พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
โดย เมตตา  3 มิ.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 12567

บุคคลนั้นเมื่อเห็นภัยในความสนิทสนม พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด คำว่า ภัย ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย ภัย คือ-

การติเตียน ภัย คือ การติเตียนของผู้อื่น ภัย คือ อาชญา ภัย คือ ทุคติ เป็นต้น

ขอเรียนถามท่านอาจารย์วิทยากรว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด มี

ความหมายอย่างไรค่ะ ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย prachern.s  วันที่ 4 มิ.ย. 2552

ความหมายทั่วๆ ไปหมายถึง อยู่คนเดียว ไปคนเดียว ไม่มีเพื่อน และผู้เดียว ยังหมายถึง ละตัณหาได้ ปราศจากกิเลส ไม่มีกิเลสตัณหา ดังนั้นคำว่า ผู้เดียว จึงมีอรรถทั้งสองนัยครับ


ความคิดเห็น 2    โดย ทศพล.com  วันที่ 4 มิ.ย. 2552

ผมเป็นคนขี้เหงา เข้าใจตัวเองดี ว่าเที่ยวไปคนเดียวเหมือน นอแรดไม่ได้ เอาฟังและค่อยๆ เข้าใจก่อน ไม่ต้องรีบร้อน


ความคิดเห็น 3    โดย wannee.s  วันที่ 4 มิ.ย. 2552

ถ้าบุคคลไม่ได้มิตรสหายเสมอหรือดีกว่าตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะคุณของความเป็นสหายของคนพาลไม่มีค่ะ คนที่อยู่คนเดียว คนที่ไปไหนมา ไหนคนเดียว หรือทำอะไรคนเดียว แต่ถ้ายังคิดถึงคนโน้มคนนี้ก็ชื่อว่ามีเพื่อนสองค่ะ

ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว


ความคิดเห็น 4    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 4 มิ.ย. 2552

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 227

บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความ ประพฤติไม่เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกายและกำลังญาณ

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ดังนี้.เป็นข้อความจากพระไตรปิฎก ... ผู้เดียวหมายถึง ละตัณหาได้ ปราศจากกิเลส ไม่มีกิเลสตัณหาและอีกความหมายทั่วๆ ไปหมายถึง อยู่คนเดียว ไปคนเดียว ไม่มีเพื่อน

เชิญคลิกอ่าน ...

ผู้เที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด [ขัคควิสาณสูตร]


ความคิดเห็น 5    โดย michii  วันที่ 4 มิ.ย. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 6    โดย เมตตา  วันที่ 4 มิ.ย. 2552

เข้าใจชัดเจนมากค่ะ

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 4 มิ.ย. 2552

เอ.....จะขัดแย้งกับข้อความในพระสูตรนี้มั้ยค่ะ.....ท่านวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ ๔๑ - หน้าที่ ๔๔๖

"การนอนจนตะวันขึ้น (นอนตื่นสาย) ความ เกียจคร้าน ความดุร้าย การผัดวันประกันพรุ่ง การ เดินทางไกลของคนคนเดียว การเข้าไปเสพภรรยาของ ผู้อื่น พราหมณ์ ท่านจงเสพกรรม ๖ อย่าง นี้เถิด, สิ่งมิใช่ประโยชน์ [ความพินาศ] จักมีแก่ท่าน."

เข้าใจว่า ท่านคงแสดงโดยนัยที่่ต่างกันใช่มั้ยค่ะ?


ความคิดเห็น 8    โดย suwit02  วันที่ 4 มิ.ย. 2552

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12567 ความคิดเห็นที่ 7 โดย ไตรสรณคมน์

เอ ... จะขัดแย้งกับข้อความในพระสูตรนี้มั้ยค่ะ ... ท่านวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ ๔๑ - หน้าที่ ๔๔๖

"การนอนจนตะวันขึ้น (นอนตื่นสาย) ความ เกียจคร้าน ความดุร้าย การผัดวันประกันพรุ่ง การ เดินทางไกลของคนคนเดียว การเข้าไปเสพภรรยาของ ผู้อื่น พราหมณ์ ท่านจงเสพกรรม ๖ อย่าง นี้เถิด, สิ่งมิใช่ประโยชน์ [ความพินาศ] จักมีแก่ท่าน."

เข้าใจว่า ท่านคงแสดงโดยนัยที่ต่างกันใช่มั้ยค่ะ?


ผมไม่ใช่วิทยากร แต่ขออนุญาตแสดงความเห็นว่า

ถ้อยคำในกระทู้นี้ และ ในกระทู้

ผู้เที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด [ขัคควิสาณสูตร]

เป็นถ้อยคำของพระปัจเจกพุทธเจ้า (หากไม่นับพระศาสดาแล้ว) ซึ่งเป็นบรรพชิตผู้เลิศกว่าบรรพชิตทั้งปวง ส่วนพระคาถาที่ยกมานั้น พระศาสดาทรงแสดงแก่ คฤหัสถ์ ไม่ใช่บรรพชิต อนึ่ง ในการเดินทางไกล พระศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุ เดินทางไปกับชาวเกวียนได้ด้วย

ขออนุโมทนาครับ