ศึกษาด้วยความเคารพถึงที่สุด_สนทนาธรรม ไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๕
โดย เมตตา  17 ธ.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 45351

- เรากำลังพูดถึงธรรม ไม่ได้พูดถึงใครเลย ถ้าไม่มีธรรมเกิดขึ้น ก็ไม่มีใครเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น คนเกิดมาต่างกันไหม? (ต่างกัน) ตั้งแต่เป็นคนตัวใหญ่ ตัวเล็ก จนกระทั่งเป็นสัตว์ตัวใหญ่ ตัวเล็ก ตั้งแต่ช้างไปจนถึงมด ต่างกันใช่ไหม ที่ต่างกันมากก็คือ การเป็นคนกับเป็นสัตว์ในโลกนี้.

- คุณอาช่าอยากเกิดเป็นคนหรือสัตว์? (เป็นมนุษย์) เพราะอะไร? (เพราะชาตินี้คุ้นเคยกับการเป็นมนุษย์) แสดงว่าถ้าเขาเกิดเป็นสัตว์เขาก็คุ้นเคยกับพวกสัตว์ใช่ไหม? (ใช่) สัตว์อยากจะเกิดเป็นมนุษย์ไหม? (สัตว์นี้อาจคิดว่าเป็นมนุษย์ดีกว่า แต่ว่าโดยรวมแล้วคงไม่คิดอยากเป็นมนุษย์) มีสัตว์ตัวไหนไหมที่คิดว่าเป็นมนุษย์ดีกว่า? (อาจจะคิดอย่างนั้น) แต่ว่าสัตว์รักสัตว์มากกว่ารักมนุษย์ใช่ไหม? (ใช่) นี่แสดงให้เห็นความต่างกันของมนุษย์กับสัตว์ เพราะว่า มนุษย์ก็เห็น สัตว์ก็เห็น มนุษย์ก็ได้ยิน สัตว์ก็ได้ยิน มนุษย์ได้กลิ่น สัตว์ก็ได้กลิ่น มนุษย์รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส สัตว์ก็รู้ และสัตว์ก็คิด มนุษย์ก็คิด แต่ต่างกันมากเพราะว่า สัตว์ไม่สามารถที่จะคิดและเข้าใจในความจริงได้.

- มนุษย์เห็น สัตว์เห็น มนุษย์โกรธ สัตว์โกรธ ถ้าเป็นอย่างนี้ตลอดที่เป็นอกุศลไม่มีอะไรที่ต่างกันใช่ไหม? (ใช่) เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ถือรูปร่างใดๆ เลย โกรธเกิดขึ้น ไม่ใช่มนุษย์ ไม่ใช่สัตว์ แต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เพราะฉะนั้น จึงมีมนุษย์ที่เหมือนสัตว์เดรัจฉาน มีมนุษย์ที่เหมือนเปรต มีมนุษย์ที่เหมือนเทวดา แล้วแต่ขณะนั้นเป็นจิตประเภทไหน เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่ามนุษย์ได้สะสมความไม่ดีมามาก ทำกรรมดีมามาก แต่กรรมหนึ่งที่ดีทำให้เกิดเป็นมนุษย์.

