พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ แปลความว่า การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ ย่อมเป็นความดี เพราะว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ (ธรรมจักร จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
การตามกำหนดรู้จิตที่กำลังปรากฎอยู่ กับการฝึกจิต เป็นอย่างเดียวกันหรือเปล่าครับ? เช่น การกำหนดบังคับจิตนับลมหายใจ กับกำหนดรู้ว่าจิตกำลังคิดอะไร ต่างกันอย่างไร? (ผิดถูกและผล)
ขอบคุณครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การจะฝึกจิต (ไม่มีตัวตนที่ฝึก) จากที่เป็นอกุศล ตกไปในฝักฝ่ายของอกุศล บ่อยๆ เนืองๆ ให้ลดน้อยลง เริ่มเป็นกุศลที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน ได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ เพราะเหตุว่าเมื่อปัญญาเจริญขึ้นไป ย่อมจะช่วยบรรเทาอกุศลจิตให้ลดน้อยลงได้ และที่สำคัญ ปัญญานี้เองจะสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับมรรค สูงสุดคือ ปัญญาขั้นอรหัตตมรรค ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดอีกเลย ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ
จิตที่ฝึกแล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้ [คาถาธรรมบท]
ยิ่งดูจิต ยิ่งค้นพบจิตที่เป็นอกุศล และไม่อยากจะยอมรับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
เริ่มด้วยความเข้าใจ ถ้าเหตุคือความเข้าใจ........ผลก็คือความเข้าใจ ไม่ควรทำอะไรด้วยความไม่รู้ค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