[เล่มที่ 68] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 969
โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
๕๑. อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 68]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 969
โสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
[๒๕๔] ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณอย่างไร?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยสมาธิยิ่งด้วยฉันทะและสังขารอันเป็นประธาน... ภิกษุนั้นย่อมอบรมข่มจิต ทำจิตให้อ่อน ควรแก่การงาน ในอิทธิบาท ๔ ประการนี้ ครั้นแล้วย่อม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 970
มนสิการถึงเสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่ไกล แม้ในที่ใกล้ แม้เป็นเสียงหยาบ แม้เป็นเสียงละเอียด แม้เป็นเสียงละเอียดยิ่งนัก ย่อมมนสิการถึงเสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในทิศตะวันออก ในทิศตะวันตก ในทิศเหนือ ในทิศใต้ แม้ในทิศอาคเนย์ แม้ในทิศพายัพ แม้ในทิศอีสาน แม้ในทิศหรดี แม้ในทิศเบื้องต่ำ แม้ในทิศเบื้องบน ภิกษุนั้นมีจิตอันอบรมแล้วอย่างนั้น บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ เธอย่อมฟังเสียงได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งในที่ไกลและในที่ใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่าง หรืออย่างเดียว ด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ.
๕๑. อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส
๒๕๔] พึงทราบวินิจฉัยในโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส ดังต่อไปนี้.
ท่านกล่าวบทมีอาทิว่า ทูเรปิ สทฺทานํ - แห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 971
ไกล เพื่อชี้แจงถึงอุบายของภิกษุผู้เป็นอาทิกรรมิก - ผู้ทำกรรมครั้งแรก ประสงค์จะยังทิพโสตให้เกิด.
ในบทเหล่านั้นบทว่า ทูเรปี สทฺทานํ สทฺทนิมิตฺตํ - เสียงเป็นนิมิตแห่งเสียงทั้งหลาย แม้ในที่ไกล คือ เสียงในระหว่างแห่งเสียงทั้งหลายในที่ไกล. จริงอยู่ เสียงนั่นแหละ เป็นสัททนิมิตด้วยสามารถทำเป็นนิมิต. แม้เมื่อท่านกล่าวว่า ทูเร ก็ได้แก่ในที่เป็นคลองแห่งเสียงตามปกตินั่นเอง.
บทว่า โอฬาริกานํ คือ เสียงหยาบ.
บทว่า สุขุมานํ คือ เสียงละเอียด.
บทว่า สณฺหสณฺหานํ คือ เสียงละเอียดยิ่ง. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านกล่าวถึงเสียงละเอียดยิ่ง. ภิกษุผู้เพ่งเป็นอาทิกรรมิกประสงค์จะยังญาณนี้ให้เกิด เข้าฌานอันมีอภิญญาเป็นบาท ครั้นออกแล้วมีจิตเป็นบริกรรมสมาธิ ก่อนอื่นควรคำนึงถึงเสียงหยาบของสีหะเป็นต้น ในที่ไกลเป็นคลองแห่งหูตามปกติ. ควรคำนึงถึงเสียงละเอียดยิ่งโดยตามลำดับ ตั้งแต่เสียงหยาบทั้งปวงอย่างนี้ คือ เสียงระฆังในวัด เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงสาธยายของสามเณร และภิกษุหนุ่มผู้สาธยาย ด้วย กำลังทั้งหมด เสียงมีอาทิว่า... อะไรพระคุณเจ้า. อะไรอาวุโส. ของภิกษุผู้กล่าวกถาตามปกติ เสียงนก เสียงลม เสียงเท้า เสียงน้ำเดือดดังจิจิ เสียงใบตาลแห้งเพราะแดด เสียงมดดำมดแดงเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 972
อนึ่ง ภิกษุกระทำอยู่อย่างนี้ควรมนสิการถึงสัททนิมิตในทิศ ๑๐ มีทิศตะวันออกเป็นต้น ทิศหนึ่งๆ โดยลำดับ. ตามนัยดังได้กล่าวแล้ว. อันภิกษุผู้มนสิการ ควรมนสิการด้วยจิตเป็นไปในมโนทวาร ด้วยการเงี่ยหูตามปกติ ในเสียงที่หูได้ยินตามปกติ. เสียงเหล่านั้นย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้มีจิตปกติ. แต่ปรากฏอย่างยิ่งแก่ภิกษุผู้มีจิตบริกรรมสมาธิ. เมื่อภิกษุมนสิการสัททนิมิตอยู่อย่างนี้ มโนทวาราวัชชนะย่อมเกิดเพราะทำอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในเสียงเหล่านั้นว่า บัดนี้ทิพโสตธาตุจักเกิด. เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับแล้วชวนจิต ๔ หรือ ๕ ดวง ย่อมแล่นไป. กามาวจรจิตอันมีชื่อว่า บริกรรม อุปจาร อนุโลม โคตรภู ๓ หรือ ๔ ดวง ย่อมแล่นไป. อัปปนาจิตที่ ๔ ที่ ๕ อันเป็นไปในจตุตถฌานอันเป็นรูปาวจร ย่อมแล่นไป.