- กรรมอะไรทำให้เกิดเป็นมนุษย์ และกรรมอะไรที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน (กุศล กับอกุศล) เพราะฉะนั้น กุศล อกุศลเป็นเหตุหนึ่งที่ได้กระทำมาแล้วโดยกรรมต่างๆ แต่กรรมหนึ่งทำให้เกิดต่างกัน ถ้าเป็นผลของกุศลกรรม จิตนั้นที่เกิดจากกรรมจึงเป็นกุศลวิบากจิตทำกิจปฏิสนธิ เกิดมาเป็นผลของกุศลที่ต่างกันมาก ทำให้แต่ละคนต่างกันทั้งรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ทรัพย์สมบัติ ฐานะ ตระกูล กุศลวิบากที่ทำกิจปฏิสนธิดับไหม? (ดับ) เมื่อปฏิสนธิซึ่งเป็นวิบากดับแล้ว การดับไปของจิตนั้น นัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยให้จิตต่อไปเกิดได้ ถ้าปฏิสนธิยังไม่ดับจิตอื่นเกิดได้ไหม? (ไม่ได้) นี่เป็นปัจจัยหนึ่งตั้งแต่ขณะแรกเมื่อมีสภาพธรรมเกิดแล้วยังไม่ดับ จิตต่อไปเกิดไม่ได้ แต่เมื่อปฏิสนธิดับ การดับไปของจิตนั้นทำให้จิตอื่นเกิดต่อทันที กรรมที่ได้ทำแล้วไม่ใช่ทำให้ผลเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวคือปฏิสนธิเท่านั้น ยังทำให้จิตเกิดต่อไปเป็นผลของกรรมจนกว่าจะหมดกรรมนั้น ยังทำให้จิตเกิดต่อไปเป็นผลของกรรมจนกว่าจะหมดกรรมนั้น จะเป็นบุคคลนั้นอีกต่อไปไม่ได้.

- คุณมานิช: ถ้ามีใครมาตบหน้ามานิช นี่เป็นผลของกรรมของเราเองหรือว่า เป็นคนที่ตบที่เขาจะได้รับผลทีหลัง) ยังตบหน้าไม่ได้ ยังไม่มีหน้า เพิ่งเกิดหนึ่งขณะ จิต คือปฏิสนธิจิตและเพิ่งดับไป จะได้กล่าวถึงจิตต่อไปทีละหนึ่งขณะ แต่คุณมานิชจะไม่มีวันเข้าใจ คิดอยู่นั้นแหละ (ครับ) เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจโดยละเอียดจึงจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเข้าใจถูกต้องว่า พระองค์ตรัสรู้ทุกอย่างซึ่งเราไม่สามารถที่จะรู้จิตที่เกิดสืบต่อแต่ละหนึ่งขณะได้เลย.

- เกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของกุศลกรรมในโลกที่มีรูป มีเสียง มีกลิ่น มีรส มีสิ่งที่กระทบสัมผัส เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่ากรรมที่ได้ทำไม่ว่ากุศลหรืออกุศลกรรมก็หลากหลายต่างกันมาก เพราะฉะนั้น จึงต้องให้ผลต่างกัน.

- โลกที่เป็นที่เกิดของกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นโลกที่มีรูปทางตา มีเสียงทางหู มีกลิ่นทางจมูก มีรสทางลิ้น มีการคิดนึกเรื่องต่างๆ เหล่านั้น ทั้งหมดที่เป็นผลของกุศลมีเท่าไหร่ ตามที่เคยทราบหรือไม่เคยทราบเลย มีใครเคยทราบมาก่อนไหม? (ไม่ทราบ) นี่เป็นการทบทวน บางคนเคยอ่านมาแล้วบ้าง แต่ว่าความเข้าใจต้องเข้าใจทุกคำที่ได้อ่าน เพราะฉะนั้น เขาเคยได้ยินชื่อสวรรค์ เคยได้ยินชื่อดุสิต เคยได้ยินชื่อต่างๆ แต่ไม่ทราบว่า คืออะไร ให้ทราบว่า ที่เกิดของผลของกรรมที่ดีมีทั้งหมด มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้น ยังไม่ต้องจำทั้งหมดก็ได้ เพียงแต่ให้ทราบว่า ผลของกุศลไม่ใช่ทำให้เกิดแต่เฉพาะในโลกนี้ แต่ยังเกิดในโลกที่มีรูป มีเสียงอีก ๖ โลก เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า ผลของกรรมดีทำให้เกิดอย่างต่ำที่สุดเป็นมนุษย์ และก็สูงกว่านั้นมากกว่านั้นก็เป็นสวรรค์แต่ละชั้นอีก ๖ ชั้น รวมเป็นที่เกิดที่เป็นผลของกรรมที่ทำให้ได้รับรูป เสียง กลิ่น รส พวกนี้มีทั้งหมด ๗ ภูมิ และสำหรับผลของอกุศลกรรมทั้งหมดเป็นอบายภูมิ ๔ เคยพูดบ้างว่านรก เคยพูดบ้าง เช่นสวรรค์ ก็หมายความถึงที่เกิดของกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ต่างกัน.

- ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน ปฏิสนธิจิตเป็นหนึ่งขณะ ซึ่งกรรมทำให้เกิดขึ้นทำหน้าที่เกิดขึ้นในภพภูมินั้น ถ้าไม่มีกรรมปฏิสนธิเกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ทั้งหลายดับกรรมเมื่อปรินิพพานแล้วก็ไม่มีการเกิดอีกเลย.

- (มานิช: พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนที่ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เป็นหลังจากที่เป็นอรหันต์แล้วหรือว่าอย่างไร) พระอรหันต์คือใคร? (ผู้ที่ไม่เกิดอีกเลย) ทำไมไม่เกิด อยู่ดีๆ ก็ไม่เกิดหรือ เดี๋ยวนี้อยู่ดีๆ ก็เกิดเป็นพระอรหันต์หรือ? (ตอบไม่ได้) เพราะฉะนั้น ต้องฟังให้เข้าใจตั้งแต่ต้น พระอรหันต์คือใคร พระโสดาบันคือใคร พระสกทาคามีคือใคร พระอนาคามีคือใคร ปุถุชนเป็นใคร กัลยาณปุถุชนเป็นใคร ทั้งหมดไม่รู้ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงเพราะพระองค์ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง ถ้าไม่ไตร่ตรองทีละคำ จะไม่สามารถรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เพราะธรรมทุกอย่างซึ่งกำลังมีเดี๋ยวนี้ลึกซึ้งมาก.

- เดี๋ยวนี้มีจิตไหม? (มี) จิตเกิดดับหรือเปล่า? (เกิดดับ) เดี๋ยวนี้เป็นปัญญาหรืออวิชชาความไม่รู้ (เป็นปัญญา) ปัญญารู้อะไร? (ตอบไม่ได้) ตอบไม่ได้เป็นปัญญาหรือเปล่า? (มีปัญญาเพราะเขาตอนนี้ฟังแล้วสนทนาธรรมอยู่) ที่ฟังแล้วเข้าใจอะไร? (เข้าใจว่าตอนนี้มีจิต จิตเกิดแล้วดับ ก็น่าจะมีปัญญา) น่าจะหมายความว่าอะไรคะ? (ไม่เข้าใจ) คุณมานิชเข้าใจไหมคะ (ถ้าเข้าใจว่าไม่เข้าใจก็คือ เข้าใจระดับหนึ่ง) หมายความว่า รู้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่จำชื่อ เขาจำชื่อว่ามีจิต แต่ยังไม่รู้จักจิต เพราะจิตเกิดแล้วดับแล้วเร็วมาก ลึกซึ้งอย่างยิ่ง.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย เมตตา  วันที่ 17 ธ.ค. 2565

- เรากำลังพูดถึงสิ่งที่ลึกซึ้งที่สุดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบำเพ็ญพระบารมีนานมาก จึงตรัสรู้สิ่งที่พระองค์ได้แสดงให้เข้าใจสิ่งที่กําลังมีเดี๋ยวนี้ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ศึกษาด้วยความเคารพถึงที่สุด ต้องเข้าใจทีละคำเพราะกำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ได้ปรากฏตามที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว เพราะลึกซึ้งยิ่ง.

- พูดถึงสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ เป็นปฏิสนธิจิตหรือเปล่า? (ไม่ใช่) ถ้าไม่มีปฏิสนธิจิต จะมีจิตเดี๋ยวนี้ไหม? (ไม่มี) ค่ะ ต้องเข้าใจจริงๆ มั่นคง เพราะฉะนั้น เมื่อปฏิสนธิจิตดับ จะมีจิตเห็นอย่างนี้ได้ไหม? (ไม่ได้) นี่คือสิ่งที่เราไม่รู้ แต่เข้าใจตามที่พระสัมมาสัมพทธเจ้าทรงแสดงโดยละเอียดยิ่ง ว่า ทันทีที่จิตหนึ่งดับไป จิตอะไรเกิดต่อ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ตามปัจจัย เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจความเป็นปัจจัยของธรรมซึ่งเปลี่ยนไม่ได้ ปฏิสนธิจิตดับไปกรรมให้ผลเพียงหนึ่งขณะที่เกิดไม่ได้ไม่พอ กรรมที่ทำให้เกิดจะต้องทำให้ดำรงอยู่จนกว่าจะหมดกรรมที่เป็นบุคคลนี้จึงตาย.

