[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 55
ปฐมปัณณาสก์
รถการวรรคที่ ๒
๘. เทวสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรรังเกียจ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 55
๘. เทวสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรรังเกียจ
[๔๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกเดียรถีย์อื่นจะพึงถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า แน่ะ อาวุโสทั้งหลาย พระสมณโคดมประพฤติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 56
พรหมจรรย์เพื่อเกิดในเทวโลกหรือ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงระอา พึงละอาย พึงรังเกียจมิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลรับว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ตรัสต่อไปว่า นั่นสิ ภิกษุทั้งหลาย นัยว่าท่านทั้งหลายระอา ละอาย รังเกียจอายุทิพย์ ... วัณณทิพย์ ... สุขทิพย์ ... ยศทิพย์ ... อธิปไตยทิพย์ จะป่วยกล่าวไปไยถึงการที่ท่านทั้งหลายระอา ละอาย รังเกียจกายทุจริต ... วจีทุจริต ... มโนทุจริต.
จบเทวสูตรที่ ๘
อรรถกถาเทวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเทวสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อฏฺฏิเยยฺยาถ ความว่า เธอทั้งหลายพึงเป็นผู้ถูกความระอาบีบคั้น. บทว่า หราเยยฺยาถ ความว่า พึงละอาย. บทว่า ชิคุจฺเฉยฺยาถ ความว่า พึงเกิดความรังเกียจในคำพูดนั้น เหมือนเกิดความรังเกียจในคูถฉะนั้น. บทว่า อิติ ในคำว่า อิติ กิร นี้ พึงเห็นว่าเป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะด้วยการเชื่อมบท. บทว่า กิร เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า ได้ฟังต่อๆ กันมา. บทว่า กิร นั้น พึงทราบการเชื่อมความอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า เธอทั้งหลายพึงอึดอัดด้วยอายุทิพย์. บทว่า ปเคว โข ปน มีความหมายเท่ากับ ปมตรํ แปลว่า ก่อนกว่า (หรืออันดับแรก).