วันนี้มีผู้มาใหม่ท่านหนึ่งมาฟังพระธรรมที่มูลนิธิ ท่านบอกว่าพระธรรมนั้นยากจริงๆ ได้มาฟังท่านอาจารย์บรรยายเป็นเหตุเป็นผล ใช้คำที่ฟังง่าย ฟังแล้วพอที่จะเข้าใจได้ บ้างนิดๆ หน่อยๆ เท่านั้น แต่พอถึงช่วงสนทนาเรื่องปัจจัยแล้ว ก็รู้สึกว่าฟังไม่ค่อยเข้าใจ ยากจริงๆ ข้าพเจ้าได้ให้กำลังใจแก่เขาว่า พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง ตรัสรู้นั้นเป็นสิ่งที่ละเอียด ลึกซึ้ง รู้ตามได้ยากจริงๆ การที่เขาบอกว่ายาก ก็ถูกต้องแล้ว เป็นการสรรเสริญถึงพระปัญญาของพระพุทธองค์ กว่าที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะ ได้ตรัสรู้ความจริง ทรงบำเพ็ญบารมีถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป์ แล้วเราจะฟังพระธรรมให้ เข้าใจได้โดยง่าย และเร็วก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้อย่างไร ควรที่จะสะสมความเข้าใจทีละ น้อยๆ เพราะความเข้าใจเป็นอริยทรัพย์ติดตามไปสู่ภพชาติหน้าได้....
ช่วงท้ายของการสนทนาการปฏิบัติธรรม ท่านอาจารย์สุจินต์ได้บรรยายถึงกว่าที่ ปัญญาจะประจักษ์ในสภาพธรรมได้นั้น ก็ต้องมีปัญญาขั้นรู้ชัดในสภาพธรรมก่อน และ กว่าที่ปัญญาจะรู้ชัดในสภาพธรรมก็ต้องมีปัญญาที่ค่อยๆ รู้สภาพธรรม และกว่าที่ปัญญา จะค่อยๆ รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ก็ต้องมีปัญญาขั้นการฟัง พิจารณาให้เข้าใจ ถูกในสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ซึ่งเป็นหนทางที่ยาวไกลมาก....
คุณลุงนิภัทร ได้กล่าวว่า ฟังแล้วอย่าท้อนะครับ ท้อเป็นกิเลส เป็นถีนะ เป็นนิวรณ์...อกุศลธรรม
เมื่อได้พบหนทางที่ถูกต้อง แม้หนทางจะยาวไกลสักแค่ไหน อดทน ไม่หวั่นไหวที่ จะฟังให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ เพราะความเข้าใจที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจะเป็นสังขาร ขันธ์ปรุงแต่งเป็นปัจจัยให้ สักวันหนึ่งปัญญาสามารถที่จะประจักษ์แจ้งในลักษณะสภาพ- ธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริงได้
กว่าจะถึงวันนั้น...อย่าท้อนะคะ
....ขออนุโมทนาค่ะ..
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้าพเจ้าจดคำที่ประทับใจคำหนึ่งที่คุณลุงนิภัทร ได้กล่าวไว้ในวันนี้ดีมากๆ ครับ จึงขอถอดคำที่คุณลุงได้สนทนาไว้ในช่วงนั้น มาให้ทุกท่านได้พิจารณา ดังนี้ครับ
"...สิ่งที่มีอยู่แล้วนี่แหละ เป็นกาละอันสมควรที่เราจะต้องฟัง ต้องศึกษา ให้เข้าใจครับ กาเลนะ ธัมมัสสวนัง เอตัมมัง คะละมุตตะมัง (การฟังธรรมตามกาล เป็นอุดมมงคลสูงสุด) เป็นอุดมมงคลสูงสุดเลยนะครับ ถ้าฟังเข้าใจ ถ้าฟังไม่เข้าใจ ก็ฟังต่อไปเรื่อยๆ นิดๆ หน่อยๆ เรื่อยๆ ไป ก็จะเข้าใจไปเอง
อย่างที่ท่านอาจารย์ว่า วันนี้ ก็เข้าใจคำหนึ่ง เจตนาก็เข้าใจ ผัสสะก็เข้าใจ อะไรก็เข้าใจไปเรื่อยๆ ก็เข้าใจไปทีละนิดละหน่อยครับ ก็จะเข้าใจได้มากเอง
เราเริ่มต้นจากที่เรายังไม่เข้าใจเลย แล้วเราจะให้ฟังวันนี้เข้าใจตลอดนี่ มันเป็นไปไม่ได้ ก้าวเท้า ก้าวหนึ่ง จะให้ไปถึง ๑๐๐ เส้น ๑๐๐ โยชน์เนี่ย มันเป็นไปไม่ได้ มันต้องค่อยๆ ก้าวไปทีละก้าว ทีละก้าว ทีละก้าว มันจะถึง ร้อยโยชน์ทันทีไม่ได้นะ ต้องก้าวไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ถึงเอง ข้อสำคัญ อย่านิ่งเฉย การศึกษาธัมมะ ในเมื่อธัมมะมีอยู่เป็นประจำ เราก็ต้องศึกษาต่อเนื่องครับ ไม่ใช่ หยุดๆ หย่อนๆ ..."
