[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 38
๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 23]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 38
๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร
[๓๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของอนาถบัณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงไม่น่าเป็นไปได้เลย. ข้อที่พระตถาคตมีอิทธานุภาพมาก ซึ่งเป็นเหตุให้ทรงทราบพระพุทธเจ้าในอดีตผู้ปรินิพพานแล้ว ทรงตัดปปัญจธรรมแล้ว ทรงตัดตอวัฏฏะแล้ว ทรงครอบงําวัฏฏะแล้ว ทรงล่วงทุกข์ทั้งปวงแล้ว ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นๆ มีพระชาติอย่างนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้บ้าง มีโคตรอย่างนี้บ้าง มีศีลอย่างนี้บ้าง มีธรรมอย่างนี้บ้าง มีปัญญาอย่างนี้บ้าง มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง มีวิมุตติอย่างนี้บ้าง เมื่อภิกษุเหล่านั้นสนทนากันอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งน่าอัศจรรย์และประกอบด้วยธรรนน่าอัศจรรย์ พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งไม่น่าเป็นไปได้และประกอบด้วยธรรมไม่น่าเป็นไปได้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้.
[๓๕๘] ฉะนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน และพวกเธอสนทนาเรื่องอะไรกันในระหว่างค้างอยู่แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 39
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระองค์กลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงไม่น่าเป็นไปได้เลย ข้อที่พระตถาคตมีอิทธานุภาพมาก ซึ่งเป็นเหตุให้ทรงทราบพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้ปรินิพพานแล้ว ทรงตัดปปัญจธรรมแล้ว ทรงตัดตอวัฏฏะแล้ว ทรงครอบงําวัฏฏะแล้ว ทรงล่วงทุกข์ทั้งปวงแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นๆ มีพระชาติอย่างนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้บ้าง มีพระโคตรอย่างนี้บ้าง มีศีลอย่างนี้บ้าง มีธรรมอย่างนี้บ้าง มีปัญญาอย่างนี้บ้างมีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง มีวิมุตติอย่างนี้บ้าง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์สนทนากันอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะพวกข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งน่าอัศจรรย์และประกอบด้วยธรรมน่าอัศจรรย์ พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งไม่น่าเป็นไปได้และประกอบด้วยธรรมไม่น่าเป็นไปได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันในระหว่างของพวกข้าพระองค์ค้างอยู่เท่านี้แล พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จมาถึง.
[๓๕๙] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้นแล ขอธรรมอันไม่น่าเป็นไปได้ อันน่าอัศจรรย์ของตถาคต จงแจ่มแจ้งกะเธอโดยประมาณอันยิ่งๆ เถิด.
ว่าด้วยเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต
[๓๖๐] ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ได้เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 40
แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ได้สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๖๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ได้สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิตจนตลอดอายุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มี-พระภาคเจ้า.
[๓๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุสิตแล้วลงสู่พระครรภ์พระมารดา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์. ในกาลใดพระโพธิสัตว์จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระมารดา ในกาลนั้น แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก พร้อมทั้งเทวดามารพรหม และในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ แม้ในโลกันตริกนรกมีแต่ทุกข์ ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 41
มีแต่ความมืดมิด ซึ่งดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้หมู่สัตว์ผู้อุปบัติในนรกนั้นก็รู้กันว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่ง หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมสะเทือนสะท้าน หวั่นไหว และแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๖๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น เทวบุตรทั้ง ๔ จะใกล้ชิดพระโพธิสัตว์ถวายอารักขาใน ๔ ทิศ ด้วยคิดว่า มนุษย์ หรืออมนุษย์ หรือใครๆ อย่าได้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์เลยข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้มีศีลโดยปกติ คือ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทานเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 42
เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา
[๓๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์มิได้พระหฤทัยใฝ่ฝันในกามคุณในบุรุษเกิดขึ้น และจะเป็นผู้ไม่ถูกบุรุษไรๆ ที่มีจิตกําหนัดแล้วล่วงเกินได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๖๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเป็นผู้ได้เบญจกามคุณ คือ พระนางจะเพรียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บําเรออยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จสงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์ไม่มีพระโรคาพาธไรๆ เกิดขึ้น จะมีความสุข ไม่ลําบากพระกาย และจะทรงเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะน้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์ไม่เสื่อมโทรมได้ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์งามโชติช่วงแปดเหลี่ยมอันเขาเจียระไนดีแล้ว ในแก้วนั้นเขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง สีขาว สีเหลืองแก่ เข้าไว้ บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นในมือ พึงเห็นชัดได้ว่า แก้วไพฑูรย์นี้งามโชติช่วงแปดเหลี่ยม อันเขาเจียระไนดีแล้ว ในแก้วนั้นเขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง สีขาว สีเหลืองแก่ เข้าไว้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 43
ฉันใด ดูก่อนอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่มีพระโรคาพาธไรๆ เกิดขึ้น จะมีความสุข ไม่ลําบากพระกาย และจะทรงเห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะน้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์ไม่เสื่อม โทรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๗๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๗ วัน พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติโพธิสัตว์ ไม่เหมือนอย่างหญิงอื่นๆ ที่ตั้งครรภ์ ๙ เดือนหรือ ๑๐ เดือนแล้วจึงคลอด คือ พระนางจะทรงครองพระโพธิสัตว์ด้วยพระอุทร ๑๐ เดือนถ้วนแล้วจึงประสูติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๗๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะประสูติพระโพธิสัตว์ไม่เหมือนอย่างหญิงอื่นๆ ที่นั่งหรือนอนคลอดคือ พระนางจะประทับยืนท่าเดียวแล้วประสูติพระโพธิสัตว์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 44
ประสูติจากพระอุธรของพระมารดา
[๓๗๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่าดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พวกเทวดาจะรับก่อน พวกมนุษย์จะรับทีหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่าดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตรทั้ง ๔ ก็รับ แล้ววางลงตรงพระพักตร์พระมารดาให้ทรงหมายรู้ว่า ขอพระเทวีจงมีพระทัยยินดีเถิด พระโอรสของพระองค์ผู้มีศักดิ์มากเสด็จอุปบัติแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่าดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารคา ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้ คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือด ด้วยน้ำเหลืองด้วยของไม่สะอาดไรๆ นับว่าหมดจดบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาวางลงบนผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่เปื้อนผ้ากาสิกพัสตร์ แม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่เปื้อนแก้วมณี นั่นเพราะเหตุไร เพราะของทั้งสองอย่างบริสุทธิ์ ฉันใดดูก่อนอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือด ด้วยน้ำเหลือง ด้วยของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 45
ไม่สะอาดไรๆ นับว่าหมดจดบริสุทธิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น ธารน้ำ ๒ สายย่อมปรากฏจากอากาศ สายหนึ่งเป็นธารน้ำเย็น สายหนึ่งเป็นธารน้ำอุ่น เป็นเครื่องทําการสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ในบัดดลที่ประสูติ ก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอบนแผ่นดิน และบ่ายพระพักตร์สู่ทิศอุดร เสด็จดําเนินไปด้วยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตฉัตรตามไปพระองค์จะทรงเหลียวดูทิศทั้งปวง และทรงเปล่งพระวาจาอย่างผู้องอาจว่าเราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น แสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ แม้ในโลกกันตริกนรกมีแต่ทุกข์ ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย มีแต่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 46
ความมืดมิด ซึ่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้หมู่สัตว์ผู้อุปบัติในนรกนั้น ก็รู้กันว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่ง หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมสะเทือน สะท้านหวั่นไหว และแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
[๓๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแลเธอจงทรงจําธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของตถาคต แม้นี้ไว้เถิด ดูก่อนอานนท์ ในเรื่องนี้ เวทนาของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ปรากฏถึงความดับไป สัญญาของตถาคตปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่. ปรากฏถึงความดับไป วิตกของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ดูก่อนอานนท์ แม้ข้อนี้แล เธอก็จงทรงจําไว้เถิดว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของตถาคต.
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่เวทนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป สัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป วิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป นี้ ข้าพระองค์ก็จะทรงจําไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ท่านพระอานนท์กล่าวคํานี้จบแล้ว พระศาสดาได้ทรงโปรดปรานภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์แล.
