คนเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านเป็นลูกคนเดียวของมารดาบิดา ท่านไม่ควรบวช แล้วพึงจับเขาที่แขนคร่ามา แต่นั่น บรรพชา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 50
ก็จักเป็นอันตราย.
เขาลุกขึ้นไปพร้อมกับบริษัทเดินไปหน่อยหนึ่งแล้วก็กลับทําเลสว่ามีกิจเนื่องอยู่ด้วยสรีระบางอย่าง แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอบรรพชา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข รฏปาโล กุลปุตฺโต อจิรวุฏิตาย ปริสาย ฯเปฯ ปพฺพาเชตุ มํ ภควา.
ก็เพราะนับจําเดิมแต่ราหุลกุมารบวชแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงบวชบุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ฉะนั้น จึงตรัสถามเขาว่า อนฺุาโตสิ ปน ตฺวํ รฏปาล มาตาปิตูหิ ฯเปฯ ปพฺพชฺชาย.
ในคําว่า อมฺม ตาต นี้ รัฏฐปาละเรียกมารดาว่า อมฺม เรียกบิดาว่า ตาต.
บทว่า เอกปุตฺตโก แปลว่า บุตรน้อยคนเดียวเท่านั้น บุตรไรๆ อื่นไม่ว่าพี่หรือน้องไม่มี.
ก็ในคํานี้ เมื่อควรจะกล่าวว่า เอกปุตฺโต ก็กล่าวว่า เอกปุตฺตโก ด้วยอํานาจความเอ็นดู.
บทว่า ปิโย แปลว่า เกิดปีติ.
บทว่า มนาโป แปลว่า เจริญใจ.
บทว่า สุเข ิโต แปลว่า ตั้งอยู่ในสุขนั่นแหละ อธิบายว่า จําเริญสุข.
บทว่า สุขปริหโฏ แปลว่า บริหารด้วยความสุข. ตั้งแต่เวลาเกิดมา เขามีแม่นมโดยอุ้มไม่วางมือ เล่นด้วยเครื่องเล่นของเด็กมีรถม้าน้อยๆ เป็นต้น ให้บริโภคเเต่โภชนะที่มีรสดี ชื่อว่า บริหารด้วยความสุข.
บทว่า น ตฺวํ ตาต รฏปาล กสฺสจิ ทุกฺขสฺส ชานาสิ ความว่า พ่อรัฏฐปาละ เจ้าไม่รู้ ระลึกไม่ได้ ถึงส่วนของความทุกข์แม้ประมาณน้อย.
บทว่า มรเณนปิ เต มยํ อกามกา วินา ภวิสฺสาม ความว่า แม้ถ้าท่านจะพึงตายเสีย เมื่อพวกเรายังเป็นอยู่ไซร้ แม้เพราะความตายของท่าน พวกเราไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา ไม่ชอบใจ ตนก็จําจักต้องพลัดพราก หรือจักถึงความพลัดพรากท่านไป.
บทว่า กิํ ปน มยํ ตํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุที่เราจักอนุญาตให้ท่านเป็นอยู่ ชื่ออะไร.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในคําว่า กิํ ปน มยนฺตํ นี้ อย่างนี้ว่า ด้วยเหตุไรพวกเราจึงจักอนุญาตให้ท่านมีชีวิตอยู่.
บทว่า ตตฺเถว ความว่า ในที่ที่มารดาบิดาไม่อนุญาตท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 51
ให้ดํารงอยู่.
บทว่า อนนฺตรหิตาย ความว่า เพราะไม่ต้องการด้วยเครื่องลาดอะไรๆ.
บทว่า ปริจาเรหิ ความว่า ทะนุบํารุงดนตรีการฟ้อนและนักฟ้อนเป็นต้น บําเรอตัวตามความสุขพร้อมด้วยเหล่าสหายในที่นั้น อธิบายว่า นําเข้าไปที่โน้นที่นี่.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปริจาเรหิ ท่านอธิบายว่า ทะนุบํารุงดนตรีการฟ้อนและนักฟ้อนเเป็นต้น ร่าเริงยินดีเล่นกับเหล่าสหาย.
บทว่า กาเม ปริภฺุชนฺโต ความว่า บริโภคโภคะพร้อมกับบุตรภริยาของตน.
บทว่า ปฺุานิ กโรนฺโต ความว่า ปรารภพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ กระทํากุศลกรรมชําระทางไปสู่สุคติ มีการมอบถวายทานเป็นต้น.
บทว่า ตุณฺหี อฺโหสิ ได้แก่ ไม่พูดจาปราศรัย เพื่อตัดการพูดต่อไป.
ครั้งนั้น มารดาบิดาของเขาพูด ๓ ครั้ง ไม่ได้แม้คําตอบ จึงให้เรียกสหายมาพูดว่า สหายของเจ้านั้นอยากจะบวช ห้ามเขาทีเถอะ. แม้สหายเหล่านั้นเข้าไปหาเขาแล้ว พูด ๓ ครั้ง. แม้สําหรับสหายเหล่านั้น เขาก็นิ่ง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข รฏปาลสฺส กุลปุตฺตฺสฺส สหายกา ฯเปฯ ตุณฺหี อโหสิ.
ครั้งนั้น เหล่าสหายของเขาก็คิดอย่างนี้ว่า ถ้าเพื่อนผู้นี้ไม่ได้บวชก็จักตายไซร้ เราก็จักไม่ได้คุณอะไรๆ แต่เขาบวชแล้ว ทั้งมารดาบิดาก็จักเห็นเป็นครั้งคราว ทั้งเราก็จักเห็น ก็ธรรมดาว่าการบรรพชานี้เป็นของหนัก เขาจะต้องถือบาตรเดินไป เที่ยวบิณฑบาตรทุกวันๆ พรหมจรรย์ที่มีการนอนหนเดียว กินหนเดียว หนักนักหนา ก็เพื่อนของเรานี้เป็นชาวเมืองสุขุมาลชาติ เขาเมื่อไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์นั้นได้ ก็จะต้องมาในที่นี้อีกแน่แท้ เอาเถอะเราจักให้มารดาบิดาของเขาอนุญาต. สหายเหล่านั้นได้กระทําอย่างนั้น. แม้มารดาบิดากระทํากติกาสัญญานี้ว่า ก็เขาบวชแล้ว พึงอุทิศมารดาบิดา จึงอนุญาตเขา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข รฏปาลสฺส กุลปุตฺตสฺส สหายา เยน รฏปาลสฺส กุลปุตฺตสฺส มาตาปิตโร ฯเปฯ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 52
อนฺุาโตสิ มาตาปิตูหิ ฯเปฯ อุทฺทิสิตพฺพา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺทิสิตพฺพา ความว่า พึงมาแสดงตนอย่างที่มารดาบิดาเห็นได้บางครั้งบางคราว.
