[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 417
๑๐. กุมมาสปิณฑชาดก
ว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 417
๑๐. กุมมาสปิณฑชาดก
ว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส
[๑๑๐๗] ได้ยินว่า การปรนนิบัติพระอโนมทัสสี ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผลหาน้อยไม่ เชิญดูผลของการถวาย ก้อนขนมกุมมาส ที่แห้ง และมีรสจืดชืดเถิด โปรดดูผลแห่งการถวาย ก้อนขนมกุมมาส ที่เป็นเหตุให้เรา มีช้าง โค ม้า ทรัพย์ และข้าวเปลือกมากมาย ทั้งแผ่นดินทั้งสิ้น และนางนารีเหล่านี้ ที่เปรียบด้วยนางอัปสร เชิญดูผลของการถวาย ก้อนขนมกุมมาสเถิด.
[๑๑๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ทรงทำความยิ่งใหญ่ เพราะกุศลธรรม พระองค์ตรัสคาถา ทรงเพลงเสมอๆ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพัฒนารัฐ หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์ มีพระราชหฤทัย ประกอบด้วยปีติอย่างแรงกล้า โปรดบอกหม่อมฉันเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 418
[๑๑๐๙] เราได้เกิด ในตระกูลหนึ่งในนครนี้ นั่นเอง ได้เป็นลูกจ้าง ทำงานให้คนอื่น แต่มีสีลสังวร เราออกไปทำงาน ได้เห็นพระสมณะ ๔ รูป ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และอาจาระ เป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอาสวะ ยังจิตให้เลื่อมใส ในท่านเหล่านั้น แล้วได้ให้ท่านนั่งบนอาสนะ ที่ปูด้วยใบไม้ เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายขนมกุมมาส แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยมือของตนเอง. ผลของกุศลกรรมนั้นของเรา เป็นเช่นนี้ คือ เราได้เสวยราชสมบัตินี้ ที่มีแผ่นดิน อุดมสมบูรณ์กว้างขวาง.
[๑๑๑๐] ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงเป็นอธิบดี ในเพราะกุศลธรรม ขอพระองค์จงทรงพระราชทานก่อน จึงเสวย ขอพระองค์อย่าทรงประมาท ทรงหมุนล้อ คือ พระธรรมเถิด ข้าแต่มหาราช ผู้ทรงเป็นอธิบดี ในเพราะกุศลธรรม ขอพระองค์ อย่าได้ทรงดำรงอยู่ในอธรรม โปรดรักษาทศพิธราชธรรมไว้เถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 419
[๑๑๑๑] ดูก่อนพระธิดา ของพระเจ้าโกศล ผู้เลอโฉม เรานั้นจักประพฤติตามทาง ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ประพฤติมาแล้วเสมอๆ นั้น นั่นเอง พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นที่พอใจของเรา เราต้องการจะได้เห็นท่าน.
[๑๑๑๒] ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ ชาวโกศล คนสวยงาม เธออุปมาเหมือน สาวอัปสร สวยงาม ในท่ามกลางหมู่นารี เหมือนพระเทพเทวี ของท้าวสักกะเทวราช ก็ปานกัน เธอได้ทำความดีอะไรไว้ เพราะเหตุอะไร เธอจึงมีผิวพรรณงาม?
[๑๑๑๓] ข้าแต่พระมหากษัตริย์ หม่อมฉันได้เป็นทาสี ผู้รับใช้ผู้อื่น ของตระกูลกุฏุมพี เป็นผู้สำรวมระวัง เลี้ยงชีพโดยชอบธรรม มีศีล ไม่พบเห็นบาป ในครั้งนั้น หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส ได้สำรวมใจ ถวายภัตตาหาร ที่เขายกให้เป็นส่วนของตน แก่ภิกษุ ผู้กำลังเดินไปบิณฑบาต ผลแห่งธรรมนั้น ของหม่อมฉัน จึงเป็นเช่นนี้.
จบ กุมมาสปิณฑชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 420
อรรถกถากุมมาสปิฑชาดกที่ ๑๐
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ พระนางมัลลิกาเทวี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น กิรตฺถิ ดังนี้.