จบ อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร ที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 47
อรรถกถาอัจฉริยัพภูตสูตร
อัจฉริยัพภูตสูตร (๑) มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่าอัศจรรย์ อธิบายว่า พระตถาคตพระองค์ใด. ที่ชื่อว่า ปปัญจธรรม ในบทว่า ฉินฺนปปฺเจ นี้ ได้แก่ กิเลส ๓ อย่าง คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ. กัมมวัฏที่เป็นกุศลและอกุศล ท่านเรียกว่า วัฏฏมะ ในบทว่า ฉินฺนวฏฺฏเม นี้. บทว่า ปริยาทินฺนวฏฺเฏ เป็นไวพจน์ของ บทว่า ฉินฺนวฏฺฏเม นั้นแหละ. บทว่า สพฺพทุกฺขวีสติวฏฺเฏ ความว่า ล่วงทุกข์ กล่าวคือ วิปากวัฏฏ์ทั้งปวง. บทว่า อนุสฺสริสฺสติ นี้ เป็นคํากล่าวถึงอนาคตกาล โดยใช้นิบาตว่า ยตฺร. แต่ในบทนี้ พึงทราบความว่า ท่านใช้หมายถึงอดีต. แท้จริงพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว มิใช่จักระลึกถึงในบัดนี้. บทว่า เอวฺชจฺจา ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้น มีพระชาติเป็นกษัตริย์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระกกุสันธะ เป็นต้น มีพระชาติเป็นพราหมณ์.บทว่า เอวํ โคตฺตา ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เป็นโกณฑัญญโคตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระกกุสันธะเป็นต้น เป็น กัสสปโคตร. บทว่า เอวํ สีลา ความว่า มีศีลอย่างนี้ คือมีศีลเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ.ในบทว่า เอวํธมฺมา นี้ ท่านหมายเอาธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งสมาธิอธิบายว่า มีสมาธิอย่างนี้ คือ มีสมาธิเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ. บทว่า เอวํ ปฺา ความว่า มีปัญญาอย่างนี้ คือ มีทั้งปัญญาที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ. ก็ในบทว่า เอวํวิหารี นี้ ก็เพราะถือธรรมที่เป็นไปในฝ่ายสมาธิ
(๑) พระสูตรเป็นอัจฉริยัพภูตธัมมสูตร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 48
ไว้ในหนหลังแล้ว ก็เป็นอันถือวิหารธรรมไว้ด้วย หากจะมีผู้ท้วงว่าเหตุไรท่านจึงถือสิ่งที่ถือแล้วอีกเล่า. ตอบว่า ข้อนี้ท่านไม่ถืออย่างนั้นเลย. แท้จริงการที่ท่านถือสิ่งที่ถือแล้วอีกนี้ ก็เพื่อจะแสดงถึงนิโรธสมาบัติ เพราะฉะนั้นในข้อนี้ ได้ความอย่างนี้ว่า มีปกติอยู่ด้วยนิโรธสมาบัติอย่างนี้.
ในบทว่า เอวํ วิมุตฺตา นี้ได้แก่วิมุตติ ๕ อย่างคือ วิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยอำนาจสมาธิ) ๑ ตทังควิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยองค์ธรรมจำเพาะ) ๑ สมุจเฉทวิมุตติ (ความหลุดพ้นเด็ดขาด) ๑ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยสงบราบคาบไป) ๑ นิสสรณวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่เป็นภาวะหลุดรอดปลอด โปร่ง) ๑ ในวิมุตติ ๕ เหล่านั้น สมาบัติ ๘ นับเป็นวิกขัมภนวิมุตติ เพราะพ้นแล้วจากกิเลสมีนิวรณ์เป็นต้น ที่ตนข่มไว้แล้วเอง. อนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น นับเป็นตทังควิมุตติ เพราะสลัดพ้นแล้วจากนิจจสัญญาเป็นต้น ที่ตนสละแล้ว ด้วยสามารถแห่งองค์ที่เป็นข้าศึกของมรรคนั้นๆ. อริยมรรค ๔ นับเป็นสมุจเฉทวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายที่ตนถอนขึ้นแล้วเอง. สามัญญผล (ผลหรืออนิสงค์ของความเป็นสรณ) ๔ นับเป็นปฎิปัสสัทธิวิมุตติ เพราะกิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในที่สุดแห่งปฎิปัสสัทธิด้วยอานุภาพแห่งมรรค. นิพพานนับเป็นนิสสรณวิมุตติ เพราะเป็นที่สลัดออกขจัดออก ตั้งอยู่ในที่ไกลกิเลสทั้งปวง. ในข้อนี้พึงทราบความอย่างนี้ว่า หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งวิมุตติ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ตสฺมาติห ความว่า เพราะเหตุที่ท่านกล่าวว่า พระตถาคตทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ฉะนั้น อัจฉริยภูตธรรมทั้งหลายของพระตถาคต จึงชัดแจ้งยิ่งกว่าประมาณ.ในบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้ ได้แก่สัมปชัญญะ ๒ อย่าง คือ ทั้งในมนุษยโลก และเทวโลก. ในสัมปชัญญะ ๒ นั้น ในเวสสันดรชาดก พระเวสสันดรให้พระโอรสทั้งสองแก่พราหมณ์แล้ว ในวันรุ่งขึ้น ถวายพระมเหสีแก่ท้าวสักกะ เมื่อจะถือเอาพร ๘ อย่าง ที่ท้าวสักกะทรงเลื่อมใสประทานแล้วได้เลือกถือเอาพรว่า เราจงถือปฏิสนธิในภพดุสิต อย่างนี้ว่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 49
เมื่อล่วงพ้นจากอัตภาพนี้ไป ขอจงไปสวรรค์ ไปถึงชั้นดุสิตอันเป็นชั้นวิเศษไม่พึงกลับจากนั้น พรนี้เป็นพรที่ ๘.
จําเดิมแต่นั้นมา ก็รู้ว่าเราจักเกิดในดุสิตพิภพ. นี้จัดเป็นสัมปชัญญะ (ปัญญาที่รู้โทษของอกุศล คุณของกุศล) ในมนุษยโลก. ก็แลพระองค์ ทรงจุติจากอัตตภาพพระเวสสันดรแล้ว บังเกิดในภาพดุสิต ได้รู้ตัวว่า เราเกิดแล้ว ดังนี้ เป็นสัมปชัญญะในเทวโลก.
ถามว่า ก็เทวดาที่เหลือทั้งหลายไม่รู้หรือ. ตอบว่า จะไม่รู้ก็หามิได้ แต่เทวดาเหล่านั้น ต้องแลดูต้นกัลปพฤกษ์ใกล้วิมานในอุทยาน ที่เหล่าเทพอัปสรผู้ฟ้อนรําปลุกให้ตื่นด้วยเสียงทิพยดุริยางค์ได้ระลึกว่า ท่านผู้นิรทุกข์ นี้เป็นเทวโลก ท่านเกิดในเทวโลกนี้แล้ว ดังนี้ จึงจะรู้. พระโพธิสัตว์ไม่รู้ในปฐมชวนวาร. นับแต่ทุติยชวนวารไปถึงจะรู้. การรู้ของพระองค์ไม่สาธารณะทั่วไปเหมือนคนอื่น ดังพรรณนามาฉะนี้. ในบทว่า อฏาสิ (ได้สถิตย์อยู่) นี้ ความว่า แม้เทวดาเหล่าอื่น ถึงจะดํารงอยู่ในภพนั้น ก็ย่อมรู้ตัวว่า พวกเราดํารงอยู่แล้ว ก็จริงแต่เทวดาเหล่านั้น ถูกอิฏฐารมณ์ที่มีกําลังในทวารทั้ง ๖ ครอบงําอยู่ ขาดสติไม่รู้แม้สิ่งที่คนบริโภคแล้ว ดื่มแล้ว ย่อมทํากาละเพราะขาดอาหาร.
