๑. มหากัสสปเถรคาถา ว่าด้วยสถานที่และข้อปฏิบัติที่ดีงาม
โดย บ้านธัมมะ  20 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40670

[เล่มที่ 53] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 334

เถรคาถา จัตตาลีสนิบาต

๑. มหากัสสปเถรคาถา

ว่าด้วยสถานที่และข้อปฏิบัติที่ดีงาม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 53]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 334

เถรคาถา จัตตาลีสนิบาต

๑. มหากัสสปเถรคาถา

ว่าด้วยสถานที่และข้อปฏิบัติที่ดีงาม

[๓๙๘] ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะ เป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่านได้สมาธิโดยยาก การสงเคราะห์ ชนต่างๆ เป็นความลำบากดังนี้ จึงไม่ชอบใจหมู่คณะ นักปราชญ์ไม่ควรเกี่ยวข้องกับตระกูลทั้งหลาย เพราะเป็น เหตุทำใจให้ฟุ้งซ่านได้สมาธิโดยยาก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ ตระกูลนั้น ย่อมต้องขวนขวายในการเข้าไปสู่ตระกูล มัก ติดรสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ นักปราชญ์ได้กล่าวการกราบไหว้และการบูชาในตระกูล ทั้งหลายว่าเป็นเปือกตม และเป็นลูกศรที่ละเอียดถอน ได้ยาก บุรุษผู้เลวทรามย่อมละสักการะได้ยากยิ่ง.

เราลงจากเสนาสนะแล้ว ก็เข้ารูปบิณฑบาตยัง นคร เราได้เข้าไปหาบุรุษโรคเรื้อน ผู้กำลังบริโภคอาหาร ด้วยความอ่อนน้อม บุรุษโรคเรื้อนนั้นได้น้อมเข้ามาซึ่งคำ ข้าวด้วยมือโรคเรื้อน เมื่อเขาใส่คำข้าวลงนิ้วมือของเขาก็ ขาดตกลงในบาตรของเรานี้ เราอาศัยชายคาเรือนฉันข้าว นั้นอยู่ ในเวลาที่กำลังฉันและฉันเสร็จแล้ว เรามิได้มี ความเกลียดชังเลย ภิกษุใดไม่ดูหมิ่นปัจจัยทั้งสี่ คือ อาหารบิณฑบาตที่จะพึงลุกขึ้นยืนรับ ๑ บังสุกุลจีวร ๑


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 335

เสนาสนะคือโคนไม้ ๑ ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑ ภิกษุ นั้นแล สามารถจะอยู่ในจาตุรทิศได้ ในเวลาแก่ภิกษุ บางพวกเมื่อขึ้นเขาย่อมลำบาก แต่พระมหากัสสปะผู้เป็น ทายาทของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ แม้ใน เวลาแก่เป็นผู้แข็งแรงด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ย่อมขึ้นไปได้ ตามสบาย พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน ละความกลัว ภัยได้แล้ว กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌาน อยู่ พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ถูกไฟไหม้อยู่ เป็นผู้ดับไฟได้แล้ว กลับจากบิณฑบาต แล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะผู้ หมดอุปาทาน ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ กลับจาก บิณฑบาตแล้ว ขั้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ ภูมิภาคอันประกอบ ด้วยระเบียบแห่งต้นกุ่มทั้งหลาย น่ารื่นรมย์ใจ กึกก้อง ด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ ล้วนแล้วด้วยภูเขา ย่อม ทำให้เรายินดี ภูเขามีสีเขียวดุจเมฆ งดงาม มีธารน้ำ เย็นใสสะอาด ดารดาษไปด้วยหญ้ามีสีเหมือนแมลงค่อมทอง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาอันสูงตระหง่าน แทบจดเมฆเขียวชอุ่ม เปรียบปานดังปราสาท กึกก้อง ด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ย่อมยังเราให้ยินดี ภูเขาที่ฝนตกรดแล้ว มีพื้นน่ารื่นรมย์ เป็นที่อาศัยของ เหล่าฤาษี เซ็งแซ่ด้วยเสียงนกยูง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 336

สถานที่เหล่านั้น เหมาะสำหรับเราผู้ยินดีในการเพ่งฌาน มีใจเด็ดเดี่ยว มีสติ เหมาะสำหรับเราผู้ใคร่ประโยชน์ รักษาตนดีแล้ว ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เหมาะสำหรับเรา ผู้ปรารถนาความผาสุก มีใจเด็ดเดี่ยว เหมาะสำหรับเรา ผู้ปรารถนาประกอบความเพียร มีใจแน่วแน่ ศึกษาอยู่ ภูเขาที่มีสีดังดอกผักตบ ปกคลุมด้วยหมู่เมฆบนท้องฟ้า เกลื่อนกล่นด้วยหมู่นกต่างๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขา อันไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน มีแต่หมู่เนื้ออาศัย ดารดาษ ด้วยหมู่นกต่างๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาที่มีน้ำใส สะอาด มีแผ่นหินเป็นแท่งทึบ เกลื่อนกล่นด้วยค่างและ มฤคชาติ ดารดาษไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ เราผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณาเห็นธรรมโดยชอบ ย่อมไม่มี ความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น ภิกษุไม่พึงทำ การงานให้มากนัก พึงเว้นคนผู้มิใช่กัลยาณมิตรเสีย ไม่ ควรขวนขวายในลาภผล ท่านผู้ปฏิบัติเช่นนั้น ย่อมจะ ต้องขวนขวายและติดในรสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์ อันจะนำความสุขมาให้ ภิกษุไม่พึงทำการงานให้มากนัก พึงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย เมื่อภิกษุขวนขวายใน การงานมาก ก็จะต้องเยียวยาร่างกายลำบาก ผู้มีร่างกาย ลำบากนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความสงบใจ ภิกษุไม่รู้สึกตน ด้วยเหตุสักว่าการท่องบ่นพระพุทธวจนะ ย่อมเที่ยวชูคอ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 337

สำคัญตนประเสริฐกว่าผู้อื่น ผู้ใดไม่ประเสริฐ เป็นพาล แต่สำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา นักปราชญ์ ทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้มีใจกระด้างเลย ผู้ใดไม่หวั่นไหวเพราะมานะ ๓ อย่าง ที่ถือว่าตัวเราเป็น ผู้ประเสริฐกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นแหละว่า เป็นผู้มี ปัญญา มีวาจาจริง ตั้งมั่นดีแล้วในศีลทั้งหลาย และว่า ประกอบด้วยความสงบใจ ภิกษุใดไม่มีความเคารพใน เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้เหินห่าง จากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น ภิกษุเหล่าใด เข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มีพรหมจรรย์ อันงอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว ภิกษุผู้ยังมี ใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ภิกษุนั้นย่อม ไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือนกับวานรคลุมด้วย หนังราชสีห์ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับ กลอก มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ ย่อม งดงามเพราะผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำฉะนั้น เทพเจ้า ผู้มีฤทธิ์ มีเกียรติยศเป็นอันมากประมาณหมื่น และ พรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบน้อม ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มีฌาน ใหญ่ มีใจตั้งมั่น เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแต่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 338

ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข้าฌานอยู่เพราะอาศัยอารมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมรู้ไม่ถึงอารมณ์เหล่านั้นของ ท่าน น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของท่านผู้รู้ทั้งหลายลึกซึ้ง ยิ่งนัก ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้นับว่าเป็น ผู้เฉียบแหลมดุจนายขมังธนู ก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้ม ได้ปรากฏมีแก่ท่านพระกัปปินเถระ เพราะได้เห็นท่าน พระสารีบุตรผู้ควรแก่สักการบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชา อยู่เช่นนั้นในเวลานั้น ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้น แต่สมเด็จพระมหามุนีองค์เดียวเท่านั้น เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในทางธุดงคคุณ ไม่มีใครเทียมเท่าเลย เราเป็น ผู้คุ้นเคยกับพระบรมศาสดา เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว พระสมณโคดมผู้ทรงพระคุณ หาปริมาณมิได้ มีพระทัยน้อมไปในเนกขัมมะ ทรงสลัด ภพทั้ง ๓ ออกได้แล้ว ย่อมไม่ทรงติดอยู่ด้วยจีวร บิณฑบาตและเสนาสนะ เปรียบเหมือนบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นจอมนักปราชญ์ มีสติปัฏฐานเป็น พระคอ มีศรัทธาเป็นพระหัตถ์ มีปัญญาเป็นพระเศียร ทรงพระปรีชามก ทรงดับเสียแล้วซึ่งกิเลสแลกองทุกข์ ตลอดกาลทุกเมื่อ.

จบมหากัสสปเถรคาถา


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 339

ในจัตตาลีสนิบาตนี้ มีพระมหากัสสปเถระองค์เดียวเท่านั้น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๔๐ คาถา.

จัตตาลีสนิบาตจบบริบูรณ์

อรรถกถาจัตตาลีสนิบาต

อรรถกถากัสสปเถรคาถาที่ ๑

ในจัตตาลีสนิบาต คาถาของท่านพระมหากัสสปเถระ มีคำเริ่ม ต้นว่า น คเณน ปุรกฺขโต จเร ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระเถระนี้ได้เป็นกุฎุมพีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ นามว่า เวเทหะ ในหังสวดีนคร. ท่านเป็นอุบาสกพุทธมามกะ ธรรมมามกะ สังฆมามกะ อยู่. ในวันอุโบสถ วันหนึ่ง เขาบริโภคอาหารดีแต่เช้าตรู่ อธิษฐานองค์แห่งอุโบสถ ถือเอา ของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปยังวิหาร บูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ก็ในขณะนั้น พระศาสดาทรงตั้งพระสาวกที่ ๓ นามว่า มหานิสภเถระ ในเอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลย บรรดาภิกษุผู้สาวกของเรา ผู้ถือธุดงค์นี้ นิสภะเป็นเลิศ. อุบาสกได้ฟังดังนั้น จึงเลื่อมใส ในเวลาจบธรรมกถา เมื่อมหาชนลุกไป จึงถวายบังคมพระศาสดา เชื้อเชิญว่า พรุ่งนี้ขอพระองค์ จงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์เถิด. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก ภิกษุสงฆ์มีมากแล. เขาทูลถามว่า มีเท่าไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่ามี ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป. เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงรับ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 340

ภิกษาของข้าพระองค์ อย่าเหลือไว้ในวิหารแม้สามเณรรูปเดียว. พระศาสดา ทรงรับแล้ว. อุบาสกทราบว่าพระศาสดาทรงรับแล้ว จึงไปยังเรือนจัดแจง มหาทาน วันรุ่งขึ้นจึงกราบทูลกาลแด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงถือ บาตรและจีวร แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังเรือนอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาตกแต่งไว้ ในเวลาจบอนุโมทนา ทรงรับข้าวยาคู เป็นต้น ได้ทรงกระทำการแจกภัต. แม้อุบาสกก็ได้นั่งอยู่ในสำนัก พระศาสดา.

ในระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระกำลังเที่ยวบิณฑบาต ดำเนินไป ตามถนนนั้นนั่นแล. อุบาสกเห็นเข้า ลุกไปไหว้พระเถระ กล่าวว่า จงให้ บาตรเถิดขอรับ. พระเถระได้ให้แล้ว. อุบาสกกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเข้าไปในที่นี้แหละ แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งในเรือน. พระเถระกล่าวว่า จักไม่สมควร อุบาสก. เขารับบาตรของพระเถระแล้ว บรรจุบิณฑบาตให้เต็มแล้วได้ถวาย. ลำดับนั้น เขาตามส่งพระเถระ กลับ แล้วนั่งในสำนักพระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหานิสภเถระ แม้เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า แม้พระศาสดาก็ประทับนั่ง ในเรือน ก็ไม่ปรารถนาจะเข้าไป ท่านมีคุณยิ่งกว่าคุณของพระองค์หรือ. จริงอยู่ ความตระหนี่คุณย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้ว่า อุบาสก พวกเรารอภิกษาอยู่ จึงนั่งอยู่ ในเรือน. ก็ภิกษุนั้นไม่นั่งเพ่งเล็งภิกษาอยู่อย่างนี้ พวกเราอยู่ใน เสนาสนะใกล้บ้าน เธออยู่ในป่าเท่านั้น พวกเราอยู่ในที่มุงบัง เธออยู่ แต่ในกลางแจ้งเท่านั้น, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ข้อนี้และ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 341

ข้อนี้เป็นคุณของเธอดังนี้แล้ว จึงเป็นเสมือนยังมหาสมุทรให้เต็ม ทรง แสดงคุณของเธอ.

แม้ตามปกติ อุบาสกเป็นผู้เลื่อมใสด้วยดียิ่งนัก เหมือนประทีป กำลังโพลงซึ่งลาดด้วยน้ำมัน คิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยสมบัติอย่าง อื่น ในอนาคตเราจะตั้งความปรารถนา เพื่อความเป็นเลิศกว่าผู้ถือธุดงค์ ในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง. เธอนิมนต์พระศาสดาแม้อีก ถวาย มหาทานตลอด ๗ วัน โดยทำนองนั้นนั่นแล ในวันที่ถวายไตรจีวร แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน นั่งแทบพระบาทมูลของพระศาสดา จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถวาย ทานตลอด ๗ วัน ข้าพระองค์ได้เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม มีเมตตาเป็นอารมณ์ ด้วยบุญกรรมนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาเทวสมบัติ สักกสมบัติ มารสมบัติ และพรหมสมบัติอย่างอื่น. ก็กรรมของข้าพระองค์นี้ จงเป็นบุญญาธิการ เพื่อความเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งธุดงค์ ๑๓ เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุตำแหน่ง ที่พระมหานิสภเถระ ปรารถนาไว้ ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต. พระศาสดาทรงตรวจ ดูว่า อุบาสกนี้ปรารถนาตำแหน่งใหญ่ เธอจักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงเห็นว่าจะสำเร็จ จึงตรัสพยากรณ์ว่า เธอปรารถนาตำแหน่งน่าชอบใจ ในอนาคตในที่สุดแห่ง ๑๐๐,๐๐๐ กัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติ เธอจักเป็นสาวกที่ ๓ ของพระองค์ มีนามว่าพระมหากัสสปเถระ. อุบาสกได้ฟังดังนั้นแล้วคิดว่า ขึ้นชื่อว่าถ้อยคำเป็นสองย่อม ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงได้สำคัญสมบัตินั้น เหมือนจะพึงได้ใน


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 342

วันรุ่งขึ้น. เธอถวายทานจนตลอดอายุ สมาทานรักษาศีล กระทำกัลยาณกรรมมีประการต่างๆ ทำกาละแล้วบังเกิดในสวรรค์.