บทว่า พลํ คเหตฺวา ความว่า บริโภคโภชนะอันสบาย บํารุงกายด้วยการขัดสี เป็นต้น เกิดกําลังกายแล้ว ไหว้มารดาบิดา ละเครือญาติที่มีน้ำตานองหน้า เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดบวชข้าพระองค์เถิดพระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ สั่งว่า ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้รัฏฐปาละบรรพชาและอุปสมบท. ภิกษุนั้นรับพระพุทธพจน์ว่า สาธุ พระเจ้าข้า ได้กุลบุตร ชื่อ รัฏฐปาละ ที่พระชินเจ้าประทานเป็นสัทธิวิหาริก ให้บรรพชาและอุปสมบท. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อลตฺถ โข รฏปาโล กุลปุตฺโต ภควโต สนฺติเก ปพฺพชฺชํ อลตฺถ อุปสมฺปทํ.
บทว่า ปหิตตฺโต วิหรนฺโต ความว่า อยู่อย่างนี้ ๑๒ ปี.
จริงอยู่ ท่านผู้นี้เป็นไนยบุคคล มีบุญแม้พร้อมด้วยบุญเก่าอยู่ ก็ต้องบําเพ็ญสมณธรรมด้วย ความมุ่งมั่นว่า พระอรหัตวันนี้ พระอรหัตวันนี้ ปีที่๑๒ จึงบรรลุพระอรหัต.
บทว่า เยน ภควา เตนูปสงฺกมิ ความว่า พระเถระคิดว่า มารดา บิดาของเราอนุญาตให้บวช กล่าวว่า เจ้าต้องมาพบเราบางครั้งบางคราว แล้วจึงอนุญาต ก็มารดาบิดาเป็นผู้กระทํากิจที่ทําได้ยาก ก็เราบวชด้วยอัธยาศรัย อันใด อัธยาศรัยอันนั้นอยู่เหนือกระหม่อมของเรา บัดนี้ เราจักทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงตัวแก่มารดาบิดา แล้วประสงค์จะทูลลา จึงเข้าเฝ้า.
บทว่า มนสากาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใส่พระทัยว่า เมื่อพระรัฏฐปาละไปแล้ว จักมีอุปสรรคไรๆ ไหมหนอ. ทรงทราบว่า จักมีแน่ ทรงตรวจดูว่า พระรัฏฐปาละจักสามารถย่ํายีอุปสรรคนั้นหรือหนอ ทรงเห็นว่า พระรัฏฐปาละนั้นบรรลุพระอรหัต ก็ทรงทราบว่า จักสามารถ จึงทรงอนุญาต. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 53
ยถา ภควา อฺาสิ ฯเปฯ กาลํ มฺสิ ดังนี้.
บทว่า มิคาจิเร ได้แก่ พระอุทยาน มีชื่ออย่างนี้.
ก็พระราชอุทยานนั้น พระราชาพระราชทานแก่เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในกาลมิใช่เวลา เป็นอันทรงอนุญาตอย่างนี้ว่า จงใช้สอยอุทยานนี้ตามความสบายเถิด. เพราะฉะนั้น พระเถระไม่เกิดแม้ความคิดว่า เราจะบอกบิดามารดาว่า เรามาแล้ว มารดาบิดานั้นจักส่งน้ำ ล้างเท้า น้ำมันทาเท้า เป็นต้นแก่เรา แล้วเข้าไปยังพระราชอุทยาน นั้นแล.
บทว่า ปิณฺฑาย ปาวิสิ ได้แก่ เข้าไปบิณฑบาตในวันที่ ๒.
บทว่า มชฺฌิมาย ได้แก่ ซุ้มประตูกลางของเรือน มี ๗ ซุ้มประตู.
บทว่า อุลฺลิกฺขาเปติ ได้แก่ ให้ช่างสระผม.
บทว่า เอตทโวจ ได้เเก่ บิดาคิดว่า สมณะเหล่านี้ให้บุตรที่รักคนเดียวของเราบวช เราไม่เห็นแม้แต่วันเดียว เหมือนมอบไว้ในมือโจร สมณะเหล่านี้กระทําการหยาบช้าอย่างนี้ ยังจะเข้าใจว่า ที่นี้ควรจะเข้ามาอีก ควรจะคร่าไปเสียจากที่นี้ จึงกล่าวคำว่า เอตํ อิเมหิ มุณฺฑเกหิ.
บทว่า าติทาสี ได้แก่ ทาสีของพวกญาติ.
บทว่า อาภิโทสิกํ ได้แก่ ขนมที่ค้างคืน คือ ขนมที่ล่วงคืนหนึ่งไปแล้ว เป็นของบูด.
ในคํานั้นมีความของบทดังนี้.
ชื่อว่า อาภิโทส เพราะถูกโทษ คือ ความบูดครอบงําแล้ว.
อภิโทสนั้นแล ก็คืออาภิโทสิก. นี้เป็นชื่อของขนมที่ล่วงเลยคืนหนึ่งไปแล้ว คือขนมที่ค้างคืนอันนั้น.
บทว่า กุมฺมาสํ ได้แก่ ขนมที่ทําด้วยข้าวเหนียว.
บทว่า ฉฑฺเฑตุกามา โหติ ความว่า เพราะเหตุที่โดยที่สุด แม้แต่ทาสกรรมกรทั้งโคก็ไม่ควรกิน ฉะนั้น ทาสีประสงค์ก็จะทิ้งขนมนั้นไปในภายนอกเหมือนขยะ.
