บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
โดย pirmsombat  4 พ.ย. 2554
หัวข้อหมายเลข 19966

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

การเสพจนคุ้น การพิจารณานามทางตาจนคุ้น

การพิจารณานามทางหู ทางจมูก ทางลี้น ทางกาย ทางใจจนคุ้น

การมีสติระลึกรู้ลักษณะของรูปที่ปรากฏทางตาจนคุ้น

การมีสติระลึกรู้ลักษณะของรูปที่ปรากฏทางหู ทางจมูก ทางลี้น

ทางกาย ทางใจจนคุ้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปปฏิบัติเพียงเท่านี้

บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้

และ

เราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้



ความคิดเห็น 4    โดย เซจาน้อย  วันที่ 5 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย ผู้ร่วมเดินทาง  วันที่ 5 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอมากครับ

ผมจำได้ถึงการบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ในเทปวิทยุคราวหนึ่ง

ท่าน ดร.ชินวุธ (ขออนุญาตเอ่ยนาม) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ผมชื่่นชมท่านมากที่ท่านกรุณาซัก

ถามปัญหาต่างๆ จากท่านอาจารย์อย่างละเอียดละออ จนผมได้ประโยชน์มากๆ จากคำ

ถามของท่านและคำตอบของท่านอาจารย์ คำถามหลายคำถามเป็นคำถามที่ดีมากๆ

เลยครับ

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านถามท่านอาจารย์สุจินต์โดยสรุปเท่าที่ผมจำได้ว่า ถ้าเราจะไปบางลำ

ภู ก็ต้องมีทางจะไปบางลำภู การบรรลุธรรมนั้น ต้องมีทางไปสู่จุดหมายเช่นกัน ไปทาง

ไหนครับท่านอาจารย์?

ท่านอาจารย์ตอบว่า ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ

เป็นคำตอบที่ซึ่งหักมุมและมีความลึกซึ้ง จริงๆ เลยครับ และเป็นคำตอบที่สอดคล้องกับ

เนื้อหาที่คุณหมอกรุณายกมาให้พิจารณา

และเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น คำว่า "เสพคุ้น" นั้น คงต้องมีความหมายมากเนื่องจาก

ทำให้บรรลุสัจจะได้

คงขออนุญาตสนทนาเรื่อง "เสพคุ้น" ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 5 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

คำว่า การเสพจนคุ้น มีความหมายลึกซึ้ง มีนัยหลากหลายและมีหลายระดับครับ

การเสพจนคุ้น หมายถึง การอบรม จนมีกำลัง ซึ่ง สามารถเป็นไปในฝ่ายอกุศลก็ไ้ด้

เช่น เพราะมีการเกิดขึ้นของอกุศลบ่อยๆ การเกิดขึ้นแต่ละครั้ง คือ กำลังเสพคุ้นกับ

อกุศลนั้น และเมื่อเสพจนคุ้น คือ มีกำลัง เพียงแค่เห็น อกุศลก็เกิดทันที เพราะมี

กำลังมาก จึงชื่อว่า เพราะเสพจนคุ้น ซึ่งอกุศลธรรมนั้นจนมีกำลัง เพราะมีการเกิดขึ้น

ของอกุศลธรรมบ่อยๆ นั่นเองครับ นี่คือ การกล่าว คำว่า เสพจนคุ้นในฝ่ายอกุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ทั้งหลายเกิดขึ้นในอารมณ์ใด. อนึ่ง ในคำว่า ยตฺถ จ เป็นต้น

นี้ ควรทราบถึงทิฏฐิเหล่านี้ ทำ (หน้าที่) ต่างๆ กัน อย่างนี้ คือ เกิดขึ้น ๑ นอน

เนื่องอยู่ ๑ ฟุ้งขึ้น ๑ อธิบายว่า ทิฏฐิเหล่านี้มีการทำ (หน้าที่) ต่างกันดังนี้ คือ

ทิฏฐิทั้งหลายโดยชาติ (ของมัน) ที่ยังไม่เกิดขึ้น.