จำเดิมแต่นั้นมา เธอเสวยสมบัติในเทวโลกและมนุษยโลก ใน กัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เสด็จเข้าไปอาศัยพันธุมวดีนคร ประทับอยู่ในมฤคทายวันอันเกษม จุติจาก เทวโลกแล้ว บังเกิดในตระกูลพราหมณ์เก่าแก่แห่งหนึ่ง. ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ทรงแสดงธรรมทุกๆ ๗ ปี ได้ มีความเอิกเกริกอย่างใหญ่. เทวดาในชมพูทวีปทั้งสิ้นนอกว่า พระศาสดา จักแสดงธรรม. พราหมณ์ได้ฟังข่าวนั้นแล้ว ก็ท่านได้มีผ้านุ่งอยู่ผืนเดียว เท่านั้น นางพราหมณีก็เหมือนกัน. แต่ท่านทั้งสองมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น เขาปรากฏในพระนครทั้งสิ้นว่า เอกสาฎกพราหมณ์. เมื่อมีการประชุม ด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่งของพวกพราหมณ์ พราหมณ์นั้นจึงพักนางพราหมณีไว้ในเรือน ส่วนตนเองห่มผ้านั้นไป, เมื่อมีการประชุมของ พวกพราหมณี ตนเองก็อยู่ในเรือน นางพราหมณีก็ห่มผ้านั้นไป. ก็วันนั้น พราหมณ์กล่าวกะนางพราหมณีว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอจักฟังธรรมใน กลางคืนหรือในกลางวัน. นางพราหมณีกล่าวว่า พวกเราชื่อว่าเกิดเป็น ผู้หญิง ไม่ปรารถนาจะฟังในกลางคืน จักฟังในกลางวัน จึงได้พัก พราหมณ์ไว้ในเรือน แล้วห่มผ้าพร้อมด้วยอุบาสิกาไปในกลางวัน ถวาย บังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังธรรมแล้วได้กลับมาพร้อม ด้วยอุบาสิกาทั้งหลายนั่นแล. ลำดับนั้น พราหมณ์จึงพักนางพราหมณีไว้ ในเรือน ห่มผ้านั้นไปวิหาร.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 343

สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบนธรรมาสน์ ที่เขาประดับแล้วใน ท่ามกลางบริษัท จับพัดวิชนีแสดงธรรมกถา ประหนึ่งเทวดาผู้วิเศษ หยั่งลงสู่แม่น้ำในอากาศ หรือเหมือนทำเขาสิเนรุให้เป็นข้าวตูก้อนแล้ว กดสงสู่สาครฉะนั้น. เมื่อพราหมณ์นั่งอยู่ที่ท้ายบริษัทฟังธรรมอยู่ ใน ปฐมยามนั้นเอง ปีติมีวรรณะ ๕ เกิดขึ้น ทำสรีระทั้งสิ้นให้เต็ม. เขาม้วนผ้า ที่ตนห่มแล้วคิดว่า จักถวายแด่พระทสพล. ลำดับนั้น ความตระหนี่อัน แสดงโทษตั้ง ๑,๐๐๐ เกิดขึ้นแก่เขาแล้ว, เขาคิดว่า นางพราหมณีและ เราก็มีผ้าผืนเดียวเท่านั้น, ผ้าห่มอะไรอื่นไม่มี ก็ธรรมดาว่าเราจะไม่ห่ม แล้ว ไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ ได้เป็นผู้ใคร่จะไม่ให้โดยประการทั้งปวง ครั้นปฐมยามทั้งมัชฌิมยามผ่านไป ปีติก็เกิดขึ้นแก่เขาเช่นนั้นเหมือน กัน. ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ไม่ปรารถนาจะให้เหมือนกัน ครั้นมัชฌิมยามทั้ง ปัจฉิมยามผ่านไป เขาก็เกิดปีติขึ้นเช่นนั้นเหมือนกัน. ในกาลนั้นเขาคิดว่า เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งยกไว้ก่อน เราจักรู้ในภายหลัง ดังนี้แล้วจึงม้วนผ้า วางไว้แทบบาทมูลของพระศาสดา. ลำดับนั้น เขาจึงคู้มือซ้ายปรบด้วย มือขวาขึ้น ๓ ครั้ง บันลือขึ้นทั้งสามครั้งว่า เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว.

ก็สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชประทับนั่งฟังธรรมอยู่ภายในม่าน หลังธรรมาสน์ ก็ธรรมดาว่า เสียงว่า เราชนะแล้ว ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจ ของพระราชา. ท้าวเธอทรงส่งบุรุษไปให้รู้ว่า เธอจงไป จงถามบุรุษนั่น เขากล่าวกระไร? เขาอันบุรุษนั้นไปถามแล้ว จึงตอบว่า พวกคนที่เหลือนี้ ขึ้นสู่ยานช้างเป็นต้น ถือเอาดาบและโล่หนังเป็นต้นชนะเสนาอื่น ข้อนั้น ไม่น่าอัศจรรย์. แต่เราย่ำยีจิตคือความตระหนี่แล้ว ถวายผ้าห่มแด่พระทศพล


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 344

เหมือนคนเอาค้อนทุบศีรษะโคโกง ผู้มาข้างหลังแล้วให้มันหนีไป ข้อที่ เราชนะความตระหนี่นั้นอัศจรรย์. บุรุษนั้นกลับมากราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระราชา. พระราชาตรัสว่า พนาย พวกเราไม่รู้กรรมอันสมควรแด่พระทศพล พราหมณ์รู้แล้วดังนี้ ได้ส่งคู่ผ้าไปให้แล้ว. พราหมณ์เห็นดังนั้น จึงคิดว่า พระราชานี้ไม่ได้ให้อะไรๆ ก่อนแก่เราผู้นั่งนิ่ง ต่อเมื่อเรากล่าว คุณของพระศาสดา จึงได้ให้ ก็จะประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยวัตถุที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยคุณของพระศาสดา ดังนี้แล้วได้ถวายคู่ผ้าแม้นั้นแด่พระทศพล เท่านั้น. ฝ่ายพระราชาตรัสถามว่า พราหมณ์ทำอะไร? ครั้นทรงสดับว่า พราหมณ์นั้นถวายคู่ผ้าแม้นั้นแด่พระตถาคตนั่นแล. จึงประทานคู่ผ้า ๒ คู่ แม้อื่นไปให้แล้ว พราหมณ์นั้นได้ถวายคู่ผ้าแม้เหล่านั้น. พระราชาจึงได้ ประทานคู่ผ้าแม้อื่น ๔ คู่ ถึง ๓๒ คู่. ลำดับนั้นพราหมณ์คิดว่า นี้เป็น เหมือนรับเพิ่มขึ้น จึงรับคู่ผ้าไว้ ๒ คู่ คือเพื่อประโยชน์แก่ตนคู่หนึ่ง แก่นางพราหมณีคู่หนึ่ง แล้วได้ถวายคู่ผ้าทั้ง ๓๒ คู่แด่พระตถาคตนั่นแหละ. ก็จำเดิมแต่นั้นเธอได้เป็นผู้คุ้นเคยต่อพระศาสดา.

ครั้นวันหนึ่ง พระราชาเห็นเขาฟังธรรมอยู่ในสำนักพระศาสดาใน ฤดูหนาว จึงประทานผ้ากัมพลแดงที่พระองค์ทรงห่มมีราคา ๑๐๐,๐๐๐ แล้วตรัสว่า ตั้งแต่นี้ไป เธอจงห่มผ้านี้ฟังธรรม. เขาคิดว่า เราจะประโยชน์ อะไรด้วยผ้ากัมพลนี้ ที่จะนำเข้าไปในกายอันเปื่อยเน่านี้ จึงได้ไปกระทำ เป็นเพดานในเบื้องบนเตียงของพระตถาคตภายในพระคันธกุฎี. ภายหลัง วันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปยังพระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่งในสำนักพระศาสดาภายในพระคันธกุฎี. ก็สมัยนั้น พระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ กระทบ ผ้ากัมพล, ผ้ากัมพลรุ่งโรจน์อย่างยิ่ง. พระราชาทรงแหงนดู ทรงจำได้


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 345

จึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นผ้ากัมพลของข้าพระองค์. ข้าพระองค์ได้ให้เอกสาฎกพราหมณ์. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร มหาบพิตร บูชาพราหมณ์ เป็นอันพราหมณ์บูชาเราแล้ว. พระราชาทรงเลื่อมใสว่า พราหมณ์รู้ถึงสิ่งที่ควร เราไม่รู้ จึงทรงการทำสิ่งซึ่งเป็นอุปการะแก่พวก มนุษย์ทั้งหมดให้เป็นอย่างละ ๘ แล้วได้ให้ทานชื่อหมวด ๘ ของสิ่ง ทั้งปวง แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งปุโรหิต. ฝ่ายปุโรหิตนั้นคิดว่า ชื่อว่า สิ่งอย่างละ ๘ๆ รวม ๖๔ อย่าง ได้ผูกสลากภัต ๖๔ ที่เป็นประจำ แล้วถวายทานรักษาศีลตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์.

เขาจุติจากอัตภาพนั้นอีก ในกัปนี้จึงบังเกิดในเรือนแห่งกุฎุมพี ใน กรุงพาราณสี ในระหว่างแห่งพระพุทธเจ้าทั้งสอง คือพระพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ และพระกัสสปทศพล. เขาเจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือน วันหนึ่งเที่ยวไปสู่ชังฆวิหารในป่า. ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า กระทำจีวรกรรมที่ฝั่งแม่น้ำ เริ่มจะรวบรวม ผ้าอนุวาตที่ไม่เพียงพอวางไว้. เขาเห็นเข้าจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไรท่านจึงรวบรวมวางไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้าตอบว่า ผ้าอนุวาต ไม่เพียงพอ. เขากล่าวว่า ท่านจงกระทำด้วยผ้านี้เถิดขอรับ แล้วได้ถวาย ผ้าอุตรสาฎกแล้ว ดังความปรารถนาว่า ขอความเสื่อมเพราะสิ่งอะไรๆ จงอย่ามีแก่เราในที่เราเกิดแล้วๆ.

เมื่อภรรยากับน้องสาวของเรากระทำความทะเลาะแม้ในเรือน พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปบิณฑบาต ลำดับนั้น น้องสาวของเขาถวายบิณฑบาต แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า หมายเอาภรรยาของเขา จึงตั้งความปรารถนาว่า เราพึงเว้นคนพาลเห็นปานนี้จากที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ นางยืนอยู่ที่ลาน


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 346

เรือนได้ยินเข้าจึงคิดว่า ขอพระปัจเจกพุทธเจ้าจงอยู่บริโภคภัตที่หญิงนี้ ให้ จึงเทบิณฑบาตทิ้ง แล้วได้ให้เต็มด้วยเปือกตม. ฝ่ายน้องสาวกล่าวว่า ดูก่อนคนพาล เจ้าจงด่า จงประหารเราก่อนเถิด การที่เจ้าเทภัตจากบาตร ของท่านผู้เห็นปานนี้ ผู้บำเพ็ญบารมีมาสิ้น ๒ อสงไขย แล้วให้เปือกตมไม่ ควรเลย. ลำดับนั้น การพิจารณาได้เกิดขึ้นแก่ภรรยาของเขา นางกล่าวว่า จงหยุดเถิดเจ้าข้า ดังนี้แล้วเทเปือกตม ล้างบาตรขัดสีด้วยจุณหอม บรรจุ ให้เต็มด้วยภัตอันประณีต และด้วยอาหารมีรสอร่อย ๔ อย่าง แล้ววางสิ่งที่ รุ่งเรืองด้วยเนยใส มีสีดังกลีบปทุมที่เขาราดไว้ในเบื้องบน ไว้ในมือของ พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า บิณฑบาตนี้มีแสงสว่าง ฉันใด สรีระของเราจงมีแสงสว่างฉันนั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนา แล้ว จึงเหาะไปแล้ว.

ฝ่ายเมียและผัวทั้งสอง บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต บังเกิดในสวรรค์ จุติจากอัตภาพนั้นอีกเป็นอุบาสก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ บังเกิดเป็นบุตรแห่งเศรษฐี มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในกรุง พาราณสี ฝ่ายภรรยาบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีนั้นนั่นแล. เมื่อเขาเจริญวัย แล้ว ญาติทั้งหลายได้นำธิดาเศรษฐีนั้นนั่นแลมาให้ พอเมื่อนางเข้าไปสู่ ตระกูลสามี ด้วยอานุภาพของบาปกรรม ที่มีผลไม่น่าปรารถนาในกาลก่อน สรีระทั้งสิ้นได้เกิดมีกลิ่นเหม็น เหมือนเวจกุฎีที่เขาเปิดไว้ที่ธรณีประตู เศรษฐีกุมารถามว่า นี้กลิ่นของอะไร? ทราบว่าเป็นกลิ่นของเศรษฐีธิดา แล้วส่งไปเรือนแห่งตระกูล โดยทำนองที่เขานำมาว่า จงนำออกไป จง นำออกไป. นางนั้นอันสามีนั้นนั่นแหละขับไล่แล้วให้นำกลับมา ๗ ครั้ง.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 347

ก็สมัยนั้น พระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว ชนทั้งหลายได้พากัน สร้างเจดีย์สูงหนึ่งโยชน์ถวายพระองค์ ด้วยอิฐแล้วด้วยทองสีแดง มีราคา ๑๐๐,๐๐๐ บุให้แท่งทึบ. เมื่อเขาสร้างเจดีย์นั้น เศรษฐีธิดานั้นคิดว่า เรา ถูกนำกลับมาถึง ๗ ครั้ง จะประโยชน์อะไรด้วยความเป็นอยู่ของเรา ดังนี้ แล้ว จึงให้ทำลายเครื่องอาภรณ์ของตน ให้ก่ออิฐแล้วด้วยทอง อันเป็น บ่อเกิดแห่งรัตนะ กว้างหนึ่งคืบ สูงสี่นิ้ว. ลำดับนั้น จึงถือเอาก้อนหรดาลและมโนศิลา แล้วถือเอาดอกอุบล ๘ กำไปยังที่กระทำเจดีย์.

