มีคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเรื่องการขอ เพราะน้อยครั้งที่เราจะได้รับสิ่ง ที่น่าพึงพอใจโดยไม่ต้องขอ ซึ่งในความจริงที่พบอยู่ ส่วนใหญ่ถ้าไม่ขอก็มักจะไม่ได้ แต่ผู้ที่ขอก็มักจะได้ ในกรณีที่ขอแล้วถึงจะได้แต่ถ้าไม่ขอก็ไม่ได้นั้น ขอเรียนถามว่าการ ขอเป็นปัจจัยในปัจจุบันที่ช่วยให้กุศลกรรมให้ผลหรือไม่ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การจะได้รับสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ตามก็ไม่พ้นไปจากเรื่องของกรรมทั้งสิ้นครับ เมื่อกรรมดี ให้ผล ก็ย่อมได้รับสิ่งที่ดี เมื่อกรรมไม่ดีให้ผลก็ย่อมได้รับสิ่งที่ไม่ดีซึ่งในชวิตประจำวัน การได้รับสิ่งที่ดี ก็คือการได้เห็นสิ่งที่ดี ได้ยินสิ่งที่ดี ได้กลิ่นสิ่งที่ดี เป็นต้น อันเกิด จากผลของกรรมที่เป็นกรรมดีให้ผลครับ ซึ่งเหตุปัจจัยที่เป็นเหตุให้กุศลกรรมให้ผลได้ เหตุปัจจัยหนึ่ง คือ ปโยคสมบัติ คือ ความเพียรที่ดี ที่ถูกต้อง
ดังนั้นเราก็จะต้องมา เข้าใจว่า ความเพียรที่จะเป็นปัจจัยให้กุศลกรรมในอดีตให้ผลได้ ความเพียรที่เป็น ปโยคสมบัติในที่นี้หมายถึงอะไร ใช่การขอ หรือไม่ ที่เป็นปโยคสมบัติครับ ปโยคสมบัติ หรือ การถึงพร้อมด้วยความเพียรที่ถูกต้อง อันเป็นปัจจัยให้กุศลกรรมใน อดีตให้ผล ซึ่งในพระอภิธรรมปิฎกได้แสดงว่าความเพียรในที่นี้ (ปโยคสมบึติ) หมายถึง ความเพียรที่เป็นไปในกุศลกรรม ที่เป็นไปในการทำดี ทางกาย วาจาและใจครับ เห็น ไหมครับว่าเหตุต้องตรงกับผล ต้องเป็นความเพียรที่ทำดี เมื่อมีการทำดี ซึ่งขณะนั้นก็ มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะทำดี การทำดีนั่นเองในปัจจุบันในขณะนั้น ย่อมจะ เป็นปัจจัยได้ที่จะทำใหกุศลกรรมในอดีตให้ผลครับ ในทางตรงกันข้าม ปโยควิบัติ ความเพียรที่ไม่ดี คือ การทำอกุศลกรรมในปัจจุบัน ย่อมจะเป็นปัจจัยให้อกุศลกรรมใน อดีตให้ผลได้ครับ เพราะมีการทำชั่วในชาติปัจจุบันนั่นเองครับ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความเพียรที่เป็นปโยคสมบัติ อันเป็นความเพียรที่ถูกต้อง คือการ ประกอบกรรมดีในปัจจุบัน ย่อมจะเป็นปัจจัยให้กุศลกรรมในอดีตให้ผล ทำให้ได้รับสิ่งที่ ดี ดังนั้นจึงไม่ได้หมายถึงการขอ การขอไม่ใช่ปโยคสมบัติและไม่ใช่เหตุที่จะทำให้กุศล กรรมในอดีตให้ผลครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...