เมื่อเกิดขึ้นพระองค์ตรัสเรียกว่า กำลังเกิดขึ้น, ที่เสพจนคุ้นบ่อยๆ มีกำลัง ขจัดยัง

ไม่ได้ พระองค์ตรัสเรียกว่า นอนเนื่องอยู่, ส่วนที่ประจวบ (ล่วงออกมาทาง) กาย

ทวาร และวจีทวาร พระองค์ตรัสเรียกว่าฟุ้งขึ้น.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

การเสพคุ้นในฝ่ายกุศลธรรมก็มีเช่นกัน ซึ่งก็มีหลายระดับ ทั้งการเสพคุ้น ฝักฝ่ายกุศล

ธรรม ที่เป็นเพียงกุศลเบื้องต้น เช่น กุศลขั้นทาน เมื่อมีการให้ทานบ่อยๆ ขณะที่ให้ทาน

ก็เสพคุ้น กับกุศลธรรมที่เป็นการให้ทาน และเมื่อทำกุศลขั้นทานบ่อยๆ ก็ชื่อว่า เสพจน

คุ้น คือ มีกำลังเพราะอบรม ทำบ่อยๆ นั่นเองครับ ก็ทำให้เกิดกุศลขั้นทานได้ง่าย เพราะ

เสพจนคุ้น จนมีกำลังในฝ่ายกุศลธรรมขั้นทาน นี่คือ การเสพจนคุ้นในกุศลขั้นต้น

ซึ่งสำหรับข้อความที่คุณหมอยกมา มาจาก จังกีสูตร ที่แสดงว่า บุคคลจะบรรลุสัจจะ

ก็ด้วยการเสพจนคุ้น ซึ่งก็ต้องเป็นการเสพจนคุ้น คือ มีการฟังพระธรรม อบรมปัญญา

จนปัญญาเกิดบ่อยๆ จนปัญญามีกำลัง เรียกว่า การเสพจนคุ้น ซึ่งจะทำให้ถึงการบรรลุ

สัจจะ ความจริงได้ครับ ทั้งสัจจะที่เป็นสภาพธรรมที่มีในขณะนี้และเห็นสัจจะ คือ พระ

นิพพาน ก็ด้วยปัญญา ที่อบรมบ่อยๆ จนมีกำลัง ชื่อว่า การเสพจนคุ้นครับ

การเสพจนคุ้น กว่าจะถึงการเสพจนคุ้น ที่มีกำลังแล้ว เป็นปัญญาที่มีกำลัง ก็ต้อง

อาศัย การเสพคุ้น คือ อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เสพคุ้น หรือ ฟังในสิ่งที่

ถูกต้อง เสพคุ้นบ่อยๆ ฟังบ่อยๆ และเข้าใจบ่อยๆ ก็จะมีกำลัง จน ถึง การเสพจนคุ้นแล้ว

ก็ทำให้ถึงการบรรลุสัจจะได้ครับ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผู้ร่วมเดินทาง คุณหมอ

และทุกท่านครับ


ความคิดเห็น 7    โดย khampan.a  วันที่ 5 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขออนุญาตร่วมสนทนา ด้วยครับ เป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่เมื่อฝักใฝ่ในทางใด สะสมในสิ่งนั้นๆ เพิ่มขึ้นๆ ก็จะเป็นผู้คุ้นเคยในสิ่งนั้นๆ ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้งทางที่เป็นอกุศล และ กุศล จะเห็นได้ว่า จากข้อความในพระสูตรต่างๆ ที่แสดง ว่า เสพ เจริญ กระทำให้มาก นั้น เป็นไปได้ทั้ง ๒ นัย ทั้งที่เป็นอกุศล และ กุศล ขึ้นอยู่กับว่าจะทรงมุ่งหมายถึงสิ่งใด สำหรับการอบรมเจริญปัญญา เพื่อรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ซึ่งเป็นการเสพคุ้นในทางที่เป็นกุศล ย่อมเป็นสิ่งที่ดี ควรเจริญ ด้วยการหมั่นฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ใส่ใจพิจารณาในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังโดยแยบคาย ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะถึงความสมบูรณ์บริบูรณ์ในที่สุด ครับ. ...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ ทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 8    โดย pirmsombat  วันที่ 5 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของ

คุณผู้ร่วมเดินทาง คุณผเดิม คุณคำปั่น และ ทุกท่านครับ.


ความคิดเห็น 10    โดย orawan.c  วันที่ 6 พ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