ญาณอันเกิดขึ้นด้วยอัปปนาจิตนั้น ชื่อว่าทิพโสตธาตุญาณ. ภิกษุทำญาณนั้นให้มีกำลังกำหนดเพียงองคุลีหนึ่งว่า ในระหว่างนี้เราจะฟังเสียง แล้วพึงเจริญ. แต่นั้นพึงเจริญตราบเท่าถึงจักรวาลด้วยสามารถมีอาทิ ๒ องคุลี ๔ องคุลี ๘ องคุลี คืบ ศอก ภายในห้อง หน้ามุข บริเวณปราสาท สังฆาราม โคจรคามและชนบท หรือกำหนดแล้วๆ พึงเจริญให้ยิ่งไปกว่านั้น. ภิกษุนั้นบรรลุอภิญญาอย่างนี้ แม้ไม่เข้าฌาน อันเป็นบาทอีก ย่อมได้ยินเสียงที่ไปในภายในของโอกาสที่ถูกต้องด้วยอารมณ์แห่งฌานเป็นบาท ด้วยอภิญญาญาณ. เมื่อได้ยินอย่างนี้หากว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 973
ได้มีโกลาหลเป็นอันเดียวกันด้วยเสียงสังข์ กลองและบัณเฑาะว์เป็นต้น ตลอดถึงพรหมโลก. เพราะความเป็นผู้ใคร่เพื่อให้กำหนดเฉพาะอย่างเดียว ย่อมสามารถให้กำหนดว่า นี้เสียงสังข์. นี้เสียงกลอง. เมื่อได้ยินเสียงมีประโยชน์ด้วยอภิญญาญาณ ภิกษุย่อมรู้อรรถด้วยกามาวจรจิตในภายหลัง. ทิพโสตย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้มีหูเป็นปกติ. มิได้เกิดแก่ภิกษุหูหนวก. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ในภายหลังเมื่อหูปกติ แม้เสื่อมไป ทิพโสตก็ไม่เสื่อมไปด้วยดังนี้.
ในบทนี้ว่า โส ทิพฺพาย โสตธาตุยา - โสตธาตุอันเป็นทิพย์ มีความดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า ทิพย์ เพราะเช่นกับทิพย์. ปสาทโสตธาตุเป็นทิพย์สามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกล เพราะพ้นจากอุปกิเลส ไม่พัวพันด้วยดี เสมหะและเลือดเป็นต้น เพราะเทวดาทั้งหลายเกิดด้วยกรรมอันสุจริต. ญาณโสตธาตุก็เช่นกัน. เกิดด้วยกำลังแห่งการเจริญ ความเพียรของภิกษุนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิพย์ เพราะเป็นเช่นกับทิพย์.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทิพย์ เพราะได้ด้วยสามารถแห่งทิพวิหารธรรม. และเพราะอาศัยทิพวิหารธรรมด้วยตน. ชื่อว่าโสตธาตุ เพราะ อรรถว่าฟัง และเพราะอรรถว่าไม่มีชีวะ. อนึ่ง เป็นดุจโสตธาตุด้วยทำกิจของโสตธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าโสตธาตุ. ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์นั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้า 974
บทว่า วิสุทฺธาย คือ บริสุทธิ์ไม่มีอุปกิเลส.
บทว่า อติกฺกนฺตมานุสิกาย - ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ คือ ด้วยทิพโสตอันล่วงอุปจารของมนุษย์ก้าวล่วงมังสโสตธาตุของมนุษย์ด้วยการฟังเสียง.
บทว่า อุโภ สทฺเท สุณาติ คือ ฟังเสียงสองอย่าง. เสียงสองอย่าง คือ อะไร? คือ ทั้งเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์. ท่านอธิบายว่า เสียงของเทวดา และของมนุษย์. ด้วยบทนี้พึงทราบการถือเอาที่อยู่.
บทว่า เย ทูเร สนฺติเก จ - ทั้งในที่ไกลและในที่ใกล้ ท่านอธิบายว่า ย่อมได้ยินเสียงในที่ใกล้ แม้ในจักรวาลอื่น และในที่ใกล้โดยที่สุด แม้เสียงสัตว์ที่อยู่ในกายของตน. ด้วยบทนี้พึงทราบการถือเอาไม่มีที่อยู่ ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาโสตธาตุวิสุทธิญาณนิทเทส