ก็ในขณะนั้น แนวอิฐที่วงล้อมเจดีย์ขาดไป ๑ ก้อน ธิดาเศรษฐี จึงกล่าวกะนายช่างว่า ท่านจงวางแผ่นอิฐนี้ไว้ในที่ว่างนี้. นายช่างกล่าวว่า ดูก่อนแม่นางผู้เจริญ ท่านมาทันเวลา จงวางเองเถิด. นางขึ้นไปแล้ว ประกอบก้อนหรดาลและมโนศิลาด้วยน้ำมัน วางก้อนอิฐให้ติดกับเครื่อง เชื่อมนั้น กระทำการบูชาด้วยดอกอุบล ๘ กำมือไว้ข้างบน ไหว้แล้วตั้ง ความปรารถนาว่า ขอกลิ่นจันทน์จงฟุ้งออกจากกายของเรา ขอกลิ่นอุบล จงฟุ้งออกจากปาก ในที่ที่เกิดแล้วๆ ดังนี้แล้วไหว้เจดีย์กระทำประทักษิณ ได้ไปแล้ว.

ครั้นในขณะนั้นนั่นเอง เศรษฐีบุตรใดนำนางไปสู่เรือนคราวก่อน ความระลึกถึงเพราะปรารภนางเกิดขึ้นแล้วแก่เศรษฐีนั้น. แม้ในพระนคร เขาก็ป่าวร้องเล่นนักษัตร. เขากล่าวกะอุปัฏฐากว่า ในกาลนั้นเขานำธิดา เศรษฐีมาในที่นี้ นางไปไหน? นางตอบว่า เธออยู่ในเรือนของตระกูล. เขากล่าวว่า ท่านจงนำนางนาเถิด, เราจักเล่นนักษัตร. อุปัฏฐากเหล่านั้น ไปยืนไหว้นาง ถูกนางถามว่า พ่อทั้งหลายพวกท่านมาทำไม จึงแจ้งเรื่อง นั้น. นางกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ฉันบูชาพระเจดีย์ด้วยเครื่องอาภรณ์; ฉัน


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 348

ไม่มีเครื่องอาภรณ์. อุปัฏฐากเหล่านั้นไปบอกบุตรเศรษฐี. บุตรเศรษฐี กล่าวว่า พวกท่านจงนำนางมา นางจักได้เครื่องประดับ อุปัฏฐากเหล่านั้น นำมาแล้ว กลิ่นจันทน์และกลิ่นดอกอุบลเขียว ฟุ้งไปทั่วเรือนพร้อมด้วย การเข้าไปสู่เรือนของนาง. เศรษฐีบุตรถามนางว่า ครั้งก่อนกลิ่นเหม็นฟุ้ง ออกจากร่างกายของเจ้า แต่บัดนี้ กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากร่างกาย และกลิ่น อุบลฟุ้งออกจากปากของเจ้า นี้เป็นเพราะเหตุอะไร? นางบอกกรรมที่ตน ทำตั้งแต่ต้น. บุตรเศรษฐีเลื่อมใสว่า พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องนำสัตว์ ออกจากทุกข์ได้จริงหนอ, จึงล้อมสุวรรณเจดีย์ประมาณโยชน์หนึ่ง ด้วย ผ้าคลุมอันทำด้วยผ้ากัมพล แล้วประดับด้วยดอกปทุมทอง ประมาณเท่า ล้อรถในที่นั้นๆ ดอกปทุมทองเหล่านั้น ได้ห้อยลงประมาณ ๑๒ ศอก.

เขาดำรงอยู่ในที่นั้นจนตลอดอายุ แล้วบังเกิดในสวรรค์ จุติจาก อัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในตระกูลอำมาตย์ตระกูลหนึ่ง ในที่ประมาณโยชน์ หนึ่ง แต่กรุงสาวัตถี. แม้ธิดาเศรษฐีจุติจากเทวโลกแล้ว บังเกิดเป็นธิดา คนโตในราชตระกูล. เมื่อคนทั้งสองนั้นเจริญแล้ว ในบ้านที่อยู่ของกุมาร เขาป่าวร้องการเล่นนักษัตร. เขากล่าวกะมารดาว่า ดูก่อนแม่ ขอแม่จง ให้ผ้าสาฎกแก่ฉัน ฉันจักเล่นนักษัตร. นางนำผ้าที่ชำระแล้วได้ให้ไป. เขากล่าวว่า แม่ นี้เป็นผ้าเนื้อหยาบ. นางได้นำผ้าอื่นให้ไป แม้ผ้านั้น เขาก็ห้าม. ลำดับนั้น มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า ดูก่อนพ่อ เราเกิดในเรือน เช่นใด บุญเพื่อได้ผ้าเนื้อละเอียดจากที่นี้ ย่อมไม่มีแก่พวกเรา. เขากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ฉันจะไปสู่ที่ๆ จะได้ผ้าจ้ะแม่. นางกล่าวว่า ลูก วันนี้แหละ แม่ปรารถนาจะให้เจ้าได้รับราชสมบัติในกรุงพาราณสี. เขาไหว้มารดาแล้ว กล่าวว่า ฉันจะไปละ แม่. นางกล่าวว่า ไปเถิดลูก. ได้ยินว่า มารดาได้มี


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 349

ความคิดอย่างนี้ว่า บุตรจักไปในที่ไหน บุตรจักนั่งอยู่ในที่นี้หรือที่ใน เรือน. ก็เขาออกแล้วไปด้วยการกำหนดแห่งบุญ ไปยังกรุงพาราณสี นอน คลุมโปงอยู่ที่แผ่นมงคลศิลาในอุทยาน และวันนั้นเป็นวันที่ ๗ ที่พระเจ้า พาราณสีสวรรคต.

อำมาตย์ทั้งหลายจัดถวายพระเพลิงสรีระของพระราชาแล้ว นั่งอยู่ที่ พระลานหลวงปรึกษากันว่า พระราชามีแต่พระธิดาองค์หนึ่งเท่านั้น แต่ ไม่มีพระราชโอรส ราชสมบัติอันไม่มีพระราชาจักพินาศ ใครจักเป็น พระราชา ดังนี้แล้ว จึงกล่าวกันว่า ท่านจงเป็นพระราชา ท่านจงเป็น พระราชา.

ปุโรหิตกล่าวว่า การคัดเลือกโดยไม่กำหนด การเห็นแก่หน้ากันมาก ไป ย่อมไม่สมควร เราจักปล่อยรถขาวเสี่ยงทายไป. อำมาตย์เหล่านั้นจึง เทียมม้าสินธพ ๔ ม้า มีสีดังดอกโกมุท แล้ววางราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ และเศวตฉัตรไว้บนรถนั่นเอง จึงปล่อยรถประโคมดุริยางค์ตามหลังไป รถออกทางด้านทิศตะวันออกมุ่งหน้าไปอุทยาน. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า รถมุ่งหน้าไปทางอุทยานด้านที่คุ้นเคย พวกเราจงให้กลับ. ปุโรหิตกล่าวว่า ท่านอย่าให้กลับเลย. รถทำประทักษิณกุมารแล้วได้หยุดรอให้ขึ้นไป ปุโรหิตเลิกชายผ้าแลดูพื้นเท้าพลางกล่าวว่า ทวีปนี้จงยกไว้ บรรดาทวีป ใหญ่ทั้ง ๔ มี ๒,๐๐๐ ทวีปเป็นบริวาร ผู้นี้ควรครองราชสมบัติ แล้ว กล่าวว่า ท่านจงประโคมดนตรีแม้อีก จงประโคมดนตรีแม้อีก ดังนี้แล้ว จึงให้ประโคมดนตรีขึ้น ๓ ครั้ง.

ลำดับนั้น กุมารเปิดหน้าแลดู กล่าวว่า ท่านมาด้วยกรรมอะไร? พวกเขากล่าวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ราชสมบัติถึงแก่ท่าน. กุมารถามว่า


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 350

พระราชาอยู่ที่ไหน? อำมาตย์กล่าวว่า พระองค์สวรรคตแล้วนาย. กุมาร ถามว่า ล่วงไปกี่วันแล้ว. อำมาตย์กล่าวว่า วันนี้เป็นที่ ๗. กุมารถามว่า พระโอรสและพระธิดาไม่มีหรือ? อำมาตย์ทูลว่า พระธิดามีพระเจ้าข้า แต่พระโอรสไม่มี. กุมารถามว่า เราจักครองราชสมบัติ. ในขณะนั้น นั่นเอง อำมาตย์เหล่านั้น จึงสร้างมณฑปอภิเษก ประดับราชธิดาด้วย เครื่องอลังการทั้งปวง แล้วนำมายังพระอุทยาน การทำอภิเษกแก่กุมาร. ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลานได้น้อมนำผ้ามีราคา ๑๐๐,๐๐๐ เข้าไปให้แก่ กุมารผู้ได้อภิเษก. กุมารกล่าวว่า นี่อะไรกันพ่อ. อำมาตย์ทูลว่า ผ้า สำหรับนุ่ง กุมารถามว่า พ่อทั้งหลาย หยาบไปมิใช่หรือ? อำมาตย์ทูลว่า ไม่มีผ้าที่ละเอียดกว่านี้ ในบรรดาผ้าเครื่องใช้สอยของพวกมนุษย์ พระเจ้าข้า. กุมารกล่าวว่า พระราชาของท่านนุ่งผ้าเห็นปานนี้หรือ. อำมาตย์ ทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า. กุมารกล่าวว่า ชะรอยว่าพระราชาของพวก ท่านคงจะไม่มีบุญ ท่านจงนำเหยือกน้ำทองคำมาให้เรา เราจักได้ผ้า. อำมาตย์นำเหยือกน้ำทองคำมาแล้ว. กุมารนั้นลุกขึ้นล้างมือ บ้วนปาก เอา มือวักน้ำประพรมในปุรัตถิมทิศ, ขณะนั้นนั่นเอง ต้นกัลปพฤกษ์ ๘ ต้น ผุดขึ้นทำลายแผ่นดินเป็นแท่งทึบ กุมารวักน้ำประพรมทั้ง ๔ ทิศอย่างนี้อีก คือในทิศทักษิณ ทิศปัจฉิม ทิศอุดร ต้นกัลปพฤกษ์ ๓๒ ต้นผุดขึ้น การทำ ให้เป็นกลุ่มละ ๘ ต้นในทุกทิศ. กุมารนั้นนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่งห่มผืนหนึ่ง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงพากันตีกลอง ร้องประกาศอย่างนี้ว่า หญิง ทั้งหลายผู้ปั่นด้ายอย่าปั่นด้าย ในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทะ และให้ ยกฉัตรประดับตกแต่งอยู่บนคอช้างตัวประเสริฐ เข้าไปยังพระนคร ขึ้นสู่ ปราสาทแล้วเสวยมหาสมบัติ.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 351

เมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ วันหนึ่ง พระเทวีทรงเห็นมหาสมบัติของ พระราชา จึงแสดงอาการความเป็นผู้มีกรุณาว่า น่าอัศจรรย์ พระองค์ มีตบะ. ก็เมื่อถูกถามว่า นี้อะไรกันเทวี จึงทูลว่า สมบัติของพระองค์ มีมาก พระเจ้าข้า. ในอดีตกาล พระองค์ทรงเชื่อต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้กระทำกัลยาณกรรม บัดนี้ ไม่ทรงทำกุศลอันเป็นปัจจัยแก่อนาคตหรือ. พระราชาตรัสว่า จะให้แก่ใครบุคคลผู้มีศีลไม่มี. พระเทวีทูลว่า พระเจ้าข้า ชมพูทวีปไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ขอพระองค์จงให้จัดแจงทาน เท่านั้น เราจะได้พระอรหันต์ทั้งหลาย.

วันรุ่งขึ้น พระราชารับสั่งให้จัดแจงทาน ที่ประตูด้านทิศตะวันออก พระเทวีทรงอธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่ หมอบลงบ่ายหน้าต่อทิศบูรพา ในปราสาทชั้นบนตรัสว่า ถ้าพระอรหันต์ทั้งหลายมีอยู่ในทิศนี้ไซร้ พรุ่ง นี้แหละ ขอพระอรหันต์ทั้งหลายจงมารับภิกษาของพวกเราทั้งหลาย. พระอรหันต์ทั้งหลายไม่มีในทิศนั้น จึงได้ให้เครื่องสักการะแก่คนกำพร้า และยาจกทั้งหลาย. วันรุ่งขึ้นพระเทวีทรงจัดแจงทานที่ประตูด้านทักษิณ ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. วันรุ่งขึ้นได้กระทำที่ประตูด้านทิศปัจฉิม แต่ ในวันที่จัดแจงที่ประตูด้านทิศอุดร เมื่อพระเทวีเชื้อเชิญเหมือนอย่างนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ามหาปทุมะ ผู้เป็นหัวหน้าของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ บุตรของพระนางปทุมวดีผู้อยู่ที่หิมวันตประเทศ จึงเรียกพี่น้องชายทั้งหลาย มาว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระเจ้านันทะเชื้อเชิญพวกท่าน พวกท่านจง รับทานของพระองค์เถิด พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับคำแล้ว.

วันรุ่งขึ้น จึงล้างหน้าที่สระอโนดาต แล้วมาทางอากาศ ลงที่ประตู ด้านทิศอุดร. มนุษย์ทั้งหลายเห็นแล้วไปกราบทูลพระราชาว่า พระปัจเจก-


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 352

พุทธเจ้า ๕๐๐ มา พระเจ้าข้า. พระราชาพร้อมกับเทวีไปไหว้แล้วรับบาตร ให้อาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้าขึ้นสู่ปราสาท ถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นในที่นั้น ในที่สุดแห่งภัตกิจ พระราชาถวายแก่พระสังฆ- เถระ พระเทวีหมอบลงแทบเท้าของพระสังฆนวกะ ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์ แล้วกระทำปฏิญญาว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักไม่ลำบากด้วยปัจจัย พวก เราจักไม่เสื่อมจากบุญ จึงจัดแจงที่เป็นที่อยู่โดยอาการทั้งปวงในพระอุทยาน คือบรรณศาลา ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ แล้วให้อยู่ในที่นั้น.