ความพิสดารว่า พระนางเป็นธิดา ของหัวหน้า นายมาลาการคนหนึ่ง ในนครสาวัตถี มีรูปโฉมเลอเลิศ มีปัญญามาก เวลาพระนางมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา วันหนึ่ง กำลังไปสวนดอกไม้ พร้อมกับหญิงสาวทั้งหลาย หยิบเอาขนมกุมมาส ๓ ก้อน วางไว้ในกระเช้าดอกไม้ เดินไป. เวลาออกไปจากพระนคร พระนางเห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งรัศมีแห่งพระสรีระ มีพระภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม กำลังเสด็จเข้าพระนคร จึงน้อมก้อนขนมกุมมาสเหล่านั้น เข้าไปถวาย. พระศาสดา ทรงยื่นบาตร ที่ท้าวจาตุมมหาราชถวาย ออกรับ. ฝ่ายพระนางวันทา พระบาทของพระตถาคตด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้ยึดเอาปีติมี พระพุทธเจ้า เป็นอารมณ์ ยืนอยู่ที่สมควรข้างหนึ่ง. พระศาสดา เมื่อทรงทอดพระเนตรนาง ได้ทรงกระทำการแย้มให้ปรากฏ. ท่านพระอานนทเถระ จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในการแย้มสรวลของพระตถาคตเจ้า? ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถึงเหตุ แห่งการทรงแย้ม แก่พระอานนท์ ว่า ดูก่อนอานนท์ กุมาริกาคนนี้ จักได้เป็นอัครมเหสี ของพระเจ้าโกศล ในวันนี้ทีเดียว เพราะผลแก่การถวาย ก้อนขนมกุมมาสเหล่านี้. ฝ่าย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 421
นางกุมาริกา ไปสวนดอกไม้แล้ว. วันนั้นเอง พระเจ้าโกศล ทรงรบกับพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงปราชัยในการรบแล้ว เมื่อทรงล่าถอย ได้ทรงม้าต้นเสด็จมา ทรงสดับเสียงเพลงขับของนาง ทรงมีพระทัยปฏิพัทธ์ จึงทรงควบม้าต้น มุ่งหน้าสู่สวนนั้น. กุมาริกาผู้ถึงพร้อมด้วยบุญ เห็นพระราชาแล้ว ไม่หนีเลย มาจับเชือกบังเหียนม้าทรงไว้. พระราชา ประทับนั่งบนหลังม้า ทรงนั่งเอง ตรัสถามว่า เธอมีสามีหรือยัง? เมื่อทรงทราบว่า ยังไม่มีสามี จึงได้เสด็จลงจากหลังม้าต้น ทรงอิดโรย เพราะลม และแดด ทรงบรรทมม่อยหลับไปงีบหนึ่ง บนตักของนาง แล้วให้นางนั่งบนหลังม้า ทรงมีพลนิกายแวดล้อม เสด็จเข้าพระนคร ทรงส่งนางไปยังเรือน ของผู้มีตระกูลของตน เวลาเย็น ทรงส่งยานไป ให้นำเอานาง มาจากเรือนของผู้มีสกุล ด้วยสักการะสัมมานะมาก ให้นั่งใกล้กองรัตนะ ทรงทำการอภิเษกแล้ว ได้ทรงแต่งตั้ง ให้เป็นอัครมเหสี. จำเดิมแต่นั้นมา พระนางทรงเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระราชหฤทัย ของพระราชา ทรงเป็นเทพดาของผัว ผู้ประกอบด้วย กัลยาณธรรม ๕ ประการ มีการตื่นก่อน เป็นต้น ได้ทรงเป็นผู้ใกล้ชิด แม้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. การที่พระนางทรงถวาย ขนมกุมมาส ๓ ก้อน แต่พระศาสดา แล้วได้ทั้งประสบสมบัตินั้น ได้ระบือไปทั่วพระนคร. ภายหลังอยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย พากันตั้งข้อสนทนากันขึ้น ที่ธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโส พระนางมัลลิกาเทวี ทรงถวายขนม ๓ ก้อน แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยผลของการถวายขนม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 422
เหล่านั้น ทรงได้รับอภิเษกในวันนั้นเอง ความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ น่าอัศจรรย์จริง. พระศาสดาเสด็จมา แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่น่าอัศจรรย์เลย การที่พระนางมัลลิกาเทวี ทรงถวายขนมกุมมาส แก่พระสัพพัญญูพุทธเจ้าพระองค์เดียว แล้วทรงได้รับความเป็นพระมเหสี ของพระเจ้าโกศล เพราะเหตุไร? เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเป็นผู้มีพระคุณมาก ส่วนบัณฑิตในปางก่อน ได้ถวายขนมกุมมาสจืด ไม่ผสมเกลือ ไม่มีน้ำมัน ไม่ผสมน้ำอ้อย แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วได้รับสิริราชสมบัติ ในแคว้นกาสีประมาณ ๓ โยชน์ ในอัตตภาพที่ ๒ เพราะผลการถวายขนมนั้น น่าอัศจรรย์แท้ ดังนี้ แล้วได้ทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูล ของคนยากจนตระกูลหนึ่ง เติบโตแล้ว อาศัยเศรษฐีคนหนึ่ง ทำงานรับจ้างเลี้ยงชีวิต. อยู่มาวันหนึ่ง เขาถือขนมกุมมาส ๔ ก้อน มาจากตลาด โดยคิดว่า ขนมเหล่านี้ จักเป็นอาหารเช้าของเรา เมื่อเดินไปทำงาน ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์ กำลังเสด็จมา บ่ายพระพักตร์ ไปนครพาราณสี เพื่อประโยชน์แก่ภิกษาจาร จึงคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ เสด็จไปนครพาราณสีเพื่อต้องการภิกษาจาร เราก็มีขนมกุมมาส ๔ ก้อนนี้ ถ้ากะไรแล้ว เราควร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 423
ถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ แล้วเข้าไปเฝ้าท่าน ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีขนมกุมมาสในมือ ๔ ก้อน ข้าพระองค์ ขอถวายขนมเหล่านี้ แก่พระองค์ทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระองค์ทั้งหลาย จงทรงรับเถิด แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ บุญนี้ จักมีแก่ข้าพระองค์ เพื่อประโยชน์ และความสุขตลอดกาลนาน ได้ทราบการทรงรับนิมนต์ ของพระองค์ท่านแล้ว ก็ตกแต่งอาสนะ ๔ ที่ โดยพูนทรายขึ้น ลาดกิ่งไม้ และผ้าเปลือกไม้ ไว้บนกองทรายเหล่านั้น นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า ให้ประทับนั่งตามลำดับ แล้วเอากระทงใบไม้ ตักน้ำมา หลั่งทักขิโณทก วางขนมกุมาส ๔ ก้อนลงในบาตร ๔ ใบ นมัสการแล้ว ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งการถวาย ขนมกุมมาสเหล่านั้น ขึ้นชื่อว่า การเกิดในเรือนคนจน ขอจงอย่ามีเลย ขอให้การถวายทานนี้ จงเป็นปัจจัยแห่งการบรรลุ พระสัพพัญญุตญาณ. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เสวยทันที ในที่สุดแห่งการเสวย ทรงทำอนุโมทนาแล้ว ได้ทรงเหาะไปสู่เงื้อมเขานันทมูล นั่นเอง. พระโพธิสัตว์ประคองอัญชลี แล้วเอาปีติ ที่ไปในพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นอารมณ์ พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ละสายตาไปแล้ว ก็ไป ณ ที่ทำงานของตน. แม้ท่านทำกรรม เพียงเท่านี้ แต่รำลึกถึงทานนั้น ตลอดอายุถึงแก่กรรมแล้ว ก็ถือกำเนิดในพระอุทรของพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพาราณสี. พระญาติทั้งหลาย ได้ถวายพระนามว่า พรหมทัตกุการ. ท้าวเธอ จำเดิมแต่เวลาที่ตนเสด็จดำเนินไป ด้วยพระบาท ทรงเห็นกิริยาอาการของตน ในชาติก่อนปรากฏชัด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 424
ด้วยความรู้ระลึกชาติได้ เหมือนเห็นเงาหน้า ในกระจกเงาที่ใสว่า เราได้เป็นลูกจ้างในนครนี้ นั่นเอง เมื่อเดินไปทำงาน ได้ถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ถือกำเนิดในที่นี้ เพราะผลของกรรมนั้น. ท้าวเธอทรงเจริญวัย แล้วเสด็จไปยังนครตักกศิลา ทรงเรียนศิลปะทุกอย่าง แล้วเสด็จกลับมา ทรงแสดงศิลปะ ที่ทรงศึกษามาแล้ว แก่พระราชบิดา แล้วพระราชบิดา ทรงพอพระราชหฤทัย ทรงสถาปนาไว้ ในตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมาโดยสิ้นรัชกาลของพระราชบิดา ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ. ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย พากันนำพระราชธิดาของพระเจ้าโกศล ผู้ทรงเลอโฉมมาถวาย ให้เป็นพระอัครมเหสี ของพระองค์. ก็ในวันฉัตรมงคลของพระองค์ คนทั้งหลาย ได้พากันตบแต่งพระนครทั้งนคร ให้เหมือนเทพนคร ก็ปานกัน. พระองค์เสด็จเลียบพระนคร แล้วเสด็จขึ้นปราสาท ที่ตบแต่งแล้ว เสด็จขึ้นพระราชบัลลังก์ ที่ยกเศวตรฉัตรขึ้นไว้ ณ ท่ามกลาง ชั้นที่กว้างใหญ่ ประทับนั่งแล้ว ทอดพระเนตรพสกนิกรทั้งหลาย ที่พากันยืนเฝ้า ด้านหนึ่งเป็นอำมาตย์ ด้านหนึ่งเป็นคหบดี มีพราหมณ์คหบดีเป็นต้น ผู้มีสมบัติต่างๆ กัน มีความรุ่งเรืองสุกใส ด้วยสิริวิลาส ด้านหนึ่งเป็นประชาชน ชาวกรุง มีมือถือเครื่องบรรณาการ นานาชนิด ด้านหนึ่งเป็นคณะหญิงฟ้อน จำนวนหมื่นหกพันนาง ปานประหนึ่งสาวอัปสร ผู้ตบแต่งแล้ว ฉะนั้น และสิริราชสมบัตินี้ เป็นที่รื่นรมย์พระทัยยิ่งนัก ทรงรำลึกถึงกุศลกรรม ที่ตนบำเพ็ญไว้ ในปางก่อนแล้ว ทรงรำลึกถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 425