- เพราะฉะนั้น ตายขณะนั้นเป็นอะไร? อะไรตาย? (เป็นจิต) เป็นจิตประเภทไหน ชาติไหน? (วิบาก) เพราะฉะนั้น อยากตาย ตายได้ไหม? (ไม่ได้) ไม่อยากตาย แต่ตายได้ไหม? (ได้) เพราะอะไร? (เพราะทุกอย่างเกิดจากเหตุ) เพราะกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิด สามารถที่จะทำให้มีชีวิตอยู่ต่อไปจนถึงขณะที่สิ้นกรรมนั้น จึงมีจิตที่เป็นวิบากที่เกิดจากกรรมนั้น ทำให้จิตนั้นเกิดขึ้นทำกิจพ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้.

- (มานิช: ยังไม่เข้าใจเรื่องจิต ว่าตัวเองไม่สามารถเข้าใจเพิ่มได้ถ้าไม่เข้าใจว่าจิตคืออะไร) นั่นเป็นปัญญาที่เห็นถูก ถ้าไม่มีปัญญาอย่างนี้จะไม่สามารถมีปัญญาได้เลย.

- ตอนนี้รู้จัก ๒ กิจแล้วใช่ไหม? (ค่ะ) ทั้งหมดมีกี่กิจ? (จำ จำนวนไม่ได้ แต่พูดถึงว่าตามที่เข้าใจก็คือ ๒ กิจนี้ แล้วก็ปัญจทวาราวัชชกิจ และมโนทวาราวัชชนกิจ และก็ภวังคกิจ) เราจะไม่พูดถึงกิจที่เรายังไม่พูดถึง แต่เราพูดเพื่อให้เขาจำและเข้าใจ ไม่ใช่จำแต่ไม่เข้าใจ.

- เขาจำชื่อ ปัญจทวาราวัชชจิต มโนทวาราวัชชนจิต จะไม่เข้าใจ ไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้น เดี๋ยวนี้เขารู้จัก ๒ กิจ อะไรบ้าง? (ปฏิสนธิกิจ และจุติกิจ) ดีมาก ทั้งหมดมี ๑๔ กิจ ไม่ว่าจะเป็นโลกไหน บนสวรรค์ บนมนุษย์ ในเปรต อสูรกาย ในนรก ทั้งหมดของจิตมี ๑๔ กิจ แล้วแต่ว่าจิตไหนทำกิจอะไร.

- มดมีกี่กิจ (๑๔ กิจ) เพราะฉะนั้น บอกจำนวนก่อนเขาจะได้รู้ว่า เขารู้จักกี่กิจแล้ว เพราะฉะนั้น มดก็มีเกิด มดก็มีตายตามกรรม ช้างก็มีเกิด ช้างก็มีตายตามกรรม สิ่งที่เกิดขณะแรกเป็นปฏิสนธิ และก็ขณะสุดท้ายก็คือเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิเป็นวิบากจิต จุติจิตเป็นวิบาก ผลของกรรมเดียวกัน.

- ทันทีที่ปฏิสนธิเกิด ดับไหม? (ดับ) เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดมีปัจจัยหนึ่ง คือ อนันตรปัจจัย หมายความว่า ทันทีที่ปฏิสนธิจิตดับ จิตที่เป็นปฏิสนธิจิตเป็นปัจจัยให้เกิดจิตขณะต่อไป.