ถามว่า พระโพธิสัตว์ไม่มีอารมณ์อย่างนั้นหรือ. ตอบว่า ไม่มีก็หามิได้. ด้วยว่าพระองค์ย่อมอยู่เหนือเทวดาที่เหลือโดยฐานะ ๑๐. ก็พระองค์ไม่ยอมให้อารมณ์ย่ํายีพระองค์ข่มอารมณ์นั้นตั้งอยู่ได้. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า สโต สมฺปชาโน อานนฺท โพธิสตฺโต ดุสิเต กาเย อฏาสิ (อานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิต)
บทว่า ยาวตายุกํ (ตลอดอายุ) ถามว่า ในอัตภาพที่เหลือ พระโพธิสัตว์ไม่ดํารงอยู่จนตลอดอายุหรือ. ตอบว่า ใช่แล้วไม่ดํารงอยู่ตลอดอายุ. ก็ในกาลอื่นๆ พระโพธิสัตว์บังเกิดในเทวโลก ที่เทวดามีอายุยืน ไม่อาจบําเพ็ญ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 50
บารมีในเทวโลกนั้นได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงลืมพระเนตรทั้งสอง กระทําอธิมุตตกาลกิริยา (กลั้นใจตาย) แล้วบังเกิดในมนุษยโลก กาลกิริยาอย่างนี้ ไม่มีแก่เทวดาเหล่าอื่น. ก็ในครั้งนั้น ไม่มีการลักทรัพย์ไม่มีผู้ไม่รักษาศีล พระองค์ดํารงอยู่จนตลอดอายุ เพราะทรงบําเพ็ญบารมีทุกอย่างบริบูรณ์แล้ว. พระองค์มีสติสัมปชัญญะ เคลื่อนจากหมู่เทวดาชั้นดุสิต สถิตอยู่ในพระครรภ์พระมารดา.พระโพธิสัตว์ทรงบําเพ็ญพระบารมีครบทุกอย่างก่อน แล้วได้ดํารงอยู่จนตลอดพระชนม์ชีพ ในครั้งนั้น ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็บุพนิมิต ๕ อย่างคือ ดอกไม้เหี่ยว ๑ ผ้าเศร้าหมอง ๑ เหงื่อออกจากรักแร้ ๑ กายเริ่มเศร้าหมอง ๑ เทวดาไม่ดํารงอยู่บนอาสนะของเทวดา ๑ นี้ย่อมบังเกิดแก่เทวดาทั้งหลาย เพื่อจะเตือนให้รู้ว่า บัดนี้ เหลืออีก ๗ วันจักต้องจุติโดยการนับวันอย่างของมนุษย์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลาได้แก่ดอกไม้ประดับ โดยนับวันเริ่มปฏิสนธิเป็นกําหนด. ได้ยินว่า ดอกไม้เหล่านั้นจะไม่เหี่ยวแห้ง เป็นเวลาถึง ๕๗ โกฏิ กับอีก ๖๐ แสนปีแต่จะเหี่ยวแห้งในครั้งนั้น. แม้ในผ้าทั้งหลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็เทวดาทั้งหลาย ย่อมไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้. แต่ในกาลนั้น เหงื่อจะไหลออกจากร่างกายเป็นเม็ดๆ ก็ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ร่างกายของเทวดาเหล่านั้น ไม่เคยปรากฏว่า เศร้าหมอง เช่นเป็นต้นว่าฟันหัก หรือ ผมหงอกเลย. เทพธิดา จะปรากฏร่างเหมือนสาววัยรุ่น ๑๖เทพบุตรจะปรากฏร่างเหมือนหนุ่มวัยรุ่น ๒๐. ในเวลาใกล้จะตายเทพบุตรเหล่านั้น ย่อมมีอัตภาพเศร้าหมอง อนึ่ง เทพบุตรเหล่านั้น ไม่มีความกระสันในเทวโลกตลอดกาลประมาณเท่านี้ แต่ในเวลาใกล้ตายเทพบุตร ย่อมเหนื่อยหน่ายสะดุ้ง หวั่นไหว ไม่ยินดีในอาสนะของตน. เหล่านั้นจัดเป็นบุพนิมิต ๕ ประการ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 51
นิมิตทั้งหลาย มีลูกอุกกาบาตตก แผ่นดินไหว และจันทรคราสเป็นต้น จะปรากฏเฉพาะผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ในโลก เช่นพระราชา อํามาตย์ชั้นผู้ใหญ่เป็นต้นเท่านั้น ไม่ปรากฏแก่สามัญชนทั่วไปฉันใด บุพนิมิต ๕ ก็ฉันนั้นจะปรากฏเฉพาะเหล่าเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่เท่านั้น ไม่ปรากฏแก่เทพทั่วไป.ก็ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย โหรเป็นต้นเท่านั้น จึงจะรู้บุพนิมิตทั้งหลาย คนทั่วไปไม่รู้ฉันใด หมู่เทพทั้งหลายก็ฉันนั้น เทพทั่วไปแม้เหล่านั้น ย่อมไม่รู้จะรู้ก็เฉพาะเทพที่ฉลาดเท่านั้น. ก็ในบรรดาเทพเหล่านั้น เทพบุตรผู้เกิดด้วยกุศลกรรมเล็กน้อย เมื่อบุพนิมิตเกิดแล้ว ใครจะรู้ว่า บัดนี้ พวกเราจักไปเกิดในที่ไหน จึงกลัว ฝ่ายเทพบุตรผู้มีบุญมาก คิดว่าพวกเราอาศัยทานที่ให้ ศีลที่รักษา ภาวนาที่เจริญแล้ว จักเสวยสมบัติในเทวโลกชั้นสูงๆ ขึ้นไปจึงไม่กลัว สําหรับพระโพธิสัตว์ทรงเห็นบุพนิมิตเหล่านั้นแล้ว คิดว่า บัดนี้เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอัตภาพต่อไป จึงไม่กลัว. ครั้งนั้น เมื่อนิมิตเหล่านั้น ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์แล้ว. เทวดาในหมื่นจักรวาลมาประชุมกันแล้วทูลอาราธนาว่าข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์การที่พระองค์ทรงบําเพ็ญทสบารมีจะหวังสมบัติว่า จะเป็นท้าวสักกะก็หาไม่ จะหวังสมบัติว่า จักเป็นมารเป็นพรหม เป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็หาไม่ แต่ทรงบําเพ็ญด้วยปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อรื้อถอนสัตวโลก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้ เป็นกาลอันสมควร เพื่อการตรัสรู้ของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้เป็นสมัยอันสมควร เพื่อการตรัสรู้ของพระองค์.
ลําดับนั้น พระมหาสัตว์ ยังไม่ทรงให้คํารับรองแก่เทวดาทั้งหลายทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการ คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล และการกําหนดอายุของพระมารดา. ในมหาวิโลกนะ ๕ ประการนั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นเวลาสมควร หรือยังไม่สมควร เวลาที่คนทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 52
มีอายุยืนกว่าแสนปีขึ้นไป ชื่อว่า เวลาที่ยังไม่สมควร ในมหาวิโลกนะ ๕ประการนั้น.
เพราะเหตุไร. เพราะในเวลานั้น ชาติ ชรา และมรณะ ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลายและขึ้นชื่อว่า การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพ้นไปจากไตรลักษณ์ย่อมไม่มี เมื่อพระองค์ตรัสว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คนทั้งหลายจะคิดว่า นี่ พระองค์ตรัสถึงอะไร แล้วไม่สนใจจะฟัง ไม่ยอมรับนับถือ หรือเธอฟัง แต่นั้นย่อมไม่มีการตรัสรู้มรรคผล เมื่อไม่มีการตรัสรู้มรรคผล คําสอนย่อมไม่จัดเป็นนิยยานิกธรรม (คือนําสัตว์ออกจากภพ) ได้ เพราะฉะนั้น เวลานั้น จึงจัดเป็นเวลาที่ไม่สมควร. เวลาที่คนทั้งหลายมีอายุน้อยกว่าร้อยปี ก็ยังไม่จัดว่าเป็นกาลอันสมควร. เพราะเหตุไร. เพราะเวลานั้นคนทั้งหลายยังมีกิเลสหนา และคําสอนที่ให้แก่คนที่มีกิเลสหนา ย่อมไม่ตั้งอยู่ในฐานะแห่งโอวาท ย่อมสลายไปโดยพลัน เหมือนเอาท่อนไม้ขีดลงในน้ำ เพราะฉะนั้น แม้เวลานั้น ก็ยังไม่จัดเป็นกาลอันสมควร. แต่กาลกําหนดอายุนับแต่แสนปีลงมา ตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป จัดเป็นกาลอันสมควร. และในครั้งนั้นเป็นเวลาที่สัตว์มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี. ลําดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงพิจารณาเห็นแล้วว่า เป็นกาลสมควรที่จะพึงมาเกิด.
แต่นั้นเมื่อจะทรงตรวจดูทวีป ได้ทรงพิจารณาดูทวีปทั้ง พร้อมทั้งทวีปที่เป็นบริวาร ทรงเห็นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เกิดในทวีปทั้ง ๓ จะเกิดเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น. แต่นั้นทรงตรวจดูประเทศว่า ขึ้นชื่อว่า ชมพูทวีป จัดเป็นทวีปใหญ่ มีประมาณถึงหมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมมาเกิดในประเทศไหนหนอแล ทรงพิจารณาเห็นมัชฌิมประเทศแล้ว.ที่ชื่อว่า มัชฌิมประเทศ ได้แก่ประเทศที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพระวินัย โดยนัยเป็นต้นว่า มีนิคมชื่อกชังคละอยู่ในทิศบูรพา ดังนี้. ก็มัชฌิมประเทศนั้นมีกําหนดว่า ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๐๐ โยชน์.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 53
ก็สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบําเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปบ้าง ๘ อสงไขยแสนกัปบ้าง ๑๖ อสงไขยแสนกัปบ้าง แล้วเสด็จอุบัติในประเทศนี้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบําเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยแสนกัปแล้วมาเกิด. พระมหาสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นต้น บําเพ็ญบารมี ๑ อสงไขยแสนกัป แล้วมาเกิด. พระเจ้าจักรพรรดิผู้ปราบดาภิเษกเหนือทวีปใหญ่ทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารย่อมเสด็จมาเกิด. อีกทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ และคฤหบดีผู้มหาศาล ผู้มีศักดิ์ใหญ่เหล่าอื่นก็มาเกิดในประเทศนี้. ก็และในประเทศนี้ มีพระนครชื่อว่า กบิลพัสดุ์เป็นราชธานี พระองค์จึงตกลงพระทัยว่า เราควรเกิดในนครกบิลพัสดุ์นั้น.
