๗. เหตุสูตร
โดย บ้านธัมมะ  8 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36980

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 477

๗. เหตุสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 477

๗. เหตุสูตร

[๔๒๙] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามภาวะแห่งความแน่นอนและความไม่แน่นอน ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญา มีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น.

[๔๓๐] ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 478

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น ใช่ไหม?

ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ภ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ เสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น ใช่ไหม?

ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ภ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 479

ฯลฯ เสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น ใช่ไหม?

ภิ. ไม่พึงเกิดขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ นี้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราตถาคตเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

จบ เหตุสูตร

๗. อรรถกถาเหตุสูตรที่ ๗

บทว่า ปจฺจโย ในบทนี้ว่า นตฺถิ เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย เป็นไวพจน์ของเหตุนั่นเอง.

อเหตุกวาทีบุคคลพากันปฏิเสธปัจจัยแห่งความเศร้าหมองแห่งสังกิเลสธรรมทั้งหลาย มีกายทุจริตเป็นต้น และปัจจัยแห่งความบริสุทธิ์แห่งโวทานธรรมทั้งหลาย มีกายสุจริตเป็นต้น ด้วยบททั้งสอง (นตฺถิ เหตุ นตฺถิ ปจฺจโย).

สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ดำรงอยู่ในพลังของตนอันใด แล้วจึงบรรลุถึงความเป็นเทวดาบ้าง ความเป็นมารบ้าง ความเป็นพรหมบ้าง สาวกโพธิญาณบ้าง พระสัพพัญญุตญาณบ้าง อเหตุกวาทีบุคคลปฏิเสธพลังนั้น ด้วยบทว่า นตฺถิ พลํ.

บทอื่นทั้งหมดมีอาทิคือ นตฺถิ วิริยํ เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น แต่บทเหล่านี้ที่จัดแยกกันไว้ต่างหากก็โดยจะปฏิเสธคำพูดที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ผลนี้พึงบรรลุได้ด้วยความเพียรนั้น ผลนี้พึงบรรลุด้วย


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 480

เรี่ยวแรงของบุรุษ ผลนี้พึงบรรลุด้วยความบากบั่นของบุรุษ.

อเหตุกวาทีบุคคล หมายถึง สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหลือหลอ มี อูฐ โค และฬาเป็นต้น ด้วยบทว่า สพฺเพ สตฺตา.

อเหตุกวาทีบุคคล กล่าวว่า สพฺเพ ปาณา ด้วยอำนาจจุดมุ่งหมายมีอาทิคือ สัตว์มีอินทรีย์อย่างเดียวกัน.

อเหตุกวาทีบุคคล กล่าวว่า สพฺเพ ภูตา หมายเอา สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในกระเปาะฟองไข่และมดลูก.

อเหตุกวาทีบุคคล กล่าวว่า สพฺเพ ชีวา หมายเอา พืชทั้งหลาย มีข้าวสาลี ข้าวเหนียว และข้าวละมานเป็นต้น

อธิบายว่า ในสิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้น พืชเหล่านั้นที่สำคัญกันว่าเป็นชีวะเพราะความที่มันงอกขึ้นได้.

บทว่า อวสา อพลา อวิริยา ความว่า สิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้น ไม่มีอำนาจ พลัง หรือ วิริยะของตนเอง.

ในบทว่า นิยติสงฺคติภาวปริณตา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิยติ ได้แก่ ความเป็นผู้มีโชคดีและโชคร้าย.

บทว่า สงฺคติ ได้แก่ การไปในอภิชาติ (กำเนิด) นั้นๆ บรรดาอภิชาติ ๖ อย่าง.

บทว่า ภาโว ได้แก่ สภาวะนั่นเอง.

สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายแปรปรวนไป คือ ถึงภาวะนานาประการตามสภาพแห่งความมีโชคดีและโชคร้าย และสภาพแห่งการไป (ในอภิชาติต่างๆ). แท้จริง อเหตุกวาทีบุคคลแสดงว่า ผู้ใดจะต้องเป็นไปอย่างใด ผู้นั้นก็จะต้องเป็นไปอย่างนั้นทีเดียว (แต่) ผู้ใดจะไม่เป็นไป


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 481

อย่างใด ผู้นั้นก็จะไม่เป็นอย่างนั้น แน่นอน.

ด้วยบทวา ฉเสฺววาภิชาตีสุ อเหตุกวาทีบุคคลแสดงว่า สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ดำรงชีวิต เสวยสุขและทุกข์อยู่ในอภิชาติ ๖ เท่านั้น ไม่มีภูมิสำหรับเสวยสุขและทุกข์แห่งอื่น.

จบ อรรถกถาเหตุสูตร