ท่านผู้ฟังปรารภว่า...ทำไมจึงจำไม่ได้?
โดย พุทธรักษา  30 พ.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 12527

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านผู้ฟัง ถึงแม้จะมี "ความจำ" (คือ สัญญาเจตสิก ที่เกิดกับจิต ทุกขณะ) แม้แต่ ในชาตินี้ เราก็ยังลืมยังจำไม่ได้ทั้งหมดเลย

ท่านอาจารย์ ถ้าจำได้ทั้งหมดเลย คงลำบากนะคะจำน่ะ จำอยู่ แต่ "ไม่ได้นึกถึง" "ลักษณะของเจตสิกที่จำ" คือ "สัญญาเจตสิก" สัญญาเจตสิก ทำกิจ คือ "จำ" อย่างเดียวเท่านั้น "สัญญาเจตสิก" ไม่ใช่ "คิด" เพราะฉะนั้น "ลักษณะ" ของเจตสิก อีกประเภทหนึ่ง คือ "วิตกเจตสิก"หมายถึง "ลักษณะที่คิด" "ขณะนี้"ที่กำลังคิด คือ "ลักษณะของวิตกเจตสิก" ที่กำลังกระทำกิจ คือ "คิด" แต่เนื่องจาก "จิต" เป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการ "รู้อารมณ์" นั้น เพราะฉะนั้นเมื่อ "วิตกเจตสิก" เกิดร่วมกับจิต"จิต" ขณะนั้น จึงเป็น "สภาพคิด" แต่ความจริงแล้ว ถ้าแยกย่อยออกมา"ตัวคิดจริงๆ " ก็คือ "วิตกเจตสิก" .. "คิด" อะไร "จิต" ก็รู้อันนั้นด้วย เพราะเหตุว่า "จิต" เป็นประธานใน "การรู้อารมณ์นั้น" ด้วย ไม่มีเรา ที่จะไปทำอะไรขึ้นมาได้เลย
เพราะว่า"สัญญาเจตสิก" ทำกิจ "จำ" อย่างเดียวเท่านั้น และเมื่อ " คิด" ก็หมายความว่า "วิตกเจตสิก" ทำกิจ "ตรึก"หรือ "วิตกเจตสิก" ไม่ทำกิจ "ตรึก" ใน "อารมณ์" ที่ "สัญญาเจตสิก" จำ ไว้ เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นจำ ก็คือ จำ คิด ก็คือ คิดหมายความว่าเจตสิก ทั้งสองประเภท คือ "สัญญาเจตสิก" (จำ) "วิตกเจตสิก" (คิด) ต่างก็ทำกิจ เฉพาะ ของตนๆ
ตัวอย่าง เช่น "สภาพที่จำ" ก็จำว่า ในตู้เสื้อผ้า ใบนี้ มีเสื้อผ้า สีอะไรบ้าง แต่ถ้าไม่ "คิด" ก็ไม่มี (คือ ไม่มีอะไรที่ จริง นอกจาก นามธรรมและรูปธรรม เท่านั้น) ถ้าจะ "คิด" ก็ "คิดตามความจำ" (ที่จำได้ว่า "สีต่างๆ " เป็นเสื้อ เป็นผ้า ฯ) เพราะเหตุว่า "สัญญาเจตสิก" ทำกิจ "จำ" เกิดกับ "จิตเห็น" ใน "ขณะนั้น"และ การที่สัญญา คือ ความจำ ได้จำไว้แล้ว แต่ ไม่ได้ "ตรึก" ตรง "ลักษณะนั้น"กลับไป "ตรึก" ตรง "ลักษณะอย่างอื่น" หมายความว่าเพราะไป "ตรึกเรื่องอื่น"แต่ไม่ได้ "ตรึกเรื่องนั้น" "ขณะนั้น" จึง "จำเรื่องนั้น" ไม่ได้ อีกตัวอย่าง ในชีวิตประจำวัน คือขณะที่กำลังนอน "หลับสนิท" จะไม่มีทาง ที่จะได้ยินเสียงอะไรเลย แม้มีเสียงเกิดขึ้นจากเหตุใดๆ ก็ตามและ มีโสตปสาท ด้วยแต่ในเมื่อไม่มีการ "กระทบ" (คือ ไม่มีวิถีจิตทางโสตทวาร เกิดขึ้น) ก็ไม่มีการได้ยิน เป็นต้น (แม้มี "ความจำ" คือ สัญญาเจตสิก เกิดกับภวังคจิต ขณะที่หลับสนิทขณะนั้น สัญญาเจตสิก จำ "อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิจิตของชาตินี้")
เพราะฉะนั้น แล้วแต่ "เหตุ ปัจจัย" จริงๆ หาก "เข้าใจ ตรง "ลักษณะ" ของ "ตัวสภาพธรรมจริงๆ "เมื่อนั้น จะสบายกว่านี้ ไม่มีเรา ไปทำ (หรือ ไปจำ) อะไรเลย บังคับบัญชา "เหตุ ปัจจัย" ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เลือก ไม่ได้.!เมื่อมี "ปัจจัย" ก็ เกิดเกิด เพียงขณะสั้นๆ ทีละขณะๆ ๆ ๆ นิดเดียว เกิดแล้วดับไปทันที่ ไม่เหลือเลย
เพราะฉะนั้น ทุกท่านมี "กรรม" ที่เคยได้กระทำไว้แล้ว "กรรม" ที่ท่านได้กระทำแล้วเมื่อไร ก็ไม่มีทางรู้ได้ "กรรมนั้นเอง"เป็น "ปัจจัย" ทำให้ "วิบากจิต"ของท่านเกิดขึ้น "ขณะนี้"เป็น "กุศลวิบากจิต" ก็ได้ เป็น "อกุศลวิบากจิต" ก็ได้ แล้วแต่ "เหตุ" คือ "กรรม" (ที่เป็นกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม) ถ้า ขณะนั้น "เข้าใจ" .. "ขณะนั้น" ก็เป็น "ปัญญา"

(ขอขอบพระคุณ ท่าน ... ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพค่ะ)

... ขออนุโมทนา ...



ความคิดเห็น 1    โดย suwit02  วันที่ 31 พ.ค. 2552

สาธุ


ความคิดเห็น 2    โดย aiatien  วันที่ 31 พ.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 3    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 1 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย orawan.c  วันที่ 2 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 5    โดย สุภาพร  วันที่ 2 มิ.ย. 2552

ขอขอบพระคุณ และอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย chatchai.k  วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย lokiya  วันที่ 26 มี.ค. 2565

กราบอนุโมทนาครับ