[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 403
มหาวรรค
คติกถา
ว่าด้วยคติสมบัติ หน้า 403
อรรถกถาคติกถา หน้า 408
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 403
มหาวรรค คติกถา
ว่าด้วยคติสมบัติ
[๕๑๗] ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะ ปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร เทวดาชั้นรูปาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร เทวดาชั้นอรูปาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัย แห่งเหตุเท่าไร.
ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะปัจจัยแห่ง เหตุ ๘ ประการ กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดา ชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ เทวดาชั้นรูปาวจร เทวดาชั้นอรูปาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ.
[๕๑๘] ในธรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะ ปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการเป็นไฉน.
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ กุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการ เป็นอัพยากฤต เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้วิญญาณเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 404
ปัจจัย ก็มีนามรูป ในขณะปฏิสนธิ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในขณะ ปฏิสนธิ เครื่องปรุงชีวิต ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็น วิปปยุตตปัจจัยในขณะปฏิสนธิ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็น วิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๒๘ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในกรรมอันเป็นสัมปยุตตญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้.
[๕๑๙] ในกรรมอันสัมปยุตด้วยญาณ กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่ง เหตุ ๘ ประการเป็นไฉน.
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ กุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 405
เป็นอัพยากฤต เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย ก็มีนามรูปในขณะปฏิสนธิ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย เป็น อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ใน ขณะปฏิสนธิ เครื่องปรุงชีวิต ๓ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและรูป เป็นสหชาตปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและวิญญาณ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๒๘ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นวิปปยุตตปัจจัย กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้.
[๕๒๐] เทวดาชั้นรูปาวจรย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการ เป็นไฉน.
ในขณะแล่นไปในกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล ฯลฯ เทวดา ชั้นรูปาวจรย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้.
เทวดาชั้นอรูปาวจรย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการเป็นไฉน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 406
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ กุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการ เป็นอัพยากฤต เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย ก็มีนามรูป ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อินทรีย์ ๕ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและ วิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย เทวดาชั้นอรูปาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการนี้.
[๕๒๑] ในกรรมอันไม่ประกอบด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิด เพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไรกษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุเท่าไร.
ในกรรมอันไม่ประกอบด้วยญาณ คติสมบัติย่อมเกิดเพราะปัจจัยแห่ง เหตุ ๖ ประการ กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดา ชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการ.
[๕๒๒] ในกรรมอันไม่ประกอบด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิด เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการเป็นไฉน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 407
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะ กุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะความพอใจ เหตุ ๒ ประการเป็นอกุศล เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะอกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๒ ประการ เป็นอัพยากฤต เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย ก็มีนามรูป ในขณะปฏิสนธิ เบญจขันธ์เป็นสหชาตปัจจัยเป็น อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ มหาภูตรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เครื่องปรุงชีวิต ๓ ประการเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและรูปเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๔ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ อรูปขันธ์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตปัจจัย ในขณะ ปฏิสนธิ อินทรีย์ ๔ เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ เหตุ ๒ ประการเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ นามและวิญญาณเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๑๒ ประการนี้เป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นสัมปยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิ ธรรม ๒๖ ประการเป็นสหชาตปัจจัย ... เป็นวิปปยุตตปัจจัย ในกรรมอันประกอบ ด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิดเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการนี้ กษัตริย์ มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติ เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 408
ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม เหตุ ๒ ประการเป็นกุศล เป็นสหชาตปัจจัยแห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า แม้เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัย ก็มีสังขาร ฯลฯ ในกรรมอันไม่ประกอบด้วยญาณ กษัตริย์ มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล เทวดาชั้นกามาวจร ย่อมอุบัติ เพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๖ ประการนี้.