ปโยคสมบัติและปโยควิบัติ [วิภังค์]
การขอ ไม่ใช่ปัจจัยให้ผลของกุศลกรรมให้ผลจริง เพียงแต่ว่าเมื่อมีการขอ ก็คือการพูด นั่นเอง ก่อนพูดก็ต้องคิด คิดก่อนขอ ถ้าเช่นนั้น การคิดก็เป็นปัจจัยให้กุศลกรรมในอดีต ให้ผลทุกครั้ง การพูดก็เป็นปัจจัยให้ผลของกรรมในอดีตที่เป็นกรรมดีให้ผล ก่อนหน้านั้น อาจจะต้องเดินไปหาเพื่อพูดขอ การเดินไปหาก็จะต้องเป็นปัจจัยให้ผลของกรรมใน อดีตที่เป็นกรรมดีให้ผลครับ
แต่จริงๆ แล้ว เราเอาเหตุการณ์ที่ใกล้ๆ ติดๆ กัน จึงสำคัญว่า การได้มากขึ้นเพราะการขอ เพราะขอแล้วจึงได้ แต่ในความเป็นจริงเป็นกรรมที่ดีจะให้ ผลจะได้มากอยู่แล้วครับ
และบางคนไม่ขอก็ได้มาก แต่พอขอแล้วได้น้อยก็มี เช่น ปกติ ก็ได้มากเพราะไม่ขอ ผู้ให้ก็รู้ว่าเป็นผู้มักน้อย ไม่เอ่ยปากขอ แต่เมื่อขอ คนที่ให้ก็เลยให้ น้อยลงก็ได้ เพราะรู้ว่าคนนั้นไม่มักน้อยแล้ว ดังนั้นการจะได้มาก ได้น้อย สำคัญที่กรรม ไม่ใช่การขอครับ ซึ่งแสดงถึงความไม่แน่นอนใช่ไหมครับ ขอแล้วไม่ได้ก็มี ไม่ขอได้ก็มี เพราะกรรมที่ให้ผลเท่านั้นครับ
ส่วนเหตุปัจจุบันคือการทำกรรมดี ทีเป็นปโยคสมบัติ ที่จะทำให้กรรมดีในอดีตให้ผลครับครับ
การขอ จิตอะไรที่ขอ ใช่กุศลกรรมหรือไม่ครับ เมื่อไม่ใช่ เป็นอกุศลจิต อกุศลจิตจะเป็นปัจจัยให้อุปถัมภ์ให้กรรมดีในอดีตให้ผลไม่ได้ เลย ดังนั้นเหตุจึงไม่ตรงกับผล อกุศลจะเป็นปัจจัยให้ กุศลกรรมให้ผลไม่ได้ครับ ดังนั้น กรรมดีที่ทำเท่านั้นในปัจจุบัน ที่เป็นปโยคสมบัติที่เอื้อให้กุศลกรรมในอดีตมีปัจจัยให้ เกิดขึ้น ให้ผลมากขึ้นครับ
ดังนั้น การมองเพียงเหตุการณ์ใกล้กัน ต่อเนื่อง เช่น ขอ เลยได้ ก็ทำให้เข้าใจผิดไปได้ในเรื่องกฎแห่งกรรม เพราะการขอไม่ใช่เหตุที่ได้สิ่งต่างๆ มา ต้องเป็นกรรมดีครับ รวมทั้งกรรมดีในปัจจุบันด้วยครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาบุญด้วยเศียรเกล้าครับ แม้ขอก็ใช่ว่าจะได้ทุกครั้ง หรือทุกคน เหมือนการไปบนบานสารกล่าว
ขอตำแหน่งที่สูงขึ้น เพราะกลัวคนอื่นได้ตำแหน่งนั้นไป (โทสะ) เบียดเบียนคนอื่นที่อาจสมควรมากกว่า ... หรือเป็นไปกับโลภะอยากก้าวหน้า ... ทั้งสองอย่างเป็นทุจริตแต่ถ้าขอเพราะคิดว่าควรได้ถ้าไม่ขอก็ไม่ได้..เป็นทุจริตไหมคะ ... ในศาสนาพุทธกล่าวเรืองการขอไว้หรือไม่ว่าอะไรควรขอและอะไรไม่ควรขอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 287
[๑๐๒๖] ผู้มีปัญญาทั้งหลายจะไม่ออกปากขอเลย ธีรชนควรรู้ไว้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ยืน เจาะจงอยู่ที่ใด นั่นคือการขอของพระอริยเจ้า ทั้งหลาย. จากพระสูตร..หมายถึงไม่ควรเป็นผู้ขอทุกประการหรือไม่อย่างไร
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
ทุจริต คือ ขณะที่เป็นอกุศล จึงเป็นทุจริตครับ ดังนั้นการขอ โดยทั่วไป ส่วนใหญ่ ย่อมเป็นอกุศล เป็นโลภะ ความต้องการ จะน้อยหรือจะมากก็ต้องเป็นอกุศลครับ แม้ แต่การคิดว่าควรได้ นั่นเป็นความคิดครับ แต่การได้ต้องเป็นผลของกุศลกรรม ที่ได้ ทำมา ไม่ใช่ด้วยการขอ เพราะการขอ บางครั้งไมได้ก็มี ดังนั้นความคิดก็ส่วนหนึ่ง คือ คิดว่า ถ้าขอเพราะคิดว่าควรได้ถ้าไม่ขอก็ไม่ได้ ...
แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เพราะการ ขอก็ได้ และได้เพราะไม่ขอก็ได้ ก็แล้วแต่กรรมดีจะให้ผลหรือไม่นั่นเองครับ
ดังนั้นการ คิดว่าขอแล้วได้ หรือ ไม่ได้ก็ส่วนหนึ่ง เป็นความคิด ส่วนจะได้หรือไม่ได้ ก็ไมได้ขึ้นอยู่ กับการขอหรือไม่ขอ ขึ้นอยู่กับกรรรมที่ทำมานั่นเองว่าจะให้ผลหรือไม่ครับ และที่สำคัญ ขณะที่คิดจะขอว่าสมควรจะได้ก็ต้องพิจารณาด้วยครับว่า จิตขณะนั้นมีความต้องการ แม้เพียงเล็กน้อยหรือไม่ครับ เพราะคิดว่าสมควรจะได้ ซึ่งสำหรับเรื่องการขอ ในพระ ไตรปิฎกก็แสดงไว้หลายนัยครับ สำหรับโดยทั่วไป ก็กล่าวว่า บุคคลเป็นอันมากก็ขอ ให้ได้สิ่งที่น่าปรารถนา น่าชอบใจ แต่พระพุทธองค์แสดงเหตุว่า การจะได้สิ่งที่น่า ปรารถนา น่าชอบใจด้วยการทำเหตุที่ดี คือ กุศลกรรม มีความถึงพร้อมด้วศรัทธา เป็น ต้น จึงไม่ได้อยู่กับการขอแล้วจะได้ครับ อีกนัยหนึ่ง คำว่าภิกษุ หมายถึงผู้ขอ ขอโดย ธรรม เช่น ภิกษุ เป็นผู้นิ่ง โดยดุษณีภาพ ไม่แสดงอาการอื่นเพื่อขอ เพื่อให้ได้มาก แต่ เป็นผู้นิ่ง อันเป็นการขอโดยธรรม ก็ได้ครับ
แต่ถ้าเป็นการขอ เพื่อให้ได้มาด้วย อกุศล จิต ซึ่ง ภิกษุในสมัยพุทธกาล มากรูปด้วยกัน เป็นู้มากไปด้วยการขอ แสดงอาการท่า ทางในการขอ พระพุทธเจ้าตรงติเตียน เพราะเป็นอกุศล
และพระองค์แสดงธรรมต่อใน เรื่องนั้นครับว่า การขอก็เหมือนการร้องไห้ ผู้ไม่ให้ก็เหมือนร้องไห้ตอบนั่นเองครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 538
๓. พรหมทัตตชาดก
ว่าด้วยผู้ขอกับผู้ถูกขอ
[๕๙๐] ดูก่อนมหาบพิตร ผู้ขอย่อมได้ ๒ อย่าง คือ ได้ทรัพย์หรือไม่ได้ทรัพย์ แท้จริงการขอ มีอย่างนี้เป็นธรรมดา.
[๕๙๑] ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่ในปัญจาลรัฐ
บัณฑิตกล่าวถึงการขอว่า เป็นการร้องไห้ ผู้ ใดปฏิเสธคำขอ บัณฑิตกล่าวคำปฏิเสธของ ผู้นั้นว่า เป็นการร้องไห้ตอบ.
[๕๙๒] ชาวปัญจาลรัฐผู้มาประชุมกันแล้ว อย่า ได้เห็นอาตมภาพผู้กำลังร้องไห้อยู่ หรืออย่า ได้เห็นพระองค์ผู้ทรงกรรแสงตอบอยู่ เพราะ เหตุนั้น อาตมภาพจึงปรารถนาขอเฝ้าในที่ลับ.
[๕๙๓] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอถวาย วัวแดงหนึ่งพันพร้อมด้วยวัวจ่าฝูงแก่ท่าน อันอารยชนได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยเหตุ ผลของท่านแล้ว ทำไมจะไม่พึงให้แก่ท่าน ผู้เป็นอารยชนเล่า.