บทว่า สเจตํ ตัดบทว่า สเจ เอตํ.
พระเถระ เรียกทาสีนางนมของตนนั้น ด้วยอริยโวหารว่า ภคินิ.
บทว่า ฉฑฺฑนียธมฺมํ ความว่า มีอันจะต้องทิ้งไปเป็นสภาวะ.
ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนน้องหญิง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 54
ถ้าสิ่งนี้ มีอันจะต้องทิ้งไปในภายนอกเป็นธรรมดา ไม่หวงแหนไว้ไซร้ เจ้าจงเกลี่ยลงในบาตรของเรานี้.
ถามว่า ทําไมพระเถระจึงได้กล่าวอย่างนี้ ไม่เป็นการขอหรือพูดเหมือนขอหรือ.
ตอบว่า ไม่เป็น.
เพระเหตุไร.
เพราะเขาสละความหวงแหนแล้ว.
จริงอยู่ ของใดมีอันจะต้องทิ้งไปเป็นธรรม เขาสละความหวงแหนแล้ว เจ้าของไม่ใยดีในของใด ควรจะกล่าวว่า จงนําของนั้นมาให้ทั้งหมด จงเกลี่ยลงในบาตรนี้.
ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านพระรัฏฐปาละนี้ เป็นผู้ดํารงอยู่ในอริยวงศ์อันเลิศอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า หตฺถานํ ได้แก่ มือทั้งสองตั้งแต่ข้อมือของพระเถระผู้น้อมบาตรเพื่อรับภิกษา.
บทว่า ปาทานํ ได้แก่ เท้าแม้ทั้งสองตั้งแต่ชายผ้านุ่ง.
บทว่า สรสฺส ได้แก่ เสียงที่เปล่งวาจาว่า น้องหญิง ถ้าของนั้นเป็นต้น.
บทว่า นิมิตฺตํ อคฺคเหสิ ความว่า นางทาสี เมื่อพิจารณาดูหลังมือเป็นต้น ก็ยึดคืน จําได้ กําหนดอาการที่เคยกําหนดในเวลาที่ท่านเป็นคฤหัสถ์ว่า หลังมือแลเท้าเหล่านี้ เช่นเดียวกับหลังเต่าทอง นิ้วมือที่กลมดี เหมือนเกลียวหรดาล เสียงไพเราะเหมือนของรัฏฐปาละ บุตรของเรา.
ก็เมื่อท่านพระรัฏฐปาละนั้น อยู่ป่าถึง ๑๒ ปี และบริโภคโภชนะคือคําข้าว ผิวพรรณของร่างกาย จึงเห็นเป็นคนอื่นไป. ด้วยเหตุนั้น ทาสีของญาติเห็นเถระนั้น จึงจําไม่ได้ แต่ยังถือนิมิตได้.
บทว่า รฏปาลสฺส มาตรํ เอตทโวจ ความว่า แม้เหล่านางนม ผู้ทะนุถนอมอวัยวะน้อยใหญ่ของพระเถระให้ดื่มน้ำนม เลี้ยงมาจนเติบโต ก็ไม่อาจพูดกับบุตรนายผู้บวชแล้วถึงความเป็นพระมหาขีณาสพ เป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า ท่านหรือหนอ คือรัฏฐปาละ บุตรของเรา จึงรีบเข้าเรือนกล่าวคํานี้กะมารดาของรัฏฐปาละ.
ศัพท์ว่า ยคฺเฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า บอกกล่าว.
ศัพท์ว่า เช ในคําว่า สเจ เช สจฺจํ นี้ เป็นนิบาต ในอรรถว่า ร้องเรียก.
จริงอยู่ คนทั้งหลายย่อมร้องเรียกคนที่เป็นทาส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 55
ทาสีในชนบทนั้น. เพราะเหตุนั้นแล พึงเห็นความในบทนี้อย่างนี้ว่า แม่ทาสีผู้เจริญ ถ้าเจ้าพูดจริง.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เหตุไรจึงเข้าไป. นางคิดว่า สตรีทั้งหลายในสกุลใหญ่ เมื่อออกไปในภายนอกย่อมได้รับการติเตียน ก็นี้เป็นกิจด่วน จําเราจักบอกกิจนั้นแก่เศรษฐี เพราะฉะนั้น นางจึงเข้าไป.
บทว่า อฺตรํ กุฑฺฑมูลํ ความว่า ได้ยินว่า ในที่นั้นมีศาลาอยู่ใกล้เรือนของทานบดี. ที่ศาลานั้น เขาจัดอาสนะไว้ น้ำและน้ำข้าวเขาก็จัดตั้งไว้ในศาลานั้น บรรพชิตทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตร แล้วนั่งฉัน. ถ้าว่าบรรพชิตทั้งหลายปรารถนา ก็จะถือเอาสิ่งของแม้ของทานบดีทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แม้ที่นั้นก็พึงทราบว่า ใกล้ฝาแห่งหนึ่ง แห่งศาลาเช่นนี้ ของตระกูลตระกูลหนึ่ง. แท้จริงบรรพชิตทั้งหลายหานั่งฉันในที่อันไม่สมควรอย่างมนุษย์ยากไร้ไม่.
ศัพท์ว่า อตฺถิ ในคําว่า อตฺถิ นาม ตาต นี้ ลงในอรรถว่า มีอยู่.
ศัพท์ว่า นามเป็นนิบาตลงในอรรถว่า ถาม หรือ สําคัญ.
ท่านอธิบายว่า บิดาพึงกล่าวว่าซึ่งเจ้าจักมาถึงในที่เช่นนี้ บริโภคขนมค้างคืนของเราใด พ่อรัฏฐปาละ พวกเรานั้นมีทรัพย์อยู่หนอ มิใช่ไม่มีทรัพย์. บิดาพึงกล่าวว่า อนึ่ง เจ้าพึงนั่งในที่เช่นนี้ บริโภคขนมค้างคืนของพวกเราใด พวกเรานั้น ยังมีชีวิตอยู่หนอ มิใช่ผู้ตายไปแล้ว. อนึ่ง เจ้าแม้ถูกเลี้ยงเติบโตมาด้วยรสโภชนะอันดี ไม่พิการ จะบริโภคขนมค้างคืนที่น่าเกลียดอันนี้ใด ดังบริโภคอมฤต พ่อรัฏฐปาละ คุณเครื่องเป็นสมณะอาศัยพระศาสนา แนบแน่นภายในของเจ้า ชรอยจะมีอยู่.