จบคติกถา
อรรถกถาคติกถา
บัดนี้ การพรรณนาความตามลำดับที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งคติกถาอัน พระสารีบุตรเถระแสดงถึงเหตุสมบัติอันเป็นเหตุแห่งการเกิดวิโมกข์นั้นกล่าวไว้ แล้ว. แม้ฌานก็จะไม่เกิดขึ้น แม้แก่ผู้เป็นทุเหตุกปฏิสนธิ เพราะพระบาลีว่า นตฺถิ ฌานํ อปญฺสฺส ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ก็วิโมกข์จะเกิดได้ อย่างไร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า คติสมฺปตฺติยา คติสมบัติ คือ คติสมบัติ อันได้แก่มนุษย์และเทพในบรรดาคติ ๕ คือ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ และเทพ. ด้วยบทนี้แลท่านปฏิเสธคติวิบัติ ๓ ข้างต้น. สมบัติแห่งคติ ชื่อว่า คติสมบัติ. ท่านอธิบายว่า สุคติ. อนึ่ง ขันธ์ทั้งหลายพร้อมกับโอกาส ชื่อว่า คติ. และในคติ ๕ ท่านถือเอาแม้อสุรกาย ด้วยศัพท์ว่า เปตติวิสัย. บทว่า เทวา ได้แก่ กามาวจรเทพ ๖ และพรหมทั้งหลาย. แม้อสูรท่านก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 409
สงเคราะห์ศัพท์ว่า เทว. บทว่า าณสมฺปยุตฺเต ในกรรมอันสัมปยุตด้วย ญาณ คือในขณะปฏิสนธิสัมปยุตด้วยญาณ. จริงอยู่ แม้ขณะก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยโวหารนั้นนั่นเอง เพราะประกอบด้วยญาณสัมปยุต. บทว่า กตีนํ เหตูนํ แห่งเหตุเท่าไร คือ แห่งเหตุเท่าไร ในบรรดาอโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ. บทว่า อุปปตฺติ คือ การเกิด.
อนึ่ง เพราะแม้เกิดในตระกูลศูทรก็เป็นติเหตุกะได้ ฉะนั้น คำถามแรก จึงหมายถึงติเหตุกะเหล่านั้น และเพราะคนมีบุญมาก โดยมากเกิดในตระกูล มหาศาล ๓ ตระกูล ฉะนั้นคำถามจึงมี ๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งตระกูล ๓ เหล่านั้น แต่ท่านย่อปาฐะไว้.
ชื่อว่า มหาสาลา เพราะมีสมบัติมาก อธิบายว่า มีเรือนใหญ่ มีสมบัติมาก. อีกอย่างหนึ่ง ควรกล่าวว่า มหาสารา เพราะมีทรัพย์มาก ท่านกล่าวว่า มหาสาลา เพราะแปลง ร อักษรเป็น ล อักษร. ชื่อว่า ขตฺติยมหาสาลา เพราะเป็นกษัตริย์มหาศาล หรือมหาศาลในกษัตริย์. แม้ ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในบทนั้น กษัตริย์ใดเก็บทรัพย์อย่างต่ำ ๑๐๐ โกฏิไว้ที่พระราชมณเฑียร ใช้จ่ายกหาปณะวันละ ๒๐ อัมพณะ กษัตริย์นี้ชื่อว่า กษัตริย์มหาศาล. พราหมณ์ใดเก็บทรัพย์อย่างต่ำ ๘๐ โกฏิไว้ที่เรือน ใช้จ่ายกหาปณะวันละ ๑๐ อัมพณะ พราหมณ์นี้ชื่อว่าพราหมณมหาศาล. คหบดีใดเก็บทรัพย์ อย่างต่ำ ๔๐ โกฏิไว้ที่เรือน ใช้จ่ายกหาปณะวันละ ๕ อัมพณะ คหบดีนี้ชื่อว่า คหบดีมหาศาล. เพราะเทพชั้นรูปาวจร และเทพชั้นอรุปาวจรเป็นติเหตุกะ โดยส่วนเดียว ท่านจึงไม่กล่าวว่า าณสมฺปยตฺเต ในกรรมอันสัมปยุตด้วย ญาณ. แต่ในมนุษย์ทั้งหลาย เพราะมีทุเหตุกะและอเหตุกะ และในเทพชั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 410
กามาวจรที่เหลือเพราะมีทุเหตุกะท่านจึงกล่าว าณสมฺปยตฺเต. อนึ่ง กามาวจรเทพทั้งหลายในที่นี้ ชื่อว่า เทวา เพราะเพลิดเพลินด้วยความยินดีใน กามคุณ ๕ และรุ่งเรืองด้วยรัศมีแห่งร่างกาย. รูปาวจรพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า เทวา เพราะเพลิดเพลินด้วยความยินดีในฌาน และรุ่งเรืองด้วยรัศมีแห่ง ร่างกาย. อรูปาวจรพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า เทวา เพราะเพลิดเพลินด้วยความ ยินดีในฌาน และรุ่งเรืองด้วยรุ่งเรืองแห่งญาณ.