จบ พรหมทัตตชาดกที่ ๓
[๑๐๒๓] ก็ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยการขอ แต่ไม่ขอสิ่ง ที่ควรขอในเวลาที่ควรขอ ผู้นั้นย่อมขจัดผู้อื่น จากบุญด้วย ทั้งตนเองก็เลี้ยงชีพอยู่ไม่ได้ด้วย
นอกจากพระและวณิพกแล้วผู้เลี้ยงชีพด้วยการขอหมายถึงใคร ... .คะ
เรียนความเห็นที่ 4 และ 7 ครับ
เพิ่มเติมที่ท่านได้ยกมาพระสูตรมาที่ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 287
[๑๐๒๖] ผู้มีปัญญาทั้งหลายจะไม่ออกปากขอเลย ธีรชนควรรู้ไว้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ยืน เจาะจงอยู่ที่ใด นั่นคือการขอของพระอริยเจ้า ทั้งหลาย. จากพระสูตร..หมายถึงไม่ควรเป็นผู้ขอทุกประการหรือไม่อย่างไร
จากพระสูตรที่ยกมา แสดงถึงเพศภิกษุ ที่หมายถึง ผู้ขอ ผู้ขอโดยธรรม ดังนั้นการขอ โดยธรรม เช่น เวลาบิณฑบาต ท่านก็จะไม่เอ่ยปากขอ แต่จะเป็นผู้นิ่งอยู่นั่นเป็นอาการ ขอโดยธรรม นิ่งโดยดุษณีภาพนั่นองครับ ดังนั้น การขอโดยธรรมเป็นสิ่งที่สมควรตาม ที่กล่าวมา เพราะท่านเป็นเพศภิกษุ อันเลี้ยงชีพด้วยการขอโดยธรรมครับ
[๑๐๒๓] ก็ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยการขอ แต่ไม่ขอสิ่ง ที่ควรขอในเวลาที่ควรขอ ผู้นั้นย่อมขจัดผู้อื่น จากบุญด้วย ทั้งตนเองก็เลี้ยงชีพอยู่ไม่ได้ด้วย
นอกจากพระและวณิพกแล้วผู้เลี้ยงชีพด้วยการขอหมายถึงใคร ... .คะ
จากพระสูตรที่ยกมา ที่มาก็มาจากเรื่องเดียวกับที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภ ภิกษุผู้มาก ไปด้วยการขอนั่นเอง ทรงติเตียนและแสดงธรรมเรื่องการขอ ว่า ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รัก ของผู้ให้ ผู้ไม่ให้ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ขอด้วยจิตที่เป็นโลภะ จึงไม่ชอบ เมือ่ไม่ให้ เป็นต้น และแสดงว่าการขอของรัก ย่อมไม่เป็นที่รักของบุคคลนั้น
โดยมาก ผู้เลี้ยงชีพด้วยการขอ อันเป็นการขอโดยธรรม มุ่งหมายถึงพระภิกษุเป็น สำคัญครับ ส่วนผู้ที่เลี้ยงชีพด้วยการขอ ก็มีนักบวชนอกศาสนา ที่ขอโดยธรรมมีพระ โพธิสัตว์ เป็นต้นครับ รวมทั้งพวกพราหมณ์และวณิพก ยาจกด้วยครับ ดังข้อความขยาย จากที่ข้อความพระไตรปิฎกที่ยกมาครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 292
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจนชีวาโน ได้แก่ผู้มีชีวิตอยู่ด้วยการขอ. อีกอย่าง หนึ่ง ปาฐะ ก็เป็น ยาจนชีวาโน นี้เหมือนกัน. มีคำอธิบายว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าอัฏฐิ เสนะ ผู้ใดประพฤติดำรงชีพด้วยการขอจะเป็นสมณะก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...
การขอ [อัฏฐิเสนชาดก]
ขอสนทนาเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจนะครับ
แม้คำถามนี้พยายามเจาะจงถึงการเอ่ยปากขอเพื่อความชัดเจน แต่วัตถุประสงค์ ที่แท้จริงก็อยากจะสื่อไปถึงการขอด้วยอวัจนะภาษาและในอาการอื่นๆ ด้วย ซึ่งการขอใน ลักษณะต่างๆ คือการแจ้งความต้องการของเราให้ผู้อื่นทราบไม่ว่าจะด้วยวาจา ท่าทาง หรือลายลักษณ์อักษร โดยอาจจะเป็นการขอข้างเดียวหรือแลกเปลี่ยนกันเช่นการซื้ขาย การขอในลักษณะเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการประกอบอาชีพทุกๆ อาชีพ ซึ่งแม้ภิกษุ ทั้งหลายก็เป็นผู้ขอ ผมคิดว่าหากการขอไม่ใช่ปัจจัยทีี่สำคัญ บุคคลทั้งหลายคงไม่ต้อง ประกอบอาชีพการงานสิ่งใด เพียงทำความเพียรในทาน ศีล และภาวนา ก็จะมีปัจจัย ดำรงชีพได้โดยแต่เพียงอาศัยกุศลกรรมในอดีต และความเพียร (ในทาน ศีล และ ภาวนา) ในปัจจุบันเท่านั้น และคงไม่ต้องเรียนศิลปวิทยาในเรื่องต่างๆ เลย
ผมเข้าใจว่าความเห็นของชาวโลกย่อมขัดกับของพระอริยเจ้า จึงต้องอาศัยท่านผู้ มีปัญญา อธิบายด้วยเหตุและผลให้มีความเห็นตรงตามความเป็นจริง หากพระธรรมส่วน ใดละเอียดเกินกว่าปัญญาในขณะนี้จะเข้าใจและเข้าถึงได้ ก็จะน้อมรับไว้ด้วยความศรัทธา ครับ
เรียนความเห็นที่ 9 ครับ
ก็คงต้องกลับมาสู่เรื่องกรรมและผลของกรรมอีกครั้งครับว่า การจะได้รับสิ่งที่ดี หรือไม่ดีเพราะอะไร เพราะการขอ หรือ เพราะกรรมดีให้ผล เหตุจะต้องตรงกับผล ซึ่งในเรื่องของการขอ พระพุทธองค์ก็แสดงไว้แล้วครับว่า การขอย่อมได้ 2 อย่างคือ ได้ กับ ไม่ได้
ดังนั้น หากการขอเป็นเหตุจริงที่จะทำให้ได้จริง ทำไมถึงมีการขอแล้ว ไม่ไ่ด้ก็มีครับ ทำไมถึงไม่ได้ ถ้าเป็นเหตุให้ได้จริงก็ต้องอธิบายเหตุผลให้ได้ว่า ทำไมขอแล้วไมไ่ด้ครับ ในเมื่อการขอเป็นเหตุให้ได้ ดังนั้นทุกอย่างต้องมีเหตุเพราะ กรรมดีไม่ให้ผลนั่นเอง ส่วนการได้เพราะการขอ ก็เพราะกรรมดีให้ผลนั่นเองครับ
[๕๙๐] ดูก่อนมหาบพิตร
ผู้ขอย่อมได้๒ อย่าง คือ ได้ทรัพย์หรือไม่ได้ทรัพย์ แท้จริงการขอ มีอย่างนี้เป็นธรรมดา.