พระคุณ ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายว่า สิริสมบัติแม้ทั้งหมดนี้ คือ ห่อทองห่อนี้ ๑ ดอกไม้ทอง ๑ เศวตรฉัตร ๑ ช้างม้า และรถที่เป็นราชพาหนะเหล่านี้ จำนวนหลายพัน ๑ ห้องคลังที่เต็มด้วยแก้วมณี และแก้วมุกดาเป็นต้น ๑ แผ่นดินใหญ่ ที่เต็มไปด้วยธัญชาตินานาชนิด ๑ เหล่านารีที่เทียบเคียงกับสาวอัปสร ๑ เป็นสมบัติของเรา ไม่ใช่ของคนอื่น แต่เป็นสิ่งที่อาศัย การถวายขนมกุมมาส ๔ ก้อน แก่พระปัจเจก ๔ องค์ นั่นเอง สมบัตินั้น เราได้มาเพราะอาศัย พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ดังนี้ แล้วได้กระทำกรรมของตน ให้ปรากฏแล้ว. เมื่อพระองค์ทรงรำลึกถึง ผลกรรมนั้นแล้ว พระสรีระทั้งสิ้น เต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ. พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัย ชุ่มเย็นด้วยปีติ เมื่อทรงขับเพลงขับ ที่ทรงอุทานออกมา ที่ท่ามกลางมหาชน ได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ว่า :-
ได้ยินว่า การปรนนิบัติพระอโนมทัสสี ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผลหาน้อยไม่ เชิญผลของการถวาย ก้อนขนมกุมมาสที่แห้ง และมีรสจืดชืดเถิด โปรดดูผลแห่งการถวาย ก้อนขนมกุมมาส ที่เป็นเหตุ ให้เรามีช้าง โค ม้า ทรัพย์ และข้าวเปลือกมากมาย ทั้งแผ่นดินทั้งสิ้น และนางนารีเหล่านี้ ที่เปรียบด้วยนางอัปสร เชิญดูผลของการถวาย ก้อนขนมกุมมาสเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 426
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมทสฺสิสุ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เพราะได้เห็นปัจเจกโพธิญาณ ที่ไม่ต่ำช้า คือ ไม่ลามก. การทำสามีจิกรรม มีการอภิวาท การลุกขึ้นรับ และการทำอัญชลี เป็นต้นก็ดี การเห็นสมบัติในปัจจุบัน แล้วยังจิตให้เลื่อมใส ในไทยธรรมที่เป็นของตน จะน้อยหรือมาก เลวหรือประณีตก็ตาม แล้วกำหนดคุณของปฏิคาหก ชำระเจตนาทั้ง ๓ ให้สะอาด เชื่อผลของกรรม แล้วทำการบริจาคก็ดี ชื่อว่า ปาริจริยา การปรนนิบัติ. บทว่า พุทฺเธสุ ความว่า ในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า. อปฺปกา ความว่า ธรรมดาการปรนนิบัติ ที่จะย่อหย่อน หรือน้อยไม่มี. บทว่า สุกฺขาย ความว่า ไม่มียางเหนียว. บทว่า อโลณิกาย ความว่า เว้นจากน้ำอ้อย. อธิบายว่า ก้อนขนมกุมมาสนั้น ท่านกล่าวว่า อโลณิกา คือ จืดชืด เพราะเขาทำสำเร็จรูปแล้ว โดยไม่ผสมน้ำอ้อย. บทว่า กุมฺมาสปิณฑิยา ความว่า พระราชาตรัสอย่างนี้ หมายถึง ขนมกุมมาส ที่พระโพธิสัตว์ถือไป โดยรวมขนมกุมมาส ๔ ก้อน เข้าด้วยกัน นั่นเอง. ทักขิณาทาน ที่ทายกกำหนดคุณ ของสมณะพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีคุณแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส ยังเจตนาทั้ง ๓ ของผู้มุ่งหวัง การเกิดผลให้ผ่องแผ้ว แล้วจึงถวาย ชื่อว่า มีผลน้อยไม่มี มีแต่จะอำนวยมหาสมบัติให้ ในที่ที่เกิดแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ จึงมีคำที่ ท่านกล่าวรับรองไว้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 427
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาที่ถวายแล้ว ในพระตถาคตเจ้า ในพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือสาวกของพระองค์ก็ตาม ชื่อว่า มีผลน้อย ไม่มี.
แต่เพื่อแสดงถึงเนื้อความนั้น ควรนำเรื่องวิมานวัตถุทั้งหลาย มาสาธก มีอาทิอย่างนี้ว่า :-
ดิฉันได้ถวายน้ำมัน แก่ภิกษุผู้เดินไปบิณฑบาต เชิญชมวิมานของดิฉันนั้นเถิด ดิฉันเป็นนางอัปสรสาวสวรรค์ ผู้มีผิวพรรณน่ารัก ดิฉันมีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร เชิญดูผลวิบากของบุญทั้งหลายเถิด ด้วยผลบุญนั้น ผิวพรรณของดิฉัน จึงเป็นเช่นนี้ ด้วยผลบุญนั้น สิ่งนี้จึงสำเร็จแก่ดิฉัน โภคทั้งหลาย ไม่ว่าชนิดไหน ซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เกิดขึ้นแก่ดิฉัน ด้วยผลบุญนั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งโรจน์อย่างนี้ และผิวพรรณของดิฉัน เปล่งรัศมีไปทั่วทุกทิศ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 428