เมื่อกาลล่วงไปอย่างนี้ ปัจจันตชนบทของพระราชากำเริบ พระราชาโอวาทพระเทวีว่า เราจะไปปราบปัจจันตชนบทให้สงบ เจ้าอย่า ประมาทในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. เมื่อพระราชายังไม่เสด็จกลับมา นั่นแล อายุสังขารของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็สิ้นไป. พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้าเล่นฌานตลอดยาม ๓ แห่งราตรี จึงยืนเหนี่ยวแผ่นกระดาน เป็นที่ยึดหน่วง แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลาอรุณ ขึ้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงได้ยืนยึดหน่วงแผ่นกระดานที่เหลือ ด้วย อุบายนี้ปรินิพพานแล้ว. วันรุ่งขึ้น พระเทวีให้สร้างที่เป็นที่นั่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เกลี่ยดอกไม้ถวายธูป นั่งคอยดูการมาของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น เมื่อไม่เห็นมา จึงส่งบุรุษไปว่า ไปเถิดพ่อ จงรู้ พระผู้เป็นเจ้าคงจะมีความไม่ผาสุกอะไรๆ บ้างกระมัง. บุรุษนั้นไปเปิด ประตูบรรณศาลาแห่งพระปัจเจกพุทธมหาปทุมะ เมื่อไม่เห็นในที่นั้น จึง ไปสู่ที่จงกรม เห็นท่านยืนพิงแผ่นกระดานสำหรับยึดหน่วง ไหว้แล้ว กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วขอรับ. สรีระปริพพานจักกล่าวอะไร? เขาคิดว่า


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 353

ชะรอยว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าจะหลับ จึงไปเอามือลูบหลังเท้า ทราบว่าท่าน ปรินิพพานแล้ว เพราะเท้าเย็นและแข็งกระด้าง จึงได้ไปยังสำนักของ พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปที่ ๒ ไปยังสำนักพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปที่ ๓ ด้วย อาการฉะนี้. ทราบว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดปรินิพพานแล้ว พระเทวี ทรงกันแสงออกไปพร้อมกับชาวพระนคร ไปในที่นั้น ให้กระทำการเล่น อย่างสนุกสนาน ให้กระทำฌาปนกิจสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้ถือเอาพระธาตุสร้างพระเจดีย์ไว้.

พระราชา ครั้นปราบปัจจันตชนบทให้สงบแล้ว จึงเสด็จมาตรัส ถามพระเทวีผู้กระทำการต้อนรับว่า นางผู้เจริญ เจ้าไม่ประมาทต่อพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือ? พระผู้เป็นเจ้าไม่มีโรคหรือ? พระเทวีทูลว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายปรินิพพานเสียแล้ว, พระราชาทรงพระดำริว่า มรณะ ย่อมเกิดขึ้นแก่บัณฑิตแม้เห็นปานนี้ ความพ้นของเราจักมีแต่ที่ไหน พระองค์ไม่เสด็จไปพระนคร เสด็จไปยังพระอุทยานเท่านั้น รับสั่งให้เรียก พระราชโอรสองค์โตมา แล้วมอบราชสมบัติแก่เธอ พระองค์เองบวชเป็น สมณะ ฝ่ายพระเทวี ทรงดำริว่า เมื่อพระราชานี้บวชแล้ว เราจักทำอะไร จึงบวชในอุทยานั้นนั่นเอง แม้ทั้งสองพระองค์ยังฌานให้เกิดขึ้น จุติ จากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในพรหมโลก.

เมื่อท่านทั้งสองอยู่ในที่นั้นนั่นเอง พระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จ อุบัติขึ้นในโลก ประกาศธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ โดยลำดับ. เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าในกรุงราชคฤห์นั้น ปิปผลิมาณพนี้ บังเกิดในท้องของพระอัครมเหสีของกบิลพราหมณ์ ในมหาติตถพราหมณคาม ในมคธรัฐ, นางภัตทกาปิลานีนี้ บังเกิดในท้องของอัครมเหสี


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 354

ของโกสิยโคตรพราหมณ์ ในสาคลนคร ในมคธรัฐ เมื่อท่านเหล่านั้น เจริญโดยลำดับ เมื่อปิปผลิมาณพมีอายุได้ ๒๐ ปี นางภัททามีอายุครบ ๑๖ ปี มารดาบิดาแลดูบุตรแล้วคาดคั้นอย่างหนักว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าเจริญวัย แล้ว ชื่อว่าวงศ์ตระกูลจะต้องดำรงไว้. มาณพกล่าวว่า ท่านอย่ากล่าว ถ้อยคำเห็นปานนี้ในคลองแห่งโสตประสาทของฉัน ฉันจักปรนนิบัติท่าน ตลอดเวลาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ โดยกาลล่วงไปแห่งท่าน ฉันจักออกบวช. โดยล่วงไป ๒ - ๓ วัน ท่านทั้งสองก็กล่าวอีก แม้ท่านก็ปฏิเสธเหมือน อย่างนั้นนั่นเอง. จำเดิมแต่นั้นมาท่านก็กล่าวอย่างนั้นไม่ขาดระยะเลย.

มาณพคิดว่า เราจักให้มารดาของเรายินยอม จึงให้แท่งทองสุกปลั่ง ๑,๐๐๐ แท่ง อันช่างทองทำให้อ่อนตามต้องการทั้งปวงแล้ว สร้างรูปหญิง รูปหนึ่ง ในเวลาสิ้นสุดแห่งกรรม มีการเช็ดและบุเป็นต้นของแท่งทองนั้น ก็ให้นุ่งผ้าแดง ให้ประดับด้วยดอกไม้สมบูรณ์ด้วยดี และเครื่องประดับ ต่างๆ ให้เรียกมารดามากล่าวว่า แม่ เมื่อฉันได้อารมณ์เห็นปานนี้ จัก อยู่ครองเรือน เมื่อไม่ได้จักไม่อยู่. นางพราหมณีผู้เป็นบัณฑิตคิดว่า บุตร ของเรามีบุญ ได้เคยให้ทาน เคยทำอภินิหารไว้ เมื่อทำบุญ ไม่ได้เป็น ผู้ๆ เดียวกระทำ โดยที่แท้เคยทำบุญร่วมกับเขาไว้ จึงเป็นผู้มีส่วนเปรียบ ด้วยรูปทอง ดังนี้แล้ว จึงให้เรียกพราหมณ์ทั้ง ๘ คนมา ให้อิ่มหนำด้วย กามทั้งปวง ให้ยกรูปทองขึ้นสู่รถส่งไปเพื่อให้รู้ว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่าน จงไปในตระกูลที่เสมอกันโดยชาติโคตรและโภคะของเรา จงดูนางทาริกา เห็นปานนี้ จงกระทำรูปทองนี้แหละให้เป็นเครื่องบรรณาการแล้วจงกลับ มา.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 355

พราหมณ์เหล่านั้น ออกไปด้วยคิดว่า นี้เป็นกรรมชื่อของพวกเรา คิดว่าพวกเราจักไปในที่ไหน จึงคิดว่า ชื่อว่ามัททรัฐ เป็นบ่อเกิดแห่ง หญิง เราไปมัททรัฐ ดังนี้แล้ว ได้ไปสาคลนคร ในมัททรัฐ. ได้วาง รูปทองนั้นไว้ที่ท่าอาบน้ำในสาคลนครนั้น แล้วได้นั่งที่ควรข้างหนึ่ง ลำดับ นั้น พี่เลี้ยงของนางภัททา ให้นางภัตทาอาบน้ำแล้ว แล้วประดับ ให้นั่ง ในห้องอันประกอบด้วยสิริ ตนเองก็ไปยังท่าน้ำเพื่ออาบน้ำ ได้เห็นรูปทอง นั้นในที่นั้น คิดว่า ธิดานี้ใครๆ ไม่ได้นำมา มาอยู่ในที่นี้ได้อย่างไร? จึงได้แตะดูข้างหลังรู้ว่ารูปทอง จงกล่าวว่า เราให้เกิดความสำคัญขึ้นว่า นี้ธิดาแม่เจ้าของเรา แต่นี้ไม่เหมือนธิดาแม่เจ้าของเรา แม้ผู้รับเครื่อง นุ่งห่ม. ลำดับนั้น มนุษย์เหล่านั้น จึงพากันห้อมล้อมรูปนั้นแล้วถามว่า รูปเห็นปานนี้เป็นธิดาของท่านหรือ? พี่เลี้ยงกล่าวว่า นี้อะไรกัน ธิดา แม่เจ้าของเรา ยังงามกว่ารูปทองเปรียบนี้ตั้ง ๑๐๐ เท่า ๑,๐๐๐ เท่า เมื่อ นางนั่งอยู่ในห้องประมาณ ๑๒ ศอก กิจด้วยประทีปย่อมไม่มี แม่เจ้าย่อม กำจัดความมืด โดยแสงสว่างแห่งสรีระนั้นเอง. พวกเขาจึงกล่าวว่า ถ้า เช่นนั้นจงมาเถิด แล้วพาคนค่อมนั้น ยกรูปทองขึ้นบนรถยืนอยู่ที่ประตู เรือนของพราหมณ์โกสิยโคตร จึงได้แจ้งการมาให้ทราบ. พราหมณ์ปฏิสันถารแล้วถามว่า พวกท่านมาจากไหน? พวก พราหมณ์กล่าวว่า มาแต่เรือนของกบิลพราหมณ์ ในมหาติตถคาม มคธรัฐ.

พราหมณ์ถามว่า มาเพราะเหตุอะไร? พวกพราหมณ์ตอบว่า เพราะเหตุ ชื่อนี้ พราหมณ์กล่าวว่า เป็นกรรมดีละพ่อทั้งหลาย พราหมณ์ของพวกเรา มีชาติโคตรและสมบัติเสมอกัน เราจักให้นางทาริกา ดังนี้แล้วรับเอาเครื่อง


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 356

บรรณาการไว้. พวกเขาได้ส่งสาสน์ไปให้แก่กบิลพราหมณ์ว่า ได้นาง ทาริกาแล้ว นางจงกระทำสิ่งที่ควรทำ คนทั้งหลายได้ทราบข่าวนั้นแล้ว จึงแจ้งให้กบิลพราหมณ์ทราบว่า ได้ยินว่า ได้นางทาริกาแล้ว. มาณพคิดว่า เราคิดว่าจักไม่ได้ พวกเหล่านั้นกล่าวว่าได้แล้ว เราไม่มีความต้องการ จักส่ง หนังสือไป ดังนี้แล้ว ได้อยู่ในที่ลับเขียนหนังสือส่งไปว่า ขอนางภัททา จงได้ครองเรือน อันสมควรแก่ชาติโคตรและโภคะของตนเถิด เราจักออก บวช อย่าได้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย. ฝ่ายนางภัททาได้สดับว่า บิดาประสงค์จะให้เราแก่ชายโน้น จึงคิดว่า เราจักส่งหนังสือไปดังนี้แล้ว ได้อยู่ในที่ลับเขียนหนังสือส่งไปว่า พระลูกเจ้า พระลูกเจ้า จงได้ครองเรือน อันสมควรแก่ชาติโคตรและโภคะของตนเถิด ดิฉันจักบวช อย่าได้มีความ เดือดร้อนในภายหลังเลย. หนังสือทั้งสองได้มาประจวบกันในระหว่างทาง ถามว่าเป็นหนังสือของใคร? เมื่อได้คำตอบว่า เป็นหนังสือที่ปิปผลิมาณพ ส่งหนังสือถึงนางภัททา ก็เมื่อกล่าวว่า นางภัททาก็ส่งหนังสือถึงปิปผลิ- มาณพ. คนทั้งหลายได้อ่านหนังสือทั้งสองฉบับแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงดูกรรมของเด็กทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ก็ฉีกทิ้งเสียในป่า จึงเขียนหนังสือ อื่นซึ่งเหมือนกับหนังสือนั้น แล้วส่งไปข้างโน้นและข้างนี้. การสมาคม แห่งคนทั้งสองผู้ไม่ปรารถนาอยู่นั่นแหละ เพราะหนังสือที่เหมือนกัน ที่ เกื้อกูลแก่ความยินดีทางโลกเท่านั้นของกุมารกับนางกุมาริกา ได้มีแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ในวันนั้นนั่นเอง ปิปผลิมาณพให้ร้อยพวงดอกไม้พวงหนึ่ง แม้ นางภัททาก็ร้อย คนทั้งสองวางพวงดอกไม้ไว้บนท่ามกลางที่นอน บริโภค อาหารเย็นแล้ว คิดว่าเราจักขึ้นสู่ที่นอน, มาณพขึ้นสู่ที่นอนโดยทางข้างขวา,


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 357

นางภัททาขึ้นทางซ้าย แล้วกล่าวว่า เราจักรู้ว่า ดอกไม้ย่อมเหี่ยว ณ ข้างของ ผู้ใด ราคะจิตเกิดแล้วแก่ผู้นั้น พวงดอกไม้นี้ไม่พึงเป็นดอกไม้สด. คน ทั้งสองนั้นไม่ก้าวล่วงลงสู่ความหลับเลย ปล่อยให้ ๓ ยามแห่งราตรีล่วงไป เพราะกลัวแต่สัมผัสแห่งร่างกายของกันและกัน, ส่วนในกลางวันแม้เพียง ยิ้มแย้มก็มิได้มี คนทั้งสองนั้นไม่ได้คลุกคลีด้วยโลกามิส ไม่ได้พิจารณา ถึงขุนทรัพย์ตลอดเวลาที่มารดาบิดายังดำรงชีพอยู่ เมื่อมารดาบิดาทำกาละ แล้วจึงพิจารณา. สมบัติของมาณพมีดังต่อไปนี้ :-

ในวันหนึ่ง ควรได้จุณทองคำที่เขาขัดถูร่างกายแล้วพึงทิ้งไปประมาณ ๑๒ ทะนานโดยทะนานมคธ, สระใหญ่ ๖๐ สระผูกติดเครื่องยนต์ การ งานประมาณ ๑๒ โยชน์, บ้านส่วย ๑๔ ตำบล เท่าเมืองอนุราธบุรี, ยาน ที่เทียมด้วยช้าง ๑๔, ยานที่เทียมด้วยม้า ๑๔, ยานที่เทียมด้วยรถ ๑๔. วันหนึ่งมาณพนั้นขึ้นม้าที่ประดับแล้ว แวดล้อมไปด้วยมหาชน ไปยังที่ทำงาน ยืนอยู่ที่ปลายนา เห็นนกมีกาเป็นต้น จิกสัตว์มีไส้เดือน เป็นต้นกัดกินจากที่ที่ถูกไถทำลาย จึงถามว่า พ่อทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้ กินอะไร ชนทั้งหลายกล่าวว่า กินไส้เดือน ผู้เป็นเจ้า. มาณพกล่าวว่า บาปที่สัตว์เหล่านั้นกระทำย่อมมีแก่ใคร. ชนทั้งหลายตอบว่า มีแก่ท่านผู้ เป็นเจ้า.

