[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 332
๒. มหากปิชาดก
ว่าด้วยคุณธรรมของหัวหน้า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 332
๒. มหากปิชาดก
ว่าด้วยคุณธรรมของหัวหน้า
[๑๐๕๐] ดูก่อนขุนกระบี่ ท่านได้ทอดตัวเป็นสะพาน ให้เหล่าวานรข้ามไปโดยสวัสดี ท่าน เป็นอะไรกับวานรเหล่านั้น และวานรเหล่านั้น เป็นอะไรกับท่าน?
[๑๐๕๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบข้าศึก ข้าพระองค์เป็นพญาวานรผู้เป็นใหญ่ ปกครองฝูง วานรเหล่านั้น เมื่อพวกเขาถูกความโศกครอบงำ หวาดกลัวพระองค์.
[๑๐๕๒] ข้าพระองค์ได้ทะยานพุ่งตัว ที่มีเครื่องผูก คือเถาวัลย์ผูกสะเอวไว้แน่น ไปจากต้นไม้ต้นนั้น ชั่วระยะร้อยคันธนูที่ปลดสายแล้ว.
[๑๐๕๓] กลับมาถึงต้นไม้ เหมือนเมฆถูกลมหอบไป ฉะนั้น แต่ข้าพระองค์ไปไม่ถึงต้นไม้นั้น จึงได้ใช้มือจับกิ่งไม้ไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 333
[๑๐๕๔] พวกวานรได้พากัน เอาเท้าเหยียบข้าพระองค์นั้น ผู้ถูกกิ่งไม้ และเถาวัลย์รั้งไว้ จนตึง เหมือนสายพิณ แต่ไปโดยสวัสดี.
[๑๐๕๕] การผูกมัดไว้ จึงไม่เผาลนข้าพระองค์ ให้เดือดร้อน ผู้ฆ่าก็จักไม่ให้ข้าพระองค์เดือดร้อน เพราะข้าพระองค์ ได้นำความสุขมาให้เหล่าวานร ที่ให้ข้าพระองค์ครองความเป็นใหญ่.
[๑๐๕๖] ข้าแต่พระราชา ผู้ทรงปราบข้าศึก ข้าพระองค์จะยกอุปมาถวายพระองค์ ขอพระองค์จงทรงสดับ ข้ออุปมานั้น ธรรมดากษัตริย์ผู้เป็นพระราชา ทรงพระปรีชาสามารถ ควรแสวงหาความสุขให้แก่รัฐ ยวดยานพาหนะ กำลังพล และนิคมทั่วหน้ากัน.
จบมหากปิชาดกที่ ๒
อรรถกถามหากปิชาดก ๒
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ญาตัตถจริยา คือ การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อพระญาติ แล้วจึงตรัสเรื่องนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 334
มีคำเริ่มต้นว่า อตฺตานํ สงฺกมํ กตฺวา ดังนี้. เรื่องจักมีแจ่มชัด ในภัททสาลชาดก.
ก็ในกาลครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ตั้งเรื่องสนทนากันขึ้น ในธรรมสภาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงบำเพ็ญ ญาตัตถจริยา. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากัน ด้วยเรื่องราวอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่เฉพาะ ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนตถาคต ก็บำเพ็ญญาตัตถจริยาเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดกระบี่ เติบโตแล้ว ถึงพร้อมด้วยส่วนยาว และส่วนกว้างสูงล่ำสัน มีกำลังวังชามาก มีพละกำลังเท่ากับช้าง ๕ เชือก มีฝูงกระบี่ ๘ หมื่นตัว เป็นบริวาร