บทว่า กุสลกมฺมสฺส ชวนกฺขเณ ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม คือในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรมอันเป็นติเหตุกกามาวจรอันยังติเหตุกปฏิสนธิ ให้เกิดในอดีตชาติ ๗ วาระ ด้วยอำนาจการเกิดบ่อยๆ ในชวนวิถีจิต ความว่า ในกาลอันเป็นไป. บทว่า ตโย เหตู กุสลา เหตุ ๓ ประการเป็นกุศล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นกุศลเหตุ. บทว่า ตสฺมึ ขเณ ชาตเจตนาย แห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น คือ แห่งกุศลเจตนาที่เกิดในขณะ ดังกล่าวแล้วนั้น. บทว่า สหชาตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสหชาตปัจจัย คือ เมื่อเกิดย่อมเป็นอุปการะโดยความเกิดร่วมกัน. บทว่า เตน วุจฺจติ ด้วย เหตุนั้นท่านจึงกล่าว คือกล่าวด้วยความเป็นสหชาตปัจจัยนั้นนั่นแล. บทว่า กุสลมูลปจฺจยาปิ สงฺขารา แม้เพราะกุศลมูลเป็นปัจจัยก็เกิดสังขาร ท่าน กล่าวโดยนัยแห่งปัจจยาการอันเป็นไปในขณะจิตดวงเดียว. อนึ่ง พึงทราบว่า ท่านสงเคราะห์เจตสิกทั้งหมด อันสงเคราะห์ด้วยสังขารขันธ์ในบทนั้นด้วย พหุวจนะว่า สงฺขารา สังขารทั้งหลาย. ท่านกล่าวว่า กุสลมูลานิ บ้าง แม้เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารด้วย อปิ ศัพท์. บทว่า นิกฺกนฺติกฺขเณ ในขณะความพอใจแห่งสังขาร อันเกิดขึ้นในกรรมที่ปรากฏเฉพาะหน้าเพื่อให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 411
วิบากของตน ในกรรมนิมิตหรือในคตินิมิตอันปรากฏด้วยกรรมที่ปรากฏแล้ว อย่างนั้น. บทว่า นิกนฺติ ความพอใจ คือ ความใคร่ ความปรารถนา. จริงอยู่ เพราะใกล้จะตายมีจิตวุ่นวายด้วยโมหะ ความพอใจย่อมเกิดขึ้นแม้ใน ข่ายแห่งอเวจีมหานรก ส่วนในนิมิตที่เหลือจะเป็นอย่างไร. บทว่า เทฺว เหตู เหตุ ๒ ประการ คือ โลภะ โมหะเป็นอกุศลเหตุ. ส่วนความพอใจในภพปรารภ ขันธสันดานของตนเพียงออกไปจากภวังควิถี อันเป็นไปแล้วในลำดับแห่ง ปฏิสนธิ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่สังขารทั้งปวง. บทมีอาทิอย่างนี้ว่า ก็หรือว่า อกุศลธรรมไม่เคยเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ในภูมิใด กุศลธรรมทั้งหลายก็ไม่เคยเกิด แก่บุคคลนั้น ในภูมินั้นหรือ? มีคำตอบว่า ใช่ ดังนี้ท่านกล่าวหมายถึงความพอ ใจนี้นั่นแล. บทว่า ตสฺมึ ขเณ ชาตเจตนาย แห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น คือ อกุศลเจตนา. บทว่า ปฏิสนฺธิกฺขเณ ในขณะแห่งปฏิสนธิ คือ ในขณะแห่ง ปฏิสนธิที่ถือเอาแล้วด้วยกรรมนั้น. บทว่า ตโต เหตู เหตุ ๓ ประการ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นอัพยากตเหตุ. บทว่า ตสฺมึ ขเณ ชาตเจตนาย แห่งเจตนาที่เกิดในขณะนั้น คือ อัพยากตเจตนาอันเป็นวิบาก. ในบทนี้ว่า นามรูปปจฺจยาปิ วิญฺาณํ แม้เพราะนามรูปเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณในขณะ ปฏิสนธินั้น วิบากเหตุ ๓ และเจตสิกที่เหลือเป็นนาม หทยวัตถุ เป็นรูป แม้แต่ นามรูปเป็นปัจจัยนั้นปฏิสนธิวิญญาณย่อมเป็นไป. นามแม้ในบทว่า วิญฺาณปจฺจยาปิ นามรูปํ แม้เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยก็มีนามรูปนี้ มีประการดัง ได้กล่าวแล้ว. ส่วนรูปในบทนี้ได้แก่ รูป ๓๐ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ ของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ เพราะท่านประสงค์เอามนุษย์ ปฏิสนธิพร้อม ด้วยเหตุ. อนึ่ง ได้แก่ รูป ๗๐ คือ จักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ (และรูป ๓๐ ข้างต้น) ของสังเสทชะ โอปปาติกะซึ่งมีอายตนะครบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 412
นามรูปมีประการดังนี้แล้วนั้น ย่อมเป็นไปเพราะปฏิสนธิวิญญาณเป็นปัจจัยใน ขณะปฏิสนธิ.