แต่นั้นทรงตรวจดูตระกูล พิจารณาตระกูลว่าธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเกิดในตระกูลที่โลกสมมติ ก็บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกลที่โลกสมมติ เราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาทรงพระนามว่าสุทโธทนะ ก็เป็นพระบิดาของเรา. แต่นั้นทรงตรวจดูพระมารดา ทรงพิจารณาว่า ขึ้นชื่อว่า พระพุทธมารดา ย่อมไม่เป็นหญิงเหลาะแหละ ไม่เป็นนักเลงสุรา บําเพ็ญบารมีมาถึงแสนกัป นับแต่เกิด ย่อมมีศีล ๕ ไม่ขาด ก็พระเทวีพระนามว่า มหามายา พระองค์นี้ มีลักษณะเป็นเช่นนี้ พระนางจักเป็นพระมารดาของเรา แต่งพระนางจักมีอายุเท่าไร แล้วทรงเห็นว่า อายุของพระนาง (หลังทรงพระครรภ์) ๑๐ เดือน (ปุระสูติแล้ว) จักมี ๗ วัน.
พระมหาสัตว์ครั้นทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ ดังกล่าวมานี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถึงเวลาที่เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อจะทําการสงเคราะห์จึงให้คํารับรองแก่เทวดาทั้งหลาย ส่งเทวดาเหล่านั้นไปด้วยพระดํารัสว่า จงกลับไปเถิดท่านทั้งหลาย แวดล้อมไปด้วยเทวดาชั้นดุสิต เสด็จเข้าไปยังสวนนันทวันในดุสิตบุรี. ก็ในเทวโลกทุกชั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 54
ย่อมมีสวนนันทวันทั้งนั้น. แม้ในสวนนันทวันนั้น เทวดาทั้งหลายให้พระโพธิสัตว์ระลึกถึงโอกาสแห่งกุศลกรรมที่เคยทําไว้ในชาติก่อนว่า พระองค์จงจุติจากดุสิตบุรีนี้ไปสู่สุคติ จงจุติจากดุสิตบุรีนี้ไปสู่สุคติ ดังนี้เที่ยวไป. พระโพธิสัตว์แวดล้อมไปด้วยเทวดาผู้ช่วยให้ระลึกถึงกุศลกรรมอย่างนี้ เสด็จเที่ยวไปในนันทวันจุติแล้ว. ครั้นจุติอย่างนี้แล้ว ก็รู้ว่าเรากําลังจุติ ไม่ใช่รู้จุติจิต. แม้ถือปฏิสนธิแล้ว ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต. พระองค์รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราถือปฏิสนธิในที่นี้ก็พระเถระบางพวกกล่าวว่า ควรจะได้อาวัชชนปริยาย พระมหาสัตว์จะรู้ในทุติยจิตตวาร และในตติยจิตตวารเท่านั้น. แต่พระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ปฏิสนธิของพระมหาสัตว์ทั้งหลายไม่เหมือนปฏิสนธิของสัตว์อื่น สติสัมปชัญญะของพระมหาสัตว์เหล่านั้นถึงที่สุดแล้ว ก็เพราะไม่อาจจะรู้จิตดวงนั้น ด้วยจิตดวงนั้นได้ ฉะนั้น พระมหาสัตว์จึงไม่รู้จุติจิต แม้ในขณะจุติย่อมรู้ว่าเรากําลังจุติ ถือปฏิสนธิ ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต รู้ชัดว่าเราถือปฏิสนธิในที่โน้น ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว ดังนี้ ก็เมื่อพระมหาสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์มารดาอย่างนี้ ทรงถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิต เหมือนกับอสังขาริกกุศลจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัสและสัมปยุตด้วยญาณ มีเมตตาเป็นบุพภาค ในบรรดาปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง. ฝ่ายพระมหาสิวเถระ กล่าวว่าด้วยมหาวิบากจิต ที่สหรคตด้วยอุเบกขา. ก็พระมหาสัตว์ เมื่อทรงถือปฏิสนธิได้ถือปฏิสนธิในวันเพ็ญเดือน ๘ หลัง.
ดังได้สดับมา ครั้งนั้น พระนางมหามายา ทรงพระสําราญด้วยการเล่นนักษัตร อันสมบูรณ์ไปด้วยเครื่องดื่มที่ปราศจากสุรา ระเบียบของหอมและเครื่องประดับ แต่วันที่ ๗ จากวันเพ็ญเดือน ๘ หน้า ครั้นในวันที่๗เสด็จออกแต่เช้า สรงสนานด้วยน้ำหอมประดับพระวรกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เสวยพระกริยาหารอันประเสริฐ อธิษฐานองค์อุโบสถ แล้วเสด็จ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 55
เข้าห้องอันมีสิริ บรรทมบนเตียงอันมีสิริ ทรงหลับไป ได้ทรงพระสุบินดังนี้ว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทรงยกพระนางพร้อมทั้งที่บรรทมนําไปสระอโนดาด แล้ววางไว้ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้นพระเทวีของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ได้มาให้พระนางสรงสนานเพื่อชําระล้างมลทินของมนุษย์ แล้วให้นุ่งห่มผ้าทิพย์ลูบไล้ด้วยของหอม ประดับผ้าทิพย์ ให้ทรงบรรทมรักษาศีลอยู่ในวิมานทอง ซึ่งมีอยู่ภายในภูเขาเงิน อันตั้งอยู่ไม่ห่างจากสระอโนดาตนั้น. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นช้างเผือกเที่ยวไปบนภูเขาทองลูกหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากสระอโนดาตนั้น ลงจากภูเขาทองนั้นแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเงิน มาจากทิศอุดร เข้าไปยังวิมานทอง กระทําประทักษิณพระมารดาแล้วได้เป็นประดุจแยกพระปรัศว์ขวาออกแล้วเข้าไปสู่พระครรภ์.
ลําดับนั้น พระนางตื่นพระบรรทมแล้ว ได้กราบทูลพระสุบินนั้นแด่พระราชา. ครั้นรุ่งสว่าง พระราชารับสั่งให้หัวหน้าพราหมณ์ประมาณ ๖๔ คนเข้าเฝ้า จัดปูอาสนะมีค่ามาก บนภูมิภาคที่มีติณชาติเขียวขจี ตกแต่งแล้วด้วยเครื่องสักการะอันเป็นมงคลที่กระทําด้วยข้าวตอกเป็นต้น แล้วนําข้าวปายาสอันประเสริฐปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดใส่หม้อทอง หม้อเงินจนเต็มแล้วปิดด้วยหม้อทองหม้อเงินเช่นเดียวกัน พระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลายผู้อิ่มหนําสําราญแล้ว ทราบถึงพระสุบิน แล้วทรงถามว่า จักมีอะไรเกิดขึ้น.พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่าทรงพระวิตกเลย พระเทวีของพระองค์ทรงตั้งครรภ์ และพระครรภ์นั้น ก็เป็นพระครรภ์พระโอรส มิใช่ครรภ์พระธิดา พระองค์จักมีพระโอรส ถ้าพระโอรสนั้นจักอยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวช จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 56
ผู้เพิกถอนกิเลสได้แล้วในโลก พระโพธิสัตว์มีสติและสัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุสิต เข้าสู่พระครรภ์พระมารดาด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สโต สมฺปชาโน (มีสติสัมปชัญญะ) นี้ ท่านแสดงว่าพระโพธิสัตว์ที่ก้าวลงโดยวิธีก้าวลงสู่พระครรภ์อย่างที่๔. ก็การก้าวลงสู่พระครรภ์มี ๔ อย่าง ดังพระบาลีว่า พระเจ้าข้า การก้าวลงสู่ครรภ์มี ๔ อย่างดังนี้.
พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ก้าวลงสู่ท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว ออกจากท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์อย่างที่ ๑.
ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ ก้าวลงสู่ท้องมารดารู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาไม่รู้ตัว ออกจากท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์อย่างที่ ๒.
ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ ก้าวลงสู่ท้องมารดารู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาก็รู้ตัว แต่ออกจากท้องมารดาไม่รู้ตัว นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์อย่างที่๓.
ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ ก้าวลงสู่ท้องมารดาก็รู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาก็รู้ตัว ทั้งออกจากท้องมารดาก็รู้ตัว นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์อย่างที่ ๔.