- พอที่จะคิดไตร่ตรองได้ไหมว่า จิตขณะต่อไปที่เกิดเป็นจิตประเภทไหน เป็นจิตอะไร? (วิบากจิต) เป็นผลของกรรมอะไร? (เป็นผลของกรรมเดียวกันที่เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิด) จิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิตทำกิจปฏิสนธิได้ไหม? (ไม่ได้) ถูกต้อง เพราะปฏิสนธิจิตเกิด ๑ ขณะ ทำกิจแล้วจุติจิตก็เกิดเพียงขณะเดียวไม่เกิดอีกเลย ต้องทำกิจเดียว กิจสุดท้ายที่ทำให้พ้นจากความเป็นบุคคลนี้เท่านั้น.

- เพราะฉะนั้น กรรมทำให้เกิด กรรมเดียวกันนั้น เป็นปัจจัยทำให้จิตขณะต่อไปเป็นผลของกรรมนั้นที่จะดำรงภพชาติ ยังตายไม่ได้ เพราะฉะนั้น จิตที่ทำกิจสืบต่อจากปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมเดียวกันกับปฏิสนธิจิต แต่ไม่ได้ทำกิจปฏิสนธิ แต่ทำกิจดำรงภพชาติ จนกว่าจะหมดกรรม.

- ภวังคจิตเหมือนกับปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมที่ทำให้มีผลของกรรมอื่นๆ เกิดได้

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย เมตตา  วันที่ 17 ธ.ค. 2565

- ภวังคจิตเหมือนกับปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมที่ทำให้มีผลของกรรมอื่นๆ เกิดได้ เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิต เห็นอะไรหรือเปล่า? (ไม่เห็น) เพราะฉะนั้น รู้จักกี่กิจของจิต? (ปฏิสนธิ จุติ ภวังค์) ดีมาก ทุกคนเกิดทุกคนเป็นอย่างนี้ ยังไม่เห็นอะไร ยังไม่ได้ยินอะไร แต่กรรมทำให้วิบากจิตเกิดดำรงภพชาติจนกว่าจะมีผลของกรรมอื่นเกิดขึ้น.

- เพราะฉะนั้น เราไม่รู้หรือใครก็ไม่รู้ แต่ว่าสภาพธรรมเป็นอย่างนี้ ทันทีที่ปฏิสนธิจิตดับ จิตอื่นจะเกิดต่อไม่ได้นอกจากจิตที่เป็นผลของกรรมนั้น ดำรงรักษาให้มีจิตเกิดสืบต่อไปจนกว่าจิตอื่นๆ จะเกิดขึ้นทีหลัง.

- ในสวรรค์ ปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับ แล้วจิตอะไรเกิดต่อ (ภวังค์) ช้างเกิด ปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับ จิตอะไรเกิดต่อ? (ภวังคจิต) .

- เรารู้ ๒ ปัจจัย คือ อนันตรปัจจัย ทันทีที่จิตหนึ่งเกิดดับ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด และอีกปัจจัยหนึ่ง สมันตรปัจจัย จิตอื่นเกิดต่อจากจิตปฏิสนธิไม่ได้ ต้องเป็นภวังค์ นี่เป็นการที่จิตจะต้องเกิดดับสืบต่อเป็นไปตามปัจจัย.

- เพราะฉะนั้น ภวังคจิตเกิดนานไหม? (ภวังค์เกิดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีจิตอื่น) เพราะฉะนั้น นานไหมกว่าจะมีจิตอื่น? (กำหนดไม่ได้ แล้วแต่ปัจจัย) สั้นก็ได้ นานก็ได้ แล้วแต่ปัจจัย แล้วแต่ภพภูมิด้วย ขณะที่เป็นภวังค์ ภวังค์ ภวังค์ มีอะไรปรากฎให้รู้ไหม? (ไม่มี) ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่พอจะรู้ไหมว่า ขณะไหนเป็นภวังค์ (ตอนหลับสนิท) ค่ะ ตอนหลับสนิทไม่มีอะไรปรากฏ เราถึง ๓ กิจแล้วใช่ไหม? (ครับ ๓ กิจ) .

