พระพุทธเจ้าเป็นผู้สอนวิชา มโยมยิทธิด้วยตัวพระพุทธองค์เอง
มโนมยิทธิญาณ
พุทธดำรัส:-ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
นิรมิต รูปอันเกิด แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่
ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออก
จากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง
ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะ
พึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ
ปัจจเวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ .....๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือน
บุรุษ จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง
คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็น
สมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่
หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่น
จากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกร
มหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่
เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ .
.............................................................................................
ดิฉันขอรบกวนช่วยอธิบายเรื่องมโนมยิทธิญาณให้เข้าใจด้วยค่ะ
ดิฉันไม่ได้ต้องการฝึกนะค่ะ แต่อยากเข้าใจค่ะ
ดิฉันเคยไปฝึกมาเหมือนกัน 1 ครั้ง แต่สนใจเรียนพระอภิธรรม จึงไม่ฝึกต่อไปค่ะ
กราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
ฤทธิ์ที่มาโดยนัยนี้ว่า ภิกษุในพระศาสนานี้เนรมิตกายอื่นนอกจากกาย
นี้ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เป็นต้น ชื่อว่า มโนมยาอิทธิ [มโนมยิทธิ] เพราะเป็นไปโดยสำเร็จแห่ง
สรีระที่สำเร็จมาแต่ใจ อันอื่น ในภายในสรีระนั่นเอง.
------------------------------------------------------------------
มโนมยิทธิญาณ คือ ปัญญทำให้เกิดฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ สามารถนิรมิตกายอื่นขึ้นนอกจากกายนี้ ให้เหมือนกับกายที่เป็นอยู่เป็นต้น ดังอุปมาเรื่องงู กับคราบของงู
เป็นต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชชา ๘ ของผู้สำเร็จเฌานขั้นสูงสุด ชำนาญ จนคล่องแคล่ว
ดังนั้นผู้ที่จะมีฤทธิ์ดังกล่าวนี้ได้ ต้องเจริญฌานทั้งรูปฌานและอรูปฌานและ มีความ
ชำนาญมากครับ และก็เนรมิตรูปอื่น ด้วยใจที่ออกจากฌานสูงสุด รูปนั้นก็เหมือนกับรูป
ที่คิดไว้และเหมือนกับรูปของตนทุกประการ เป็นต้นครับ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องของ
ปัญญาระดับสูงที่อบรมฌานจนถึงขั้นสูงสุดที่สำคัญ ยังไม่เข้าใจเรื่องฌาน ไม่ได้เห็น
โทษของกิเลสในชีวิตประจำวัน แต่กับมีความต้องการฤทธิ์ด้วยโลภะ ดังนั้นโลภะจึง
ไม่ใช่หนทางไปสู่การเจริญสมถภาวนาเลยครับ จึงเป็นเรื่องของปัญญาตั้งแต่ต้นเพราะ
ฉะนั้นจึงไม่ใช่ใคร บุคคลใดที่จะไปทำมโนมยิทธิได้แบบง่ายๆ ครับ และมโนมยิทธิก็
ไม่ใช่หนทางดับกิเลสครับ ขออนุโมทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
อนุโมทนาในธรรมทานของอาจารย์ค่ะ
กราบขอบพระคุณค่ะ เข้าใจดีขึ้นว่า
เป็นไปได้ยากนะค่ะ ไม่ใช่ฝึกกันง่ายๆ เลย
คนเข้าใจว่าฝึกกันง่ายๆ ได้กันง่ายๆ มีคนที่รู้จักหลายคน
คิดว่าเค้าทำได้จริงค่ะ แต่ดิฉันไม่ได้ไปขัดแย้งเค้าค่ะ
ได้แต่ฟังด้วยความสงสัยอย่างเดียวค่ะ
อนุโมทนาในกุศลจิตครับ
มโนมยิทธิญาณ ฤทธิ์ที่สำเร็จทางใจ เช่น พระจูฬบันถกแปลงเป็นรูปตัวเอง
พันรูป เป็นฤทธิ์ที่สำเร็จได้ด้วยทางใจ และยุคนี้สม้ัยยากแสนยากที่จะได้ฤทธิ์