การมองเหตุการสั้นๆ ที่ต่อเนื่องกันไป จึงสำคัญสิ่งที่ใกล้ว่าเป็นเหตุ เช่น เพราะขอ จึงได้ แต่ขอ แล้วไมไ่ด้ก็มี เหมือนกับที่ชาวโลก มองว่าการโกง การที่เขาทำไม่ดี ทำให้เขารวย เขาก็ประกอบอาชีพไม่ดี ทุจริตใช่ไหมครับ แต่ทำไมเขารวย เพราะการ ทำอาชีพไม่ดีใช่ไหมครับ จึงทำให้เขามีเงินมาก ทั้งที่ประกอบอาชีพทุจริต แต่ก็รวย เหตุคือการประกอบอาชีพที่ผิด จึงทำให้เขาได้รับสิ่งที่ดีใช่หรือไม่ครับ ถ้าชาวโลกก็ อาจจะใช่ เพราะมองเหตุการณ์ใกล้ คือ ประกอบอาชีพไม่ดีจึงรวย แต่การรวย การได้ ทรัพย์ต้องเป็นผลของกุศลกรรม ดังนั้นเหตุจึงเป็นกุศลกรรมในอดีต ที่อาจเป็นชาติ ก่อนๆ แต่ไม่ใช่เหตุปัจจุบันคือการประกอบอาชีพไม่ดีครับ ดังนั้นการเข้าใจเรื่องของ กรรม จึงต้องละเอียดและไม่มองเพียงเหตุการณ์ใกล้ๆ เท่านั้นครับ จะทำให้สำคัญผิด ว่าเป็นเหตุให้ได้รับสิ่งที่ดีนั่นเองครับ และดังที่ได้อธิบายไปแล้วครับ ปโยคสมบัติ มุ่งหมายถึง ความเพียรที่เป็นไปในการทำกุศลกรรมในปัจจุบัน อันจะนำมาซึ่งผลของ กรรมดีให้ผลในปัจจุบันได้ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...
ปโยคสมบัติและปโยควิบัติ [วิภังค์]
ซึ่งในปัตตกัมมสูตร พระพุทธเจ้าแสดงไว้ว่า ธรรม 4 ประการอันน่าปรารถนาน่าพอใจ จงเกิดขึ้นแก่เรา ซึ่งหาได้ยาก มี 4 ประการ คือ ขอให้โภคทรัพย์จงเกิดขึ้นแก่เรา ขอ ให้ยศจงเกิดขึ้นแก่เรา ขอให้อายุยืน และเมื่อตายไปไปเกิดในสวรรค์ พระพุทธองค์ แสดงต่อไปว่า
การได้ธรรม 4 ประการเหล่านี้ คือ ได้โภคทรัพย์ ได้ยศ นั้นมีเหตุคือ ความถึงพร้อมด้วย สัมปทา 4 ประการ คือ ศรัทธา ศีล จาคะและปัญญา
จะเห็นครับว่า เป็นเรื่องของเหตุและผลที่ตรงกัน การจะได้รับสิ่งที่ดี ก็ด้วยการทำกุศลกรรม แต่ไม่ใช่ ด้วยการขอเลยครับ ซึ่งพระพุทธองค์ก็แสดงไว้แล้วครับว่า การขอ ก็ทำให้ได้ 2 อย่าง คือ ได้ กับ ไม่ไ่ด้ครับ ส่วนในการประกอบอาชีพ ก็มีการประกอบอาชีพกันอยู่แล้ว เป็น ไปตามเหตุปัจจัย แต่การจะได้ทรัพย์หรือไม่ได้นั้นก็เพราะเหตุ คือ กรรมดีให้ผลนั่นเอง แม้เทวดา ไม่ประกอบอาชีพ ก็มีกรรมดีให้ผลได้ และแม้คนในโลกนี้ ประกอบอาชีพ ทำไมบางคนทั้งๆ ที่ประกอบอาชีพ เหมือนกัน บางคนกำไรมาก บางคนกำไรน้อย บาง คนเท่าทุน บางคนขาดทุน ที่เป็นอย่างนี้เพราะอะไรครับ บางคนอาจจะขยันมาก กว่าแต่ก็ต้องขาดทุน คนที่ประกอบอาชีพไม่ขยันเท่า แต่กำไรมากกว่าเพราะอะไรครับ บางคนไม่ประกอบอาชีพ ได้สิ่งที่ดีๆ มาก มากกว่าคนที่ประกอบอาชีพก็มี เพราะอะไรครับ อะไรเป็นเหตุ บางคนไม่ขอ แต่ได้มากกว่าคนที่ขอ เพราะอะไรครับ อะไรเป็นเหตุ
ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เพราะก็แล้วแต่กรรมดีจะให้ผล หรือ กรรมดีไม่ให้ผล หรือ กรรม ชั่วให้ผลนั่นเองครับ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นเลยครับว่า การขอแล้วจะทำให้ได้มากกว่าเดิม เสมอไป ดังตัวอย่างเรื่อง ชาดกที่ขอแล้วไม่ไ่ด้ก็มี และเรื่องการประกอบอาชีพ