- ต่อไปเราจะพูดถึงกิจที่ ๔ ซึ่งต่างกับ ๓ กิจ ขณะปฏิสนธิ ขณะเป็นภวังค์ ขณะที่เป็นจุติ ไม่มีอะไรปรากฏ เหมือนขณะที่หลับสนิทเลย กรรมให้ผลเพียงเท่านั้นพอไหม? (ไม่พอ) เพราะฉะนั้น จิตขณะต่อไปเป็นขณะที่เริ่มรู้สึกตัว เป็นจิตที่เริ่มคิด แต่ไม่มีความเข้าใจอะไรเลย ขณะนั้นเพียงเริ่มรู้สึกตัว เป็นจิตหนึ่งของจิตที่ไม่ใช่ภวังค์ เหมือนกับตื่นจากภวังค์ เป็นมโนทวาราวัชชนจิต (มาจากคำว่า มโน + ทวารา + อาวัชชนะ) หนึ่งขณะสั้นมาก เพราะมโนทวาราวัชชนจิตเกิดเพียงขณะเดียว ขณะนั้นไม่ปรากฏอารมณ์ที่ชัดเจน มโนทวาราวัชชนจิตเป็นจิตขณะแรกที่เริ่มคิดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถ้ามโนทวาราวัชชนจิตหนึ่งขณะ ไม่มีใครรู้ แต่จิตที่เกิดต่อจากมโนทวาราวัชชนจิตเกิดเพราะการสะสม การที่ไม่รู้ความจริง การติดข้องต่างๆ การสำคัญว่าเป็นเรา สะสมมา.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย เมตตา  วันที่ 17 ธ.ค. 2565

- ขณะที่เป็นมโนทวาราวัชชนจิต เริ่มรู้สึกแล้วดับ เมื่อมโนทวารวัชชนจิตดับ เป็นจิตที่รู้อะไรอย่างหนึ่ง รู้ว่ามีอะไร คือรู้ว่า มีเรา จากไม่รู้อะไรเลย พอเริ่มรู้สึกก็เป็นเรารู้สึก เรารู้ มีเรา เพราะฉะนั้น ความเป็นเราอย่างเบาบางที่สุด ลึกที่สุด เกิดต่อจากทันทีที่รู้สึกตัว หลังจากที่เกิดแล้ว.

- เพราะฉะนั้น ขณะที่เริ่มรู้สึกตัวไม่ใช่วิบากจิต ไม่ใช่ผลของกรรมอย่างปฏิสนธิ และภวังค์ เพราะฉะนั้น เราจะต้องให้เขาเริ่มเข้าใจทีละขณะ ขณะนั้นไม่ใช่ผลของกรรมเพราะอะไร? (ถึงเวลาที่เกิด ก็ต้องเกิด) เพราะฉะนั้น จะเกิดกุศล อกุศลทันทีได้ไหม? (ได้) ฟังดีๆ กำลังเป็นภวังค์ แล้วให้รู้สึกตัวทันทีที่เป็นกุศล และอกุศลได้ไหม? (หลังจากมโนทวาราวัชชนจิตใช่ไหม) เราไม่พูดชื่อก่อน ต้องให้เขาเข้าใจไม่เช่นนั้นเขาก็จำชื่อ แล้วก็ตอบชื่อ และเขาก็คิดว่าเขาเข้าใจ แต่ต้องเข้าใจจริงๆ ว่า ธรรมละเอียดลึกซึ้ง (ไม่น่าจะได้) ไม่น่าจะ เพราะยังไม่มั่นใจใช่ไหม? (ใช่) คิดเองได้ไหม? (ไม่ได้) ความละเอียด ความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรมที่ต้องเริ่มต้นเห็นความลึกซึ้ง จึงสามารถที่จะเข้าใจว่า ไม่มีเราได้.

