๗. ลฏุกิกชาดก คติของคนมีเวร
โดย บ้านธัมมะ  24 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35813

[เล่มที่ 58] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 757

๗. ลฏกิกชาดก

คติของคนมีเวร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 58]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 757

๗. ลฏกิกชาดก

คติของคนมีเวร

[๗๓๒] ดิฉันขอไหว้พระยาช้างผู้มีกําลังเสื่อมในกาลที่มีอายุได้หกสิบปีแล้ว ผู้อยู่ในป่าเป็นเจ้าโขลง เพรียบพร้อมด้วยบริวารยศนั้นดิฉันขอทําอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสอง ขอท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อยๆ ของฉันผู้มีกําลัทุรพลเสียเลย.

[๗๓๓] ดิฉันขอไหว้พระยาช้างผู้เที่ยวไปตัว-เดียว ผู้อยู่ในป่า เที่ยวหาอาการกินตามเชิงภูเขา ดิฉันขอทําอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสองขอท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อยๆ ของดิฉันผู้มีกําลังทุรพลเสียเลย.

[๗๓๔] แน่ะนางนกไส้ เราจักฆ่าลูกน้อยของเจ้าเสีย เจ้ามีกําลังน้อยจักทําอะไรเราได้เราจะขยี้นกไส้อย่างเจ้าตั้งแสนตัวให้ละเอียดไปด้วยเท้าข้างซ้าย.

[๗๓๕] กิจที่จะพึงทําด้วยกําลังกายย่อมสําเร็จไม่ได้ในที่ทั้งปวง เพราะกําลังกายของคน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 758

พาล ย่อมมีเพื่อฆ่าคนอื่น แน่ะพระยาช้างท่านผู้ใดฆ่าลูกน้อยๆ ของเราผู้มีกําลังทุรพลเราจักทําสิ่งที่ไม่ใช่ความเจริญให้แก่ท่านผู้นั้น.

[๗๓๖] ท่านจงดูกา นางนกไส้ กบและแมลงวันหัวเขียว สัตว์ทั้งสี่เหล่านี้ได้ร่วมใจกันฆ่าช้างเสียได้ ท่านจงเห็นคติแห่งเวรของตนมีเวรทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ท่านทั้งหลายอย่าได้กระทําเวรกับใครๆ ถึงจะไม่เป็นที่รักใคร่กันเลย.

จบ ลฏกิกชาดกที่ ๗

อรรถกถาลฏกิกชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงปรารภพระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคําเริ่มต้นว่า วนฺทามิ ตํกุฺชรํ สฏฺิหายํ ดังนี้ :-

ได้ยินว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นคนกักขฬะหยาบช้า สาหัส พระเทวทัตนั้น ไม่มีแม้แต่ความกรุณาในหมู่สัตว์.พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรง


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 759

ทราบว่า เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตนี้ก็เป็นผู้ไม่มีความกรุณาเหมือนกัน แล้วทรงนําเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกําเนิดช้าง เจริญวัยแล้วมีร่างกายใหญ่น่าเลื่อมในเป็นจ่าโขลงมีช้างแปดหมื่นเป็นบริวาร อยู่ในหิมวันตประเทศ. ครั้งนั้น นางนกไส้ตัวหนึ่งตกฟองให้ในที่เป็นที่เที่ยวไปของพวกช้าง. ลูกนกทั้งหลายทําลายฟองไข่ที่แก่ๆ ออกมาเมื่อลูกนกเหล่านั้น. ปีกยังไม่งอกไม่สามารถจะบินได้เลย พระมหาสัตว์อันช้างแปดหมื่นห้อมล้อม เที่ยวหาอาหารไปถึงประเทศถิ่นนั้น. นางนกไส้เห็นดังนั้นจึงคิดว่า พระยาช้างนี้จักเหยียบย่ําลูกทั้งหลายของเราตาย เอาเถอะ เราจักขอการอารักขาอันประกอบด้วยธรรมกะพระยาช้างนั้น เพื่อจะป้องกันลูกน้อยทั้งหลายของเรา.ครั้นคิดแล้ว นางนกนั้นจึงประคองปีกทั้งสองข้างเข้าด้วยกันแล้วยืนอยู่ข้างหน้าพระยาช้างนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าพเจ้าขอไหว้พระยาช้างผู้มีกําลังเสื่อมโดยกาลที่มีอายุได้ ๖๐ ปี ผู้อยู่ในป่าเป็นเจ้าโขลง เพรียบพร้อมด้วยบริวารยศนั้นข้าพเจ้าขอทําอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสอง ขอท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อยๆ ของข้าพเจ้าผู้ยังมี


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 760

กําลังทุรพลอยู่เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏิหายนํ ได้แก่ ผู้มีกําลังกายเสื่อมโดยเวลามีอายุ ๖๐ ปี. บทว่า ยสสฺสึ ได้แก่ ผู้เพรียบพร้อมด้วยบริวาร. บทว่า ปกฺเขหิ ตํ อฺชลิกํ ความว่า ข้าพเจ้าขอกระทําอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสอง.

พระมหาสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนนางนกไส้ เจ้าอย่าได้คิดเสียใจเลย เราจักรักษาบุตรน้อยๆ ของเจ้า แล้วจึงยืนคล่อมอยู่เบื้องบนลูกนกทั้งหลาย เมื่อช้างแปดหมื่นเชือกผ่านไปแล้วจึงเรียกนางนกไส้มาพูดว่า ดูก่อนนางนกไส้ มีช้างเชือกหนึ่งซึ่งมีปกติเที่ยวไปผู้เดียวจะมาข้างหลังพวกเรา ข้างนั้นจักไม่กระทําตามคําของเราทั้งหลายเมื่อช้างนั้นมาถึง เจ้าพึงอ้อนวอนช้างแม้นั้น กระทําความปลอดภัยแก่ลูกน้อยทั้งหลาย ดังนี้แล้วหลีกไป. ฝ่ายนางนกไส้นั้นก็กระทําการต้อนรับช้างนั้นเอาปีกทั้งสองกระทําอัญชลี แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ข้าพเจ้าขอไหว้พระยาช้างผู้เที่ยวไปผู้เดียว ผู้อยู่ในป่า เที่ยวหาอาหารกินตามเชิงเขา ข้าพเจ้าขอทําอัญชลีท่านด้วยปีกทั้งสอง ขอท่านอย่าได้ฆ่าลูกน้อยๆ ของข้าพเจ้า ซึ่งยังมีกําลังทุรพลอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพตสานุโคจรํ ความว่าผู้หาอาหารที่ภูเขาหินทึบและที่ภูเขาดินร่วน


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 761

พระยาช้างนั้นได้ฟังคําของนางนกไส้นั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

แน่ะนางนกไส้ เราจะฆ่าลูกน้อยของเจ้าเสีย เจ้ามีกําลังน้อยจักทําอะไรเราได้เราจะขยี้นกไส้อย่างเจ้าตั้งแสนตัวให้ละเอียดด้วยเท้าข้างซ้าย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วธิสฺสามิ เต ความว่า พระยาช้างกล่าวว่า เพราะเหตุไร เจ้าจึงวางลูกน้อยทั้งหลายไว้ในทางเป็นที่เที่ยวไปของเรา เพราะเหตุที่เจ้าวางไว้ ฉะนั้นเราจึงจักฆ่าลูกน้อยทั้งหลายของเจ้า. บทว่า กึ เม ตุวํ กาหสิ ความว่า เจ้าเป็นผู้ทุรพลจักกระทําอะไรแก่เราผู้มีเรี่ยวแรงมากมาย. บทว่า โปถเปยฺยํ (๑) ความว่า แม้เราจะพึงทํานางนกไส้เช่นเจ้าตั้งแสนตัวให้แหลกละเอียดด้วยเท้าซ้าย ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงเท้าขวา.ก็แล ครั้นช้างนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ทําลูกน้อยของนางนกไส้นั้นให้แหลกละเอียดด้วยเท้า แล้วทําให้ลอยไปด้วยน้ำมูตร ร้องบันลือเสียงแล้วก็หลีกไป. นางนกไส้จับอยู่ที่กิ่งไม้จึงกล่าวว่า แน่ะช้างบัดนี้ เจ้าจงบันลือไปก่อน ต่อล่วงไป ๒ - ๓ วัน เจ้าจักเห็นการกระทําของเรา เจ้าย่อมไม่รู้ว่ากําลังความรู้ยิ่งใหญ่กว่ากําลังกายข้อนั้นจงยกให้เรา เราจักให้เจ้ารู้กําลังความรู้นั้น เมื่อจะคุกคามข้างนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-


(๑) ในบาลีเป็น ทุททุภายชาดก. บาลี เป็น โปถเยฺยํ


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 762

กิจที่จะพึงทําด้วยกําลังกายย่อมสําเร็จไม่ได้ในที่ทั้งปวง เพราะกําลังกายของตนพาล ย่อมมีเพื่อฆ่าคนอื่น แน่ะพระยาช้างท่านผู้ใดฆ่าลูกน้อยๆ ของเราผู้มีกําลังทุรพลเราจักทําสิ่งที่ไม่ใช่ความเจริญให้แก่ท่านผู้นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พเลน ได้แก่ กําลังกาย. บทว่าอนตฺถํ ได้แก่ ความไม่เจริญ. บทว่า โย เม ความว่า ท่านผู้ใดฆ่าคือพิฆาตลูกน้อยๆ ผู้ยังทุรพลของเรา.