กราบอนุโมทนาคุณลุงนิภัทร
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่เมตตา
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ได้มีโอกาสได้ฟังธรรม จากท่านอาจารย์และวิทยากร ณ.มูลนิธิฯ แห่งนี้แล้ว ก็นับว่าเป็น ลาภอันประเสริฐยิ่งแล้ว เป็นแนวทางที่มีเหตุผล ละเอียด สอดคล้องกับอรรถในพระ ไตรปิฏก ถ้าได้ตั้งใจ หมั่นฟังธรรม บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะเข้าใจได้ ทีละเล็กละน้อย ถ้าไม่ท้อ จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล
ขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษาไม่สามารถจะเข้าใจได้ภายในวันเดียว ต้องมีความอดทนเห็นประโยชน์ที่จะฟังที่จะศึกษาสะสมปัญญาต่อไป การอบรมเจริญปัญญาต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานไม่ใช่เพียงแค่วันนี้ หรือ ชาตินี้ชาติเดียว แต่ต้องอบรมต่อไปนานมากทีเดียว ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมในชาตินี้ ก็เพราะเคยได้ฟังมาแล้วในอดีตอย่างแน่นอนและจะปัจจัยให้ได้ฟังต่อไปอีก สะสมต่อไปอีก
การย่อท้อไม่มีประโยชน์ แต่การอดทนที่จะฟังพระธรรม ด้วยความละเอียดรอบคอบ เพื่อความเข้าใจริงๆ นั้น เป็นประโยชน์ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของพี่เมตตา และ ทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนา ด้วยครับ
เราเป็นบัวใต้น้ำบุญบารมีด้านอื่นๆ และที่สำคัญปัญญาบารมียังไม่คมพอที่จะเข้าใจ สภาวธรรมตามความเป็นจริง คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาได้ การสะสมบารมียังต้องทำ ควบคู่กับการเจริญสติปัฐฐาน ซึ่งเป็นทางเดียวที่เราจะหยุดการเกิดได้ ขอให้กำลังใจกับ ทุกๆ ท่านที่กำลังศึกษาและกำลังเรียนรู้เรียนรู้สภาวธรรมที่ปรากฎขึ้น จนกว่าปัญญา จะดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 350
๙. นาวาสูตร
ว่าด้วยความสิ้น และไม่สิ้นไปแห่งอาสวะ
[๒๖๐] กรุงสาวัตถี. ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ภิกษุทั้งหลายเมื่อรู้ เมื่อเห็นอะไร จึงมีความสิ้นอาสวะ?
เมื่อบุคคลรู้รูปอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ ความดับสูญไปแห่งรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้... สัญญาอย่างนี้... สังขารอย่างนี้... วิญญาณอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ ความดับสูญไปแห่งวิญญาณอย่างนี้
ฯลฯ
...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ จิตของเราจะพึงพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่นก็จริงแล แต่จิตของเธอก็จะพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะได้อบรมแล้ว. ถามว่า เพราะได้อบรมอะไร?
แก้ว่า
เพราะได้อบรม สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ (และ) มรรคมีองค์ ๘
[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยนิ้วมือ หรือรอยหัวแม่มือของช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้ ย่อมปรากฏ ด้ามมีดให้เห็น แด่ว่าช่างไม้ หรือลูกมือของช่างไม้นั้นหารู้ไม่ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้ วานซืนนี้สึกไปเท่านี้ มีความรู้แต่เพียงว่า ด้ามมีดนั้นสึกๆ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้จะไม่มีความรู้อย่างนี้ว่าวันนี้ อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้นไปเท่านี้ วานซืนนี้สิ้นไปเท่านี้ ก็จริง แต่เธอก็รู้ว่าสิ้นไปแล้วๆ .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทร ที่เขาผูกด้วยเชือกผูกคือหวาย แช่อยู่ในน้ำ ๖ เดือนในฤดูหนาว ลากขึ้นบก เชือกคือหวาย ที่ถูกลมและแดดพัดเผา ถูกเมฆฝนตกชะรด ก็จะเปื่อยผุไป โดยไม่ยากฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนานุโยคอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สัญโญชน์ก็จะเสื่อมสิ้นไปโดยไม่ยากเลย.
จบ นาวาสูตรที่ ๙
ตั้งตนไว้ชอบ เป็นมงคลหนึ่งในมงคล 38 มีความตั้งใจแน่วแน่มั่้นคงที่จะศึกษาพระธรรมตลอดไป ตั้งมั่่นอยู่ในคุณธรรมความดีค่ะ
ท้อ...ในสังสารวัฏฏ์ด้วยปัญญาจึงจะดี