เขาคิดว่า ถ้าบาปที่สัตว์เหล่านี้กระทำมีแก่เราไซร้ ทรัพย์ ๘๗ โกฏิจักกระทำประโยชน์อะไรแก่เรา การงาน ๑๒ โยชน์จะทำอะไร สระที่ ผูกติดเครื่องยนต์จะทำอะไร บ้านส่วย ๑๔ ตำบลจะทำอะไร เราจักมอบ ทรัพย์ทั้งหมดนี้ให้นางภัททกาปิลานี แล้วออกบวช.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 358

ในขณะนั้น แม้นางภัททกาปิลานี ก็ให้ตากหม้อเมล็ดงา ๓ หม้อ ใน ภายในพื้นที่ นั่งแวดล้อมไปด้วยพี่เลี้ยง เห็นกาทั้งหลายจิกกินสัตว์ที่อยู่ ในเมล็ดงา ก็ถามว่า แม่ สัตว์เหล่านี้กินอะไร? พวกพี่เลี้ยงกล่าวว่า กิน สัตว์แม่เจ้า. นางถามว่า อกุศลย่อมมีแก่ใคร? พวกพี่เลี้ยงกล่าวว่า มีแก่ ท่านแม่เจ้า. นางคิดว่า การที่เราได้ผ้า ๔ ศอก และข้าวสารเพียงทะนาน หนึ่งย่อมควร ก็ถ้าอกุศลที่ชนมีประมาณเท่านี้กระทำ ย่อมมีแก่เราไซร้ เราก็ไม่สามารถเงยศีรษะขึ้นได้จากวัฏฏะแม้ตั้ง ๑,๐๐๐ ภพ พอลูกเจ้ามา ถึงเท่านั้น เราก็จะมอบสมบัติทั้งหมดแก่ลูกเจ้า แล้วจักออกบวช.

มาณพมาแล้ว อาบน้ำขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์อันมีค่ามาก. ลำดับนั้น ชนทั้งหลายก็จัดแจงโภชนะอันสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดินั้น. เมื่อชนผู้เป็นบริวารออกไปแล้ว ชนทั้งสองบริโภคแล้วอยู่ในที่ลับ นั่งอยู่ ในที่อันผาสุก. ลำดับนั้น มาณพนั้นกล่าวกะนางภัททาว่า นางผู้เจริญ เธอมาสู่เรือนนี้นำทรัพย์มาประมาณเท่าไร?

นาง. ๕๕,๐๐๐ เล่มเกวียน ลูกเจ้า.

มาณพ. ทรัพย์ทั้งหมดคือทรัพย์ ๘๗ โกฏิ และสมบัติต่างโดยสระ ๖๐ ที่ผูกด้วยยนต์ที่มีอยู่ในเรือนนี้ทั้งหมด ฉันมอบให้แก่เธอเท่านั้น.

นาง. ก็ท่านเล่า ลูกเจ้าจะไปไหน?

มาณพ. เราจักบวช.

นาง. ลูกเจ้า แม้ดิฉันก็นั่งรอคอยการมาของท่านอยู่เท่านั้น ดิฉัน ก็จักบวช. ภพ ๓ ได้ปรากฏแก่คนทั้งสองนั้น เหมือนกุฎีที่มุงด้วยใบไม้ ถูกไฟไหม้ฉะนั้น คนเหล่านั้น ให้นำผ้าที่ย้อมน้ำฝาดและบาตรดินมาจาก ร้านตลาด ให้ปลงผมกันและกันแล้วกล่าวว่า พระอรหันต์เหล่าใด


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 359

มีอยู่ในโลก เราทั้งหลายจงบวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้น ดังนี้แล้วบวช ใส่บาตรเข้าในถุงคล้องไว้ที่ไหล่ ลงจากปราสาท. ใครๆ ในบรรดาทาส หรือกรรมกรในเรือน จำไม่ได้.

ลำดับนั้น ชาวบ้านทาสคามจำคนทั้งสองนั้นผู้ออกจากพราหมณคาม ไปทางประตูทาสคามได้ ด้วยสามารถอากัปกิริยา. คนเหล่านั้น ร้องไห้หมอบที่เท้า กล่าวว่า ผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย พวกท่านทำพวกข้าพเจ้า ไม่ให้มีที่พึ่งหรือ? คนทั้งสองนั้นกล่าวว่า พวกเรากล่าวว่า พนาย ภพทั้ง ๓ ปรากฏเหมือนบรรณศาลาที่ถูกไฟไหม้ จึงได้บวช ถ้าเราทำแต่ ละคนในบรรดาท่านให้เป็นไทไซร้ แม้ตั้ง ๑๐๐ ปีก็ไม่พอ พวกท่าน นั่นแหละจงชำระศีรษะของท่านจงเป็นไทเถิด ดังนี้ เมื่อคนเหล่านั้นกำลัง ร้องไห้อยู่นั้นเองได้หลีกไปแล้ว.

พระเถระไปข้างหน้ากลับเหลียวมาดูคิดว่า นางภัททกาปิลานีนี้ เป็น หญิงมีค่าในชมพูทวีปทั้งสิ้นมาข้างหลังเรา ข้อที่ใครๆ พึงคิดอย่างนี้ว่า คนทั้งสองนี้ แม้บวชแล้วไม่อาจพรากจากกันได้ กระทำไม่สมควร ข้อ นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ เกิดความคิดขึ้นว่า ใครๆ พึงคิดประทุษร้ายด้วย ความชั่ว พึงเป็นผู้แออัดในอบาย การที่เราละผู้นี้ไปจึงควร. ท่านไปข้าง หน้าเห็นทาง ๒ แพร่ง ได้หยุดอยู่ในที่สุดแห่งทางนั้น. ฝ่ายนางภัททามา ไหว้แล้วได้ยืนอยู่แล้ว. ลำดับนั้น ท่านกล่าวกะทางภัททาว่า แน่ะนาง ผู้เจริญ มหาชนเห็นหญิงเช่นนั้นเดินมาตามเราแล้วคิดว่า คนเหล่านี้ แม้บวชแล้ว ก็ไม่อาจจากกันได้ พึงมีจิตคิดประทุษร้ายในเรา พึงเป็นผู้ แออัดในอบาย. ท่านจึงกล่าวว่า ในทาง ๒ แพร่งนี้ เจ้าจงถือเอาทางหนึ่ง เราจักไปโดยทางหนึ่ง. นางภัททากล่าวว่า อย่างนั้นพระผู้เป็นเจ้า


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 360

มาตุคามเป็นเครื่องกังวลของบรรพชิตทั้งหลาย คนทั้งหลายจักแสดงโทษ ของพวกเราว่า คนเหล่านี้แม้บวชแล้ว ก็ไม่พรากจากกันได้ ท่านจงถือ เอาทางหนึ่ง พวกเราจักแยกจากกัน ดังนี้แล้วกระทำประทักษิณ ๓ รอบ ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในฐานะทั้ง ๔ ประคองอัญชลีอันรุ่งโรจน์ด้วย ทสนขสโมธานแล้วกล่าวว่า ความสนิทสนมกันโดยฐานมิตร ที่ทำไว้ใน กาลนานประมาณแสนปี ย่อมทำลายลงในวันนี้ แล้วกล่าวว่า ท่านชื่อว่า เป็นชาติขวา ทางขวาสมควรแก่ท่าน เราชื่อว่าเป็นมาตุคามเป็นชาติซ้าย ทางฝ่ายซ้ายควรแก่เราดังนี้ ไหว้แล้วเดินทางไป. ในกาลที่คนทั้งสองแยก ทางกัน มหาปฐพีนี้ร้องไห้หวั่นไหวเหมือนกล่าวอยู่ว่า เราสามารถ จะทรงไว้ซึ่งขุนเขาจักรวาลและขุนเขาสิเนรุได้ แต่ไม่สามารถจะทรงคุณ ของท่านได้ เป็นไปเหมือนเสียงอสนีบาตในอากาศ ขุนเขาจักรวาลและ สิเนรุบันลือลั่น..

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งที่พระคันธกุฎีในพระเชตวันมหาวิหาร สดับเสียงแผ่นดินไหว ทรงรำพึงว่า แผ่นดินไหวเพื่อใครหนอ ทรงพระดำริว่า ปิปผลิมาณพและนางภัททกาปิลานี ละสมบัติอันหาประมาณมิได้บวชอุทิศเรา แผ่นดินไหวนี้เกิดเพราะกำลังคุณของคนทั้งสอง ใน ฐานะที่คนทั้งสองแยกจากกัน แม้เราควรกระทำการสงเคราะห์แก่คนทั้ง สองนั้น ดังนี้แล้วออกจากพระคันธกุฎี ถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ปรึกษากะใครๆ ในบรรดาพระอสีติมหาเถระ กระทำหนทาง ๓ คาวุต ให้เป็นที่ต้อนรับ ทรงนั่งคู้บัลลังก์ ณ โคนต้นพหุปุตตกนิโครธ ใน ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. และเมื่อนั่ง ไม่ทรงนั่งเหมือน ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลรูปใดรูปหนึ่ง ทรงถือเอาเพศแห่งพระพุทธเจ้า


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 361

ประทับนั่งฉายพระพุทธรัศมีเป็นแท่งทึบประมาณ ๘๐ ศอก. ดังนั้นใน ขณะนั้น พระพุทธรัศมี ซึ่งมีประมาณเท่าฉัตร ใบไม้ล้อเกวียนและเรือน ยอดเป็นต้น แผ่ซ่านวิ่งไปข้างโน้นข้างนี้ กระทำเหมือนเวลาที่ขึ้นไปแห่ง พระจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง และพระอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง กระทำที่สุดป่า นั้นให้มีแสงเป็นอันเดียวกัน. เหมือนท้องฟ้าที่รุ่งโรจน์ด้วยหมู่ดาว ที่ รุ่งโรจน์ด้วยสิริแห่งมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เหมือนน้ำรุ่งเรืองด้วยดอกกมล และดอกบัวอันบานสะพรั่ง ทำที่สุดป่าให้รุ่งโรจน์ ลำต้นแห่งต้นไม้ชื่อ นิโครธย่อมขาว ใบเขียว สุกปลั่ง. ก็ในวันนั้น ต้นนิโครธทั้ง ๑๐๐ กิ่งได้มี สีเหมือนสีทองคำ.

พระมหากัสสปเถระคิดว่า ผู้นี้ชะรอยจักเป็นพระศาสดาของพวกเรา เราบวชอุทิศท่านผู้นี้ จึงน้อมลง น้อมลง จำเดิมแต่ที่ที่ตนเห็นแล้ว ไปถวายบังคมในฐานะทั้ง ๓ กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก, ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงเป็นศาสดาของข้าพระองค์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านว่า กัสสปะ ถ้าเธอพึง กระทำการนอบน้อมนี้ แก่แผ่นดินใหญ่ แม้แผ่นดินก็ไม่สามารถทรงอยู่ ได้ แผ่นดินใหญ่นี้รู้ความที่ตถาคตมีคุณมากถึงอย่างนี้ การกระทำการ นอบน้อมที่ท่านกระทำแล้ว ไม่อาจให้แม้ขนของเราไหวได้ นั่งเถิดกัสสปะ เราจะให้มรดกแก่เธอ. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประทาน อุปสมบทแก่ท่านด้วยโอวาท ๓ ข้อ, ครั้นประทานแล้วจึงออกจากโคนต้น พหุปุตตกนิโครธ กระทำพระเถระให้เป็นปัจฉาสมณะ แล้วทรงดำเนิน ไป. พระสรีระของพระศาสดา วิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 362

สรีระของพระมหากัสสปะ ประดับด้วยมหาปุริสลักขณะ ๗ ประการ ท่าน ติดตามพระบาทพระศาสดา เหมือนมหานาวาทองที่ติดตามข้างหลัง. พระศาสดาเสด็จไปหน่อยหนึ่งแล้วเสด็จลงจากทาง แสดงอาการประทับนั่งที่ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. พระเถระรู้ว่า พระศาสดาจะประทับนั่ง จึงปูสังฆาฏิ ด้วยแผ่นผ้าเก่าที่ตนห่ม กระทำให้เป็น ๔ ชั้นถวาย.