ที่ท่าน ผู้ถามเปรียบการประกอบอาชีพว่าเหมือนการขอ ขอแล้วก็ทำให้ได้มากขึ้น ... การ ประกอบอาชีพ ขยันมาก ขาดทุนก็มีครับ เพราะอะไรครับ
ถ้าไม่ใช่เรื่องของกรรมครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาเพื่อความเข้าใจถูกและละเอียด รอบคอบในพระธรรมครับ
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ
เหตุของการได้สิ่งที่น่าปรารถนา [ปัตตกัมมสูตร]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การที่จะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ได้อยู่ที่การขอ เพราะทุุกอย่างที่เกิดขึ้น ต้องมีเหตุมีปัจจัย แม้ไม่ขอ ก็ได้ในสิ่งนั้นได้ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะขึ้นอยู่กับเหตุ คือ กรรมที่ได้กระทำแล้ว เป็นสำคัญ ต้องไม่ลืมว่า การได้รับผลของกรรมในชีวิตประจำวันนั้น ไม่พ้นไปจากได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ตามสมควรแก่กรรม ไม่มีใครทำให้เลย เพราะมีเหตุคือกรรมที่ได้กระทำแล้ว เมื่อได้โอกาสที่กรรมจะให้ผล ผลจึงเกิดขึ้น ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม ให้ผลตามกาลอันควร โดยไม่ปะปนกันเลย เพราะเหตุว่า กุศลกรรมให้ผลที่ดี ให้ผลที่น่าปรารถนา น่าพอใจ ส่วนอกุศลกรรมให้ผลเป็นทุกข์ ผลทุกอย่างที่ได้เกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล ก็เพราะเหตุที่ได้กระทำมาแล้วทั้งสิ้น ครับ
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ผมเข้าใจว่าการเกิดขึ้นของธรรมะแต่ละอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย และ มีได้ หลายปัจจัยหรือมีได้มากกว่าหนึ่งปัจจัย ที่เกื้อหนุนให้ธรรมะแต่อย่างเกิดแล้วดับไป การได้ (กุศลวิบาก) ตามที่ขอ หรือตามที่ปรารถนาย่อมเกิดจากกุศลกรรม (นานัก ขณิกกัมมปัจจัย) และบางครั้ง การได้ (กุศลวิบาก) ตามที่ขอ หรือตามที่ปรารถนาอาจ มีปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น ปกตูปนิสสยปัจจัย ที่อกุศล (การขอ/ความอยาก) เป็นปกตูป นิสสยปัจจัยให้เกิดอัพยากต (กุศลวิบาก) แต่ต้องไม่ลืมว่ากุศลวิบาก เกิดจาก กุศลกรรม
เรียนความเห็นที่ 12 ครับ
สภาพธรรมทั้งหลายต้องอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น แม้แต่การเห็น การได้ยิน ที่เป็นกุศล วิบาก อกุศลวิบากก็ตามก็ต้องาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น
ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย ที่กว้างขวาง คือ สภาพธรรมแทบทุกอย่างที่เกิดขึ้นก็ไม่พ้นจากปกตูปนิสสยปัจจัย
สำหรับประเด็นว่า เพราะการขอ เป็นปัจจัยให้เกิด กุศลวิบาก เกิดได้ครับ ด้วยปกตูปนิ สสยปัจจัย แต่ก็ต้องปัจจัยอื่นด้วย ในการเกิดกุศลวิบาก เช่น สหชาตปัจจัย อนันตร ปัจจัย และที่ขาดไมได้คือ นานักขณิกกัมมปัจจัย ที่เป็นปัจจัย คือ เจตนากรรมในอดีต เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบาก เป็นต้น จะเห็นครับว่า ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างๆ สภาพธรรมจึงเกิดขึ้น ส่วนปกตูปนิสสยปัจจัย ที่เป็น อกุศล เป็นปัจจัยให้เกิด วิบาก เช่น การขอ ทำให้เกิด วิบากจิต คือ ผลของกรรม ซึ่ง อกุศล เป็นปัจจัยให้เกิด วิบาก นั้น ก็ต้องเข้าใจครับว่า วิบากจิต ก็มีทั้งที่เป็นผลของกรรมที่ไม่ดี และผลของกรรม ที่ดีดังนั้นจึงมีทั้ง อกุศลวิบาก และกุศลวิบาก