อาศัยอยู่ที่ถิ่นดินแดนหิมพานต์ ณ ที่นั้น ได้มีต้นอัมพะ คือ มะม่วง ที่คนทั้งหลายเรียกว่า ต้นนิโครธ มีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้าง มีใบดกหนา ร่มเงาหนา สูงเทียมยอดเขา อาศัยฝั่งแม่คงคา. ผลของมันหวานหอม คล้ายกับกลิ่น และรสผลไม้ทิพย์ ผลใหญ่มาก ประมาณเท่าหม้อใบใหญ่ๆ. ผลของกิ่งๆ หนึ่งของมันหล่นลง บนบก อีกกิ่งหนึ่ง หล่นลงน้ำที่แม่คงคา. ส่วนผลของ ๒ กิ่ง หล่นลงที่ท่ามกลางใกล้ต้น. พระโพธิสัตว์เมื่อพาฝูงกระบี่ ไปกินผลไม้ที่ต้นนั้น คิดว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 335
สักเวลาหนึ่ง ภัยจักเกิดขึ้นแก่พวกเรา เพราะอาศัยผลไม้ต้นนี้ ที่หล่นลงในน้ำ แล้วจึงให้ฝูงกระบี่กินผลของกิ่งบนยอด ที่ทอดไปเหนือน้ำด้วย ไม่ให้เหลือแม้แต่ผลเดียว ตั้งแต่เวลาผลเท่าแมลงหวี่ ในเวลาออกช่อ. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ผลสุกผลหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในรังมดแดง ฝูงวานร แปดหมื่นตัวมองไม่เห็น หล่นลงไปในน้ำ ติดที่ข่ายด้านบน ของพระเจ้าพาราณสี ผู้ทรงให้ขึงไว้ ทั้งด้านบน และด้านล่าง แล้วทรงกีฬาน้ำ. ในเวลาที่พระราชา ทรงเล่นตอนกลางวัน แล้วตอนเย็นเสด็จกลับ พวกชาวประมงพากันกู้ข่าย เห็นผลไม้สุกผลนั้น แล้วไม่รู้ว่า ผลไม้นี้มีชื่อโน้น จึงนำไปถวายพระราชาให้ทอดพระเนตร.
พระราชาตรัสถามว่า นี่ผลอะไรกัน?
ชาวประมง ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชา ใครจักทราบ?
ชาวประมง พรานไพร พระพุทธเจ้าข้า.
พระราชารับสั่งให้เรียกพรานไพรมา ตรัสถามแล้ว ก็ทรงทราบว่า เป็นผลมะม่วงสุก แล้วทรงใช้พระแสงกริชเฉือน ให้พรานไพร รับประทานก่อน ภายหลังก็เสวยด้วยพระองค์เอง. พระราชทานให้พระสนมบ้าง อำมาตย์บ้าง รับประทานกัน. รสของผลมะม่วงสุก แผ่ซาบซ่านไปทั่ว พระสรีระทั้งสิ้นของพระราชา. พระราชานั้น ทรงติดพระทัยในความยินดี ชอบใจในรส ได้ตรัสถาม พวกพรานไพรถึงที่อยู่ของต้นไม้นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 336
เมื่อพวกเขาทูลว่า ที่ฝั่งแม่น้ำในท้องถิ่นดินแดนแห่งหิมพานต์ จึงรับสั่งให้คนจำนวนมากต่อเรือขนานแล้ว ได้เสด็จทวนกระแสน้ำขึ้นไป ตามทางที่พวกพรานไพรทูลชี้แนะ. แต่พวกพรานไม่ได้ทูลบอกกำหนดว่า สิ้นเวลาเท่านี้วัน. ถึงที่นั้นตามลำดับแล้ว พวกพรานไพรจึงทูลพระราชาว่า นี่คือ ต้นไม้ที่ประเสริฐ พระพุทธเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้จอดเรือไว้ ที่แม่น้ำแล้ว มีมหาชนห้อมล้อมเสด็จดำเนินไป ณ ที่นั้น ด้วยพระบาท ทรงให้ปูบรรทมที่ควงไม้ เสวยผลมะม่วงสุก แล้วเสวยพระกระยาหาร มีรสเลิศนานาชนิด เสร็จแล้วก็บรรทม. ราชบุรุษทั้งหลาย