การศึกษาธรรมให้เข้าใจถูก ความเข้าใจเป็นปัญญาที่เป็นปัจจัยให้ละกิเลสดีกว่าค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจตั้งแต่เบื้องต้น เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นการเริ่มต้นด้วยคามเข้าใจที่ถูกต้อง สิ่งที่สามารถศึกษาและเข้าใจได้ในชีวิตประจำวัน คือ สภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ ที่จะต้องฟังบ่อยๆ เนืองๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆ เรื่องปกติธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน แต่รู้ได้ยาก เพราะเหตุว่าสะสมความไม่รู้มาอย่างเนิ่นนาน ซึ่งจะต้องมีความอดทนพร้อมทั้งมีความเพียรที่จะฟังพระธรรมต่อไป
การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาตลอดชาตินี้ [และในชาติต่อๆ ไปด้วย] จุดประสงค์ก็เพียงเพื่อการเข้าใจสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ตามความเป็นจริง เพราะเหตุว่า ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ภพใดก็ตาม ก็เป็นการเกิดขึ้นของนามธรรมและรูปธรรม แต่ละขณะเท่านั้นจริงๆ และที่สำคัญเวลาฟังธรรม ฟังในเรื่องของนามธรรมและรูปธรรม ก็คือฟังเรื่องของสภาพธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน ให้รู้ให้เข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นลักษณะของนามธรรมและลักษณะของรูปธรรม แต่ละอย่างๆ เท่านั้นจริงๆ เพื่อละคลายความเห็นผิด และความไม่รู้ต่อไป ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เรียนถามว่าเมื่อศึกษาธรรมะแล้วมีความรุ้สึกเบื่อหน่ายสังคมและการคลุกคลีด้วยหมุ่คณะใน
ขณะนั้นเป็นอกุศลหรือไม่คะ
เรียนความเห็นที่ 6 ครับ พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดครับ เพราะเป็นเรื่องของปัญญา ความเบื่อหน่าย มี 2 อย่างเบื่อหน่ายด้วยปัญญา กับเบื่อหน่ายด้วยความรู้สึกที่เป็นโทสะ เบื่อหน่ายด้วยปัญญาด้วยความเห็นโทษของการคลุกคลี ว่าเมื่อมีการคลุกคลี อกุศลก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นจากความคลุกคลีได้ นี่คือเห็นโทษด้วยปัญญา แต่เบื่อหน่ายด้วยโทสะเพราะไม่ชอบความวุ่นวาย เกิดความรู้สึกไม่ชอบผู้คนมากมาย ขณะจิตขณะนั้นมีความรู้สึกไม่ชอบ ที่เป็นโทสะ ขณะนั้นจึงไม่ใช่ความเบื่อหน่ายด้วยปัญญา แต่เป็นความเบื่อหน่ายที่เป็นอกุศลที่เป็นโทสะครับ ดังนั้นจะเป็นอกุศลหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับจิตของผู้นั้นเองครับว่าเป็นอย่างไรครับ แต่ควรเข้าใจว่า เป็นธรรมดาที่ย่อมมีความรู้สึกอย่างนี้ ที่สำคัญผู้มีปัญญา สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ เพราะอยู่ด้วยความเห็นถูกและความเข้าใจครับ ขออนุโมทนา
พอดีเห็นความคิดเห็นที่ 4 เอ่ยถึงพระจูฬปันถก กระผมก็เลยเกิดความคิดขึ้นมา
ว่า พระจูฬปันถกนั้นตามประวัติบอกว่าท่านบวชแล้วกลายเป็นคนปัญญาทึบ เชื่อว่าท่าน
ก็คงไม่ได้ฟังธรรมบ่อยๆ ถึงฟังก็น่าจะไม่เข้าใจ ซึ่งก็เท่ากับไม่ได้ฟังนั่นเอง ที่ท่านได้
บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก็เพราะพระพุทธองค์ประทานผ้าขาวให้ท่านลูบคลำ ท่าน
พิจารณาเห็นความเศร้าหมองของผ้าขาวเพราะถูกลูบคลำ จึงได้เกิดปัญญา เจริญ
วิปัสสนาจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
จะเห็นได้ว่า จุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่การฟังธรรมบ่อยๆ มากๆ แต่กลับไปอยู่ที่กลวิธี
ในการพิจารณาธรรม เพราะฉะนั้นถ้าเรามาช่วยกันศึกษาหากลวิธีในการพิจารณาธรรม
แล้วนำมาบอกให้ถูกกับจริตอัธยาศัยของญาติธรรมแต่ละท่าน จะไม่ตรงกว่าหรือครับ