ก็คหบดีนั้น ไม่อาจกล่าวเนื้อความนี้ให้บริบูรณ์ได้ เพราะถูกทุกข์ทิ่มแทง แล้วกล่าวได้แต่เพียงเท่านี้ว่า พ่อรัฏฐปาละ มีหรือ ที่เจ้าจักบริโภคขนมค้างคืน. ก็ในข้อนี้ นักคิดอักษรกล่าวลักษณะนี้ไว้.
ท่านทําคําอนาคตกาลว่า ปริภฺุชิสฺสสิ ใกล้บทในศัพท์ว่า อตฺถิ นี้ ด้วยอรรถอันไม่บริบูรณ์ ตามการกําหนดของตน. คํานั้นมีเนื้อความดังนี้ว่า มีอยู่หรือ พ่อรัฏฐปาละ ที่พ่อจะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 56
ฉันขนมกุมมาสบูด แม้เราเห็นกับตาก็ไม่เชื่อ ทนไม่ได้. คฤหบดียืนจับที่ขอบปากบาตรของพระเถระ กล่าวคํามีประมาณเท่านี้ เมื่อบิดายืนจับที่ขอบปากบาตรอยู่นั้นแล แม้พระเถระก็ฉันขนมบูดนั้น ที่ส่งกลิ่นบูดในที่ที่แตกเหมือนฟองไข่เน่า เป็นเช่นกับรากสุนัข. เล่าว่าปุถุชนก็ไม่อาจกินขนมเช่นนั้นได้. แต่พระเถระดํารงอยู่ในอริยฤทธิ ฉันเหมือนกับฉันอมฤตรสทิพยโอชา รับน้ำด้วยธรรมกรก ล้างบาตร ปาก และมือเท้า กล่าวคําเป็นต้นว่า กุโต โน คหปติ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กุโต โน แปลว่า แต่ที่ไหนหนอ.
บทว่า เนว ทานํ ความว่า ไม่ได้ทานโดยไทยธรรมเลย.
บทว่า น ปจฺจกฺขานํ ความว่า ไม่ได้แม้คําเรียกขาน โดยปฏิสันถารอย่างนี้ว่า พ่อรัฏฐปาละ เจ้าพอทนบ้างหรือ มาด้วยความลําบากเล็กน้อยบ้างหรือ พ่อไม่ฉันอาหารในเรือนก่อนหรือ.
ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้. เพราะอนุเคราะห์บิดา.
ได้ยินว่า พระเถระคิดอย่างนี้ว่า บิดานี้ พูดกะเราฉันใด เห็นที่จะพูดกะบรรพชิตแม้อื่นฉันนั้น ก็ในพระพุทธศาสนา ภายในของเหล่าภิกษุผู้ปกปิดคุณเช่นเรา เหมือนดอกปทุมในระหว่างใบ เหมือนไฟที่เถ้าปิด เหมือนแก่นจันทน์ที่กะพี้ปิด เหมือนแก้วมุกดาที่ดินปิด เหมือนดวงจันทร์ที่เมฆฝนปิด ย่อมไม่มีถ้อยคําเห็นปานนี้ จักเป็นไปในภิกษุเหล่านั้น บิดาก็จักตั้งอยู่ในความระมัดระวัง เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้ด้วยความอนุเคราะห์.
บทว่า อหิ ตาต ความว่า คหบดีพูดว่า พ่อเอ่ยเรือนของเจ้าไม่มีดอก มาเราไปเรือนกัน.
บทว่า อลํ ได้แก่ พระเถระเมื่อปฏิเสธจึงกล่าวอย่างนี้ เพราะเป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์ อย่างอุกฤษฏ์.
บทว่า อธิวาเสสิ ความว่า แต่พระเถระโดยปกติเป็นผู้ถือสปทานจาริกังคธุดงค์ อย่างอุกฤษฏ์ จึงไม่รับภิกษา เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แต่รับด้วยความอนุเคราะห์มารดา.
ได้ยินว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 57
มารดาของพระเถระรําลึกแล้วรําลึกเล่าถึงพระเถระ ก็เกิดความโศกอย่างใหญ่ ร้องห่มร้องไห้มีดวงตาฟกช้ำ. เพราะฉะนั้น พระเถระคิดว่า ถ้าเราจักไม่ไปเยี่ยมมารดานั้น หัวใจของมารดาจะพึงแตก จึงรับด้วยความอนุเคราะห์.
บทว่า การาเปตฺวา ความว่า ให้กระทําเป็น ๒ กอง คือ เงินกองหนึ่ง ทองกองหนึ่ง.
ถามว่า ก็กองทรัพย์ใหญ่โตเพียงไร.
ตอบว่า ใหญ่เหมือนอย่างบุรุษยืนข้างนี้ ไม่เห็นบุรุษขนาดสันทัดที่ยืนข้างโน้น.
บิดาเมื่อแสดงกองกหาปณะ และกองทอง จึงกล่าวว่า อิทนฺเต ตาต.
บทว่า มตฺติกํ แปลว่า ทรัพย์มาข้างมารดา อธิบายว่า ทรัพย์นี้เป็นของยายของเจ้า เมื่อมารดามาเรือนนี้ มารดาก็ให้ทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่ของหอม แลดอกไม้เป็นต้น.
บทว่า อฺํ ปิตฺติกํ อฺํ ปิตามหํ ความว่า ทรัพย์ใดเป็นของบิดาและปู่ของเจ้า ทรัพย์นั้นที่เก็บไว้และที่ใช้การงานอย่างอื่นมีมากเหลือเกิน.