วางยามแล้ว ก่อกองไฟไว้ทุกทิศ. เมื่อมนุษย์ทั้งหลายหลับกันแล้ว พระมหาสัตว์จึงได้ไปกับด้วยบริษัท ในเวลาเที่ยงคืน. วานร ๘๐,๐๐๐ ตัว พากันไต่ไป กินผลมะม่วงสุกจากกิ่งหนึ่ง ไปยังกิ่งหนึ่ง. พระราชาทรงตื่นบรรทม ทรงเห็นฝูงกระบี่ จึงทรงปลุกให้คนทั้งหลายตื่นขึ้น แล้วรับสั่งให้เรียกพวก แม่นธนูมา แล้วตรัสว่า พรุ่งนี้สูเจ้าทั้งหลาย จงพากันล้อมยิงพวกวานร เหล่านั้น ที่กินผลไม้ โดยไม่ให้มันหนีไป. พรุ่งนี้ฉันจะกินผลมะม่วง และเนื้อวานร. พวกแม่นธนู ทูลรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ แล้ว พากันยืนล้อมต้นไม้แล้ว ขึ้นลูกศรไว้. พวกวานรได้เห็นพวกเขา กลัวภัย คือ ความตาย ไม่อาจหนีไปได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหาสัตว์ ยืนสั่นสะท้านอยู่พลางถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกคนแม่นธนูยืนล้อมต้นไม้ ด้วยหมายใจว่า พวกเราจักยิงลิงตัวที่หนีไป พวกเราจักทำอย่างไรกัน? พระโพธิสัตว์ปลอบใจฝูงวานรว่า สูเจ้าทั้งหลาย อย่ากลัว ฉันจักให้ชีวิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 337
แก่พวกเธอ แล้วได้วิ่งขึ้นกิ่งไม้ กิ่งที่ชี้ไปตรงๆ แล้วไต่กิ่งที่ชี้ไปตรงหน้า แม่น้ำคงคา กระโดดจากปลายกิ่งนั้น เลยที่ประมาณชั่วร้อยคันธนูไป ตกลงที่ยอดพุ่มไม้พุ่มหนึ่ง ลงจากพุ่มไม้นั้นแล้ว กำหนดอากาศระยะทาง ไว้ว่า ที่ๆ เรามาประมาณเท่านี้ แล้วกัดเครือหวายเถาหนึ่ง ที่โคนแกะ กาบออกแล้ว กะช่วงระยะไว้ ๒ ช่วงนี้ คือ ช่วงระยะเท่านี้ จักผูกต้นไม้ ช่วงระยะเท่านี้ จักขึงไปในอากาศ แต่ไม่ได้กะช่วงระยะสำหรับผูก สะเอวของตน. เขาลากเอาเครือหวายเถานั้นไป ผูกเส้นหนึ่งไว้ที่ต้นไม้ ที่ขึ้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ผูกเส้นหนึ่งไว้ที่สะเอวของตน กระโดดไปสู่ สถานที่ประมาณชั่วร้อยคันธนูโดยเร็ว เหมือนเมฆถูกลมพัดหอบไป ฉะนั้น เพราะไม่ได้กะช่วงระยะที่ผูกสะเอวไว้ จึงไม่อาจจะขึงต้นไม้ได้จึงเอามือ ทั้ง ๒ ยึดกิ่งมะม่วงไว้ให้แน่นแล้ว ได้ให้สัญญาณแก่ฝูงวานรว่า สูเจ้าทั้งหลาย จงเหยียบหลังฉันไต่ไปอย่างปลอดภัย ตามเครือหวายโดยเร็ว. วานร ๘ หมื่นตัว ไหว้ขอขมาพระมหาสัตว์แล้ว ไต่ไปอย่างนั้น. ฝ่ายพระเทวทัตครั้งนั้น เป็นลิงอยู่ในจำนวนลิงเหล่านั้น คิดว่า นี้เป็นเวลา ที่จะได้เห็นหลังศัตรูของเราแล้ว จึงขึ้นกิ่งไม้สูง ให้เกิดกำลังเร็วแล้ว ตกลงบนหลังของพระมหาสัตว์ กระโดดลงเหยียบหลังพระมหาสัตว์ ด้วยกำลังเร็วหัวใจของพระมหาสัตว์แตก. เกิดเวทนา มีกำลังแรงกล้าขึ้น. ฝ่ายลิงเทวทัตนั้น ทำพระมหาสัตว์นั้น ให้ได้รับเวทนาแล้ว ก็หลีกไป พระมหาสัตว์ได้อยู่ลำพังตัวเดียว. พระราชาบรรทมยังไม่หลับ ทอด พระเนตร เห็นกิริยาที่พวกวานร และพระมหาสัตว์กระทำทุกอย่างแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 338