พระศาสดาประทับนั่งบนที่นั้น เอาพระหัตถ์ลูบคลำจีวร จึงตรัสว่า กัสสปะ สังฆาฏิที่เป็นแผ่นผ้าเก่าของเธอนี้อ่อนนุ่ม. พระเถระทราบว่า พระศาสดาตรัสว่า สังฆาฏิของเรานี้อ่อนนุ่ม ทรงพระประสงค์จะห่ม จึง ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงห่มสังฆาฏิเถิด. พระศาสดาตรัสว่า กัสสปะ ท่านจักห่มอะไร. พระมหากัสสปเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ได้ผ้านุ่งของพระองค์ก็จักห่ม. พระศาสดาตรัสว่า กัสสปะ เธออาจจะทรงผ้าบังสุกุลอันใช้คร่ำคร่านี้หรือ? จริงอยู่ ในวันที่เราถือเอาผ้าบังสุกุลนี้ แผ่นดินไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน, ชื่อว่าจีวรที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายใช้สอยคร่ำคร่านี้ เราไม่สามารถจะทรงได้ โดยคุณแห่งพระปริตร, การที่ผู้ทรงผ้าบังสุกุลตามกำเนิด ทรงผ้านี้ตาม ความสามารถ คือด้วยความสามารถในการบำเพ็ญข้อปฏิบัติ จึงจะควร ดังนี้ แล้วจึงทรงเปลี่ยนจีวรกับพระเถระ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำการเปลี่ยนจีวรอย่างนี้ แล้วทรง ห่มจีวรที่พระเถระห่มแล้ว. พระเถระก็ห่มจีวรของพระศาสดา. ในสมัยนั้น แผ่นดินนี้แม้ไม่มีเจตนา ก็หวั่นไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน เหมือนจะ กล่าวอยู่ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านได้การทำกรรมที่ทำได้ยาก จีวร ที่ตนห่มชื่อว่าเคยให้แก่พระสาวกย่อมไม่มี เราไม่สามารถจะทรงคุณ


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 363

ของท่านทั้งหลายได้. ฝ่ายพระเถระคิดว่า บัดนี้เราได้จีวรที่พระพุทธเจ้า ทั้งหลายใช้สอยแล้ว บัดนี้สิ่งที่เราควรทำให้ยิ่งไปกว่านี้มีอยู่หรือ ดังนี้จึง ไม่กระทำการบันลือ สมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อในสำนักพระพุทธเจ้าทั้งหลาย นั่นแล ได้เป็นปุถุชนเพียง ๗ วัน ในวันที่ ๘ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อม ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑

ในกาลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ เป็นนาถะของโลก นิพพาน แล้ว ชนทั้งหลายทำการบูชาพระศาสดา หมู่ชนมีจิต ร่าเริงเบิกบานบันเทิง เมื่อเขาเหล่านั้นเกิดความสังเวช ปีติย่อมเกิดขึ้นแก่เรา เราประชุมญาติและมิตรแล้วได้ กล่าวคำนี้ว่า พระมหาวีรเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้กล่าวคำ นี้ว่า พระมหาวีรเจ้าปรินิพพานแล้ว เชิญเรามาทำการ บูชากันเถิด พวกเขารับคำว่า สาธุ แล้วทำความร่าเริง ให้เกิดแก่เราอย่างยิ่งว่า พวกเราทำการก่อสร้างบุญ ใน พระพุทธเจ้าผู้เป็นนาถะของโลก เราได้สร้างเจดีย์อันมี ค่าทำอย่างเรียบร้อย สูงร้อยศอก สร้างปราสาทสูงร้อยห้าสิบศอก สูงจดท้องฟ้า ครั้นสร้างเจดีย์อันมีค่างดงาม ด้วยระเบียบอันดีไว้ที่นั้นแล้ว ได้ยังจิตของตนให้เลื่อมใส บูชาเจดีย์อันอุดม ปราสาทย่อมรุ่งเรือง ดังกองไฟโพลง อยู่ในอากาศ เช่นพญารังกำลังดอกบาน ย่อมสว่างจ้า ทั่วสี่ทิศ เหมือนสายฟ้าในอากาศ เรายังจิตให้เลื่อมใส


๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๕.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 364

ในห้องพระบรมธาตุนั้น ก่อสร้างกุศลเป็นอันมาก ระลึก ถึงกรรมเก่าแล้ว ได้เข้าถึงไตรทศ เราอยู่บนยานทิพย์ อันเทียมด้วยม้าสินธพพันตัว วิมานของเราสูงตระหง่าน สูงสุดเจ็ดชั้น กูฏาคาร (ปราสาท) พันหนึ่ง สำเร็จด้วย ทองคำล้วน ย่อมรุ่งเรือง ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ด้วย เดชของตน ในกาลนั้น ศาลาหน้ามุขแม้เหล่าอื่นอันสำเร็จ ด้วยแก้วมณีมีอยู่ แม้ศาลาหน้ามุขเหล่านั้นก็โชติช่วง ด้วยรัศมีทั่ว ๔ ทิศ โดยรอบกูฏาคารอันบังเกิดขึ้นด้วย บุญกรรม อันบุญกรรมเนรมิตไว้เรียบร้อย สำเร็จด้วย แก้วมณีโชติช่วง ทั่วทิศน้อยทิศใหญ่โดยรอบ โอภาส แห่งกูฏาคารอันโชติช่วงอยู่เหล่านั้นเป็นสิ่งไพบูลย์ เรา ย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครอบครองแผ่นดิน มีสมุทรสาครสี่เป็นขอบเขต เราเกิดเป็นกษัตริย์ นามว่า อุพพิทธะ ชนะประเทศในที่สุดทิศทั้งสี่ ครอบครองแผ่นดินอยู่ใน กัปที่หกหมื่น ในภัทรกัปนี้ เราได้เป็นเหมือนอย่างนั้น ๓๐ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีกำลังมาก ยินดีใน กรรมของตน สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ ในทวีปทั้ง ๔ ในครั้งนั้นปราสาทของเราสว่างไสวดัง สายฟ้า ด้านยาว ๒๙ โยชน์ ด้านกว้าง ๑๒ โยชน์ พระนครชื่อรัมมณะ มีกำแพงและค่ายมั่นคง ด้านยาว ๕๐๐ โยชน์ ด้านกว้าง ๒๕๐ โยชน์ คับคั่งด้วยหมู่ชน เหมือน เทพนครของชาวไตรทศ เข็ม ๒๕ เล่มเขาใส่ไว้ในกล่อง


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 365

เข็ม ย่อมกระทบกันและกัน เบียดเสียดกันเป็นนิตย์ ฉันใด แม้นครของเราก็ฉันนั้น เกลื่อนด้วยช้าง ม้า และรถ คับคั่งด้วยหมู่มนุษย์ น่ารื่นรมย์ เป็นนครอุดม เรากินและดื่มอยู่ในนครนั้น แล้วไปเกิดเป็นเทวดาอีก ในภพที่สุด กุศลสมบัติได้มีแล้วแก่เรา เราสมภพใน สกุลพราหมณ์ สั่งสมรัตนะมาก ละเงินประมาณ ๘๐ โกฏิเสียแล้วออกบวช คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงสรรเสริญพระกัสสปเถระนั้น โดยนัยมี อาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปะเปรียบเหมือนดวงจันทร์ เข้าไปหา ตระกูล ไม่คะนองกายไม่คะนองจิต เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ไม่ทะนงตัวใน ตระกูล ภายหลังนั่งในท่ามกลางแห่งหมู่พระอริยะ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง อันเลิศ แห่งภิกษุผู้ทรงไว้ซึ่งธุดงค์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ผู้สาวกของเราผู้ถือธุดงค์ มหากัสสปะเป็นเลิศ. ท่านให้โอวาทแก่ภิกษุ ทั้งหลาย โดยระบุการยินดียิ่งในวิเวก เมื่อจะประกาศการปฏิบัติของตน จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะ เป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก การสงเคราะห์ ชนต่างๆ เป็นความลำบากดังนี้ จึงไม่ชอบใจหมู่คณะ นักปราชญ์ไม่ควรเกี่ยวข้องกับตระกูลทั้งหลาย เพราะ เป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก ผู้ที่เกี่ยวข้อง


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 366

กับตระกูลนั้น ย่อมต้องขวนขวายในการเข้าไปสู่ตระกูล มักติดรสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุข มาให้ นักปราชญ์กล่าวการกราบไหว้และการบูชาใน ตระกูลทั้งหลาย ว่าเป็นเปือกตม และเป็นลูกศรที่ ละเอียดถอนได้ยาก บุรุษผู้เลวทรามย่อมละสักการะได้ ยากยิ่ง เราลงจากเสนาสนะแล้วก็เข้าไปบิณฑบาตยัง นคร เราได้เข้ารูปหาบุรุษโรคเรื้อน ผู้กำลังบริโภคอาหาร ด้วยความอ่อนน้อม บุรุษโรคเรื้อนนั้นได้น้อมเข้าซึ่งคำ ข้าวด้วยมือโรคเรื้อน เมื่อเขาใส่คำข้าวลง นิ้วมือของเขา ก็ขาดตกลงในบาตรของเรานี้ เราอาศัยชายคาเรือนฉัน ข้าวนั้นอยู่ ในเวลาที่กำลังฉันและฉันเสร็จแล้ว เรามิได้ มีความเกลียดชังเลย ภิกษุใดไม่ดูหมิ่นปัจจัยทั้ง ๔ คือ อาหารบิณฑบาตที่จะพึงลุกขึ้นยืนรับ ๑ บังสุกุลจีวร ๑ เสนาสนะคือโคนไม้ ๑ ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑ ภิกษุ นั้นแลสามารถจะอยู่ในจาตุรทิศได้ ในเวลาแก่ภิกษุ บางพวกเมื่อขึ้นเขาย่อมลำบาก แต่พระมหากัสสปะผู้ เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ แม้ ในเวลาแก่ก็เป็นผู้แข็งแรงด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ย่อมขึ้นไป ได้ตามสบาย พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน ละความ หวาดกลัวภัยได้แล้ว กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขา เพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน เมื่อสัตว์ ทั้งหลายถูกไฟไหม้อยู่ เป็นผู้ดับไฟได้แล้ว กลับจาก


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 367

บิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะ ผู้หมดอุปาทาน ทำกิจแล้วไม่มีอาสวะ กลับจากบิณฑบาต แล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ ภูมิภาคอันประกอบด้วย ระเบียบแห่งต้นกุ่มทั้งหลาย น่ารื่นรมย์ใจ กึกก้องด้วย เสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ล้วนแล้วด้วยภูเขา ย่อมทำให้ เรายินดี ภูเขามีสีเขียวดุจเมฆ งดงาม มีธารน้ำเย็นใส สะอาด ดารดาษไปด้วยหญ้ามีสีเหมือนแมลงค่อมทอง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาอันสูงตระหง่านแทบจดเมฆ เขียวชอุ่ม เปรียบปานดังปราสาท กึกก้องด้วยเสียง ช้างร้อง น่ารื่นรมย์นัก ย่อมยังเราให้ยิน ภูเขาที่ฝน ตกรดแล้ว มีพื้นน่ารื่นรมย์ เป็นที่อาศัยของเหล่าฤาษี เซ็งแซ่ด้วยเสียงนกยูง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ สถานที่ เหล่านั้นเหมาะสำหรับเราผู้ยินดีในการเพ่งฌาน มีใจ เด็ดเดี่ยว มีสติ เหมาะสำหรับเราผู้ใคร่ประโยชน์ รักษา ตนดีแล้ว ผู้เห็นภัยในภัยในวัฏสงสาร เหมาะสำหรับเรา ผู้ปรารถนาความผาสุก มีใจเด็ดเดี่ยว เหมาะสำหรับเรา ผู้ปรารถนาประกอบความเพียร มีใจแน่วแน่ ศึกษาอยู่ ภูเขาที่มีสีดังดอกผักตบ ปกคลุมด้วยหมู่เมฆบนท้องฟ้า เกลื่อนกล่นด้วยหมู่นกต่างๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาอันไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน มีแต่หมู่เนื้ออาศัย ดารดาษด้วยหมู่นกต่างๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาที่ มีน้ำใสสะอาด มีแผ่นหินเป็นแท่งทึบ เกลื่อนกล่นด้วย


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 368

ค่างและมฤคชาติ ดารดาษไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังเรา ให้รื่นรมย์ เราผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณาเห็นธรรมโดยชอบ ย่อมไม่มีความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง ๕ เช่นนั้น ภิกษุไม่ ควรทำงานให้มากนัก พึงเว้นคนผู้ไม่ใช่กัลยาณมิตร เสีย ไม่ควรขวนขวายในลาภผล ท่านผู้ปฏิบัติเช่นนั้น ย่อมจะต้องขวนขวายและติดในรสอาหาร ย่อมละทิ้ง ประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้ ภิกษุไม่พึงทำการงาน ให้มากนัก พึงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย เมื่อภิกษุ ขวนขวายในการงานมาก ก็จะต้องเยียวยาร่างกายลำบาก ผู้มีร่างกายลำบากนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความสงบใจ ภิกษุไม่รู้สิกตนด้วยเหตุสักว่า การท่องบ่นพุทธจวนะ ย่อมท่องเที่ยวชูคอสำคัญตนว่าประเสริฐกว่าผู้อื่น ผู้ใดไม่ ประเสริฐเป็นพาล แต่สำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้มีใจกระด้างเลย ผู้ใดไม่หวั่นไหวเพราะมานะ ๓ อย่าง คือ ว่าเราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา ๑ เสมอเขา ๑ เลวกว่าเขา ๑ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้น แหละว่า เป็นผู้มีปัญญามีวาจาจริง ตั้งมั่นดีแล้วในศีล ทั้งหลาย และว่าประกอบด้วยความสงบใจ ภิกษุใดไม่มี ความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมห่างเหินจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 369

ภิกษุเหล่าใดเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มี พรหมจรรย์อันงอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว ภิกษุผู้ยังมีใจฟุ้งซ่านกลับกลอก ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ภิกษุนั้นย่อมไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือนกับวานร คลุมด้วยหนังราชสีห์ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ ย่อมงดงามเพราะผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำฉะนั้น เทพเจ้าผู้มีฤทธิ์มีเกียรติยศเป็นอันมากประมาณหมื่นและ พรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบน้อมท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มี ฌานใหญ่ มีใจตั้งมั่น เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษ อาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข่าฌานอยู่ เพราะอาศัยอารมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมรู้ไม่ถึง อารมณ์เหล่านั้นของท่าน น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของ ท่านผู้รู้ทั้งหลายลึกซึ้งยิ่งนัก ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มา ประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ นับว่าเป็นผู้เฉียบแหลมดังนาย ขมังธนูก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้มได้ปรากฏมีแก่ท่าน พระกัปปินเถระ เพราะได้เห็นท่านพระสารีบุตรผู้ควรแก่ สักการบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชาอยู่เช่นนั้นในเวลานั้น ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้นแต่สมเด็จพระมหามุนี


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 370

องค์เดียวเท่านั้น เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในทางธุดงคคุณ ไม่มีใครเทียมเท่าเลย เราเป็นผู้คุ้นเคยกับพระบรมศาสดา เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลง ภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้ แล้ว พระสมณโคดมผู้ทรงพระคุณหาประมาณมิได้ มี พระทัยน้อมไปในเนกขัมมะ ทรงสละภพทั้ง ๓ ออก ได้แล้ว ย่อมไม่ทรงติดอยู่ด้วยจีวร บิณฑบาต และ เสนาสนะ เปรียบเหมือนบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นจอมนักปราชญ์ มีสติปัฏฐานเป็นพระศอ มีศรัทธาเป็นพระหัตถ์ มีปัญญาเป็นพระเศียร ทรงพระปรีชามาก ทรงดับเสียแล้วซึ่งกิเลสและกองทุกข์ตลอด กาลทุกเมื่อ.