ใน ๔ อย่างเหล่านี้ อย่างที่หนึ่งเป็นของพวกโลกิยมนุษย์. อย่างที่สอง เป็นของพระอสีติมหาสาวก. อย่างที่สาม เป็นของพระอัครสาวกทั้งสองและพระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งหลาย ได้ยินว่า บุคคล ๓ จําพวกเหล่านั้น เมื่อถูกลมกรรมชวาต พัดเอาเท้าขึ้นบน เอาหัวลงล่าง ออกจากของกําเนิดที่คับแคบเหลือเกิด ย่อมถึงทุกข์อย่างยอดยิ่ง อุปมาเหมือนถูกเขาจับเหวี่ยงลงในเหวลึก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 57
หลายชั่วร้อยคน หรือเหมือนช้างที่ต้องออกจากช่องลูกดาลฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้นความรู้ตัวว่า เรากําลังออกจึงไม่มี แก่บุคคล ๓ จําพวกนั้น. การก้าวลงสู่ครรภ์อย่างที่ ๔ ย่อมมีเฉพาะพระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญูทั้งหลาย. แท้จริงพระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญูทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดาก็รู้ แม้เมื่ออยู่ในครรภ์พระมารดาก็รู้. แม้ในเวลาจะประสูติ ลมกรรมชวาต ไม่สามารถจะพัดเอาพระบาทของพระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญูเหล่านั้นขึ้นบน เอาพระเศียรลงข้างล่าง ท่านเหล่านั้นทรงเหยียดพระหัตถ์ทั้งสอง ลืมพระเนตรแล้วประทับยืนเสด็จออก.
ในบทว่า มาตุกุจฺฉึ โอกฺกมติ นี้ มีอธิบายว่า ย่อมก้าวลงสู่ครรภ์มารดา. แท้จริงเมื่อพระโพธิสัตว์นั้น ก้าวลงสู่ครรภ์พระมารดา ก็ย่อมมีเหตุอัศจรรย์อย่างนี้ เมื่อไม่ก้าวลง ก็ไม่มีเหตุอัศจรรย์. บทว่า อปฺปมาโณ แปลว่า มีประมาณอันเจริญ. อธิบายว่า ไพบูลย์. บทว่า เทวานํ เทวานุภาวํ นี้ มีอธิบายว่า อานุภาพของเทวดาทั้งหลาย มีดังนี้ คือ รัศมีของผ้าที่นุ่งย้อมแผ่ไปได้ ๑๒ โยชน์ ของสรีระก็แผ่ไปได้อย่างนั้น ของเครื่องประดับก็แผ่ไปได้อย่างนั้น ของวิมานก็แผ่ไปได้อย่างนั้น ล่วงซึ่งเทวานุภาพนั้น. บทว่า โลกนฺตริกา ความว่า โลกันตริกนรกขุมหนึ่งย่อมมีในระหว่างจักรวาลทั้งสาม ก็โลกันตริกนรกนั้น. มีประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์. เหมือนช่องว่างย่อมมีในท่ามกลางของล้อเกวียน ๓ ล้อ หรือบาตร ๓ ลูก ที่ตั้งจดกันและกัน. บทว่า อฆา แปลว่า เปิดแล้วเป็นนิตย์. บทว่า อสํวุตา ความว่า แม้ในเบื้องล่างก็ไม่มีที่พํานัก. บทว่า อนฺธการา แปลว่า มืดมิด. บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า ประกอบด้วยเมฆหมอกอันกระทําความมืด เพราะห้ามความเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ. ได้ยินว่า จักษุวิญญาณย่อมไม่เกิดในโลกันตริกนรกนั้น.บทว่า เอวํ มหิทฺธิกา ความว่า มีฤทธิอย่างนี้คือ ได้ยินว่าดวงจันทร์และ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 58
ดวงอาทิตย์ ย่อมปรากฏในทวีปทั้ง ๓ คราวเดียวพร้อมกัน. มีอานุภาพมากอย่างนี้ คือ กําจัดความมืดแล้วส่องสว่างไปได้ ทิศละแปดล้านหนึ่งแสนโยชน์.บทว่า อาภาย นานุโภนฺติ แปลว่า แสงสว่างของตนไม่พอ. ได้ยินว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น ย่อมไม่ส่องแสงไปถึงท่ามกลางขุนเขาจักรวาลได้เลย. และโลกันตริกนรกก็อยู่เลยขุนเขาจักรวาลไป. เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น ไม่มีแสงสว่างพอส่องไปถึงโลกันตริกนรกนั้น.
บทว่า เยปิ ตตฺถ สตฺตา ความว่าถามว่า เหล่าสัตว์ผู้อุบัติในโลกันตริกนรกนั้น กระทํากรรมอะไรไว้จึงบังเกิดในที่นั้น. ตอบว่า ทํากรรมหยาบช้าทารุณต่อมารดาบิดาต่อสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมบ้าง ทําความผิดอย่างอื่นที่สูงขึ้นไปอีกบ้าง ทํากรรมสาหัส เช่น ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นต้น เป็นประจําทุกๆ วันบ้าง จึงเกิดในโลกันตริกนรกนั้น ดังเช่น อภยโจร และนาคโจรเป็นต้น ในตัมพปัณณิทวีป. อัตภาพของสัตว์เหล่านั้น มีประมาณ ๓ คาวุต.มีเล็บยาวเหมือนเล็บค้างคาว. สัตว์เหล่านั้นจะใช้เล็บเกาะอยู่ที่เชิงเขาจักรวาลเหมือนพวกค้างคาวเกาะอยู่ที่ต้นไม้ฉะนั้น. แต่เมื่อใดออกเลื้อยคลาน จะถูกช่วงมือของกันและกัน เมื่อนั้นต่างสําคัญว่า เราได้อาหารแล้ว วิ่งหมุนไปรอบๆ ที่เชิงเขาจักรวาลนั้น แล้วตกลงในน้ำหนุนโลก. เนื้อลมพัดจะแตกตกลงในน้ำ เหมือนผลมะซาง. และพอตกลงไป ก็จะละลาย เหมือนก้อนแป้งที่ตกลงไปในน้ำที่เค็มจัด.
บทว่า อฺเปิ กิร โภ สนฺติ สตฺตา ความว่า ย่อมเห็นประจักษ์ในวันนั้นว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นเมื่อเสวยทุกข์นี้ ก็เกิดในโลกันตริกนรกนี้เหมือนอย่างพวกเราผู้กําลังเสวยทุกข์ใหญ่อยู่ฉะนั้น ก็โอกาสนี้ย่อมไม่ตั้งอยู่แม้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 59
เพียงชั่วขณะดื่มข้าวยาคูครั้งเดียว. จะมีเพียงชั่วเวลาที่หลับไปแล้วตื่นขึ้นรับรู้อารมณ์เท่านั้น. ส่วนอาจารย์ผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าวว่า โอภาสนั้นจะปรากฏเฉพาะเพียงชั่วขณะปรบมือแล้วก็หายไป เหมือนแสงของสายฟ้าแลบแล้วพอคนทักว่า นี้อะไร? ก็แวบหายไป. บทว่า สงฺกมฺปติ แปลว่า หวั่นไหวโดยรอบ. สองบทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทแรกนั่นเอง เพื่อจะสรุปความท่านจึงกล่าวคําว่า อปฺปมาโณ จ (หาประมาณมิได้) เป็นต้นไว้อีก
บทว่า จตฺตาโร (ทั้ง ๔) ในประโยคว่า จตฺตาโร นํ เทวปุตฺตา จตุทฺทิสํอารกฺขาย อุปคจฺฉติ (เทวบุตรทั้ง ๔ จะใกล้ชิดพระโพธิสัตว์เพื่อถวายอารักขาใน ๔ ทิศ) นี้ ท่านกล่าวหมายเอาท้าวมหาราชทั้ง ๔. ก็ในหมื่นจักรวาล ย่อมมีท้าวมหาราช ๔ หมื่นอยู่ประจํา แยกกันอยู่จักรวาสละ ๔.บรรดามหาราชเหล่านั้น มหาราชในจักรวาลนี้ทรงถือพระขรรค์เสด็จมาแล้วเข้าไปสู่ห้องอันทรงสิริ เพื่อจะถวายอารักขาพระโพธิสัตว์ นอกนี้แยกย้ายไปไล่หมู่ยักษ์มีปีศาจคลุกฝุ่นเป็นต้น ที่เขาขังไว้ให้หลีกไป แล้วถืออารักขาตั้งแต่ประตูห้องจนถึงจักรวาล.