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนธญฺา ได้แก่ ทรัพย์ มีแก้วมุกดา เป็นต้น และธัญชาติ ๗ ชนิด. บทว่า ปวี จ เกวลา ได้แก่ แผ่นดินใหญ่นี้ทั้งสิ้นด้วย. พระราชาตรัสสำคัญหมายว่า แผ่นดินทั้งหมด ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ ของพระองค์แล้ว. บทว่า ปสฺส ผลํ กุมฺมาสปิณฺฑิยา ความว่า พระราชา เมื่อทรงแสดงผลทาน ของพระองค์ ด้วยพระองค์เอง จึงตรัสอย่างนี้. ได้ทราบมาว่า พระโพธิสัตว์ก็ดี พระสรรเพชญพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี ทรงทราบผลของทานอยู่. และเพราะเหตุ นั่นเอง พระศาสดา เมื่อตรัสพระสูตร ในอิติวุตตกะ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์ทั้งหลาย ก็ควรรู้วิบาก ของการแจกจ่ายทาน ดังที่เราตถาคตรู้ เพราะฉะนั้น คนทั้งหลาย ยังไม่ได้ให้ ก็ไม่ควรบริโภค และไม่ควรให้ความตระหนี่ ที่เป็นมลทิน ครอบงำจิตใจของพวกเขา ตั้งอยู่. ทั้งยังไม่ได้แจกจ่าย แม้จากคำข้าวคำสุดท้าย คำข้าวคำที่กินเสร็จของพวกเขา ก็ไม่ควรบริโภค ถ้าพวกเขาพึงมีปฏิคาหก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลาย ไม่รู้วิบากของ การแจกจ่ายทานอย่างนี้ เหมือนที่เราตถาคตรู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย ยังไม่ให้ก็บริโภค และความตระหนี่ ที่เป็นมลทิน ก็ครอบงำจิตใจพวกเขา ตั้งอยู่.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ ทรงมีปีติปราโมทย์เกิดขึ้น ในวันฉัตรมงคลของตน จึงทรงร้องเพลง พระราชอุทาน ด้วยคาถา ๒ คาถาเหล่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 429
จำเดิมแต่นั้นมา เหล่าหญิงฟ้อน ของพระโพธิสัตว์ พากันร้องเพลงนั้น โดยคิดว่า เป็นเพลงที่พระราชาทรงโปรด คือ เพลงพระราชนิพนธ์ และคนธรรพ์ เป็นนักฟ้อนทั้งหลาย เป็นต้น ที่เหลือก็ดี คนภายในเมืองก็ดี คนที่อยู่ภายในพระนครทั้งหลายก็ดี คนที่อยู่ภายนอกพระนครทั้งหลายก็ดี พากันร้องเพลงนั้นเหมือนกัน ที่ร้านเครื่องดื่ม ภัตตาคารบ้าง ที่บริเวณชุมชนบ้าง โดยคิดว่า เป็นเพลงที่ พระราชาของพวกเราทรงโปรด. เมื่อเวลาผ่านไปนานแล้วอย่างนี้ พระมเหสีได้มีพระราชประสงค์ จะทรงทราบเนื้อร้องของเพลงนั้น. แต่ไม่กล้าทูลถาม พระมหาสัตว์. ต่อมา วันหนึ่ง พระราชาทรงเลื่อมใส ในคุณงามความดีอย่างหนึ่ง ของพระนาง จึงตรัสว่า น้องนางเอ๋ย ฉันจะให้พรแก่เธอ ขอให้เธอจงรับพร. พระนางจึงทูลว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม หม่อมฉัน ขอรับพระราชทานพระพร บรรดาช้าง ม้า เป็นต้น เราจะให้อะไรแก่เธอ ข้าแต่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ไม่มีอะไร ที่หม่อมฉันไม่มี เพราะอาศัยเสด็จพี่ หม่อมฉันไม่มีความต้องการสิ่งเหล่านั้น ถ้าหากเสด็จพี่มีพระราชประสงค์ จะพระราชทานพระพร ขอจงตรัสบอกเนื้อเพลง พระราชนิพนธ์ พระราชทานหม่อมฉันเถิด. น้องนาง เธอจะมีประโยชน์อะไรด้วยพรนี้ เธอจงรับเอาพรอื่นเถิด. ขอเดชะพระอาชญาไม่พ้นเกล้า หม่อมฉันไม่มีความต้องการอย่างอื่น ต้องการเนื้อเพลงพระราชนิพนธ์อย่างเดียว. น้องนาง ดีแล้ว เราจักบอกให้ แต่เราจะไม่บอก แต่เธอคนเดียวในที่ลับ จักให้ตีกลองป่าวร้องไป ในนครพาราณสี ประ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 430
มาณ ๑๒ โยชน์ ให้สร้างรัตนบัลลังก์ ที่พระทวารหลวง ให้ลาดรัตนบัลลังก์ ห้อมล้อม ด้วยชาวนครทั้งหลาย มีอำมาตย์ และพราหมณ์ เป็นต้น และหญิงหมื่นหกพันนาง นั่งบนรัตนบัลลังก์ ท่ามกลางคนเหล่านั้น แล้วบอก พระนางทูลรับว่า ดีแล้วเพคะ. พระราชาทรงให้ทำอย่างนั้นแล้ว มีหมู่มหาชนแวดล้อม เหมือนท้าวสักกะเทวราช มีหมู่เทวดาห้อมล้อม ฉะนั้น แล้วเสด็จประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์. ฝ่ายพระราชเทวี ทรงประดับประดา ด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ตั้งพระภัทรบิฐทอง ทรงชำเลืองหางพระเนตรดู ที่สมควรข้างหนึ่ง แล้วประทับ ณ ที่ตามความเหมาะสม ทูลว่า ข้าแต่เสด็จพี่ ขอเสด็จพี่จงตรัสบอก เนื้อร้องของเพลงมงคล ที่เสด็จพี่ปลื้มพระทัย แล้วทรงขับร้องแก่หม่อมฉัน ให้ชัดแจ้ง เหมือนให้พระจันทร์โผล่ขึ้น บนท้องฟ้าก่อน ฉะนั้น แล้วทูลคาถาที่ ๓ ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผู้ทรงทำความยิ่งใหญ่ เพราะกุศลธรรม พระองค์ตรัสคาถา ทรงเพลงเสมอๆ ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงพัฒนารัฐ หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์ ผู้มีพระราชหฤทัย ประกอบด้วยปีติอย่างแรงกล้า โปรดบอกหม่อมฉันเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 431
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกสลาธิป ความว่า พระมหาสัตว์นั้น ทรงเป็นใหญ่ยิ่ง ในแคว้นโกศล แต่เสด็จประทับอยู่ โดยทรงทำความเป็นใหญ่ยิ่ง ในเพราะกุศลธรรม เพราะเหตุนั้น พระราชเทวี เมื่อทรงเรียกพระองค์ จึงทูลอย่างนี้. บทว่า กุสลาธิป มีอธิบายว่า ผู้ทรงมีพระอัธยาศัยเป็นกุศล. บทว่า พาฬฺหํ ปีติมโน ปภาสสิ ความว่า ขอพระองค์ โปรดมีพระราชหฤทัย ประกอบด้วยปีติอย่างเหลือเกิน ตรัสบอก คือว่า เพราะฉะนั้น ขอพระองค์โปรดตรัสบอก เนื้อความของคาถา คือ เนื้อเพลงเหล่านั้น แก่หม่อมฉันก่อนเถิด.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงทำเนื้อความ ของคาถาทั้งหลาย ให้แจ่มชัดแก่พระนาง จึงได้ภาษิตคาถา ๔ คาถา ว่า:-
เราได้เกิดในตระกูลหนึ่ง ในนครนี้ นั่นเอง ได้เป็นลูกจ้าง ทำงานให้คนอื่น แต่มีสีลสังวร เราออกไปทำงาน ได้เห็นสมณะ ๔ รูป ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และอาจาระ เป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอาสวะ ยังจิตให้เลื่อมใส ในท่านเหล่านั้น แล้วได้ให้ท่านนั่งบนอาสนะ ที่ปูด้วยใบไม้ เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายขนมกุมมาส แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยมือของตนเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 432
ผลของกุศลธรรมนั้น ของเรานี้ เป็นเช่นนี้ คือ เราได้เสวยราชสมบัตินี้ ที่มีแผ่นดิน อุดมสมบูรณ์กว้างขวาง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุเล อญฺตเร ความว่า ในตระกูลหนึ่ง นั่นเอง ที่ไม่ปรากฏชื่อ หรือโคตร. บทว่า อหุํ ความว่า เกิดแล้ว. บทว่า ปรกมฺมกโร อาสึ ความว่า เราเกิดในตระกูลนั้นแล้ว เมื่อทำงานของผู้อื่นเลี้ยงชีพ เพราะเป็นคนจน ชื่อว่า ได้เป็นกรรมกรของผู้อื่น คือ ทำงานของผู้อื่น. บทว่า ภตโก คือ ลูกจ้าง ได้แก่ ผู้ที่เลี้ยงตัวด้วยค่าจ้างของคนอื่น. บทว่า สีลสํวุโต ความว่า ดำรงอยู่แล้ว ในสีลสังวร ๕ ประการ พระมหาสัตว์ทรงแสดงว่า เราแม้เลี้ยงชีพ ด้วยค่าจ้าง แต่ก็ละความทุศีล ได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล. บทว่า กมฺมาย นิกฺขมนฺตาหํ ความว่า วันนั้น เราออกไป เพื่อจะทำงานที่ต้องทำ. บทว่า จตุโร สมเณ อทฺทสํ ความว่า ดูก่อนน้องนาง เราออกจากพระนคร ไปขึ้นทางหลวง เดินไป แหล่งที่ทำงานของตน ได้เห็นบรรพชิต ๔ รูป ผู้มีบาปสงบแล้ว กำลังเข้าไปสู่นครพาราณสี เพื่อต้องการบิณฑบาต. บทว่า อาจารสีลสมฺปนฺเน ความว่า การเลี้ยงชีพ ด้วยอเนสนา ๒๑ อย่าง ชื่อว่า อนาจาร ผู้ประกอบพร้อมด้วยอาจาระ ที่ตรงกันข้ามกับอนาจารนั้น และศีลที่มาแล้ว โดยมรรค และผลทั้งหลาย. บทว่า สีติภูเต ความว่า ผู้ถึงแล้วซึ่งความเย็น เพราะระงับความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 433
กระวนกระวาย มีราคะ เป็นต้นได้ และดับไฟ ๑๑ กองได้. บทว่า อนาสเว ความว่า ผู้เว้นจากกามาสวะ เป็นต้นได้. บทว่า นิสีทิตฺวา ความว่า ให้นั่งบนสันถัด ใบไม้ที่เขาปูลาดไว้ บนอาสนะกองทราย เพราะว่า สันถระในที่นี้ ท่านกล่าวว่า ได้แก่ สันถัด. บทว่า อทาสึ ความว่า ข้าพเจ้าถวายทักขิโณทก แก่ท่านเหล่านั้นแล้ว จึงได้ถวายขนมกุมมาส โดยเคารพ ด้วยมือของตนเอง. บทว่า กุสลสฺส ความว่า ชื่อว่า กุศล เพราะหมายความว่า ไม่มีทั้งโรค ไม่มีทั้งโทษ. บทว่า ผลํ ได้แก่ ผล ที่หลั่งออกมาจากเหตุ. บทว่า ผีตํ ความว่า ที่ผลิตสมบัติทุกอย่างให้.