ในคาถาเหล่านั้น ๓ คาถาข้างต้น ท่านเห็นภิกษุทั้งหลายผู้คลุกคลี ในคณะและตระกูล แล้วกล่าวด้วยการให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น คเณน ปุรกฺขโต จเร ความว่า เป็นผู้ได้รับการยกย่อง คือห้อมล้อมด้วยคณะของภิกษุ ไม่พึงประพฤติ คือไม่พึงอยู่. เพราะเหตุไร? เพราะเป็นผู้ทำใจให้ฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดย ยาก เหตุผู้บริหารคณะมีใจขวนขวายในการให้เกิดทุกข์ เมื่อกระทำการ อนุเคราะห์ด้วยอุทเทส โอวาท และอนุสาสนี ย่อมเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือมีจิตวิการเพราะไม่ปฏิบัติตามความพร่ำสอน จากนั้นเมื่อไม่ได้อารมณ์ เป็นหนึ่งเพราะการคลุกคลี สมาธิก็ได้โดยยาก, แม้เพียงอุปจารสมาธิ


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 371

ก็ไม่สำเร็จแก่ภิกษุผู้เช่นนั้น จะป่วยการไปไยถึงภิกษุนอกนี้เล่า.

บทว่า นานาชนสงฺคโม ได้แก่ การสงเคราะห์ชนผู้มีอัธยาศัย ต่างกัน คือผู้มีความชอบใจต่างกัน ด้วยคำพูดที่น่ารักเป็นต้น.

บทว่า ทุโข แปลว่า ยาก คือลำบาก.

บทว่า อิติ ทิสฺวาน ความว่า เห็นโทษมากมายในการสงเคราะห์ หมู่คณะด้วยอาการอย่างนี้ แล้วแลดูด้วยญาณจักษุ, ไม่พึงใจคือไม่พึง ชอบใจหมู่คณะ คือการอยู่ด้วยหมู่คณะ.

บทว่า น กุลานิ อุปพฺพเช มุนิ ความว่า บรรพชิตในศาสนา นี้ ไม่พึงเป็นผู้เข้าถึงตระกูลกษัตริย์เป็นต้น. เพราะเหตุไร? เพราะ เป็นผู้มีใจฟุ้งซ่าน ได้สมาธิโดยยาก. เขาเป็นผู้ขวนขวาย คือถึงความ ขวนขวายในการเข้าไปหาตระกูล เป็นผู้ติด คือถึงความติดข้องในรส อร่อยเป็นต้น ที่จะพึงได้ในตระกูล ได้แก่ถึงความพยายามด้วยตนเองใน กิจน้อยใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้น.

บทว่า อตฺถํ ริญฺจติ โย สุขาวโห ความว่า สภาวะใดนำสุข อันเกิดแต่มรรคผลและนิพพานแก่ตน ย่อมล้างคือละ อธิบายว่า ย่อม ไม่ตามประกอบประโยชน์ กล่าวคือ ศีลวิสุทธิ เป็นต้นนั้น.

คาถาที่ ๓ ได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

๔ คาถาว่า เสนาสนมฺหา โอรุยฺห เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถ ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ธรรมดาว่า ภิกษุพึงปฏิบัติอย่างนี้ โดย ยกการแสดงความที่ตนสันโดษในปัจจัยเป็นนิทัศน์. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า เสนาสนมฺหา โอรุยฺห ท่านกล่าวหมายถึงเสนาสนะบน ภูเขา.


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 372

บทว่า สกฺกจฺจํ ตํ อุปฏฺหึ ความว่า เป็นผู้ต้องการด้วยภิกษา เพราะเป็นผู้ประสงค์จะให้บุรุษโรคเรื้อนนั้น ได้รับสมบัติอันโอฬาร จึง เข้าไปยืนอยู่โดยความเอื้อเฟื้อ เหมือนบุคคลผู้ปรารถนามากซึ่งตระกูล ผู้ให้ภิกษาอันประณีตฉะนั้น.

บทว่า ปกฺเกน ความว่า อันคอดกิ่วจวนหลุดแล้ว เพราะ โรคเรื้อนที่กินถึงกระดูก.

บทว่า องฺคุลิ เจตฺถ ฉิชฺชถ ความว่า นิ้วมือของเขานั้นขาด ลงในบาตรของเรานั้น ตกไปพร้อมกับอาหาร.

บทว่า กุฏฺฏมูลํ นิสฺสาย ความว่า เราจักนั่งในที่ใกล้ฝาเรือน เช่นนั้น แล้วฉันคือบริโภคคำข้าวนั้น เพื่อให้บุรุษนั้นเกิดความเลื่อมใส. ก็การปฏิบัติของพระเถระนี้ พึงเห็นว่า เกิดขึ้นในเมื่อยังไม่บัญญัติ สิกขาบท. เมื่อพระเถระฉันอาหารนั้น ความหิวไม่เกิดขึ้น เพราะ ความสำเร็จอันเป็นข้าศึก อันรู้กันว่าเป็นของไม่ปฏิกูล เหมือนในของ ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูล. แต่เมื่อปุถุชนบริโภคอาหารเช่นนั้น ลำไส้ ใหญ่พึงขย้อนออกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อกำลังกิน ก็ดี กินแล้วก็ดี ความรังเกียจของเราย่อมไม่มี.

บทว่า อุตฺติฏฺปิณฺโฑ ความว่า พึงลุกขึ้นยืนที่ประตูเรือนของ คนเหล่าอื่นแล้วพึงรับบิณฑบาต. อธิบายว่า อาศัยกำลังแข้งแล้วไปตาม ลำดับเรือน พึงได้ภิกษาที่ระคนกัน.

บทว่า ปูติมุตฺตํ ได้แก่ ชิ้นสมอที่ดองด้วยน้ำมูตรโคเป็นต้น.

บทว่า ยสฺเสเต อภิสมฺภุตฺวา ความว่า ภิกษุใดไม่ดูหมิ่น ยินดี ยิ่งบริโภคปัจจัย ๔ มีบิณฑะอันบุคคลพึงลุกขึ้นยืนรับเป็นต้นเหล่านั้น.


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 373

บทว่า ส เว จาตุทฺทิโส นโร ความว่า บุคคลนั้น เป็นผู้เที่ยวไป ในทิศโดยส่วนเดียว คือประกอบในทิศทั้ง ๔ มีทิศตะวันออกเป็นต้น, อธิบายว่า ไม่กระทบกระทั่งในที่ใดที่หนึ่ง สามารถเพื่อจะอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง.

ลำดับนั้น พระเถระในเวลาที่ตนเป็นคนแก่ เมื่อพวกมนุษย์ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อชราเห็นปานนี้เป็นไปอยู่ อย่างไรท่าน จึงขึ้นภูเขาทุกวันๆ จึงได้กล่าว ๔ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า ยตฺถ เอเก ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในปัจฉิมวัยใด. บทว่า เอเก แปลว่า บางพวก. บทว่า วิหญฺนฺติ ความว่า มีจิต ลำบากเพราะสรีระถึงความคับแค้น.

บทว่า สิลุจฺจยํ ได้แก่ ซึ่งภูเขา. บทว่า ตตฺถ ความว่า แม้ ในเวลาแก่คร่ำคร่านั้น. ด้วยบทว่า สมฺปชาโน ปฏิสฺสโต นี้ ท่านแสดง ความไม่มีความลำบากใจ.

ด้วยบทว่า อิทฺธิพเลนุปตฺถทฺโธ นี้ ท่านแสดงถึงความไม่มีความ ลำบากแห่งสรีระ.

ชื่อว่า ละภัยและความขลาดกลัวเสียได้ เพราะตัดกิเลสอันเป็นเหตุ แห่งความกลัวเสียได้.

บทว่า ฑยฺหมาเนสุ ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกไฟ ๑๑ กอง มีไฟคือราคะเป็นต้นแผดเผา. ชื่อว่าดับสนิทคือเป็นผู้เย็น เพราะไม่มี ความเร่าร้อนด้วยสังกิเลส. เมื่อพวกมนุษย์กล่าวอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้ในเวลาแก่ท่านอยู่เฉพาะบนภูเขาในป่าเท่านั้นหรือ? วิหารทั้งหลาย มีเวฬุวันเป็นต้นเหล่านี้ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจมิใช่หรือ? เมื่อจะแสดง


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 374

ว่า ภูเขาที่อยู่ในป่านั้นแลเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ จึงได้กล่าว ๑๒ คาถา มีอาทิว่า กเรริมาลาวิตตา ดังนี้. พระคาถาเหล่านั้น บทว่า กเรริมาลาวิตตา ความว่า ประกอบด้วยแนวแห่งต้นกุ่มทั้งหลาย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อันดอกไม้มีสีตามฤดูกาลปกคลุมแล้ว. บทว่า กุญฺชราภิรุทา ความว่า ถูกช้างผู้เที่ยวหากินตัวซับมัน อันเป็นคุณแห่งความสะท้อนเสียง เป็นต้นย่ำยี.

บทว่า อภิวุฏฺา ความว่า อันมหาเมฆยังฝนให้ตกแล้ว. บทว่า รมฺมตลา ความว่า ชื่อว่า มีพื้นอันน่ารื่นรมย์ เพราะปราศจากความ สกปรกดุจเปือกตม และสิ่งอันเกื้อกูลแก่ใบไม้เป็นต้นนั้นนั่นเอง. บทว่า นคา ความว่า ภูเขา อันได้นามว่า นคะ เพราะไม่ไปสู่ถิ่นอื่น และ ชื่อว่า เสละ เพราะล้วนแต่หิน. บทว่า อพฺภุนฺนทิตา สิขีหิ ความว่า กึกก้องไปด้วยเสียงร้องไพเราะ.

บทว่า อลํ แปลว่า ควรแล้ว หรือสามารถ. แม้ในบทว่า ฌายิตุกามสฺส อตฺถกามสฺส ดังนี้เป็นต้น ก็พึงประกอบโดยนัยนี้. บทว่า ภิกฺขุโน เชื่อมความว่า ได้แก่ ภิกษุผู้ทำลายกิเลสแล้วนั่นแล.

บทว่า อุมาปุปฺเผน สมานา ความว่า เสมือนกับดอกผักตบ เพราะสีเหมือนกับสีเขียวคราม.

บทว่า คคนาวพฺภฉาทิตา ความว่า ดารดาษไปด้วยเมฆดำ เหมือนเมฆหมอกในอากาศ แห่งฤดูใบไม้ร่วงนั้นนั่นเอง อธิบายว่า มีสีดำ.

บทว่า อนากิณฺณา ความว่า ไม่เกลื่อนกล่น คือไม่คับแคบ.

บทว่า ปญฺจงฺคิเกน ความว่า เมื่อแวดล้อมไปด้วยดุริยางค์อัน ประกอบด้วยองค์ ๕ มีกลองขึงหน้าเดียวเป็นต้น ความยินดีแม้เช่นนั้น


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 375

ก็ไม่มี อย่างความยินดีของบุคคลผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณารูปธรรมและนามธรรมโดยชอบแท้ ด้วยอำนาจอนิจจลักษณะ เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า

ในกาลใดๆ บุคคลพิจารณาเห็นการเกิดขึ้นและการ ดับไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆ เขาย่อมได้ปีติ และปราโมช ปีติและปราโมชนั้น เป็นอมตะของผู้รู้แจ้ง.

ท่านกล่าว ๒ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า กมฺมํ พหุกํ ดังนี้ ด้วย อำนาจให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีการงานที่มายินดี ผู้อยากได้ปัจจัย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมํ พหุกํ น การเย ความว่า เป็นผู้มี กรรมเป็นที่มายินดี ไม่พึงให้ทำการงาน คือไม่พึงอธิษฐานซึ่งการงานชื่อ เป็นอันมาก แต่การซ่อมแซมสิ่งที่หักพังทำลาย พระศาสดาทรงอนุญาต แล้วนั้นแล. บทว่า ปริวชฺเชยฺย ชนํ ความว่า พึงเว้นคนผู้ไม่เป็น กัลยาณมิตร. บทว่า น อุยฺยเม ความว่า ไม่พึงทำความพยายามด้วย อำนาจ เพื่อให้ปัจจัยเกิดขึ้นและเพื่อคุมคณะ.

บทว่า อนตฺตเนยฺยเมตํ ความว่า การอธิษฐานนวกรรมเป็นต้น นี้ ไม่เป็นเหตุนำมาซึ่งประโยชน์แก่ตน. ในข้อนั้นท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า กายย่อมลำบาก ย่อมฝืดเคือง ก็เมื่อขวนขวายนวกรรมเป็นต้น เที่ยว ไปในที่นั้นๆ เขาย่อมประสบยาก คือย่อมลำบาก ย่อมถึงความลำบาก เพราะไม่ได้สุขทางกายเป็นต้น และชื่อว่า ได้รับทุกข์เพราะการลำบาก กายนั้น. อธิบายว่า บุคคลนั้นย่อมไม่ได้ความสงบ คือไม่ได้ความ ยึดมั่นทางจิต เพราะไม่มีการกระทำวัตถุให้สลสลวยแก่การแนะนำตน.

ท่านกล่าว ๒ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า โอฏฺปฺปหตมตฺเตน เป็นต้น


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 376

ท่านกล่าวด้วยสามารถการติเตียนบุคคลผู้มีมานะว่าตัวเป็นบัณฑิต ผู้มีสุตะ เป็นอย่างยิ่ง กล่าว ๒ คาถาถัดจากนั้น ด้วยอำนาจการสรรเสริญบัณฑิต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอฏฺปฺหตมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุ เพียงการขยับปาก โดยยกการท่องบ่นเป็นประธาน อธิบายว่า ด้วยเหตุ เพียงการทำการท่องบ่นพระพุทธพจน์.