(แต่ก็ยังต้องฟังธรรมอยู่นะครับ ทิ้งไม่ได้ เพราะแม้แต่พระพุทธองค์ก็ยังทรงฟังธรรม)
ขอท่านผู้รู้โปรดเมตตาชี้แนะด้วยครับ
เรียนความเห็นที่ 8 ครับ
หากเราย้อนศึกษาประวัติของพระเถระแต่ละรูปในอดีต สมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
จะเห็นได้ว่า ท่านได้อบรมปัญญา ศึกษาพระธรรมมา ฟังพระธรรมมาแล้วอย่างมาก
จนชาติสุดท้ายของท่าน ในสมัยพระพุทธเจ้าของเรา น้ำจะเต็มตุ่มอยู่แล้ว จึงเต็ม
ได้ไม่ยาก แต่ต้องมองย้อนไปในอดีตชาตินับไม่ถ้วนด้วยครับ เพราะท่านก็ต้องฟัง
พระธรรม ศึกษาพระธรรมมาเนิ่นนานเช่นกันครับ ดังเช่น ท่านพระจูฬปันถก หากเรา
มองเพียงชาตินี้ก็คิดว่าบรรลุไม่ยาก นิดเดียว แต่หากย้อนไปในอดีตชาติ ดังเช่น
สมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะ ท่านเป็นภิกษุรูปหนึ่งและได้อบรมปัญญา จนเป็นผู้มีปัญญา
มากแล้วแม้ในมัยนั้น เพียงแต่ว่าในชาตินั้นท่านไปดูถูก ดูหมิ่น พระรูปหนึ่งที่ท่านไม่
ฉลาด จำไม่ได้ แม้เพียงหัวข้อ เพราะกรรมนั้นเอง ในชาติสมัยพระพุทธเจ้าของเรา
ท่านพระจูฬปันถก ท่านถึงจำข้อความธรรมแม้เพียงสั้นๆ ไม่ได้ อันเกิดจากกรรมนั้น
ให้ผล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านไม่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมมา ปัญญาก็
สะสมมาด้วยในอดีตชาติ ที่ท่านเคยมีปัญญาในสมัยพระพุทธกัสสปะ เมื่อกรรมที่
ทำให้ท่านไม่ฉลาดหมดไป ปัญญาที่สะสมมามีอยู่ พระพุทธองค์ทรงทราบจริต
อัธยาศัยของท่านจูฬปันถก จึงประทานธรรม ให้ท่านจูฬปันถก พิจารณาด้วยความ
เข้าใจพระธรรมที่สะสมมามาก จากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เมื่อท่านได้ฟังสิ่ง
ที่เคยศึกษามา ฟังมา ท่านก็เข้าใจและบรรลุธรรมได้เพียงพระธรรมที่พระองค์ให้
พิจารณา นั่นแสดงถึงว่า ท่านจูฬปันถก บรรลุด้วยพุทธเวไนย คือ บรรลุด้วยอาศัย
พระพุทธเจ้า แต่บางบุคคลก็บรรลุด้วยพระธรรมที่ได้ศึกษา เรียกว่า ธรรมเวไนย เมื่อ
พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เป็นต้น ส่วนบางบุคคลก็บรรลุด้วย สาวกของพระ
พุทธเจ้าแสดงธรรม เรียกว่า สาวกเวไนย ดังนั้นจะเห็นว่าจะขาดการฟังพระธรรม
ไม่ได้ แม้ในอดีตชาติท่านก็สะสมมาครับ และที่สำคัญผู้ที่จะรู้อดีต อัธยาศัยและจริต
ของสัตว์โลก ก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง ดังเช่นเรื่องบุตรของนายช่างทอง พระสารีบุตร
ยังให้ธรรมที่ผิดกับจริต ต้องเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและพระองค์ก็ประทานธรรมที่ถูก
กับท่านและได้บรรลุ เมื่อมาในสมัยนี้ ใครจะรู้จริตของเราเองได้ และจะหาจริตได้
อย่างไร ในเมื่อไม่ใช่พระพุทธเจ้า และสะสมอะไรมาบ้าง ก็ไม่รู้เลย ในเมื่อพระพุทะเจ้า
ปรินิพพานแล้ว การอาศัยฟังพระธรรม ก็บรรลุหรือปัญญาเจริญขึ้นได้ ด้วยเรียกว่า ธรรม
เวไนย นั่นเองครับ แต่สมัยพุทธกาล มีพระพุทธเจ้าและบุคคลนั้นจะบรรลุจากพระ
พุทธเจ้าที่เป็นพุทธเวไนย พระองค์จึงประทานธรรมที่ถูกกับบบุคคลนั้นครับ แต่เราไม่
ใช่พุทธเวไนยแน่นอนเพราะพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วครับ ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ นอกจากจะได้ความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นแล้ว คำตอบ
นี้ยังทำให้กระผมได้คำศัพท์ที่ควรแก่การจดจำไว้เป็นหลักความรู้อีก 3 คำ คือ พุทธเวไนย
ธรรมเวไนย และ สาวกเวไนย
ทั้ง 3 คำนี้ ฟังดูสอดคล้องกับพระรัตนตรัยชอบกล เป็นความบังเอิญ หรือว่าหลัก
ต้องเป็นอย่างนี้เองครับ
อย่างไรก็ตาม สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณครับ ที่ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