นางนกไส้นั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงอุปัฏฐากกาตัวหนึ่งอยู่ ๒ - ๓ วัน อันกานั้นยินดีแล้วจึงกล่าวว่า เราจะกระทําอะไรให้แก่ท่าน จึงกล่าวว่า นาย กิจอย่างอื่นที่ท่านจะพึงทําแก่ข้าพเจ้าไม่มีแต่ข้าพเจ้าหวังให้ท่านเอาจะงอยปากประหารนัยน์ตาทั้งสองข้างของช้างที่มีปกติเที่ยวไปผู้เดียวเชือกหนึ่งให้แตก. นางนกไส้นั้นอันกานั้นรับคําว่า ได้ จึงไปอุปัฏฐากแมลงวันหัวเขียวตัวหนึ่ง อันแมลงวันหัวเขียวแม้นั้นก็กล่าวว่า เราจะทําอะไรให้แก่ท่าน จึงกล่าวว่า เมื่อนัยน์ตาทั้งสองข้างของช้างที่มีปกติเที่ยวไปผู้เดียว แตกไปเพราะเหตุนี้แล้ว ข้าพเจ้าปรารถนาให้ท่านหยอดไข่ขังลงในนัยน์ตาทั้งสองข้างนั้น เมื่อแมลงวันหัวเขียวแม้นั้นกล่าวว่า ได้ จึงไปอุปัฏฐากกบตัวหนึ่งอันกบนั้นกล่าวว่า เราจะทําอะไรให้แก่ท่าน จึงกล่าวว่า ในกาลใด


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 763

ช้างตัวหนึ่งที่มีปกติเที่ยวไปผู้เดียว เป็นช้างตาบอดแล้วเที่ยวแสวงหาน้ำดื่ม ในกาลนั้น ท่านพึงเกาะอยู่ที่ยอดเขาแล้วส่งเสียงร้อง เมื่อช้างนั้นขึ้นถึงยอดเขา พึงลงมาส่งเสียงร้องอยู่ที่เหว ข้าพเจ้าหวังการกระทํามีประมาณเท่านี้จากสํานักของท่าน. กบนั้นได้ฟังคําของนางนกไส้นั้นแล้ว จึงรับคําว่า ได้. อยู่มาวันหนึ่งกาเอาจะงอยปากทําลายตาทั้งสองข้างของช้างแตกแล้ว. แมลงวันจึงหยอดไข่ขังลงไปที่นัยน์ตา. ช้างนั้นถูกตัวหนอนทั้งหลายชอนไชอยู่ ได้รับทุกขเวทนาอยากจะดื่มน้ำเป็นกําลัง จึงเที่ยวแสวงหาน้ำดื่ม. ในกาลนั้น กบจึงเกาะอยู่บนยอดเขาส่งเสียงร้อง ช้างคิดว่า น้ำดื่มจักมี ณ ที่นี้ จึงขึ้นไปยังภูเขา. ลําดับนั้น กบจึงลงมาเกาะอยู่ที่เหวส่งเสียงร้อง. ช้างคิดว่า น้ำดื่มจักมี จึงบ่ายหน้าไปทางเหว ได้ลื่นพลัดตกลงไปที่เชิงเขาถึงสิ้นชีวิต. นางนกไส้รู้ว่าช้างนั้นตายแล้ว จึงร่าเริงดีใจว่าเราเห็นหลังปัจจามิตรแล้ว จึงเดินไปๆ มาๆ บนร่างของช้างนั้นแล้วก็ตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าเวร ไม่ควรทํากับใครๆ สัตว์ทั้ง ๔ เหล่านี้ ร่วมกันแล้ว ทําช้างผู้ถึงพร้อมด้วยกําลัง ให้ถึงสิ้นชีวิตได้ แล้วตรัสอภิสัมพุทธคําถานี้ว่า :-

ท่านจงดูกา นางนกไส้ กบ และแมลงวันหัวเขียว สัตว์ทั้ง ๔ เหล่านี้ได้ร่วมใจกันฆ่าช้างเสียได้ ท่านทั้งหลายจงเห็นคติ


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้า 764

แห่งเวรของตนผู้มีเวรทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายอย่าพึงกระทําเวรกับใครๆ แม้ผู้ไม่เป็นที่รักใคร่เลย.

ครั้นตรัสแล้ว จึงทรงประชุมชาดก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺส นี้ เป็นคําเรียกซึ่งไม่กําหนดแน่นอนลงไป. แต่เพราะตรัสหมายเอาภิกษุทั้งหลาย จึงเป็นอันตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทั้งหลายจงเห็น. บทว่า เอเตได้แก่ สัตว์ทั้ง ๔ ได้รวมกัน. บทว่า อฆาเตสุํ ได้แก่ ฆ่าช้างนั้น.บทว่า ปสฺส เวรสฺส เวรินํ ความว่า ท่านทั้งหลายจงเห็นคติแห่งเวรของคนที่มีเวรกัน.

พระศาสดาครั้นทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ช้างตัวที่มีปกติเที่ยวไปผู้เดียว ในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต ส่วนช้างจ่าโขลงในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาลฏกิกชาดกที่ ๗