ผมอ่านหนังสือบัญชีชีวิตของพระชาญชัย อธิปญโญ จาก www.kanlayanatam.com พบคาถาธรรมบท ๒ แห่งดังนี้
ผู้มีปัญญาพึงควบคุมจิต ที่เห็นได้ยากยิ่งละเอียดยิ่ง ชอบใฝ่หาอารมณ์ที่ปรารถนาอยู่เสมอ จิตที่ควบคุมได้แล้วย่อมนำสุขมาให้
สุสุท ทะสัง สุนิปุณัง ยัตถะ กามะนิ ปาตินัง จิตตัง รักขะถะ เมธาวี จิตตัง คุตตัง สุขาวะหัง
จิตที่เที่ยวไปไกล เที่ยวไปตามลำพัง ไม่มีรูปร่างอาศัยอยู่ในกาย ผู้ใดควบคุมได้ ผู้นั้นย่อมพ้นจากบ่วงแห่งมาร (กิเลส)
ทูรัง คะมัง เอกะจะรัง อะสะรีรัง คุหาสะยัง เย จิตตัง สัญญะเมสสันติ โมกขันติ มาระพันธะนา
ทำให้นึกถึงพุทธดำรัสที่ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา อย่างนี้ไม่ขัดแย้งกันหรือครับ
โปรดศึกษาข้อความจากพระไตรปิฎกโดยตรง จะได้รับความถูกต้องที่สุดครับ
เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
จิตที่ฝึกแล้ว [ฝึกฝนด้วยอริยมรรค ๔]
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ธรรมที่จะเกิดขึ้นก็ต้องมีเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีเหตุปัจจัย ธรรมก็เกิดขึ้นไม่ได้ การฝึกจิตหรือควบคุมจิตก็ต้องมีเหตุปัจจัย ดังข้อความในพระไตรปิฎกคือ การฝึกจิตเห็นปานนี้นั้น เป็นการดีคือ ความที่จิตอันบุคคลฝึกฝนด้วยอริยมรรค ๔ ดังนั้น ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว จะฝึกจิตได้อย่างไร
ดังนั้น ธรรมต่างหากที่ฝึก ทำหน้าที่ของเขาเอง ปัญญาถ้าไม่มี ฝึกจิตได้ไหมให้เป็นไปในทางกุศล ถ้ามีปัญญาธรรมนั้นเองก็ทำหน้าที่ ให้จิตเป็นไปในทางกุศลมากขึ้น ดังนั้น ธรรมทั้งหลายจึงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของธรรมนั้นๆ ตามที่ได้กล่าวมาครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
บุคคลพึงรีบขวนขวายทำความดี
พึงห้ามจิตเสียจากบาป
เพราะว่า เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในบาป
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ยินดีในกุศลจิตค่ะ