ดังนั้น การขอ หรือ อกุศลจึงไม่ได้หมาย ความว่า ขอแล้วจะได้ ขอแล้วเสียก็มี อกุศลจิตเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิบากก็ได้ครับ หากศึกษา ปกตูปนิสสยปัจจัย ไม่ละเอียดพอ ก็จะสำคัญว่า ต้องขอ จึงจะได้ เพราะ อกุศล เป็นปัจจัย ให้เกิด วิบากที่ดี แต่เกิดวิบากไม่ดีก็ได้ และก็จะสำคัญผิดอีกว่า เพราะอกุศล ก็เป็นปัจจัยให้เกิด กุศล เพราะฉะนั้น ก็ต้องทำอกุศล จึงจะเป็นปัจจัยให้ เกิด กุศล หรือ ก็เห็นว่า การทำชั่วทุจริต ในปัจจุบันที่ทำให้คนร่ำรวยกัน ก็เพราะ การ ทำไม่ดี ทำให้เกิดกุศลวิบาก เพราะเป็นปกตูปนิสสยปัจจัย หรือ อยาก ต้องการที่จะรู้ ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาได้เพราะ เมื่อปัญญาเกิด ก็เพราะอกุศลเป็นปัจจัยให้เกิด ปัญญา การสรุป โดยเอาปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นสำคัญโดยไม่พิจารณา ปัจจัยอื่นที่ เป็นหลักสำคัญในการที่จะได้รับสิ่งที่ดี หรือไม่ดี คือ กรรมที่ทำมานั่นคือ นานักขณิก กัมมปัจจัย ครับ
ดังนั้นจะสรุปว่า เพราะขอ จึงได้ ด้วยปกตูปนิสสยปัจจัยไมไ่ด้ เพราะ มีปัจจัยอื่นที่สำคัญในการให้ผลของกรรมเกิดขึ้นครับ
เหมือนอกุศล เป็นปัจจัยให้เกิด ปัญญาเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยจึงสรุปว่า เพราะอกุศล จึงทำให้ปัญญาเกิดก็ไมไ่ด้เช่นกัน
ที่สำคัญ พระพุทธองค์ได้แสดงว่า การที่บุคคลจะได้รับผลของกรรม ขึ้นอยู่กับ คติ อุปธิ กาลและปโยคะ ซึ่ง ปโยคะในที่นี้ หมายถึง ความเพียรที่เป็นไปในอกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม การทำชั่วในปัจจุบัน ย่อมห้ามวิบาก ที่ดี ไม่ให้ผล แต่กรรมชั่วให้ผล แทน ส่วน ปโยคสมบัติ คือ การกระทำความดีในปัจุบัน ย่อมห้ามวิบากที่ไม่ดี ให้ผล ทำให้ กุศลวิบากให้ผลครับ จะเห็นว่า เหตุปัจจุบันคือการทำความดี ย่อมทำให้กุศล วิบากเกิดขึ้นแทนที่ อกุศลวิบากได้ หรือ เป็นอุปถัมภกกรรม ให้กุศลวิบากให้ผลต่อเนื่อง กันไป
นี่เท่ากับว่า ปัจจัยยหลักที่จะทำให้เกื้อหนุนให้ผลของกุศลกรรมคือ การทำความ ดีนั่นเองครับ แต่เมื่อ เราเข้าใจว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย ก็มีผล จึงสำคัญว่า ปกตูปนิสสย ปัจจัย เป็นปัจจัยที่สำคัญ คือ เพราะขอ ก็เลยทำให้ได้ด้วย นั่นพูดโดยปัจจัยกว้างขวาง ทั้งหมดครับ และ ปกตูปนิสสยปัจจัย ขอแล้วได้รับอกุศลวิบากก็มี ดังนั้น สำคัญที่ นา นักขณิกกัมมปัจจัย ที่เป็นกรรมดีในอดีต เป็นปัจจัยสำคัญในการให้ได้รับสิ่งที่ดี เพราะ เมื่อเป็นกรรมดี ผลไม่เปลี่ยน คือ ต้องเป็นกุศลวิบาก แต่ถ้าเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดวิบาก ไมได้จำเพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นกุศลวิบาก