ในบทนี้ว่า ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ ๕ คือ รูปที่ได้ในขณะปฏิสนธิ ด้วยปฏิสนธิจิตเป็นรูปขันธ์ เวทนาที่เกิดร่วมกันเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็น สัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือเป็นสังขารขันธ์ ปฏิสนธิจิตเป็นวิญญาณขันธ์. บทว่า สหชาตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ไม่มีรูป ๔ เป็นสหชาตปัจจัยของกันและกัน มหาภูตรูป ๔ ในรูปขันธ์เป็นสหชาตปัจจัย ของกันและกัน ขันธ์ไม่มีรูปและหทยรูปเป็นสหชาตปัจจัยของกันและกัน แม้ มหาภูตรูปก็เป็นสหชาตปัจจัยของอุปาทารูป. บทว่า อญฺมญฺปจฺจยา โหนฺติ เป็นอัญญมัญญปัจจัย คือ เบญจขันธ์เป็นอุปการะแก่กันและกันด้วย ความอุปถัมภ์ให้เกิด ขันธ์ไม่มีรูป ๔ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๔ ก็เป็นอัญญมัญญปัจจัย. บทว่า นิสสยปจฺจยา โหนฺติ เป็นนิสสยปัจจัย คือ เบญจขันธ์เป็นอุปการะโดยอาการตั้งมั่นไว้และโดยอาการเป็นที่อาศัย ขันธ์ไม่มีรูป ๔ เป็นนิสสยปัจจัยของกันและกัน เพราะเหตุนั้นพึงให้พิสดารดุจ สหชาตปัจจัย. บทว่า วิปฺปยุตฺตปจฺจยา โหนฺติ เป็นวิปปยุตตปัจจัยคือ เบญจขันธ์เป็นอุปการะโดยความวิปปยุตคปัจจัยด้วยการไม่เข้าถึงความเป็นมีวัตถุ อย่างเดียวกันเป็นต้น ขันธ์ไม่มีรูปเป็นวิปปยุตตปัจจัยของปฏิสนธิรูป หทัยรูป เป็นวิปปยุตตปัจจัยของขันธ์ไม่มีรูป เพราะในบทนี้ว่า ปญฺจกฺขนฺธา ท่าน กล่าวด้วยสามารถตามที่มีได้ด้วยประการฉะนี้.
ในบทว่า จตฺตาโร มหาภูตา มหาภูตรูป ๔ นี้ท่านกล่าวถึงปัจจัย ๓ ก่อน. บทว่า ตโย ชีวิตสงฺขารา เครื่องปรุงชีวิต ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่นและวิญญาณ. บทว่า อายุ ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์และอรูปชีวิตินทรีย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 413
บทว่า อุสฺมา ได้แก่ เตโชธาตุ. บทว่า วิฺาณํ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ จริงอยู่ ชื่อว่า ชีวิตสังขาร เพราะอายุ ไออุ่น และวิญญาณเหล่านี้ย่อม ปรุงชีวิตสังขาร คือให้เป็นไปยิ่งๆ ขึ้น.