ทรงบรรทมพลางดำริว่า วานรตัวนี้เป็นสัตว์เดียรฉาน ได้ทำความสวัสดี แก่บริษัททีเดียว โดยมิได้คำนึงถึงชีวิตของตน. เมื่อสว่างแล้ว พระองค์ทรงพอพระทัย ต่อพระมหาสัตว์ ทรงดำริว่า เราไม่ควรให้ขุนกระบี่นี้ พินาศไป เราจักให้เอาขุนกระบี่นั้น ลงมาปฏิบัติรักษา แล้วได้รับสั่งให้ จอดเรือขนานไว้ภายในแม่น้ำคงคา ทรงให้ผูกกรงไว้บนนั้นแล้ว ให้ค่อยยกขุนกระบี่ลงมา แล้วรับสั่งให้คลุมผ้ากาสาวพัสตร์บนหลัง ให้อาบน้ำ ในแม่น้ำคงคา ให้ดื่มน้ำอ้อย ให้เอาน้ำมันที่เจียวแล้วพันครั้ง ชะโลมบนหลัง ให้ปูหนังแพะบนที่นอนแล้ว. ทรงให้ขุนกระบี่นั้น นอนบนที่นอนนั้น พระองค์เองประทับนั่งบนอาสนะต่ำ ได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-
ดูก่อนขุนกระบี่ ท่านได้ทอดตัวเป็นสะพาน ให้เหล่าวานรข้ามไป โดยสวัสดี ท่านเป็นอะไรกับวานรเหล่านั้น และวานรเหล่านั้น เป็นอะไรกับท่าน?
คาถานั้นมีเนื้อความว่า ดูก่อนขุนกระบี่ผู้เจริญ ท่านทำตนให้เป็นสะพาน คือ ยกตนให้เป็นคาน แล้วสละชีพ ให้ฝูงวานรเหล่านี้ ข้ามไปโดยสวัสดี คือให้ข้ามไปโดยเกษม. ท่านได้เป็นอะไรกับพวกเขา หรือพวกเขาเหล่านี้ ได้เป็นอะไรกับท่าน หรือวานรเหล่านี้ เป็นอะไรกับเรา.
พระโพธิสัตว์ได้สดับคำนั้นแล้ว เมื่อจะตักเตือนเพราะราชา จึงกล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 339
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบข้าศึก ข้าพระองค์ เป็นพญาวานรผู้เป็นใหญ่ ปกครองฝูงวานรเหล่านั้น เมื่อพวกเขา ถูกความโศกครอบงำ หวาดกลัวพระองค์. ข้าพระองค์ได้ทะยานพุ่งตัว ที่มีเครื่องผูก คือ เถาวัลย์ผูก สะเอวไว้แน่น ไปจากต้นไม้ต้นนั้น ชั่วระยะร้อยคันธนู ที่ปลดสายแล้ว. กลับมาถึงต้นไม้ เหมือนเมฆถูกลมหอบไป ฉะนั้น แต่ข้าพระองค์นั้น ไปไม่ถึงต้นไม้นั้น จึงได้ใช้มือจับกิ่งไม้ไว้. พวกวานรได้พากัน เอาเท้าเหยียบข้าพระองค์นั้น ผู้ถูกกิ่งไม้ และเถาวัลย์ รั้งไว้จนตึง เหมือนสายพิณที่ขึงตึง แล้วไต่ไปโดยสวัสดี. การผูกมัดไว้ จึงไม่เผาลนข้าพระองค์ให้เดือดร้อน ผู้ฆ่าก็จักไม่ให้ข้าพระองค์เดือดร้อน เพราะข้าพระองค์ ได้นำความสุขมาให้เหล่าวานร ที่ให้ข้าพระองค์ ครองความเป็นใหญ่. ข้าแต่พระราชา ผู้ทรงปราบข้าศึก ข้าพระองค์จะยก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 340
