จะทำอย่างไร ถึงจะขจัดนิวรณ์ ๕ ได้ การขจัดนิวรณ์ ต้องด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ใช่หรือไม่
นิวรณ์เป็นธรรมฝ่ายอกุศล อกุศลทั้งหลาย ละได้ด้วยกุศล การละอกุศลมีหลายระดับ ตั้งแต่ ละชั่วขณะ (ตทังคะ) ด้วยมหากุศลกามาวจร สติปัฏฐาน และวิปัสสนาญาณ ละด้วยการข่มไว้ ด้วยกุศลขั้นฌานจิต รูปาวจร อรูปาวจร ละเป็นสมุทเฉทด้วยโลกุตตรปัญญา ฉะนั้น การดับนิวรณ์ไม่ให้เกิดขึ้นอีกเลย ด้วยปัญญาขั้นโลกุตตรปัญญา ปัญญาขั้นอื่นๆ ละได้ไม่เป็นสมุทเฉท แต่ปัญญาในสติปัฏฐาน ย่อมกระทำกิจ ค่อยๆ ขัดเกลานิวรณ์ ให้เบาบางลง
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
นิวรณ์ ๕ [นีวรณสูตร]
การละนิวรณ์ได้เด็ดขาด
นิว วรณ์ คือ ปิดกั้นจิตไว้
ใช่ ด้วยวิปัสสนากรรมฐาน
ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นละนิวรณ์ได้ชั่วขณะ นิวรณ์เป็นเครื่องกั้น มรรค ผล นิพพาน ละนิวรณ์ได้ ด้วยการอบรมปัญญาจนกว่าจะเป็น พระอริยบุคลตามลำดับขั้น ถ้ากุศลไม่เกิด ไม่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นก็เต็มไปด้วยนิวรณ์ค่ะ
การละนิวรณ์จนหมดด้วยการอบรมสติปัฏฐาน เท่านั้น
การจะละนิวรณ์ จนหมดไม่มีเหลือ มีหนทางเดียวเท่านั้นคือ อบรมเจริญสติปัฏฐาน ระลึกรู้สภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่า ไม่ใช่เรา แม้นิวรณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เราห้ามไม่ได้ ที่จะไม่ให้เกิดนิวรณ์ ในชีวิตประจำวัน เพราะมีเหตุปัจจัยให้เกิด เช่นกามฉันทนิวรณ์ ความพอใจในรูปเสียง เป็นต้น ก็ยังมีอยู่ แต่หนทางที่จะดับกิเลสไม่มีเหลือ (ดับนิวรณ์) ไม่ใช่ไม่ให้นิวรณ์ไม่เกิด (เป็นไปไม่ได้) แต่รู้จักนิวรณ์ เมื่อเกิดว่าเป็นธัมมะไม่ใช่เรา ดังนั้น นิวรณ์ ไม่ได้อยู่ในหนังสือพระไตรปิฎก ว่าแปลว่าอย่างนี้ คืออย่างนี้ แต่นิวรณ์ อยู่ในชีวิตประจำวันเพราะเป็นธรรม แม้เป็นอกุศลก็เป็นธรรม แต่เรารู้ไหมว่า นิวรณ์ไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงธรรมครับ นี่คือหนทางเดียวอบรมเจริญสติปัฏฐานในชีวิตประจำวัน ขออนุโมทนา
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ เครื่องทำปัญญาให้ทรามกำลัง [สัมปสาทนีสูตร]
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุโมทนาครับ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 907
๒. นิวรณสูตร
[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาปาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนิวรณ์ ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการนี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละนิวรณ์ ๕ประการนี้แล.
จบ นิวรณสูตรที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