บทว่า สหชาตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสหชาตปัจจัย พึงทราบว่า อรูปชีวิตินทรีย์และปฏิสนธิวิญญาณเป็นอัญญมัญญปัจจัยและสหชาตปัจจัยของ ขันธ์อันสัมปยุตกันและหทัยรูป เตโชธาตุเป็นอัญญมัญญปัจจัยและสหชาตปัจจัย ของมหาภูตรูป ๓ และเป็นสหชาตปัจจัยของอุปาทารูป รูปชีวิตินทรีย์เป็นสหชาตปัจจัยโดยปริยายของสหชาตรูป.
บทว่า อญฺมญฺปจฺจยา โหนฺติ นิสฺสยปจฺจยา โหนฺติ เป็น อัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย คือ อรูปชีวิตินทรีย์และปฏิสนธิวิญญาณ ทั้ง ๒ เป็นอัญญมัญญปัจจัยของขันธ์อันสัมปยุตกัน. พึงทราบประกอบโดยนัยที่ ท่านกล่าวไว้ว่า อญฺมญฺนิสฺสยปจฺจยา โหนฺติ เป็นอัญญมัญญปัจจัย และนิสสยปัจจัย.
บทว่า วิปฺปยุตฺตปจฺจยา โหนฺติ เป็นวิปปยุตตปัจจัย คือ อรูปชีวิตินทรีย์และปฏิสนธิวิญญาณย่อมเป็นวิปปยุตตปัจจัยของปฏิสนธิรูป. ส่วน รูปชีวิตินทรีย์ไม่เหมาะในความเป็นอัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัยและวิปปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวด้วยอำนาจตามที่มีได้ว่า ตโย ชีวิตสงฺขารา เครื่องปรุงชีวิต ๓ ดังนี้. พึงประกอบนามและรูปในความเป็นปัจจัย ๔ โดยนัย ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า จุทฺทส ธมฺมา คือธรรม ๑๔ ประการ โดยจำนวนอย่างนี้คือ ขันธ์ ๕ มหาภูตรูป ๔ ชีวิตสังขาร ๓ นาม ๑ รูป ๑. ความเป็นปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้นของธรรมเหล่านั้น และธรรมอื่นข้างหน้ามีนัยดังกล่าวแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 414
บทว่า สมฺปยุตฺตปจฺจยา โหนฺติ เป็นสัมปยุตตปัจจัย คือ ธรรมทั้งหลาย เป็นอุปการะโดยความสัมปยุตกันกล่าวคือ มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน. บทว่า ปญฺจินฺทฺริยา อินทรีย์ ๕ ได้แก่ สัทธินทรีย์เป็นต้น. บทว่า นามญฺจ ในที่นี้ได้แก่ ขันธ์ ๓ มีเวทนาขันธ์ เป็นต้น. บทว่า วิญฺาณญฺจ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ. บทว่า จุทฺทส ธมฺมา คือธรรม ๑๔ ประการ อีกโดยจำนวนอย่างนี้คือ ขันธ์ ๔ อินทรีย์ ๕ เหตุ ๓ นาม ๑ รูป ๑.
บทว่า อฏฺวีสติ ธมฺมา ธรรม ๒๘ ประการ คือ ตอนต้น ๑๔ และธรรมเหล่านี้ ๑๔. เพราะแม้รูปก็เข้าไปในธรรมนี้ ท่านจึงนำสัมปยุตตปัจจัยออกแล้วกล่าววิปปยุตตปัจจัย.