เมื่อพระมหาสัตว์ บอกผลกรรมของตน โดยพิสดารอย่างนี้แล้ว พระเทวีครั้นทรงสดับแล้ว ทรงมีพระทัยเลื่อมใส เมื่อจะทรงทำการสดุดี พระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าว่า พระองค์ทรงทราบผลทาน โดยประจักษ์อย่างนี้แล้วไซร้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป พระองค์ทรงได้ก้อนข้าว ก้อนหนึ่งแล้ว ต้องถวายแก่สมณพราหมณ์ ผู้ทรงธรรมนั้นแหละ จึงจะเสวย ดังนี้แล้ว ได้ทูลคาถานี้ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงเป็นอธิบดี ในเพราะกุศลธรรม ขอพระองค์ จงทรงพระราชทานก่อน จึงเสวย ขอพระองค์อย่าทรงประมาท ทรงหมุนล้อ คือ พระธรรมเถิด ข้าแต่มหาราช ผู้ทรงเป็นอธิบดี ในเพราะกุศลธรรม ขอพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 434
อย่าได้ทรงดำรงอยู่ในอธรรม โปรดรักษาทศพิธราชธรรมไว้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ททํ ภุญฺชถ ความว่า พระองค์ทรงประทานแก่ผู้อื่นแล้ว จึงเสวยด้วยพระองค์เอง. บทว่า มา ปมาโท ความว่า ขอพระองค์ อย่าได้ทรงประมาท ในบุญทั้งหลาย. บทว่า จกฺกํ วตฺตย โกสลาธิป ความว่า ข้าแต่มหาราช ผู้ทรงมีพระราชอัธยาศัย ในกุศลธรรม ขอพระองค์จงทรงหมุนล้อ คือ พระธรรม ๔ อย่าง มีการอยู่ในประเทศที่เหมาะสม เป็นต้น. บทว่า จกฺกํ ความว่า รถวิ่งไป ด้วยล้อ ๒ ล้อ. แต่กายนี้ไปเทวโลก ด้วยล้อ ๔ ล้อเหล่านี้. ล้อ ๔ ล้อ เหล่านั้น นับว่า เป็นล้อ คือ พระธรรม. ขอพระองค์จงทรงหมุน คือ ให้ล้อนั้น กลิ้งไป. บทว่า อธมฺมิโก ความว่า คนเหล่าอื่น ถึงความลำเอียงเพราะรัก รีดทรัพย์ นั่นเอง เหมือนหีบชาวโลก ด้วยเครื่องหีบอ้อย ฉะนั้น ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ดำรงธรรมฉันใด ขอพระองค์อย่าทรง เป็นผู้ประพฤติอธรรม ฉันนั้น. บทว่า อนุธมฺมํ ปาลย ความว่า แต่ขอพระองค์จงทรงคุ้มครอง คือ รักษา ได้แก่ อย่าทรงสลัด ทศพิธราชธรรมนี้ ทิ้งเสีย คือ :-
ทาน ๑ ศีล ๑ การบริจาค ๑ ความซื่อตรง ๑ ความอ่อนโยน ๑ ตบะ คือ ความเพียร ๑ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความอดทน ๑ และความไม่ผิดพลาด ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 435
พระมหาสัตว์ เมื่อจะทรงรับพระดำรัสของพระนาง จึงตรัสคาถา นี้ว่า :-
ดูก่อนพระธิดา ของพระเจ้าโกศลผู้เลอโฉม เรานั้นจักประพฤติ ตามทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ประพฤติมาแล้วเสมอๆ นั้น นั่นเอง พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นที่พอใจของเรา เรา ต้องการจะได้เห็นท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตุมํ ได้แก่ ทาง. บทว่า อริยาจริตํ ความว่า ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ประพฤติมาแล้ว. บทว่า สุโกสเล มีเนื้อความว่า ดูก่อนพระธิดา คนดีของพระเจ้าโกศล ผู้เลอโฉม. บทว่า อรหนฺโต ได้แก่ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ได้พระนามอย่างนี้ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย เพราะเป็นผู้หักกำแห่งสังสารจักร์ เพราะเป็นผู้ทำลายข้าศึกทั้งหลาย และเพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยทั้งหลาย. มีคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพระธิดา ของพระเจ้าปัสเสนผู้เจริญ เรานั้นไม่ทำความอิ่มใจว่า เราถวายทานแล้ว จักประพฤติตามทาง คือ ทาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ประพฤติแล้ว บ่อยๆ นั้น นั่นเอง. ด้วยว่าพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นที่ชอบใจ คือ น่าทัศนาของเรา เพราะเป็นทักขิไณยบุคคลผู้ล้ำเลิศ เราประสงค์จะเห็นท่านเหล่านั้น นั่นแหละ เพราะต้องการจะถวายจีวร เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 436
ก็แหละพระราชา ครั้นตรัสคำนี้แล้ว ทรงตรวจดูสมบัติของพระเทวี เมื่อตรัสถามว่า ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ เราบอกกุศลกรรมของตน ในภพก่อน อย่างพิสดารแก่เธอแล้ว แต่ในท่ามกลางหญิงเหล่านี้ ไม่มีหญิงแม้แต่คนเดียว ที่เช่นกับเธอ โดยรูปร่าง หรือโดยเยื้องกราย และกิริยาเสน่หาของหญิง เธอนั้นทำกรรมอะไรไว้ จึงได้รับสมบัตินี้ ดังนี้ จึงได้ตรัสคาถาซ้ำว่า :-
ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ ชาวโกศลคนสวยงาม เธออุปมาเหมือนสาวอัปสร สวยงาม ในท่ามกลางหมู่นารี เหมือนพระเทพเทวีของ ท้าวสักกเทวราช ก็ปานกัน เธอได้ทำความดีอะไรไว้ เพราะเหตุอะไร เธอจึงมีผิวพรรณงาม?
คาถานั้น มีเนื้อความว่า ดูก่อนน้องนางผู้เจริญ. ชาวโกศล คนสวยงาม คือ ผู้เป็นพระราชธิดาคนดี ของพระเจ้าโกศล เธออุปมาดังสาวอัปสร โดยรูปสมบัติสวยงามเหลือเกิน ในท่ามกลางหมู่นารีนี้ เหมือนเทพธิดาตนใดตนหนึ่ง ของท้าวสักกเทวราช ในสรวงสวรรค์ ในสมัยก่อน เธอได้ทำกรรมดีงาม ชื่ออะไรไว้ เพราะเหตุอะไร เธอจึงมีผิวพรรณงามอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 437
ลำดับนั้น พระราชเทวีนั้น เมื่อจะทูลบอกกรรมดี ในภพก่อน ด้วยพระญาณ ที่ทรงระลึกชาติได้ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถาที่เหลือว่า :-
ข้าแต่พระมหากษัตริย์ หม่อมฉันได้เป็นทาสี ผู้รับใช้ผู้อื่น ของตระกูลกุฎุมพี เป็นผู้สำรวมระวัง เลี้ยงชีพโดยชอบธรรม มีศีล ไม่พบเห็นบาป. ในครั้งนั้น หม่อมฉันมีจิตเลื่อมใส ได้สำรวมใจ ถวายภัตตาหาร ที่เขายกให้เป็นส่วนของตน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้กำลังเดินไปบิณฑบาต ผลแห่งกรรมนั้น ของหม่อมฉัน จึงเป็นเช่นนี้.