จึงเป็นได้ ทั้ง อกุศลวิบากและกุศลวิบากครับ ดังนั้น การขอ จึงมี 2 อย่างได้กับไม่ได้ แต่ที่ได้ จริงๆ เพราะกรรมดีในอดีต เป็นปัจจัย หรือ การทำความดีในปัจจุบัน ทีเป็นปโยคสมบัติ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แต่จะสรุปว่าเพราะการขอจึงได้รับวิบากที่ดี โดยใช้ปกตูปนิสสยปัจจัยไมไ่ด้เพราะมีปัจจัยอื่นด้วย และถ้าสรุปอย่างนั้นก็ทำให้สรุป ว่า อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาได้ ก็ทำให้เข้าใจผิดว่า อกุศลเป็นเหตุ ปัญญาเป็นผล ได้ครับเพราะก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยเหมือนกัน และปกตูปนิสสยปัจจัย ยังมีทั้ง ที่ กุศล เป็นปัจจัยให้เกิด อกุศลวิบากจิตด้วยครับ คือ กุศล เป็นปัจจัยให้เกิด ผลของกรรม ที่ไม่ดี ดังนั้น เพราะการกระทำที่ดี ในปัจจุบัน จึงเป็นปัจจัยให้ได้รับสิ่งที่ไม่ดี เกิดอกุศล วิบาก ตามปกตูปนิสสยปัจจัย ดังนั้นจึงสรุปว่า เพราะการทำดี จึงได้รับสิ่งที่ไม่ดี เพราะ ปกตูปนิสสยปัจจัย ไมไ่ด้ครับโดยปัจจัยเดียวไม่ไ่ด้ค เพราะมีปัจจัยหลายอย่างพร้อม กันในขณะนั้นครับ อีกนัยหนึ่ง ปกตูปนิสสยปัจจัย อกุศล เป็นปัจจัยให้เกิดวิบาก ก็มี ทั้งที่วิบากที่ดี หรือ ไม่ดีก็ได้ ดังนั้นถ้าจะสรุป ตาม ปกตูปนิสสยปัจจัย
ก็เท่ากับว่า การ ขอ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิด อกุศลวิบากได้ด้วย ดังนั้น การขอ ก็ทำให้เสีย ไม่ใช่ทำให้ได้ ด้วยครับ
เช่น ขอทาน กำลังขอทานอยู่ ก็มีคนมาขโมยเงินไปก็ได้ หรือขณะที่ขออยู่ ก็ ทำให้เห็นสิ่งที่ไม่ดีได้ครับ ดังนั้น ปกตูปนิสสยปัจจัย จึงเป็นปัจจัยที่กว้างขวาวมาก แม้ เจตสิกต่างๆ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิบากได้ ก็เท่ากับว่า สมาธิ เป็นปัจจัยให้เกิดผลของ กรรมดี อโยนิโสมนสิการ ความคิดไม่แยบคาย ทำให้เกิดผลของกรรมที่ดี ดังนั้นจาก ตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด
ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่กว้างขวาง จึงไม่ควรสรุป ด้วยปัจจัยเดียวว่า เพราะขอจึงได้ ด้วย ปกตูปนิสสยปัจจัยครับ เพราะขอแล้วเสียก็มี ตาม ปกตูปนิสสยปัจจัยครับ
ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ
ถ้าเกิด ความสงสัย และ ความอยากรู้ จึง ขอเรียนถามเมื่อได้รับฟังคำตอบจากผู้รู้ ก็ หายสงสัย เพราะเกิดความเห็นถูก.
ถ้าไม่ขอเรียนถามผู้รู้ ผู้รู้ ก็ไม่รู้ว่าเราสงสัยอะไร.ลักษณะนี้ ... เป็นการเอ่ยปากขอ จึงได้คำตอบ อกุศล (อยากรู้-สงสัย) เป็น ปัจจัยให้เกิดกุศล (ความรู้-ความเห็นถูก) ได้ ใช่ไหมคะ.?
เรียนความเห็นที่ 15 ครับ
ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่กว้างขวาง ดังนั้น ถ้ากล่าวเฉพาะปัจจัยนี้ คือ อกุศล เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้ครับ เช่น เมื่อสงสัย อยากรู้ ถาม และ ความเข้าใจเกิดขึ้น เมือกว้างขวางครอบคลุมทุกอย่าง แม้ความสงสัย อยากถาม ก็เป็นปัจจัยให้เกิด อกุศล ได้เช่นกันครับ ขณะที่ไม่เข้าใจ เป็นต้น