ได้ฟังชุดพื้นฐานพระอภิธรรม แผ่นที่ ๓ ซึ่งท่านอาจารย์และท่านวิทยากรก็ได้สนทนากันเกี่ยวกับความเห็นผิด (ทิฏฐิเจตสิก) ที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิตทางทวารต่างๆ จึงมีคำถามมาเรียนถามท่านวิทยากรดังนี้ครับ
ความเห็นผิดที่เกิดกับชวนจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ขณะนั้นแน่นอนว่าย่อมไม่มีการคิดนึกเหมือนทางใจว่ากำลังมีคน มีสัตว์ สิ่งของอะไร แต่ว่าก็มีรูปที่ปรากฏเป็นอารมณ์ แล้วโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์ที่เกิดขณะนั้น ก็ยึดถือผิดในรูปนั้นว่า เราว่าเป็นเราทันที -- ตรงนี้ดูแล้วลึกซึ้งมากเลยครับ คิดว่าคงไม่อยู่ในวิสัยที่เราจะรู้ได้ด้วยปัญญาเพียงขั้นฟังในขณะนี้ จึงยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรครับ ขอความกรุณาท่านวิทยากรช่วยอธิบายให้เกิดความเข้าใจขึ้นอีกสักนิดด้วยครับ
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาในคำตอบครับ
ควรทราบการสะสมจนชำนาญของอกุศล แม้ว่าทางปัญจทวารอารมณ์ที่ปรากฏเป็นปรมัตถธรรม ความเห็นผิดก็เกิดได้ เช่นเดียวกับ โลภะ โทสะ โมหะ หรือแม้ธรรมฝ่าย โสภณะ มหากุศลญาณสัมปยุตต์ มหากิริยาญาณสัมปยุตต์ ก็เกิดทางปัญจทวารได้ดังนั้นจึงไม่น่าสงสัยว่า ทำไมทางปัญจทวารความเห็นผิดจะเกิดไม่ได้ ความเห็นถูก
ก็เกิดได้...
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอเรียนถามค่ะว่า การสะสมจนชำนาญของอกุศล หมายความว่าอย่างไรค่ะ
ไม่ทราบว่าจะเข้าใจถูกไหมว่า แม้ทางปัญจทวารจะมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์แต่
เพราะความไม่รู้ในลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริงทางมโนทวารมีการคิดนึก
เป็นไปกับอกุศลเป็นส่วนมาก โลภะบ้าง ความเห็นผิดบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
สะสมจนชำนาญ ฉะนั้นขณะที่มีความเห็นผิดเกิดขึ้นทางปัญจทวารจึงเป็นโลภ
ประกอบด้วยความเห็นผิด ใช่ไหมค่ะ ขออนุโมทนาและขอขอบพระคุณค่ะ