๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ
โดย บ้านธัมมะ  17 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40360

[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 192

อุพพรีวรรคที่ ๒

๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 192

๕. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ

พราหมณ์ถามว่า

[๑๐๒] ท่านตกแต่งร่างกาย ใส่ต่างหูเกลี้ยง ฯลฯ (เหมือนในมัฏฐกุณฑลีวิมานที่ ๙ สุนิกขิตตวรรค ที่ ๗ ในวิมานวัตถุ)

จบ มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕

อรรถกถามัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า อลงฺกโต มฏฺกุณฺฑลี ดังนี้. ข้อที่จะพึงกล่าวในเรื่องมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถามัฏฐกุณฑลีวิมานวัตถุ ในอรรถกถา วิมานวัตถุ ชื่อ ปรมัตถทีปนี เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถาวิมานวัตถุนั้นนั่นแหละ.

ก็ในที่นี้ เรื่องของมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านยกขึ้นรวบรวมไว้ในบาลีวิมานวัตถุ เพราะมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรเป็นเทวดาในวิมานก็จริง ถึงกระนั้นเพราะเหตุที่เทพบุตรนั้น เพื่อจะกำจัดความเศร้าโศกของอทินนปุพพกะพราหมณ์ ผู้ไปป่าช้า เดินเวียนรอบป่าช้าร้องไห้


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 193

เพราะความเศร้าโศกถึงบุตร จึงแปลงรูปเทวดาของตน เป็นคนมีร่างกายประพรมด้วยจันทน์เหลือง ประคองแขนทั้ง ๒ คร่ำครวญอยู่ แสดงตนโดยอาการที่ถูกทุกข์ครอบงำเหมือนเปรต. แม้จะเป็นเปรตโดยอ้อม ก็ย่อมได้ เพราะปราศจากอัตตภาพมนุษย์ ดังนั้น พึงเห็นว่า เรื่องของมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านจึงยกขึ้นรวบรวมไว้ในบาลีเปตวัตถุ.

จบ อรรถกถามัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ ๕