อนัตตาสุดโต่ง
โดย nattawan  16 ก.ค. 2567
หัวข้อหมายเลข 48143

ปฏิบัติ มาจากภาษาบาลี ปฏิ แปลว่า เฉพาะ ปัตติ แปลว่า ถึง รวมแปลว่า ถึงเฉพาะ ไม่ใช่ทำให้ถึงด้วยความที่อยากจะทำ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสว่าอย่างไร ... ต้องไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ... ต้องเข้าใจความหมายจริงๆ ไม่คิดเอง

อนัตตาสุดโต่ง พูดตามที่คิดเองว่า ทำสมาธิก็เป็นอัตตา เดินจงกรมก็เป็นอัตตา ท่านอาจารย์เน้นแต่ธรรมะเป็นอนัตตาจึงเป็นอนัตตาสุดโต่ง

คำของพระองค์ลึกซึ้งระดับไหน ... เกินที่ใครจะรู้ได้ เปลี่ยนไม่ได้ ตรัสว่า "ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา" ถูกหรือผิด?? อนัตตาสุดโต่ง ... ไปเอาคำนี้มาจากไหน ไม่ใช่คำของพระองค์เลย ไม่ได้ตรัสว่า "อนัตตาสุดโต่ง" ... ใครอย่าเปลี่ยนนะ!!!

คนที่ไตร่ตรองมีสติปัญญา ถ้าได้ฟังจะเห็นด้วยไหม?? คำนี้มาได้อย่างไรจึงเปลี่ยนคำของพระองค์ ก่อนอื่นจะฟังใครต้องพิจารณาไตร่ตรองคำที่ตรัสไว้ดีแล้ว และต้องเข้าใจคำของพระองค์ "ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา" ไม่ใช่ "อนัตตาสุดโต่ง" เป็นการลบหลู่และเป็นเหตุให้พระธรรมเลอะเลือนไป เพราะไม่มีในคำสอนของพระองค์ ไปบิดเบือนและกล่าวตู่คำของพระองค์ที่ตรัสไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

เชิญชม

สนทนา
เรื่อง "ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา"

โดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์และอาจารย์ มศพ.

Facebook : ชมรมบ้านธัมมะ
www.facebook.com/share/v/TFCiU6aEYGmqUa3Q/?mibextid=qi2Omg

Youtube : dhammahomelive www.youtube.com/live/Tf5COBxLY6E?si=e_GE1giDE5X_bnau

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง



ความคิดเห็น 1    โดย chatchai.k  วันที่ 16 ก.ค. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง

ยินดีในกุศลจิตครับ


ความคิดเห็น 2    โดย สุระเชษฐ์  วันที่ 27 พ.ย. 2567

จิต เปลี่ยนแปลงได้ด้วย ปัญญาที่มีการอบรม ... แล้วการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มันขัดแย้งกับความหมายของ "อนัตตา" ไหมครับ? ที่ว่า "ควบคุมไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีตัวตน" ... คำแปลอันนี้ อาจจะไม่ตรงเจตจำนงค์พระพุทธเจ้าไหมครับ?


ความคิดเห็น 3    โดย สุระเชษฐ์  วันที่ 27 พ.ย. 2567

พระอรหันต์ จิตไม่เกิดดับแล้ว ท่านควบคุมจิตได้แล้วหรือไม่ครับ? ... ผมกำลัง หาคำแปลเป็นไทย ที่ตรงที่สุด ในคำว่า "อนัตตา"


ความคิดเห็น 4    โดย สุระเชษฐ์  วันที่ 27 พ.ย. 2567

"อนัตตา" เป็นภาษาไทยถ้าใช้คำว่า "เกิดดับ เป็นธรรมชาติไม่มีตัวตน" พอจะได้ไหมครับ


ความคิดเห็น 5    โดย สุระเชษฐ์  วันที่ 27 พ.ย. 2567

พระพุทธเจ้า กล่าวว่า ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา เราควรแปลเป็นภาษาไทยอย่างไร? ให้ตรงเจตจำนงค์กับที่พระพุทธเจ้าสื่อสารอ่ะครับ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 พ.ย. 2567

ความหมายของ "อนัตตา"

ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ปรมัตถธรรมทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของบุคคลใด

ขอเชิญอ่าน ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

ไตรลักษณะ หมายถึง ลักษณะหรืออาการที่เป็นเครื่องกำหนดให้รู้ได้ว่าเป็นสังขารธรรม คือ อนิจฺจํ (ความไม่เที่ยง) ทุกฺขํ (ความเป็นทุกข์) อนตฺตา (ความไม่ใช่ตัวตน)

ขอเชิญอ่าน ไตรลักษณะ

สภาพธรรมเป็นอนัตตาแน่นอน แม้แต่อะไรที่จะเกิดบังคับไม่ได้ เกิดแล้วก็ต้องดับ บังคับไม่ได้อีก

ขอเชิญรับฟัง เข้าใจคำว่า “อนัตตา” จริงๆ หรือเปล่า

ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เป็นความจริงที่เปลี่ยนไม่ได้ แต่ความไม่รู้ และการยึดถือว่าเป็นเรา มีมากกว่าที่ได้ฟัง ต้องรู้ว่าอะไรเป็นอะไร สะสมความเป็นเรา สะสมความไม่รู้มานานมาก และเพิ่งจะได้ยินได้ฟังคำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แล้วค่อยๆ เข้าใจในขณะที่ฟัง แต่ขณะอื่นล่ะ ก็มีปัจจัยที่สะสมมา ที่จะยึดถือว่าเป็นเรา และไม่รู้

ขอเชิญรับฟัง อย่างไรก็เป็นอนัตตา


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 27 พ.ย. 2567

ควบคุมจิตได้หรือไม่

ถ้าอ่านตำรับตำราอื่น ก็จะพบวิธีต่างๆ ที่จะควบคุมจิตใจ พยายามให้จิตอยู่ในอำนาจ เช่น ให้สติขึ้นมา ให้โทสะลงไป แต่พระผู้มีพระภาคไม่ได้ทรงแสดงธรรมอย่างนี้ เพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

ขอเชิญอ่านและรับฟัง ควบคุมจิตใจ


ความคิดเห็น 8    โดย สุระเชษฐ์  วันที่ 28 พ.ย. 2567

ผมพบในพระไตรปิฎกที่แปลเป็นภาษาไทย มีคำว่า "ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า" แต่อ.สุจินต์สอนว่า สติ เป็นอนัตตา ทำไม่ได้! จึงคิดว่า มีการแปลภาษาผิดที่ใดหรือเปล่าน่ะครับ


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 28 พ.ย. 2567

สติควบคุมได้ไหม

ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เวลาที่สติเกิด เมื่อไม่รู้ก็อาจจะคิดว่าบังคับให้สติเกิดได้ แต่ความจริงบังคับไม่ได้ บังคับสติไม่ได้ เพราะปัญญาจะต้องอบรม จนกว่าจะรู้ชัดตามความเป็นจริงในลักษณะทั้งสามของสังขารธรรม คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ขอเชิญอ่าน การควบคุมสติ

การศึกษาพระธรรมวินัย จะต้องสอดคล้องกันทั้งสามปิฎก การหยิบยกเอาพระพุทธพจน์เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมาตีความโดยไม่รอบคอบ เป็นผลเสีย อาจจะทำให้เกิดความเคลือบแคลง สงสัย ลังเลใจ ไม่แน่ใจต่อผู้ที่ยังไม่เคยศึกษาพระธรรมเลยได้

ขอเชิญอ่าน พระธรรมวินัย จะต้องสอดคล้องกันทั้งสามปิฎก