ก็ในคํานั้น คําว่า ปิตามหํ นี้พึงทราบว่า ลบตัทธิต . ปาฐะว่า เปตามหํ ก็มี.
บทว่า สกฺกา ตาต รฏปาล ความว่า พ่อรัฏฐบาล ไม่ใช่บรรพชิตอย่างเดียวที่สามารถทําบุญได้ แม้ผู้ครองเรือนบริโภคโภคะก็สามารถตั้งอยู่ในสรณะ ๓ สมาทานสิกขาบท ๕ ทําบุญมีทานเป็นต้น ยิ่งๆ ขึ้นไป มาเถอะพ่อ เจ้า ฯลฯ จงกระทําบุญ.
พระเถระกล่าวอย่างนี้ว่า ตโตนิทานํ หมายถึง ความโสกเป็นต้นที่เกิดแก่ผู้รักษาทรัพย์นั้นๆ และผู้ถึงความสิ้นทรัพย์ ด้วยอํานาจราชภัยเป็นต้น เพราะทรัพย์เป็นเหตุ เพราะทรัพย์เป็นปัจจัย.
ครั้นพระเถระกล่าวอย่างนั้น เศรษฐีคฤหบดีคิดว่า เรานําทรัพย์นี้มาด้วยหมายจะให้บุตรนี้สึก บัดนี้ บุตรนั้น กลับเริ่มสอนธรรมแก่เรา อย่าเลย เขาจักไม่ทําตามคําของเราแน่ แล้วจักลุกขึ้นไปให้เปิดประตูห้องนางในของบุตรนั้น ส่งคนไปบอกว่า ผู้นี้เป็นสามี พวกเจ้าจงไป ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง พยายามจับตัวมาให้ได้. นางรําทั้งหลายผู้อยู่ในวัยทั้งสามออกไปล้อมพระเถระไว้. ท่านกล่าวคําว่า ปุราณทุติยิกา เป็นต้น หมายถึง หญิง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 58
หัวหน้า ๒ คน ในบรรดานางรําเหล่านั้น.
บทว่า ปจฺเจกํ ปาเทสุ คเหตฺวา ได้แก่ จับพระเถระนั้นที่เท้าคนละข้าง.
เพราะเหตุไร นางรําเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระลูกเจ้าพ่อเอ่ย นางอัปสรเป็นเช่นไร.
ได้ยินว่า ครั้งนั้นคนทั้งหลายเห็นเจ้าหนุ่มบ้าง พราหมณ์หนุ่มบ้าง ลูกเศรษฐีบ้าง เป็นอันมากละสมบัติใหญ่บวชกัน ไม่รู้คุณของบรรพชา จึงตั้งคําถามว่า เหตุไร คนเหล่านี้จึงบวช. ที่นั้นคนเหล่าอื่นจึงกล่าวว่า เพราะเหตุแห่งเทพอัปสร เทพนาฏกะ. ถ้อยคํานั้นได้แพร่ไปอย่างกว้างขวาง. นางฟ้อนรําเหล่านั้นทั้งหมด จําถ้อยคํานั้นได้แล้วจึงกล่าวอย่างนี้.
พระเถระเมื่อจะปฏิเสธจึงกล่าวว่า น โข มยํ ภคินี น้องหญิง เราไม่ใช่ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งนางอัปสร.
บทว่า สมุทาจรติ แปลว่า ย่อมร้องเรียก ย่อมกล่าว.
บทว่า ตตฺเถว มุจฺฉิตา ปปติํสุ ความว่า นางรําทั้งหลายเห็นพระเถระร้องเรียกด้วยวาทะว่าน้องหญิง จึงคิดว่า พวกเรามิได้ออกไปข้างนอกถึง ๑๒ ปี ด้วยคิดว่า วันนี้ ลูกเจ้าจักมา พวกเราพึงเป็นอยู่ด้วยอํานาจของทารกเหล่าใด เราอาศัยท่านก็ไม่ได้ทารกเหล่านั้น เราเป็นผู้เสื่อมทั้งข้างโน้นทั้งข้างอื่น ชื่อว่าโลกนี้เป็นของเราหรือ เพราะฉะนั้น พวกนางรําแม้เหล่านั้น เมื่อคิดเพื่อตนว่า บัดนี้เราไม่มีที่พึงแล้ว ก็เกิดความโศกอย่างแรงว่า บัดนี้ท่านผู้นี้ไม่ต้องการพวกเรา และพวกเราก็ยังเป็นภริยาอยู่ เขาคงจะสําคัญเหมือนเด็กหญิง นอนอยู่ในท้องแม่คนเดียวกับตน จึงล้มสลบลงในที่นั้นนั่นแหละ อธิบายว่า ล้มไป.
บทว่า มา โน วิเหเถ ความว่า อย่าแสดงทรัพย์และส่งมาตุคามมาเบียดเบียนเราเลย.
ถามว่า พระเถระกล่าวอย่างนั้นเพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะอนุเคราะห์มารดาบิดา.
เล่ากันว่า เศรษฐีนั้นสําคัญว่า ขึ้นชื่อว่าเพศบรรพชิต เศร้าหมอง เราจักให้เปลื้องเพศบรรพชิตออกให้อาบน้ำ บริโภคร่วมกันสามคน จึงไม่ถวายภิกษาแก่พระเถระ. พระเถระคิดว่า มารดาบิดาเหล่านี้กระทํา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 59
อันตรายในอาหารแก่พระขีณาสพ เช่นเราจะพึงประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก จึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยความอนุเคราะห์มารดาบิดานั้น.
บทว่า คาถา อภาสิ แปลว่า ได้กล่าวคาถาทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้นด้วยบทว่า ปสฺส พระเถระกล่าวหมายถึงคนที่อยู่ใกล้.
บทว่า จิตฺตํ แปลว่า งดงามด้วยสิ่งที่ปัจจัยก่อขึ้น.
บทว่า พิมฺพํ แปลว่า อัตตภาพ.
บทว่า อรุกายํ ได้แก่ กลุ่มแผล คือ ปากแผลทั้ง ๙.