- กำลังเป็นภวังค์ ไม่รู้อะไรเลย ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่คิดนึก ไม่อะไรหมด ไม่รู้อะไร ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน โลกไหน เป็นใครทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะมีกุศล อกุศลที่สะสมมาแล้วเกิดได้ต้องมีขณะจิตหนึ่ง ซึ่งกระทำกิจรู้สึกตัว ทันทีที่รู้สึกตัวคือ ขณะนั้นเป็นจิตที่รู้สึก หลังจากนั้นก็พอใจในสิ่งที่มี ที่รู้สึก โดยไม่รู้ว่า เป็นอะไร เพราะฉะนั้น ทันทีที่รู้สึกตัวดับ ก็มีความติดข้องในตัวทันที จึงมีคำว่า ภวาสวะ ความติดข้องในภพในความเป็นขณะนั้น ติดข้องในความเป็นไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งสิ้น พอใจทันทีในความเป็นหลังจากที่รู้สึกตัวเพียง ๑ ขณะดับไป พอใจในความมี ความเป็น ไม่ว่าเป็นอะไรหมด เพราะขณะนั้นไม่รู้ว่าเป็นอะไร พอจะเข้าใจไหมในความลึกซึ้งในความละเอียด ในความเป็นไปแต่ละหนึ่งขณะ.

- ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงจากการที่พระองค์ทรงตรัสรู้จะเข้าใจอย่างนี้ได้ไหม? (ไม่ได้) เข้าใจธรรมเมื่อไหร่ รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อนั้น เข้าใจนิดเดียวก็รู้จักพระองค์นิดเดียว แต่พระองค์ประสูตร ตรัสรู้ ทรงแสดงธรรม ปรินิพพานที่ประเทศที่คุณอยู่ และสิ่งที่ได้ฟังเดี๋ยวนี้เป็นคำที่พระองค์ตรัสเมื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องเข้าใจทุกคำในความลึกซึ้งในความละเอียด เข้าใจในความลึกซึ้งอย่างยิ่งของธรรม ไม่ใช่จำเป็นคำๆ .

- แต่ละชาติ หนึ่งชาติ มีปฏิสนธิจิตกี่ขณะ? (๑ ขณะ) ภวังค์ที่เกิดขึ้นต่อจากปฏิสนธิ ๑ ขณะ แล้วดับไป และอะไรเกิดต่อ? (หลังจากภวังค์เกิดแล้วดับต้องเป็นมโนทวาราวัชชนจิต) ผิดค่ะ (เขายืนยันว่า หลังจากปฏิสนธิดับ ภวังค์เกิดต่อขณะเดียว) ทันทีเลยหรือคะ (หลังจากปฏิสนธิก็เกิดภวังค์ทันที ขณะเดียว) ภวังค์ ๑ ขณะดับไป มโนทวาราวัชชนจิตเกิดทันทีหรือ? (ใช่ ตามที่คุณมาธุเข้าใจ) ผิดค่ะ เพราะฉะนั้น ธรรมคิดเองไม่ได้ ๑ ขณะสั้นแค่ไหน ใครรู้ความต่างระหว่างปฏิสนธิกับภวังค์? (คุณมธุเข้าใจคำถามผิด ตอนนี้พิจารณาเข้าใจแล้ว หลังปฏิสนธิดับภวังค์เกิดต่อขณะเดียวไม่ได้) หลายขณะ แล้วแต่ว่าเท่าไหร่ ไม่มีใครสามารถรู้ได้ แล้วแต่แต่ละคน แล้วแต่การเกิดแต่ละภพภูมิ ขณะเป็นภวังค์ไม่รู้ใช่ไหม? (ไม่รู้) แล้วมีมโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ จะรู้ไหม? (ขณะเดียวไม่รู้) เพราะฉะนั้น มโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ เป็นชาติอะไร? (กิริยา ไม่ใช่กุศล อกุศล) ไม่ใช่วิบากด้วยใช่ไหม? (ใช่) .

- นี่เรากำลังพูดให้เข้าใจจิต ๑ ขณะ เป็นชาติอะไร ทำกิจอะไร ขณะนั้นไม่มีเรา ไม่มีความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย นอกจากเป็นธรรมที่เกิดแล้วก็ดับตามเหตุตามปัจจัยต่างๆ .

- อะไรเป็นปัจจัยให้มโนทวาราวัชชนจิตเกิด? (เป็นเพราะอนันตรปัจจัยสมนันตรปัจจัย) ค่ะ ทั้งสองปัจจัยแยกกันไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น มโนทวาราวัชชนจิตเป็นชาติอะไร? (กิริยา) เพราะอะไร? (เพราะเป็นกุศล อกุศล วิบาก ไม่ได้) เพราะฉะนั้น มีจิตที่เป็นวิบากเป็นผลของกุศล อกุศล และมีจิตซึ่งเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล อกุศล และไม่ใช่วิบาก.