การมาเฝ้าถวายอารักขานี้ เพื่อประโยชน์อะไร เพราะนับจําเดิมแต่เวลาที่เป็นกลละในขณะปฏิสนธิถึงจะมีมารตั้งแสนโกฏิ ยกเขาสิเนรุตั้งแสนโกฏิลูก มาเพื่อทําอันตรายพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์ อันตรายทั้งปวง ก็พึงอันตรธานไปมิใช่หรือ. สมจริงดังคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในเรื่องที่พระ เทวทัต ทําพระโลหิตให้ห้อ ดังนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงพระชนม์ตถาคต ด้วยความพยายามของผู้อื่นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลาย จักไม่ปรินิพพาน ด้วยความพยายามของผู้อื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปอยู่ตามที่เดิม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายไม่ต้องมีอารักขา. การเป็นอย่างนี้ ฉะนั้น อันตรายแห่งชีวิต ย่อมไม่มีแก่พระตถาคตเหล่านั้น ด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 60
ความพยายามของผู้อื่น. เหล่าอมนุษย์ผู้มีรูปวิกล น่าเกลียด นกที่มีรูปน่ากลัวก็มีอยู่ ความกลัวหรือความสะดุ้ง จะพึงบังเกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ได้ เพราะเห็นรูปหรือฟังเสียงของอมนุษย์เหล่าใด เพื่อห้ามเสียซึ่งอมนุษย์เหล่านั้น จึงต้องวางอารักขาไว้. อีกประการหนึ่ง ท้าวมหาราชเหล่านั้นมีความเคารพเกิดขึ้นด้วยเดชแห่งบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ ทั้งตนเองก็มีความเคารพเป็นพื้นอยู่แล้ว จึงกระทําอย่างนี้.
ถามว่า ก็ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้าไปยืนภายในห้องแล้วแสดงตนให้ปรากฏแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ หรือไม่แสดง. ตอบว่าไม่แสดงตนให้เวลาที่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงกระทํากิจส่วนพระองค์ เช่นสรงสนาน ประดับตกแต่ง และเสวยเป็นต้น แต่จะแสดงในเวลาที่พระองค์เข้าห้องอันทรงสิริแล้วบรรทมบนพระแท่นที่บรรทม. ก็ขึ้นชื่อว่าร่างของอมนุษย์ทั้งหลายย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัวเฉพาะหน้าของมนุษย์ทั้งหลายในเวลานั้นก็จริง แต่สําหรับพระมารดาของพระโพธิสัตว์เห็นอมนุษย์เหล่านั้นแล้วย่อมไม่กลัว ด้วยอานุภาพแห่งบุญของพระองค์เองและพระโอรส. พระนางมีจิตในอมนุษย์เหล่านั้นเหมือนเจ้าหน้าที่เฝ้าพระราชฐานทั่วๆ ไป.
บทว่า ปกติยา สีลวตี (เป็นผู้มีศีลโดยปกติ) ความว่า ทรงถึงพร้อมด้วยศีล โดยสภาพนั่นเอง. เล่ากันว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ คนทั้งหลายพากันไปไหว้นั่งกระโหย่งถือศีลในสํานักของดาบสและปริพาชกทั้งหลาย. แม้พระมารดาพระโพธิสัตว์ ก็ถือศีลในสํานักของกาลเทวิลดาบส. แต่เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในพระครรภ์ พระนางไม่อาจประทับนั่งใกล้บาทมูลของผู้อื่นได้ แม้ศีลอื่นพระองค์ประทับนั่งบนอาสนะเสมอกันรับไว้ก็เป็นพิธีการเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวไว้ดังนี้ว่า พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ได้สมาทานศีลด้วยพระองค์เองทีเดียว.บทว่า ปุริเสสุ (ในบุรุษ) ความว่า จิตที่มีความประสงค์ในบุรุษย่อมไม่เกิดในมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 61
ทั้งหลาย เริ่มต้นแต่พระบิดาของพระโพธิสัตว์. ก็แลข้อนั้น เกิดโดยความเคารพในพระโพธิสัตว์มิใช่เกิดเพราะละกิเลสได้แล้ว. ก็ศิลปินทั้งหลายแม้จะฉลาดหลักแหลม ก็ไม่สามารถจะวาดรูปพระมารดาของพระโพธิสัตว์ลงในแผ่นภาพวาดเป็นต้นได้. ใครๆ จึงไม่อาจพูดได้ว่า ความกําหนัดย่อมไม่เกิดแก่บุรุษ เพราะเห็นรูปพระมารดาพระโพธิสัตว์นั้น และหากผู้มีจิตกําหนัดประสงค์จะเข้าไปหาพระนาง จะก้าวเท้าไม่ออก เหมือนถูกมัดตรึงไว้ด้วยโซ่ทิพย์. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคําเป็นต้นว่า อนติกฺกมนียา (ล่วงเกินไม่ได้) ดังนี้.
บทว่า ปฺจนฺนํ กามคุณานํ (เบญจกรรมคุณ) ความว่า การห้ามวัตถุ ด้วยสามารถแห่งความใฝ่ฝันในบุรุษ ท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว ด้วยบทว่า กามคุณูปสฺหิตํ (ใฝ่ฝันกามคุณ) ในที่นี้แสดงเพียงการได้เฉพาะซึ่งอารมณ์. ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พระราชาโดยทั่วไป ทราบข่าวว่า พระโอรสเห็นปานนี้ อุบัติในพระครรภ์ของพระเทวีจึงส่งบรรณาการอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ของทวารทั้ง ๕ โดยเป็นเครื่องประดับมีราคามาก และเครื่องดนตรีเป็นต้น. สําหรับพระโพธิสัตว์และพระมารดาย่อมมีลาภสักการะหากําหนดประมาณมิได้ เพราะหนาแน่นไปด้วยกุศลสมภารที่ทรงบําเพ็ญไว้แล้ว. บทว่า อกิลนฺตกายา (ไม่ลำบากพระกาย) ความว่า หญิงเหล่าอื่นย่อมลําบากด้วยภาระในการบริหารครรภ์ทั้งมือเท้าก็บวมฉันใด พระนางไม่มีความลําบากอย่างใดเหมือนหญิงพวกนั้นเลย. บทว่า ติโร กุจฺฉิคตํ แปลว่า ประทับอยู่ภายในพระอุทร คือพ้นเวลาที่เป็นกลละเป็นต้นไปแล้ว ทรงเห็นพระโพธิสัตว์มีองคาพยพสมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่เสื่อมโทรม.
ถามว่า ทรงดูเพื่อประโยชน์อะไร. ตอบว่า เพื่อให้อยู่อย่างสบาย
ก็ธรรมดามารดาทั้งหลายจะนั่งหรือนอนกับบุตรก็ตาม จะต้องมองดูบุตรเพื่อให้อยู่อย่างสบายว่า เราจะยกมือและเท้าที่ห้อยลงให้ตั้งอยู่ด้วยดีฉันใด แม้มารดาของพระโพธิสัตว์ก็ฉันนั้น ทรงมองดูพระโพธิสัตว์ เพื่อจะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 62
ให้อยู่อย่างสบาย โดยพระดําริว่า ทุกข์อันใดที่เกิดแก่เด็กผู้อยู่ในท้องในเวลาที่แม่ลุกขึ้นเดินไป หมุนตัวและนั่งเป็นต้น ก็ดีในเวลาที่แม่กลืนอาหารที่ร้อนที่เย็น. ที่เค็ม ที่ขม และที่เผ็ดก็ดี ทุกข์อันนั้นมีแก่พระโอรสของเราบ้างหรือหนอ ก็ทรงเห็นพระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิแล้ว. ธรรมดาเด็กที่อยู่ในท้องเหล่าอื่น จะนั่งทับกะเพาะอาหารเก่า เทินกะเพาะอาหารใหม่ หันหลังเข้าหาพื้นท้องแม่ นั่งยองๆ พิงกระดูกสันหลัง เอามือทั้งสองข้างยันคางไว้เหมือนฝูงลิงนั่งอยู่ในโพรงไม้เวลาฝนตก แต่พระโพธิสัตว์ไม่เป็นเช่นนั้น.ก็พระองค์ทรงพิงกระดูกสันหลังนั่งขัดสมาธิ หันพระพักตร์ไปทางทิศบูรพาเหมือนพระธรรมกถึกนั่งบนธรรมาสน์. ก็กรรมที่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทําไว้ในกาลก่อน ย่อมยังวัตถุ (ที่ตั้งแห่งพระครรภ์) ของพระนางให้บริสุทธิ์เมื่อวัตถุบริสุทธิ์ ลักษณะแห่งพระฉวีอันละเอียดอ่อนย่อมเกิด ครั้งนั้น หนังก็ไม่สามารถจะปกปิดพระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในพระครรภ์ได้ เมื่อมองดูจะปรากฏเหมือนประทับยืนอยู่ภายนอก.