บทว่า สมุสฺสิตํ ได้แก่ ที่ผูกกระดูก ๓๐๐ ท่อนกับเอ็น ๙๐๐ ฉาบด้วยชิ้นเนื้อ ๙๐๐ ยกขึ้นโดยรอบ.
บทว่า อาตุรํ ได้แก่ อาดูรเป็นนิจ เพราะอาดูรด้วยชรา อาดูรด้วยโรค และอาดูรด้วยกิเลส.
บทว่า พหุสงฺกปฺปํ ความว่า มีความดําริอย่างมาก ด้วยความดําริคือความปรารถนาที่เกิดขึ้นแก่ศพเหล่าอื่น.
เป็นความจริง เหล่าบุรุษย่อมเกิดความดําริในร่างกายของสตรี เหล่าสตรีย่อมเกิดความดําริในร่างกายของบุรุษเหล่านั้น. อนึ่ง เหล่ากาและสุนัขเป็นต้นย่อมปรารถนาร่างกายนั้น แม้ที่เป็นซากศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความดําริมาก.
บทว่า ยสฺส นตฺถิ ธุวํ ิติ ความว่า กายใดไม่มีความตั้งมั่นโดยส่วนเดียว เหมือนมายาพยัพแดดฟองน้ำต่อมน้ำเป็นต้น ความที่ร่างกายนั้นมีอันแตกไปเป็นของธรรมดา เป็นของแน่นอน.
บทว่า ตเจน โอนทฺธํ ได้แก่ หุ้มด้วยหนังมนุษย์สด.
บทว่า สห วตฺเถภิ โสภติ ความว่า แม้รูปที่แต่งให้งดงามด้วยของหอมเป็นต้น ด้วยกุณฑลมณี ย่อมงดงามพร้อมด้วยผ้าที่แต่งรูป เว้นผ้าเสียก็น่าเกลียดไม่ควรมองดู.
บทว่า อลฺลตฺตกกตา ได้แก่ รดด้วยน้ำครั่งสด.
บทว่า จุณฺณกมกฺขิตํ ได้แก่ เอาปลายเมล็ดพรรณผักกาดเเคะต่อมที่ใบหน้าเป็นต้นออก เอาดินเค็มกําจัดเลือดร้าย เอาแป้งงาทําโลหิตให้ใส เอาขมิ้นประเทืองผิว เอาแป้งผัดหน้า. ด้วยเหตุนั้น ร่างกายนั้นจึงงามอย่างยิ่ง. ท่านกล่าวคํานั้นหมายเอากายนั้น.
บทว่า อฏปทกตา ความว่า ทําด้วยน้ำ ต่างลากไปกระทําให้เป็นวงกลมๆ ชายหน้าผาก แต้มให้เป็นแปดลอน.
บทว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 60
อฺชนี ได้แก่ หลอดหยอดตา.
บทว่า โอทหิ แปลว่า ตั้งไว้.
บทว่า ปาสํ ได้แก่ ข่ายที่ทําด้วยป่าน.
บทว่า นาสทา ได้แก่ ไม่กระทบ.
บทว่า นิวาปํ ได้แก่ อาหารเช่นกับเหยื่อและหญ้าที่กล่าวไว้ใน นิวาปสูตร.
บทว่า กนฺทนฺเต แปลว่า ร่ําร้องรําพัน.
ก็พระเถระแสดงมารดาบิดาให้เป็นเหมือนพรานล่าเนื้อด้วยคาถานี้. แสดงเหล่าญาตินอกนั้นเป็นเหมือนบริวารของพรานล่าเนื้อ เงินและทองเหมือนข่ายป่าน โภชนะที่ตนบริโภคเหมือนเหยื่อและหญ้า ตนเองเหมือนเนื้อใหญ่. เปรียบเหมือนเนื้อใหญ่เคี้ยวเหยื่อและหญ้าเป็นอาหารตามต้องการ ดื่มน้ำ ชูคอ ตรวจดูบริวาร คิดว่า เราไปสู่ที่นี้จักปลอดภัย กระโดดขึ้นมิให้กระทบบ่วงของเหล่านายพรานเนื้อ ผู้กําลังคร่ําครวญอยู่เข้าป่าไป ถูกลมอ่อนๆ โชยอยู่ภายใต้พุ่มไม้ประดุจฉัตร มีเงาทึบ ยืนตรวจดูทางที่มาฉันใด พระเถระก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นกล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว ก็เหาะไปปรากฏที่พระราชอุทยานชื่อว่า มิคาจิระ.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระเถระจึงเหาะไป.
ตอบว่า ได้ยินว่า เศรษฐีบิดาของพระเถระนั้น ให้ทําลูกดาลไว้ที่ซุ้มประตูทั้ง ๗ สั่งนักมวยปล้ำไว้ว่า ถ้าพระเถระจักออกไป จงจับมือเท้าพระเถระไว้เปลื้องผ้ากาสายะออก ให้ถือเพศคฤหัสถ์. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงคิดว่า มารดาบิดานั้น จับมือเท้าพระมหาขีณาสพเช่นเรา จะพึงประสบสิ่งมิใช่บุญ ข้อนั้นอย่าได้มีแก่มารดาบิดาเลย จึงได้เหาะไป.
ก็พระเถระชาวปรสมุทร ยังยืนกล่าวคาถาเหล่านี้แล้วเหาะไปปรากฏที่พระราชอุทยานมิคาจิระของพระเจ้าโกรัพยะ.
แนวทางถ้อยคํามีดังนี้.
คําว่า มิคฺคโว เป็นชื่อของคนเฝ้าพระอุทยานนั้น.
บทว่า โสเธนฺโต ได้แก่ กระทําทางไปพระราชอุทยานให้เสมอ ให้ถากสถานที่ที่ควรจะถาก ให้กวาดสถานที่ที่ควรจะกวาด และกระทําการเกลี่ยทราย โรยดอกไม้ ตั้งหม้อน้ำเต็ม ตั้งต้นกล้วยเป็นต้น ไว้ภายในพระราชอุทยาน.