อุปมาถวายพระองค์ ขอพระองค์จงทรงสดับ ข้ออุปมานั้น ธรรมดากษัตริย์ ผู้เป็นพระราชา ทรงพระปรีชาสามารถ ควรแสวงหาความสุข ให้แก่รัฐ ยวดยานพาหนะ กำลังพล และนิคมทั่วหน้ากัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตสํ ได้แก่ วานร ๘ หมื่นตัวเหล่านั้น. บทว่า ภีตานนฺเต ความว่า ผู้หวาดกลัวพระองค์ ผู้ทรงประทับยืนสั่งการให้ยิง. พระยาวานรร้องเรียก พระราชาว่า อรินทมะ. บทว่า วิสฺสฏฺธนุโน สตํ ความว่า ผู้กระโดดพุ่งตัวไปในอากาศ ถึงที่ประมาณชั่วร้อยคันธนูที่ยกขึ้นวัด. บทว่า. ตโต ความว่า จากต้นไม้ต้นนี้ คือ จากที่ที่กระโดดไป. บทว่า อปรปาเทสุ ความว่า ที่เบื้องหลังเท้า. คำว่า อปรปาเทสุ นี้ ท่านกล่าวหมายถึง บั้นเอว. เพราะว่าพระโพธิสัตว์ผูก เถาวัลย์นั้น ไว้ที่บั้นเอวให้มั่นแล้ว ยันพื้นดินด้วยเท้าหลัง ทะยานไปสู่อากาศ ด้วยกำลังเร็วของลม. บทว่า นุณฺโณ รุกฺขมุปาคมึ ความว่า ข้าพระองค์พุ่งไป ด้วยลมของตน ที่ให้เกิดกำลังเร็ว เหมือนกับก้อนเมฆ ถูกลมหอบไป ฉะนั้น คือเป็นผู้พุ่งไป ด้วยกำลังเร็วของตน เหมือนก้อนเมฆ ที่ถูกลมหอบลอยไปตามลม ฉะนั้น แล้วได้กลับมาถึงต้นมะม่วงนี้. บทว่า อปฺปภวํ มีเนื้อความว่า ข้าพระองค์นั้น ไปไม่ถึงต้นไม้ ยังขาดอยู่ประมาณช่วงตัว จึงใช้มือจับกิ่งไม้นั้นไว้. บทว่า วีณายตํ ความว่า ข้าพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 341
องค์ มีร่างกายถูกกิ่งไม้ และเครือหวายเหนี่ยวรั้งไว้ เหมือนสายพิณ ที่ขึงจนตึง ฉะนั้น. บทว่า สมนุกฺกมนฺตา ความว่า เหล่าวานรที่ข้าพระองค์อนุญาตแล้ว ไหว้ข้าพระองค์ขอขมาแล้ว ใช้เท้าไต่ คือ เหยียบไป โดยสวัสดี ไม่มีขาดเลย. บทว่า ตํ มํ น ตปฺปตี พนฺโธ ความว่า การผูกด้วยเถาวัลย์นั้น ก็ไม่ทำให้ข้าพระองค์เดือดร้อนเลย ถึงบัดนี้ ความตาย ก็ไม่ทำให้ข้าพระองค์เดือดร้อน. เพราะเหตุไร? บทว่า สุขมาหริตํ เตสํ ความว่า ข้าแต่มหาราช เพราะเหตุที่วานรเหล่านั้น พูดว่า ท่านผู้นี้จักบำบัดทุกข์ แม้ที่เกิดขึ้นแก่พวกเรา แล้วบำรุงสุขให้ได้ แล้วจึงได้พากันแต่งตั้ง ให้ข้าพระองค์เป็นใหญ่. ฝ่ายข้าพระองค์ก็พูด เหมือนกันว่า เราจักบำบัดทุกข์ ที่เกิดขึ้นให้สูเจ้าทั้งหลาย แล้วจึงได้กลายเป็นหัวหน้า คือ พญาของวานรเหล่านั้น. วันนี้ข้าพระองค์ได้ บำบัดมรณทุกข์นั้น แล้วนำความสุข มาให้พวกวานรเหล่านั้นแล้ว ด้วยเหตุนั้น การผูกมัดไว้ จึงไม่เผารนข้าพระองค์ให้เดือดร้อน เพชฌฆาต คือ มรณะ ก็จักไม่ยังข้าพระองค์ให้เดือดร้อน. บทว่า เอสา เต อุปมา ความว่า ข้าแต่มหาราช นี้คือ ข้ออุปมาการกระทำที่ข้าพระองค์ จะได้ถวายแก่พระองค์. บทว่า ตํ สุณาหิ ความว่า เพราะเหตุนั้น ขอพระองค์จงทรงสดับคำตักเตือน ที่ข้าพระองค์กำลังถวายพระองค์ โดยทรงเทียบเคียงกับอุปมานี้. บทว่า รญฺา รฏฺสฺส มีอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาพระราชา ผู้ไม่ทรงบีบคั้นแว่นแคว้นราษฎร เหมือนหีบอ้อยเลย ทรงละการลุอำนาจอคติ ผูกใจเขาอยู่ ด้วยสังคหวัตถุธรรม ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 342