- เพราะฉะนั้น ก็ชัดเจนนะ ตอนนี้ได้จิตกี่ชาติ และกี่กิจ? (เท่าที่สนทนามี ๔ กิจ คือปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ และอวัชชนกิจ และพูดถึง ๒ กิจ คือ วิบาก กิริยา) ถ้าเราพูดถึงกิจ เราไม่พูดถึงวิบากกับกิริยาค่ะ (ขอโทษครับ พูดถึง ๒ ชาติ คือ วิบาก และกิริยา) เพราะฉะนั้น ทันทีที่มโนทวาราวัชชนจิตดับเป็นกุศล ๑ เป็นอกุศล ๑ หรือเป็นกิริยา ๑ สำหรับพระอรหันต์ เราจะต้องรู้ว่าจิตหนึ่งเป็นชาติอะไร กุศลเป็นอกุศลไม่ได้ เพราะฉะนั้น กุศลเป็นชาติหนึ่ง และอกุศลเป็นอีกชาติหนึ่ง เพราะทันทีที่มโนทวาราวัชชจิตดับ การสะสมมาที่จะไม่รู้และที่จะยินดีในความเป็น เพราะเริ่มรู้สึกเมื่อเป็นมโนทวาราวัชชนะ ต่อจากนั้นก็ยินดีในความเป็นอย่างนั้น กี่ชาติแล้วคะ? (ตอนนี้เป็น ๔ ชาติแล้ว) .

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย เมตตา  วันที่ 17 ธ.ค. 2565

- ถามว่า กุศลจิตและอกุศลจิตเป็นชาติวิบากหรือเปล่า? (กุศลจิตและอกุศลจิตเป็นชาติวิบากไม่ได้) ทำกิจปฏิสนธิได้ไหม? (ไม่ได้) ทำภวังคกิจได้ไหม? (ไม่ได้) ทำจุติกิจได้ไหม? (ไม่ได้) ทำอาวัชชนกิจได้ไหม? (ไม่ได้) เพราะฉะนั้น กุศลและอกุศลไม่ได้ทำ ๔ กิจนี้ แต่ทำชวนกิจ หมายความว่า เป็นจิตที่ไม่ได้เกิดครั้งเดียว แต่เกิดหลายครั้งในขณะที่เป็นกุศลหรืออกุศล เพราะฉะนั้น สามารถจะรู้ได้ในขณะที่เป็นโลภะหรือเป็นโกรธ เพราะว่าไม่ได้เกิดเพียงขณะเดียว แต่เกิดต่อกันตามปกติ ๗ ขณะ.

- จิตที่เป็นโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ ที่เกิดร่วมด้วย เกิดต่อกัน ๗ ครั้งเพราะอารมณ์ปรากฏ ขณะที่อารมณ์ปฏิสนธิไม่ปรากฏ ภวังค์ก็ไม่ปรากฏ สำหรับมโนทวาราวัชชนจิตมีอารมณ์ปรากฏ แต่ ๑ ขณะ เพราะฉะนั้นก็ไม่ปรากฏ แต่ว่าสำหรับโลภะ โทสะ โมหะ กุศลหรืออกุศลเกิดสืบต่อกันตามปกติ ๗ ขณะ จึงปรากฏว่า ชอบ หรือไม่ชอบ ทำอาเสวนกิจเกิดซ้ำกัน ๗ ขณะ เสพอารมณ์นั้น ๗ ขณะ.

- วันนี้ก็เข้าใจว่า เขาต้องไตร่ตรอง ไม่ใช่เป็นเรื่องของการจำชื่อ แต่เป็นเรื่องของการเข้าใจ และความหมายของแต่ละกิจ แต่ละคำด้วย.

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย chatchai.k  วันที่ 17 ธ.ค. 2565

กราบอนุโมทนาครับ