บทว่า เยน ราชา โกรโพฺย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 61
เตนูปสงฺกมิ ความว่า คนเฝ้าสวน คิดว่า พระราชาของเรา ตรัสชมกุลบุตรผู้นี้ทุกเมื่อ ทรงมีพระประสงค์จะพบแต่ไม่ทรงทราบว่า กุลบุตรผู้นั้นมาแล้ว เพราะฉะนั้น บรรณาการนี้เป็นของยิ่งใหญ่ เราจักไปกราบทูลพระราชา จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโกรัพยะ.
บทว่า กิตฺตยมาโน อโหสิ ความว่า ได้ยินว่า พระราชานั้น ระลึกแล้วระลึกถึงพระเถระ ตรัสคุณว่า กุลบุตรผู้ละสมบัติใหญ่เห็นปานนั้นบวชแล้วกลับมาอีกก็ไม่ใยดี ทั้งในท่ามกลางหมู่พล ทั้งท่ามกลางนางรํา ชื่อว่า กระทํากิจที่ทําได้ยาก. พระเจ้าโกรัพยะนี้ทรงถือเอาคุณข้อนั้นจึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า วิสชฺเชถาติ วตฺวา ความว่า สิ่งใดสมควรแก่ผู้ใดในพวกคนสนิท มหาอํามาตย์และไพร่พลเป็นต้น ก็ให้พระราชทานสิ่งนั้นแก่ผู้นั้น.
บทว่า อุสฺสตาย อุสฺสตาย ความว่า ที่คับคั่งแล้วคับคั่งแล้ว.
ทรงพาบริษัทที่คับคั่งด้วยมหาอํามาตย์ ข้าราชการผู้ใหญ่เป็นต้นเข้าไปแล้ว. พระราชาทรงสําคัญว่า เครื่องลาดไม้ยังบางจึงเป็นอันทรงกระทําให้ชั้นดอกไม้เป็นต้นหนา กําหนดไว้กว้าง ไม่บอกกล่าวแล้วนั่งในที่เช่นนั้น ไม่ควรจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อิธ ภวํ รฏปาโล กฏตฺถเร นิสีทตุ พระรัฏฐปาละผู้เจริญ โปรดนั่งบนเครื่องลาดไม้ในที่นี้.
บทว่า ปาริชฺุานิ ความว่า ภาวะ คือ ความเสื่อม ได้แก่ ความสิ้นไป.
บทว่า ชิณฺโณ ได้แก่ แก่เพราะชรา.
บทว่า วุฑฺโฒ คือ เจริญด้วยวัย.
บทว่า มหลฺลโก คือ แก่โดยชาติ.
บทว่า อทฺธคโต คือ ล่วงกาลผ่านวัย.
บทว่า วโยอนุปฺปตฺโต คือ ถึงปัจฉิมวัยแล้ว.
บทว่า ปพฺพชติ ได้แก่ ไปวิหารใกล้ๆ ไหว้ภิกษุ ให้ท่านเกิดความการุญอ้อนวอนว่า ครั้งผมเป็นหนุ่ม ทํากุศลไว้มาก บัดนี้ เป็นคนแก่ ชื่อว่า การบรรพชานี้เป็นของคนแก่ กระผมจักกวาดลานเจดีย์ กระทําการแผ้วถางเป็นอยู่ โปรดให้ผมบวชเถิดขอรับ. พระเถระก็ให้บวช ด้วยความกรุณา.
ท่านกล่าวคํานี้หมายถึงการบวชเมื่อแก่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 62
นั้น. แม้ในวาระที่สอง ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อปฺปาพาโธ ได้แก่ ไม่มีโรค.
บทว่า อปฺปาตงฺโก ได้แก่ ไม่มีทุกข์.
บทว่า สมเวปากินิยา ได้แก่ ประกอบด้วยไฟธาตุ ที่ย่อยอาหารสม่ําเสมอดี.
บทว่า คหณิยา ได้แก่ เตโชธาตุ ที่เกิดแต่กรรม.
อาหารของผู้ใด ที่พอบริโภคแล้วย่อมย่อย ก็หรือว่าของผู้ใดย่อมตั้งอยู่อย่างนั้นเหมือนอาหารที่ยังเป็นห่ออยู่ ประกอบด้วยไฟธาตุที่ย่อยสม่ําเสมอกันทั้งสองนั้น. ส่วนผู้ใดเวลาบริโภคแล้วก็เกิดความต้องการอาหาร ผู้นี้ชื่อว่าประกอบด้วยไฟธาตุที่ย่อยสม่ําเสมอดี.
บทว่า นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย ได้แก่ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ.
บทว่า อนุปพฺเพน ความว่า ตามลําดับเป็นต้นว่า พระราชาทรงพิจารณา.
ในวาระที่สอง ก็พึงทราบโดยลําดับ มีราชภัย โจรภัย และฉาตกภัยเป็นต้น.
บทว่า ธมฺมุทฺเทสา อุทฺทิฏฺา ได้แก่ ยกธรรมนิทเทสขึ้นแสดง.
บทว่า อุปนียคิ ได้แก่ ไปใกล้ชรามรณะ หรือ ถูกนําไปในชรามรณะนั้นด้วยความสิ้นอายุ.
บทว่า อทฺธุโว คือ เว้นจากการตั้งอยู่ยั่งยืน.
บทว่า อตาโณ ได้แก่ เว้นจากความสามารถที่จะต่อต้าน.
บทว่า อนภิสฺสโร ได้แก่ ไม่มีสรณะ คือ เว้นจากความสามารถที่จะมีสรณะให้ยิ่งแล้วเบาใจ.
บทว่า อสฺสโก คือ ไม่มีของตน เว้นจากของที่เป็นของตน.
บทว่า สพฺพํ ปหาย คมนียํ ได้แก่ โลกจําต้องละสิ่งทั้งปวง ที่กําหนดว่าเป็นของตนไป.
บทว่า ตณฺหาทาโส แปลว่า เป็นทาสแห่งตัณหา.
บทว่า หตถิสฺมิ แปลว่า ในเพราะศิลปะช้าง.
บทว่า กตาวี ได้แก่ กระทํากิจเสร็จแล้ว ศึกษาเสร็จแล้ว อธิบายว่า มีศิลปะคล่องแคล่ว.
ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
บทว่า อูรุพลี ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยกําลังขา.
จริงอยู่ ผู้ใดมีกําลังขาที่จะจับโล่และอาวุธ เข้าไปสู่กองทัพของปรปักษ์ ทําลายสิ่งที่ยังมิได้ทําลาย ธํารงสิ่งที่ทําลายไว้ได้ แล้วนําราชสมบัติที่อยู่ในมือของปรปักษ์มาได้ ผู้นี้ชื่อว่า มีกําลังขา.
บทว่า พาหุพลี ได้แก่ สมบูรณ์ด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 63
กําลังแขน.
คําที่เหลือ ก็เช่นกับนัยก่อนนั่นแล.
บทว่า อลมตฺโต แปลว่า มีอัตตภาพอันสามารถ.
บทว่า ปริโยธาย วตฺติสฺสนฺติ ได้แก่ กําหนดถือเอาว่า จักครอบงําอันตรายที่เกิดขึ้นเป็นไป. พระราชานั้นทรงนําเหตุแห่งธัมมุทเทศในเบื้องสูง มากล่าวคํานี้ว่า ท่านรัฏฐบาลผู้เจริญ เงินทองเป็นอันมากในราชกูลนี้มีอยู่.
บทว่า อถาปรํ เอตทโวจ ความว่า พระเถระได้กล่าวลําดับธัมมุทเทส ๔ โดยนัยเป็นต้นว่า เอตํ ปสฺสามิ โลเก.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ ความว่า ปรารถนาวัตถุกามและกิเลสกามยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า ได้หนึ่งอยากได้สอง ได้สองอยากได้สี่.
บทว่า ปสยฺห ได้แก่ ข่มคุณสมบัติ.
บทว่า สสาครนฺตํ ได้แก่ พร้อมด้วยมีสาครเป็นที่สุด.
บทว่า โอรํ สมุททสฺส ความว่า ไม่อิ่มด้วยรัฐของตน มีสมุทรเป็นของเขต.
บทว่า น หตฺถิ ตัดบทว่า น หิ อตฺถิ แปลว่า ไม่มีเลย.
บทว่า อโห วตาโน ตัดบทว่า อโห วต นุ.
อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า อมราติจาหุ ตัดบทว่า อมรํอิติ จ อาหุ. ท่านอธิบายว่า ญาติล้อมญาติผู้ตาย คร่ําครวญ ชนทั้งหลายกล่าวคําเป็นต้นแม้ว่า โอ หนอ พี่ของเราตาย บุตรของเราตาย.
บทว่า ผุสนฺติ ผสฺสํ คือ ถูกต้องมรณผัสสะ.
บทว่า ตเถว ผุฏโ ความว่า คนโง่ฉันใด แม้นักปราชญ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มรณผัสสะถูกต้องแล้ว ชื่อว่าคนที่มรณผัสสะไม่ถูกต้องไม่มี.
ข้อความแปลกันมีดังนี้.
บทว่า พาโล หิ พาลฺยา วิธิโตว เสติ ความว่า คนโง่อาศัยมรณผัสสะ แทงแล้วนอนอยู่ เพราะความเป็นคนพาลถูกมรณผัสสะกระทบแล้วนอนอยู่ ย่อมหวั่นไหว ย่อมผันแปร ด้วยความวิปฏิสารเป็นต้นว่า เราไม่ได้กระทําความดีไว้หนอ.
บทว่า ธีโร จ น เวธติ ความว่า คนฉลาดเห็นสุคตินิมิต ก็ไม่หวั่นไม่ไหว.
บทว่า ยาย โวสานํ อิธาธิคจฺฉติ ความว่า บรรลุพระอรหัตที่สุดแห่งกิจทั้งปวงในโลกนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 64
ด้วยปัญญาอันใด ก็ปัญญาอันนั้นสูงสุดกว่าทรัพย์.
บทว่า อโพฺยสิตตฺตา ความว่า เพราะยังอยู่ไม่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า เพราะยังไม่มีการบรรลุอรหัต.
บทว่า ภวาภเวสุ ได้แก่ ในภพเลวและประณีต.
บทว่า อุเปติ คพฺภฺจ ปรฺจ โลกํ ความว่า เมื่อคนเหล่านั้นกระทําบาปอยู่ สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งต้องประสบสังสารวัฏสืบๆ ไป ย่อมเข้าถึงครรภ์และโลกอื่น.
บทว่า ตสฺสปฺปปฺโญ ความว่า คนไม่มีปัญญาอื่นก็เชื่อถือคนไม่มีปัญญาเช่นนั้นนั้น.
บทว่า สกมฺมุนา หฺติ ความว่า ย่อมเดือดร้อนด้วยกรรมกรณ์ มีตีด้วยหวายเป็นต้น ด้วยอํานาจกรรมที่ตนเองทําไว้.
บทว่า เปจฺจ ปรมฺหิ โลเก ความว่า ไปจากโลกนี้แล้ว เดือดร้อนในอบายโลกอื่น.
บทว่า วิรูปรูเปน มีรูปต่างๆ อธิบายว่า มีสภาวะต่างๆ.
บทว่า กามคุเณสุ ได้แก่ เห็นอาทีนพ ในกามคุณทั้งปวง ทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า.
บทว่า ทหรา แปลว่า อ่อน โดยที่สุดเพียงเป็นกลละ.
บทว่า วุฑฺฒา คือ เกินร้อยปี.
บทว่า อปณฺณกํ สามฺเมว เสยฺโย ความว่า มหาราช อาตมภาพบวชเพราะใคร่ครวญแล้วว่า สามัญญผลเท่านั้นไม่ผัดไม่แยกเป็นสอง นําสัตว์ออกจากทุกข์โดยส่วนเดียว เป็นธรรมอันยิ่งกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงเห็น ทรงสดับอย่างไร จึงตรัสข้อใด จงจําอาตมภาพว่า อาตมภาพเห็นและฟังข้อนี้จึงออกบวช แล้วก็จบเทศนาแล.
จบอรรถกถารัฏฐปาลสูตรที่ ๒