อย่าง ทรงดำรงอยู่ในราชธรรม ๑๐ ประการ แล้วทรงสละชีวิตของตน เหมือนข้าพระองค์ แล้วควรแสวงหา คือ เสาะหาความสุขเท่านั้น แก่แว่นแคว้นทั้งสิ้น ยานพาหนะที่เทียมแล้ว มีรถ และเกวียน เป็นต้น ที่ชื่อว่า ยวดยานกำลังพล กล่าวคือพลเดินเท้า และแก่นิคม กล่าวคือนิคม และ ชนบททั่วหน้ากัน ด้วยพระดำริว่า เราจักมีประโยชน์อะไร สำหรับท่าน ราษฎรทั้งหลาย ปราศจากความหวาดกลัว หน้าร้อนเปิดประตูได้ ญาติ และมิตรทั้งหลาย ห้อมล้อมแล้ว ให้บุตรหลานชื่นใจ ลมเย็นโชยมา รับประทานอาหาร ซึ่งเป็นของตนตามชอบใจ ควรเป็นผู้พร้อมพรั่งด้วยความสุขกายสบายใจ. บทว่า ขตฺติเยน ปชานตา ความว่า ก็พระราชานี้ ผู้ได้พระนามว่า กษัตริย์ เพราะทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งเกษตร คือ เจ้าของที่นา ควรเป็นผู้ทรงปรีชา คือทรงสมบูรณ์ ด้วยพระปรีชาญาณ เกินคนที่เหลือ.
มหาสัตว์เมื่อตักเตือน และพร่ำสอนพระราชาอย่างนี้อยู่ ก็ได้ถึงแก่กรรม. พระราชาตรัสเรียกอำมาตย์มา. แล้วตรัสว่า เธอทั้งหลาย จงทำสรีรกิจของขุนกระบี่นี้ ให้เหมือนสรีรกิจของพระราชา แม้ในฝ่ายใน อิตฺถาคารํปิ คือ เรือนนางสนม ห้องพระมเหสี ก็ทรงบังคับว่า เธอทั้งหลาย จงพากันนุ่งห่มผ้าแดง สยายผม มีหัตถ์ถือประทีปด้าม ห้อมล้อมขุนกระบี่ไปป่าช้า. อำมาตย์ทั้งหลาย ตั้งเชิงตะกอน ด้วยฟืนเท่าลำเกวียน เผาศพมหาสัตว์ ทำนองเดียวกับ ถวายพระเพลิงพระราชา. แล้วได้ถือกระโหลกศีรษะ ไปสู่สำนักพระราชา. พระราชาทรงให้สร้างเจดีย์ไว้ ที่ป่าช้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 343
ของมหาสัตว์ ให้ตามประทีป บูชาด้วยของหอม และดอกไม้ เป็นต้น แล้วทรงให้เลี่ยมกระโหลกศีรษะด้วยทองคำ วางไว้ที่ปลายหลาว ให้สร้างไว้ข้างหน้า ทรงบูชาอยู่ด้วยของหอม และดอกไม้เป็นต้น จึงเสด็จไปเมืองพาราณสี ให้ตั้งไว้ที่ประตูพระราชวัง แล้วทรงให้ตระเตรียมพระนคร กระทำการบูชาธาตุ ตลอด ๗ วัน. ต่อมาพระองค์ก็ทรงให้รับเอาธาตุนั้น มาสร้างเจดีย์ไว้ บูชาด้วยของหอม และดอกไม้ เป็นต้น ตลอดพระชนม์ชีพ ทรงดำรง อยู่ในโอวาทของพระโพธสัตว์ บำเพ็ญบุญ มีทาน เป็นต้น ครองราชสมบัติโดยธรรม แล้วได้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ สัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า. พระราชาในครั้งนั้น ได้แก่ พระอานนท์ในบัดนี้ ลิงวายร้าย ได้แก่ พระเทวทัต บริษัททั้งหลาย ได้แก่ พุทธบริษัท ส่วนขุนกระบี่ได้แก่เราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบอรรถกถา มหากปิชาดกที่ ๒