พระสารีบุตรเถระครั้นแสดงถึงประเภทของปัจจัยนั้นๆ แห่งธรรมอัน เกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้นๆ ซึ่งมีอยู่ในปฏิสนธิอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงสรุปเหตุ ที่ชี้แจงไว้แต่ต้น จึงกล่าวว่า อิเมสํ อฏฺนฺนํ เหตูนํ ปจฺจยา อุปฺปตฺติ โหติ ย่อมอุบัติเพราะปัจจัยแห่งเหตุ ๘ ประการเหล่านี้. เหตุ ๘ ประการอย่างนี้คือ กุศลเหตุ ๓ ในขณะประมวลกรรม อกุศลเหตุ ๒ ในขณะพอใจ อัพยากต เหตุ ๓ ในขณะปฏิสนธิ. ในเหตุเหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ และอกุศลเหตุ ๒ เป็น อุปนิสสยปัจจัยโดยความเป็นไปในขณะปฏิสนธินี้ อัพยากตเหตุ ๒ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยและสหชาตปัจจัยตามสมควร. แม้ในวาระที่เหลือก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. อนึ่ง เพราะอรูปาวจรไม่มีรูป ท่านจึงกล่าวว่า แม้นามเป็นปัจจัย ก็มีวิญญาณ แม้วิญญาณเป็นปัจจัยก็มีนาม. แม้ธรรม ๑๔ ปนกับรูปก็ลดไป เพราะธรรมนั้นลดในวาระว่า อฏฺวีสติ ธมฺมา ธรรม ๒๘ ประการจึงไม่ได้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 415
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ ครั้นแสดงติเหตุกปฏิสนธิอันเป็นปัจจัยแห่ง วิโมกข์แล้วประสงค์จะแสดงติเหตุกปฏิสนธิให้พิเศษด้วยการสัมพันธิ์กันนั้น จึง กล่าวบทมีอาทิว่า คติสมฺปตฺติยา าณวิปฺปยุตฺเต ในกรรมอันไม่ประกอบ ด้วยญาณ คติสมบัติย่อมมีเหตุเกิด.
บทว่า กุสลกมฺมสฺส ชวนกฺขเณ ในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรม คือในขณะแล่นไปแห่งกุศลกรรมอันเป็นทุเหตุกะ อันให้เกิดปฏิสนธิในอดีตชาติ ตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า เทฺว เหตู เหตุ ๒ ประการ คือ อโลภะ อโทสะเป็นกุศลเหตุ เพราะไม่ประกอบด้วยญาณ. แม้อัพยากตเหตุก็มี ๒ คือ อโลภะ อโทสะเหมือนกัน. บทว่า จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ คืออินทรีย์ ๔ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น เว้นปัญญินทรีย์. บทว่า ทฺวาทส ธมฺมา ธรรม ๑๒ ประการ คือ ธรรม ๑๒ ประการ เพราะปัญญินทรีย์ และอโมหเหตุลดไป เพราะธรรม ๒ ประการนั้นลดไปจึงเป็นธรรม ๒๖. บทว่า ฉนฺนํ เหตูนํ คือแห่งเหตุ ๖ ประการ อย่างนี้คือกุศลเหตุ ๒ อกุศลเหตุ ๒ วิปากเหตุ ๒. แต่ในที่นี้ไม่ถือเอารูปาวจรและอรูปาวจร เพราะเป็นติเหตุกะโดยส่วนเดียว. พึงทราบบทที่เหลือโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในปฐมวาระนั่นแหละ. ในวาระนี้ท่าน กล่าวไว้ว่า ปฏิสนธิอันเป็นทุเหตุกะ ย่อมไม่มีด้วยกรรมอันเป็นติเหตุกะ เพราะ กรรมอันเป็นทุเหตุกะท่านกล่าวแล้ว ด้วยปฏิสนธิอันเป็นทุเหตุกะ เพราะ ฉะนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในวาทะของพระมหาธรรมรักขิตเถระผู้ทรง พระไตรปิฎก ในอรรถกถาธรรมสังคหะว่า ปฏิสนธิเป็นติเหตุกะด้วยกรรม อันเป็นติเหตุกะ มิใช่เป็นทุเหตุกะและอเหตุกะ ทุเหตุกะและอเหตุกะย่อมเป็น ด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะ มิใช่เป็นติเหตุกะ คำนั้นสมด้วยบาลีนี้. ส่วนคำใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 416
ที่ท่านกล่าวไว้ในวาทะของพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฏก และพระมหา-ทัตตเถระผู้อยู่ ณ โมรวาปีว่า ปฏิสนธิเป็นติเหตุกะบ้าง เป็นทุเหตุกะบ้างย่อมมีได้ด้วยกรรมอันเป็นติเหตุกะ มิใช่เป็นอเหตุกะ ปฏิสนธิเป็นทุเหตุกะบ้างเป็นอเหตุกะบ้าง ย่อมมีได้ด้วยกรรมอันเป็นทุเหตุกะมิใช่เป็นติเหตุกะ คำนั้นปรากฏคล้ายจะพลาดไปจากบาลีนี้ เพราะกถานี้เป็นอธิการแห่งเหตุ จึงไม่กล่าวถึงอเหตุกปฏิสนธิ.
จบอรรถกถาคติกถา