บทว่า อตฺตานมฺปิ น ปสฺสติ ความว่า ย่อมไม่รู้อรรถ แม้ อันเป็นข้าศึกแก่ตน เพราะรู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ อธิบายว่า ย่อมไม่ กำหนดประมาณของตนตามความเป็นจริง.

บทว่า ปตฺถทฺธคีโว จรติ ความวา เป็นผู้กระด้างเพราะมานะว่า เราเป็นพหูสูต มีสติ มีปัญญา ไม่มีตนอื่นเสมือนเรา ไม่เห็นการนอบน้อมแม้ต่อบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู เป็นผู้มีคอยาว ประพฤติเหมือน กลืนกินซี่เหล็กตั้งอยู่.

บทว่า อหํ เสยฺโยติ มญฺติ ความว่า ย่อมสำคัญว่า เรา เท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐคือสูงสุด.

บทว่า อเสยฺโย เสยฺยสมานํ, พาโล มญฺติ อตฺตานํ ความว่า ผู้นี้เป็นผู้ไม่ประเสริฐ เป็นคนเลว เป็นคนพาล มีความรู้น้อย ย่อมสำคัญตน กระทำให้เสมอ คือให้เหมือนกันกับผู้อื่น ผู้ประเสริฐคือ สูงสุด โดยความที่เป็นคนพาลนั้นเอง.

บทว่า น ตํ วิฺญู ปสํสนฺติ ความว่า ผู้รู้คือบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่สรรเสริญคนพาลนั้นคือผู้เช่นนั้น ผู้มีใจกระด้าง คือผู้มีตน กระด้าง เพราะมีจิตประคองไว้ โดยที่แท้ย่อมติเตียนเท่านั้น.

บทว่า เสยฺโยหมสฺมิ ความว่า ก็บุคคลใดเป็นบัณฑิต ไม่


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 377

สาธยายถึงมานะแม้บางอย่างว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ หรือว่าเราเป็น ผู้ไม่ประเสริฐ ด้วยอำนาจมีมานะเสมือนกับคนเลว ย่อมไม่หวั่นไหวด้วย อำนาจมานะบางอย่าง ในบรรดาส่วนแห่งมานะ ๙ อย่าง.

บทว่า ปญฺวนฺตํ ความว่า ชื่อว่า ผู้มีปัญญา ด้วยอำนาจ ปัญญาอันเกิดแต่อรหัตตผล. ชื่อว่า ผู้คงที่ เพราะถึงความเป็นผู้คงที่ ในอารมณ์ทั้งหลาย มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น ชื่อว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในศีล เพราะตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในอเสขผลศีลทั้งหลาย. ชื่อว่า ผู้มีจิตประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะ เพราะเข้าอรหัตตผลสมาบัติ.

บทว่า เจโตสมถมนุยุตฺตํ ความว่า ผู้รู้คือบัณฑิตทั้งหลาย มี พระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมสรรเสริญ คือย่อมชมเชยบุคคลเช่นนั้นผู้ละ มานะได้แล้ว คือผู้สิ้นอาสวะแล้วโดยประการทั้งปวง.

ท่านเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ว่ายากอีก ชื่อว่าผู้มีโทษ เมื่อจะประกาศ โทษแห่งความเป็นผู้ว่ายาก และอานิสงส์แห่งความเป็นผู้ว่าง่าย จึงกล่าว ๒ คาถา มีอาทิว่า ยสฺส สพฺรหฺมจารีสุ ดังนี้. คาถานั้นมีอรรถดังกล่าว แล้วนั่นแล.

ครั้นท่านเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้มีมานะดังไม้อ้ออันยกขึ้นแล้วอีก เมื่อจะประกาศโทษในความเป็นผู้มีจิตอัมมานะยกขึ้นแล้วเป็นต้น และ คุณในความเป็นผู้ไม่มีจิตอันมานะยกขึ้นแล้วเป็นต้น จึงได้กล่าว ๒ คาถา มีอาทิว่า อุทฺธโต จปโล ภิกฺขุ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปีว สีหจมฺเมน ความว่า ภิกษุนั้นคือผู้ประกอบด้วยโทษมีความเป็นผู้มีจิต อันมานะยกขึ้นแล้วเป็นต้น เหมือนลิงห่มหนังราชสีห์ย่อมไม่งดงาม ด้วย ธงแห่งพระอริยะอันเปื้อนด้วยฝุ่นนั้น เพราะไม่มีคุณแห่งอริย.

ก็เพื่อจะแสดงผู้งดงามนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุทฺธโต ดังนี้.


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 378

๕ คาถาว่า เอเต สมฺพหุลา ดังนี้เป็นต้น ท่านเห็นเทพทั้งหลาย ผู้นับเนื่องในพรหม ผู้นมัสการท่านพระสารีบุตร แล้วกล่าวนิมิตคือการทำ การแย้มให้ปรากฏแก่ท่านพระกัปปินะ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเต ท่านกล่าวโดยความที่ท่านเหล่านั้นปรากฏแล้ว. บทว่า สมฺพหุลา แปลว่า เพราะมีมาก. แต่ท่านกำหนดภาวะที่มีมากนั้น จึงกล่าวว่า ทสเทวสหสฺ- สานิ มีเทพ ๑๐,๐๐๐ ดังนี้. เมื่อจะแสดงความที่ท่านเหล่านั้นเป็นเทพ นั้น ให้แปลกออกไปว่า อญฺเ เหล่าอื่น จึงกล่าวว่า สพฺเพ เต พฺรหฺมกายิกา ดังนี้. เพราะเหตุที่ท่านเหล่านั้น ประกอบด้วยอุปบัติฤทธิ์ เทวฤทธิ์ใหญ่ของตน และเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยบริวาร ฉะนั้นท่านจึง กล่าวว่า อิทฺธิมนฺโต ยสฺสสิโน ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสว่า สารีบุตร อนุวัตรตามธรรมจักร อันเราประกาศแล้วได้ยอดเยี่ยมดังนี้ ด้วยอำนาจการถามว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ พระสารีบุตรเป็นเสนาบดีอะไรหนอ จึงทรงอนุญาตที่ท่านพระสารีบุตรเถระเป็นพระธรรมเสนาบดี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สารีบุตร พระธรรมเสนาบดีผู้มีความเพียร เพ่งฌานใหญ่ ผู้มีจิตตั้งมั่น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วีรํ ความว่า ผู้มีความเพียร ผู้มีความกล้าหาญ มาก เพราะย่ำยีกิเลสมารเป็นต้นเสียได้. บทว่า มหาฌายึ ชื่อว่า ผู้เพ่งฌาน ใหญ่ เพราะเข้าถึงธรรมอันสูงสุดแห่งทิพวิหารธรรมเป็นต้น. ชื่อว่า ผู้มีจิต ตั้งมั่น ด้วยอำนาจกำจัดความฟุ้งซ่านโดยประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น นั่นแล. บทว่า นมสฺสนฺตา ความว่า ยืนประคองอัญชลีนมัสการเหนือ เศียรเกล้า.

บทว่า ยมฺปิ นิสฺสาย ความว่า พรหมทั้งหลายปรารภ คือ


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 379

อาศัยเพ่งอารมณ์อย่างใดหนอ เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้ โดย ความเป็นปุถุชนว่า เราไม่รู้.

บทว่า อจฺฉริยํ วต แปลว่า น่าอัศจรรย์หนอ.

บทว่า พุทฺธานํ ได้แก่ ผู้รู้สัจจะ ๔.

บทว่า คมฺภีโร โคจโร สโก ความว่า ลึกอย่างยิ่ง คือเห็น ได้ยากยิ่ง หยั่งรู้ได้ยาก ไม่ทั่วไปคือไม่ใช่วิสัยปุถุชน. บัดนี้ เพื่อจะ แสดงเหตุในภาวะที่ธรรมลึกซึ้ง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เย มยํ ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาลเวธิสมาคตา ความว่า พวกเราใดเป็น เสมือนนายขมังธนูผู้ยิงขนทราย สามารถแทงตลอดวิสัยแม้อันละเอียดได้ มาแวดล้อมยังไม่รู้. วิสัยของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งหนอ.

บทว่า ตํ ตถา เทวกาเยหิ ความว่า ความยิ้มแย้มได้ปรากฏ แก่ท่านพระมหากัปปยนะ เพราะได้เห็นท่านพระสารีบุตรเห็นปานนั้น ผู้ควร แก่การบูชาของชาวโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้อันหมู่พรหมเหล่านั้นบูชา แล้ว โดยประการนั้นๆ อธิบายว่า เป็นวิสัยของพระสาวกทั้งหลายใน ที่ไม่เป็นวิสัยแม้ของพวกพรหม ซึ่งโลกสมมติกันแล้วนี้.

คาถาว่า ยาวตา พุทฺธเขตฺตมฺหิ พระเถระปรารภตนแล้วกล่าว ด้วยการบันลือสีหนาทให้มีขึ้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า พุทฺธเขตฺตมฺหิ ท่านกล่าวหมาย เอาอาณาเขต (เขตอำนาจ).

บทว่า ปยิตฺวา มหามุนึ ได้แก่ เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ถึงความเป็นผู้สูงสุดอย่างยิ่ง กว่าสรรพสัตว์ แม้โดยคุณคือธุดงคคุณนั่นแล. แต่พระองค์มีพระทัยอัน


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 380

พระมหากรุณากระตุ้นเตือนอย่างเดียว จึงทรงพิจารณาดูอุปการะใหญ่ เช่นนั้นของสัตว์ทั้งหลาย ทรงอนุวัตรตามการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านเป็น ต้น จึงเป็นข้าศึกต่อธุตธรรมนั้นๆ

บทว่า ธุตคุเณ ความว่า ซึ่งคุณอันไม่เพ่งพินิจโดยภาวะแห่งผู้ อยู่ป่าเป็นต้น ด้วยคุณอันกำจัดกิเลสทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ธุตคุเณ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ. คุณเช่นนั้นของ เราไม่มี. อธิบายว่า ก็คุณอันยิ่งจักมีแต่ที่ไหน. จริงอย่างนั้น พระเถระ นี้ อันพระศาสดาทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอันเลิศนั้น.

ท่านการทำความที่กล่าวแล้วว่า ปยิตฺวา มหามุนึ นั่นแล ให้ ปรากฏชัดด้วยคาถาว่า น จีวเร ดังนี้. การไม่เข้าไปฉาบทาด้วยตัณหา ในจีวรเป็นต้น เป็นผลแห่งธุดงค์, ในข้อนั้นมีวาจาประกอบความว่า ไม่ติดด้วยอำนาจตัณหาในเมื่อจีวรพร้อมมูล.

บทว่า สยเน ได้แก่ เสนาสนะ ที่นอนและที่นั่ง.

ท่านระบุพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระโคตรว่า โคตมโคตร.

บทว่า อนปฺปเมยฺโย ความว่า ไม่พึงประมาณได้ เพราะไม่มี กิเลสเครื่องกระทำประมาณ และเพราะมีคุณประมาณไม่ได้.

บทว่า มุฬาลปุปฺผํ วิมลํว อมฺพุนา ความว่า ดอกอุบลเขียว ปราศจากมลทิน ปราศจากธุลี ไม่คิดด้วยน้ำ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้โคตมะก็ฉันนั้น ย่อมไม่ติดด้วยการติดด้วยอำนาจตัณหาเป็นต้น, ท่าน เป็นผู้น้อมไปในเนกขัมมะ คือโน้มไปในอภิเนษกรมณ์ เพราะเหตุนั้น นั่นแล ท่านจึงสลัดออกจากภพทั้ง ๓ คือปราศจากไป ไม่ประกอบ ด้วยภพ ๓.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 23 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้า 381

ท่านไม่ติดอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะบริบูรณ์ด้วยภาวนาธรรม อันมีสติปัฏฐานเป็นพระศอเป็นต้น ได้เป็นผู้น้อมไปในเนกขัมมะเท่านั้น โดยแท้ เมื่อจะแสดงสติปัฏฐานเป็นต้นอันเป็นองค์เหล่านั้น ท่านจึง กล่าวคาถาสุดท้ายว่า สติปฏฺานคีโว ดังนี้เป็นต้น.

สติปัฏฐานเป็นพระศอของพระองค์เพราะเป็นที่ตั้งแห่งปัญญา อัน เป็นองค์สูงสุดกว่ากองแห่งคุณ ในคาถานั้น เพราะเหตุนั้น พระองค์ ชื่อว่า มีสติปัฏฐานเป็นพระศอ ศรัทธาในการยึดถือธรรมอันหาโทษ มิได้เป็นพระหัตถ์ของพระองค์ เหตุนั้นพระองค์ชื่อว่า มีศรัทธาเป็น พระหัตถ์. มีปัญญาเป็นพระเศียร เพราะเป็นอวัยวะสูงสุดแห่งสรีระคือ คุณ เป็นพระเศียรของพระองค์ เหตุนั้นพระองค์ชื่อว่ามีพระปัญญา เป็นพระเศียร, ญาณกล่าวคือพระสัพพัญญุตญาณอันใหญ่ เพราะเป็น ที่มาของมหาสมุทร เพราะมีอารมณ์มาก เพราะมีอานุภาพมาก และ เพราะมีกำลังมาก ของพระองค์มีอยู่ เหตุนั้นพระองค์ชื่อว่า ผู้มีพระญาณ มาก. พระองค์ดับสนิท คือเย็นสนิท เที่ยวไปในกาลทุกเมื่อ คือตลอด กาลทั้งปวง. ก็ควรแสดงไขสุตตบทในคำนี้ว่า สุสมาหิโต... ฯลฯ. .. นาโค. ก็ในข้อนั้นคำที่ยังไม่ได้จำแนกโดยอรรถ คำนั้นมีนัยดังกล่าวใน หนหลังนั้นแล.

จบอรรถกถามหากัสสปเถรคาถาที่ ๑

จบปรมัตถทีปนี อรรถกถาเถรคาถา

จัตตาลีสนิบาต