อักษรย่อในพระวินัยหมายถึงอะไร
โดย bluebaker  17 ก.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 9293

ผมเริ่มอ่านพระสุตตันตปิฎกไปบ้างคือเล่ม 11 คิดว่าคงไม่ถูกต้อง

วันนี้อาสฬหบูชา ก็เลยลองเริ่มอ่านพระวินัยเล่ม 1 กันเลยครับ แล้วก็สงสัยทันที

ช่วยตอบด้วยครับว่า

พระวินัยเล่ม 1 หน้า 3

ว. ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ

ภ. มีอยู่จริงๆ พราหมณ์.......

ว. และ ภ. หมายถึงอะไรครับ



ความคิดเห็น 1    โดย ajarnkruo  วันที่ 17 ก.ค. 2551

ว. คือ เวรัญชพราหมณ์ ส่วน ภ. คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าครับ ข้อความนั้นเป็นส่วนหนึ่งในหัวเรื่อง เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า ครับ


ความคิดเห็น 2    โดย wannee.s  วันที่ 18 ก.ค. 2551

เวลาเราอ่านข้อความจากพระไตรปิฏกต้องเข้าใจว่า การสนทนานั้นมีใครเป็นผู้ร่วม

สนทนาบ้าง ที่ใช้คำย่อเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการพิมพ์ค่ะ เช่น

ว. คือ เวรัญชพราหมณ์ ส่วน ภ. คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ที่กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคไม่มีสมบัติ หมายถึง พระองค์ไม่มีความยินดีพอใจในรูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 18 ก.ค. 2551


ว.
(เวรัญชพราหมณ์ กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า) ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ. ภ. (พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า) มีอยู่จริงๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเรา ว่าพระสมณโคดม ไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีภายหลัง ไม่มีการเกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.

เนื่องจากเป็นการสนทนาระหว่างคน ๒ คน คือ เวรัญชพราหมณ์ กับ พระผู้มีพระภาคดังนั้น อักษรย่อที่ปรากฏจึงหมายถึง ๒ ท่านนี้ ครับ ถ้าอ่านไปเรื่อยๆ ในส่วนของพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม ก็จะพบอักษรย่อในลักษณะนี้อีกมาก ก็ขอให้สังเกตข้อความต้นๆ เอาว่ากำลังกล่าวถึงใคร เป็นหลัก ... ขออนุโมทนาครับ ...


ความคิดเห็น 4    โดย เมตตา  วันที่ 18 ก.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย bluebaker  วันที่ 19 ก.ค. 2551
ขอบคุณทุกท่านครับ

ความคิดเห็น 6    โดย suwit02  วันที่ 19 ก.ค. 2551

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาด

แล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีภายหลัง ไม่มีการเกิดอีกต่อไปเป็น

ธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก

สาธุ