ได้ทราบมาว่า แม้พระราชเทวีนั้น ก็ทรงระลึกชาติได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระนางจึงได้ทูลพระราชา โดยทรงกำหนด ด้วยพระญาณ ที่ทรงระลึกชาติของตนไว้ นั่นเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพตฺถกุลสฺส ความว่า แห่งตระกูลกุฎุมพี. บทว่า ทาสยาหํ ตัดบทเป็น ทาสี อหํ หม่อมฉันเป็นทาสี ปาฐะว่า ทาสาหํ ดังนี้ ก็มี. บทว่า ปรเปสิยา ความว่า เป็นผู้ทำการรับใช้ คือ สาวใช้ ที่ถูกผู้อื่นส่งไป เพื่อทำกิจนั้นๆ. บทว่า สญฺตา ความว่า ธรรมดาว่า ทาสีเป็นผู้ทุศีล แต่หม่อมฉันเป็นผู้สำรวมด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 438
ทวาร ๓ ถึงพร้อมแล้ว ด้วยศีล. บทว่า ธมฺมชีวินี ความว่า เป็นผู้เลี้ยงชีพ โดยไม่ทำการลวงผู้อื่นเป็นต้น แล้วประพฤติโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ. บทว่า สีลวตี ความว่า หม่อมฉัน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระ มีคุณความดี. บทว่า อปาปทสฺสสนา ความว่า เป็นผู้พบเห็นสิ่งที่ดีงาม คือมีธรรมเป็นที่รัก. บทว่า อุทฺธตภตฺตํ ความว่า ภัตรส่วนที่หม่อมฉันได้ โดยยกขึ้น ด้วยสามารถแห่งส่วนที่ถึงแก่ตน. บทว่า ภิกขุโน ความว่า แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ทรงทำลายกิเลสแล้ว. บทว่า จิตฺตา สุมนา ความว่า เป็นผู้ดีใจ คือ เกิดโสมนัสขึ้น เชื่อผลของกรรมอยู่. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ความว่า แห่งกรรม คือ การถวายภิกษาอย่างเดียวนั้น. มีคำอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อก่อนหม่อมฉันเป็นทาสี ของตระกูลกุฎุมพี ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในนครสาวัตถี ถือเอาภัตตาหาร ส่วนที่ได้แล้วเดินออกไป เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง กำลังทรงดำเนินไปบิณฑบาต ยังความยินดีของตนให้ห่อเหี่ยวลง ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีความสำรวมระวัง เป็นต้น เชื่อผลของกรรมอยู่ จึงได้ถวายภัตตาหารนั้น แก่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น. หม่อมฉันนั้น ดำรงอยู่จนตลอดอายุ ถึงแก่กรรมแล้ว ได้ถือกำเนิด ในพระอุทรของพระมเหสี ของพระเจ้าโกศล ในนครสาวัตถีนั้น บัดนี้ กำลังบำเรอบาทของพระองค์ เสวยสมบัติเห็นปานนี้ ผลกรรมของหม่อมฉันนั้น เป็นอย่างนี้ คือเช่นนี้. ในเรื่องนั้น เพื่อแสดงถึงความที่ทาน ที่บุคคลถวายแล้ว แก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยคุณความดีว่ามีผลมาก ควรอ้างคาถา มาให้พิสดาร มีอาทิว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 439
บุญอันล้ำเลิศย่อมเจริญ แก่ชนทั้งหลาย ผู้เลื่อมใสแล้ว ในบุคคลผู้ล้ำเลิศแล อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ ความสุข และกำลังอันล้ำเลิศ ก็เจริญ. ผู้มีปัญญา ผู้ให้ของอันล้ำเลิศ ตั้งมั่นแล้ว ในธรรมอันล้ำเลิศ เป็นภูต คือ เทวดาก็ตาม มนุษย์ก็ตาม ผู้ถึงความล้ำเลิศแล้ว ย่อมบันเทิงใจ นี้เป็นขุมทรัพย์ ที่อำนวยสมบัติทุกอย่าง แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.
พระราชา และพระมเหสีทั้ง ๒ พระองค์นั้น ครั้นตรัสกรรมเก่า โดยพิสดารด้วยประการอย่างนี้แล้ว จำเดิมแต่นั้นมา ทรงให้สร้างศาลา ๖ แห่ง คือ ที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ที่กลางพระนคร ๑ แห่ง ที่ประตูพระราชวัง ๑ แห่ง ทรงกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้กระฉ่อน ยังมหาทานให้เป็นไป ทรงรักษาศีล รักษาอุโบสถ ในอวสานแห่งพระชนม์ชีพ ได้ทรงมีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า พระราชเทวีในครั้งนั้น ได้แก่ มารดาพระราหุล ส่วนพระราชา ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา กุมมาสปิณฑชาดกที่ ๑๐