เพื่อจะยังความข้อนั้น ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมา ท่านจึงกล่าวคํามีอาทิว่า เสยฺยถาปิ (เปรียบเหมือน..ฉันใด) ก็พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ภายในพระครรภ์ ย่อมมองไม่เห็นพระมารดา เพราะจักษุวิญญาณย่อมไม่เกิดภายในพระครรภ์. บทว่า กาลํ กโรตํ (เสด็จสวรรคต) ความว่าไม่ใช่เสด็จสวรรคตเพราะเหตุที่พระองค์ทรงประสูติกาล แต่เพราะสิ้นพระชนมายุอย่างเดียว. แท้จริง ที่ซึ่งพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ย่อมเป็นเสมือนกุฏิในพระเจดีย์ ไม่ควรที่สัตว์เหล่าอื่น จะใช้ร่วม และใครๆ ก็ไม่สามารถถอดพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ออก แล้วแต่งตั้งหญิงอื่นไว้ในตําแหน่งพระอัครมเหสีได้ เหตุดังกล่าวมาเพียงนั้นเอง ย่อมเป็นประมาณแห่งอายุของพระมารดาพระโพธิสัตว์ เพราะฉะนั้น พระนางจึงเสด็จสวรรคตในเวลานั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 63
ถามว่า พระนางเสด็จสวรรคต ในวัยไหน. ตอบว่า ในมัชฌิมวัย.
ความจริง ในปฐมวัย อัตภาพของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีฉันทราคะรุนแรง. ด้วยเหตุนั้น สตรีตั้งครรภ์ในเวลานั้น ย่อมไม่สามารถจะถนอมครรภ์นั้นไว้ได้. ครรภ์ย่อมมีโรคมากมาย ครั้นเลยส่วนทั้งสองแห่งมัชฌิมวัยไปแล้ว วัตถุ (ที่ตั้งแห่งครรภ์) ย่อมบริสุทธิ์ในส่วนที่ ๓ แห่งวัย เมื่อวัตถุบริสุทธิ์ ทารกที่เกิดก็ไม่มีโรค. เพราะฉะนั้น แม้พระมารดาของพระโพธิสัตว์เสวยสมบัติในปฐมวัย ประสูติในส่วนที่ ๓ แห่งมัชฌิมวัย เสด็จสวรรคตแล้วด้วยประการฉะนี้.
วาศัพท์ ในบทว่า นว วา ทส วา (๙ เดือนหรือ ๑o เดือน) นี้ พึงทราบว่า ต้องรวมแม้บทมีอาทิอย่างนี้ว่า สตฺต วา อฏ วา เอกาทสวา ทฺวาทส วา (๗ เดือนหรือ ๘ เดือน ๑๑ เดือนหรือ ๑๒ เดือน) เข้ามาด้วยโดยเป็นวิกัป (เผื่อไว้). บรรดากําหนดเหล่านั้น สัตว์ที่อยู่ในครรภ์ได้๗ เดือนคลอดถึงจะรอด แต่ก็ไม่ทนหนาวทนร้อนไปได้ ที่อยู่ในครรภ์ได้ ๘ เดือนคลอด ไม่รอดนอกนั้นถึงจะรอด. บทว่า ฐิตาว แปลว่า ประทับยืนแล้วเทียว.
แม้พระนางมหามายาเทวี ทรงพระดําริว่า เราจักไปสู่เรือนแห่งตระกูลพระญาติของเรา แล้วกราบทูลพระราชา. พระราชาทรงรับสั่งให้ประดับตกแต่งทางที่จะเสด็จไป ตั้งแต่กรุงกบิลพัสดุ์จนถึงกรุงเทวทหะ แล้วให้พระเทวีประทับนั่งบนวอทอง. เจ้าศากยะผู้อยู่ในพระนครทั้งสิ้น แวดล้อมบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น พาพระเทวีเสด็จไปแล้ว. พระนางทอดพระเนตรเห็นลุมพินีสาลวโนทยาน ไม่ไกลพระนครเทวทหะ เกิดความพอพระทับจะประพาสพระอุทยาน จึงให้สัญญาแก่พระราชา. พระราชารับสั่งให้ประดับตกแต่งพระอุทยาน แล้วให้จัดอารักขา. พอพระเทวีเสด็จเข้าสู่พระอุทยาน ก็มีพระกําลังอ่อนลง. ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ได้ปูลาดที่บรรทมอันมีสิริ ที่โคนต้นรังอันเป็นมงคล แล้วกั้นม่านถวายพระนาง. พระนางเสด็จเข้าไปภายในม่านแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 64
เสด็จประทับยืนเหนี่ยวกิ่งไม้สาละ. ลําดับนั้น พระนางได้ประสูติพระโอรสในทันใดนั่นเอง. บทว่า เทวา ปมํ ปฏิคฺคณฺหนฺติ (พวกเทวดาจะรับก่อน) ความว่า เหล่าพรหมชั้นสุทธาวาสทั้งหลายผู้ขีณาสพ จะรับก่อน.
จะรับอย่างไร อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เหล่าพรหมชั้นสุทธาวาสจะแปลงเพศเป็นเจ้าพนักงานผู้ถวายการประสูติ. ก็ท่านปฏิเสธข้อทักทวงนั้น แล้วกล่าวคําอธิบายไว้ดังนี้. เวลานั้น พระมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงนุ่งผ้าขจิตด้วยทอง ทรงห่มผ้า ๒ ชั้น คล้ายตาปลา คลุมถึงฝ่าพระบาทประทับยืนแล้ว และการประสูติพระโอรสของพระนางก็ง่าย คล้ายน้ำที่ไหลออกจากกระบอกกรอง ขณะนั้นพรหมชั้นสุทธาวาสเหล่านั้น เข้าไปโดยเพศของพรหมตามปกติแล้วทรงรับพระโอรสด้วยข่ายทองก่อน. มนุษย์ทั้งหลายรับต่อจากพระหัตถ์ของพรหมเหล่านั้น ด้วยเทริด (หมอนอันอ่อนนุ่ม) อย่างดี. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เทวดาทั้งหลายรับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง.
บทว่า จตฺตาโร นํ เทวปุตฺตา หมายถึงท้าวมหาราชทั้ง ๔ บทว่า ปฏิคฺคเหตฺวา ได้แก่รับด้วยตาข่าย ที่ทําด้วยหนังเสือ. บทว่า มเหสกฺโข แปลว่า มีเดชมาก คือมียศมาก อธิบายว่า สมบูรณ์ด้วยลักษณะ.
บทว่า วิสุทฺโธว นิกฺขมติ (ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์) ความว่า ธรรมดาสัตว์เหล่าอื่นมักจะติดอยู่ในช่องคลอดออกอย่างบอบช้ำ แต่พระมารดาพระโพธิสัตว์ไม่เป็นอย่างนั้น. อธิบายว่า ประสูติง่ายไม่ติดอะไรเลย. บทว่า อุทฺเทน แปลว่า ด้วยน้ำ. บทว่า เกนจิ อสุจินา (ด้วยของไม่สะอาดไรๆ) ความว่า ธรรมดาสัตว์เหล่าอื่นจะมีลมกรรมชวาตพัดเอาเท้าขึ้นข้างบน เอาศีรษะลงข้างล่าง ผ่านช่องคลอดเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง อุปมาเหมือนตกลงไปในเหวที่ลึกชั่วร้อยคน หรือเหมือนช้างที่เขาฉุดออกจากช่องลูกดาล แปดเปื้อนไปด้วยของไม่สะอาด นานับประการ จึงจะออกได้ ฉันใด พระโพธิสัตว์ไม่เป็นเหมือนเช่นนั้น. เพราะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 65
ลมกรรมชวาตไม่สามารถจะทําพระโพธิสัตว์ให้มีพระบาทขึ้นข้างบนพระเศียรลงข้างล่างได้. พระองค์เหยียดพระหัตถ์ และพระบาททั้งสองออก แล้วเสด็จประทับยืนอุปมาเหมือนพระธรรมกถึกก้าวลงจากธรรมาสน์ หรือเหมือนบุรุษก้าวลงจากบันใดฉะนั้น ไม่แปดเปื้อนของไม่สะอาดบางประการที่เกิดในพระครรภ์ของพระมารดาเลย แล้วประสูติ.
บทว่า อุทกสฺส ธารา แปลว่า สายน้ำ. ในธารน้ำเหล่านั้น ธารน้ำเย็นตกลงในหม้อทอง ธารน้ำอุ่นตกลงในหม้อเงิน. และท่านกล่าวความข้อนี้ไว้ เพื่อจะแสดงว่า น้ำดื่ม น้ำใช้ของทั้งสองพระองค์ ไม่เจือปนด้วยของไม่สะอาดไรๆ บนพื้นดิน และน้ำสําหรับเล่น ก็ไม่สาธารณ์ทั่วไปกับคนเหล่าอื่น. ก็น้ำอื่นที่จะพึงนํามาด้วยหม้อทอง หม้อเงินก็ดี น้ำที่อยู่ในสระโบกขรณีชื่อ หังสวัฏฏกะเป็นต้น ก็ดี ย่อมไม่มีกําหนด.
