โลภะ โทสะ โมหะ เป็นกิเลสใหญ่ ทรงจำแนกแจกธรรมไว้หลายฐาน หลายลักษณะด้วยพระปัญญาคุณ อย่างในอกุศลกรรมบท ทรงใช้คำว่า อภิชชา โทมนัส มิจฉาทิฏฐิ ซึ่งก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั่นเองใช่ไหมครับ?
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ธรรมที่ทรงแสดงหลากหลายนัยตามอัธยาศัยของสัตว์โลกว่าจะเข้าใจคำใด หรือแสดงโดยเพียงเป็นอกุศลจิตหรือเป็นกรรมบถ เป็นต้น หรือแม้สภาพธรรมอย่างเดียว ก็แสดงออกมาโดยกิริยาต่างๆ มากมาย เช่น โลภะ ก็มีหลากหลายนัย ทั้งหมายถึง ความติดข้อง ความอยาก ความต้องการ ความไม่ปล่อย เป็นต้น หากแแต่ว่าโลภะ นั้นก็มีหลายระดับตามกำลังของกิเลส เช่น อภิชฌา คือความกำหนัด ความโลภ ความเพ่งเล็ง
อภิชฌาคือ ความกำหนัด ความเพ่งเล็ง อยากได้ แสดงถึงกำลังกิเลสที่มีความต้องการอยากจะได้เป็นของตนเอง แต่องค์ธรรมของสภาพธรรมก็คือ โลภะนั่นเอง ซึ่งเมื่อมีกำลังก็สามารถล่วงกรรมบถ ทำให้สามารถนำไปสู่ทุคติภูมิได้
ส่วนในกรรมบถอีกประการหนึ่งคือ พยาปาทะ (ไม่ใช่โทมนัส) ก็เป็นอกุศลที่มีกำลังที่คิดจะทำร้ายผู้อื่นให้พินาศ ไม่ใช่เพียงความขุ่นใจธรรมดา แต่องค์ธรรมของพยาปาทะก็คือ โทสะนั่นเอง
ส่วนมิจฉาทิฏฐินั้นคือความเห็นผิด เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรม เป็นต้น แต่มิจฉาทิฎฐินั้น องค์ธรรม ไม่ใช่โมหะ แต่เป็นทิฏฐิเจตสิก (ความเห็นผิด) อย่างไรก็ตาม เพราะความไม่รู้ (โมหะ) นี้เอง ที่ทำให้เกิดอกุศลประการต่างๆ ครับ
ส่วนในข้อความที่ยกมาที่มีโทมนัสด้วยนั้น โทมนัส เป็นความรู้สึกเป็นเวทนาเจตสิก ซึ่งต้องเกิดกับอกุศลจิตที่เป็นโทสะเท่านั้น แต่โทสะ ไม่ใช่เวทนาเจตสิก โทมนัส จึงไม่ใช่โทสะครับ ซึ่งอาจพบข้อความในสติปัฏฐานที่ว่า สติปัฏฐานย่อมกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เมื่อกล่าวถึงโทมนัสในสติปัฏฐาน (ในมหาสติปัฏฐานสูตร เล่ม ๑๔ หน้า ๒๘๕) ก็เป็นอันหมายถึงพยาปาทะ คือกำจัดพยาปาทะ (โทสะ) เพราะโทมนัสเวทนาเกิดกับโทสมูลจิตเท่านั้นครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาค่ะ
คุณแล้วเจอกันใช้คำว่า "องค์ธรรมของสภาพธรรมก็คือ โลภะ องค์ธรรมของพยาปาทะก็คือ โทสะนั่นเอง " ขอทราบว่า "องค์ธรรม" หมายถึงอย่างไร ครับ
ในชีวิตประจำวันโดยปกติ เรามีโลภะ มีความติดข้อง ยินดีพอใจ, มีโทสะ ความขุ่นเคืองใจ โกรธ ไม่พอใจ (เวลาที่โทสะเกิดขึ้น จะรู้สึกไม่สบายใจทันที เพราะเวทนาที่เกิดร่วมกันกับโทสะ มีเพียงโทมนัสเวทนาอย่างเดียว) และมีโมหะ ความไม่รู้ด้วย
เพราะในขณะที่อกุศลจิตเกิดแต่ละครั้ง โมหเจตสิกก็จะเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง แต่ถ้าเมื่อใดถึงขั้นที่จะต้องล่วงออกมาเป็นอกุศลกรรมที่ครบองค์ เป็นอกุศลกรรมบถประการต่างๆ ซึ่งเป็นการเบียดเบียนบุคคลอื่นให้เดือดร้อน นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงกำลังของอกุศลว่า ขณะนั้นอกุศลมีกำลังมาก
....ขออนุโมทนาครับ...
พระพุทธเจ้าทรงแสดงฝ่ายของอกุศลหลากหลายเป็นฝ่ายที่ต้องละ เป็นอกุศลทีละลักษณะ แต่ว่าเกิดพร้อมกันได้ เช่น ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานเพื่อละอภิชฌาหรือโทมนัส ฯลฯ