บทว่า สมฺปติชาโต แปลว่า ประสูติแล้วเพียงชั่วครู่. ก็ในพระบาลีท่านแสดงไว้ดุจว่า พระโพธิสัตว์ ทันทีที่ประสูติจากพระครรภ์พระมารดาก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอลงบนแผ่นดิน แต่ไม่ควรเห็นอย่างนั้น ความจริง พอพระโพธิสัตว์เสด็จออก พรหมทั้งหลายก็เอาข่ายทองรับไว้ก่อน ท้าวมหาราชทั้ง ๔ รับ ต่อจากพระหัตถ์ของท้าวมหาพรหมเหล่านั้น ด้วยตาข่ายที่ทําด้วยหนังเสือ ซึ่งมีสัมผัสอันนุ่มสบายที่สมมติกันว่าเป็นมงคล มนุษย์ทั้งหลายจึงรับต่อจากพระหัตถ์ของท้าวมหาราชเหล่านั้น ด้วยเทริดอย่างดี พอพ้นจากมือมนุษย์ ก็ประทับยืนบนแผ่นดิน.
บทว่า เสตมฺหิ ฉตฺเต อนุหิรมาเน แปลว่า เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตฉัตรอันเป็นทิพย์ แม้เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ มีพระขรรค์เป็นต้น อันเป็นบริวารของฉัตรมาแล้ว ในที่นี้เหมือนกัน. แต่ในพระบาลีกล่าวถึงเพียงฉัตรอย่างเดียว ดุจพระราชาที่เขากั้นฉัตรถวาย ในเวลาเสด็จพระราชดําเนิน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 66
ในราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ เหล่านั้น ปรากฏแต่ฉัตรเท่านั้น ไม่ปรากฏคนถือ.พระขรรค์ พัดใบตาล กําหางนกยุง พัดวาลวิชนี กรอบพระพักตร์ ก็ปรากฏเหมือนกัน. ไม่ปรากฏคนถือสิ่งเหล่านั้น. นัยว่าเทวดาทั้งหลายผู้ไม่ปรากฏคนถือเครื่องกกุธภัณฑ์เหล่านั้นไว้ครบทุกอย่าง. สมจริง ดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า
เทวดาทั้งหลาย ถือฉัตร มีมณฑลตั้งพัน มีซี่ไม่น้อยอยู่กลางอากาศ จามรด้ามทองก็เคลื่อนผ่านไป แต่ผู้ถือจามรและฉัตรไม่ปรากฏ.
บทว่า สพฺพา จ ทิสา (ทิศทั้งปวง) ท่านกล่าวถึงการตรวจดูทิศทั้งปวง ดุจการแลดูทิศของบุรุษผู้ยืนเหนือพระมหาสัตว์ผู้กําลังย่างพระบาทไป ๗ ก้าว แต่ข้อนี้ไม่ควรเห็นอย่างนั้น. แท้จริง พระมหาสัตว์พ้น จากมือของมนุษย์ทั้งหลายแล้ว ทรงแลดูทิศบูรพา. จักรวาลหลายพันได้ปรากฏเป็นเนินเดียวกัน.เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในจักรวาลเหล่านั้น พากันบูชาด้วยเครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วพูดว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษ ในโลกนี้ไม่มีแม้ผู้ที่จะเสมอกับพระองค์ได้ ที่ไหนจะมีผู้เหนือกว่าในรูปได้เล่า. พระมหาสัตว์ทรงตรวจดูทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องล่าง ๑ ทิศเบื้องบน ๑ อย่างนี้. มองไม่เห็นผู้เสมอด้วยพระองค์ ทรงกําหนดว่า นี้เป็นทิศอุดร แล้วเสด็จไปโดยย่างพระบาทไป ๗ ก้าว. ในเรื่องนี้ พึงเห็นความดังพรรณนาอย่างนี้. บทว่า อาสภึ แปลว่า สูงสุด. บทว่า อคฺโค แปลว่าประเสริฐที่สุด คือเจริญที่สุด ได้แก่เหนือคนทั้งหมด โดยคุณทั้งหลาย สองบทนอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า อคฺโค นั่นเอง. ท่านพยากรณ์ พระอรหัตที่จะพึงบรรลุในอัตภาพนี้ด้วยบททั้งสองว่า อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิ ทานิปุนพฺภโว. (ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 67
ก็ในอธิการนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ข้อที่พระองค์ประทับยืนบนแผ่นดิน ด้วยพระบาทอันราบเรียบ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งอิทธิบาท ๔ ข้อที่พระองค์ทรงหันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร เป็นบุพนิมิตแห่งการเสด็จไปอย่างผู้ยิ่งใหญ่เหนือมหาชน. ข้อที่พระองค์ทรงพระดําเนินไป.ได้ ๗ ก้าว เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งรัตนะคือโพชฌงค์ ๗. ข้อที่ทรงเศวตฉัตรอันเป็นทิพย์ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งฉัตรคือวิมุตติราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ เป็นบุพนิมิตแห่งการหลุดพ้นด้วยวิมุตติ ๕ ประการข้อที่ทรงมองดูทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งอนาวรญาณ. ข้อที่ทรงเปล่งอาสภิวาจาเป็นบุพนิมิตแห่งการประกาศธรรมจักรที่ใครๆ ให้หมุนกลับไม่ได้. สีหนาทที่ทรงเปล่งว่า อยมนฺติมา ชาติ (ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย) พึงทราบว่าเป็นบุพนิมิตแห่งปรินิพพาน ด้วยอันปาทิเสสนิพพานธาท. วาระต่างๆ เหล่านี้. มาแล้วในพระบาลี. แต่สัมพหุลวาร ยังไม่มีมา จึงควรนํามาแสดงเสียด้วย.
ก็ในวันที่พระมหาบุรุษประสูติ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว. เทวดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ ประชุมกันแล้ว ในจักรวาลหนึ่ง. เทวดาทั้งหลายรับก่อน พวกมนุษย์รับภายหลัง. พิณทั้งหลายที่ขึงด้วยเส้นด้าย และกลองทั้งหลายที่เขาขึ้นด้วยหนัง ไม่มีใครๆ ประโคมเลยก็ดังขึ้นเอง. เครื่องจองจํามีขื่อคาและโซ่ตรวนเป็นต้นของมนุษย์ทั้งหลายขาดออกเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่.โรคทุกอย่างหายหมด ดุจสนิมสีแดงที่เขาขัดออกด้วยของเปรี้ยว. คนที่บอดแต่กําเนิดก็เห็นรูปต่างๆ ได้. คนหนวกแต่กําเนิดก็ได้ยินเสียง. คนง่อยเปลี้ยก็กลับสมบูรณ์ด้วยกําลังวังชา. คนบ้าน้ำลาย แม้จะโง่มาแต่กําเนิด ก็กลับฟื้นคืนสติ. เรือที่แล่นออกไปต่างประเทศ ก็ถึงท่าโดยสะดวก. รัตนะทั้งหลายที่อยู่ในอากาศและบนภาคพื้นก็ได้ส่องแสงสว่างขึ้นเอง. ผู้ที่เป็นศัตรูกลับได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 68
เมตตาจิต. ไฟในอเวจีนรกก็ดับ. แสงสว่างเกิดขึ้นในโลกันตรนรก. น้ำในแม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล. ทั้งน้ำในมหาสมุทรได้กลายเป็นน้ำหวาน. มหาวาตภัยก็ไม่พัด นกที่บินไปในอากาศ และที่จับอยู่ตามต้นไม้ ภูเขา ก็ตกลงพื้นดิน.พระจันทร์งามยิ่งนัก. พระอาทิตย์ก็ไม่ร้อน ไม่เย็น ปราศจากมลทิน สมบูรณ์ตามฤดูกาล. เทวดาทั้งหลายยืนอยู่ที่ประตูวิมานของตนๆ พากันเล่นมหากิฬาเป็นต้นว่า ปรบมือ โห่ร้อง และโบกผ้า. มหาเมฆที่ตั้งขึ้นแต่ทิศทั้ง ๔ ยังฝนให้ตก. ความหิวและความกระหายไม่เบียดเบียนมหาชน. ประตูหน้าต่างก็เปิดได้เอง. ต้นไม้ที่จะมีดอกมีผลก็ได้ผลิดอกออกผลสะพรั่ง. ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้มีธงดอกไม้เป็นแนวเดียวกันหมด.
แม้ในข้อที่น่าอัศจรรย์นั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ความหวั่นไหวแห่งหมื่นโลกธาตุเป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญุตญาณของพระมหาบุรุษ. ข้อที่เทวดาทั้งหลายมาประชุมกัน ในจักรวาลอันหนึ่ง เป็นบุพนิมิตแห่งการร่วมประชุมรับพระสัทธรรมคราวเดียวกัน ในเวลาที่ทรงประกาศธรรมจักร. ข้อที่เทวดาทั้งหลายรับพระโพธิสัตว์ก่อน เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งรูปาวจรฌานทั้ง ๔. ข้อที่มนุษย์ทั้งหลายรับภายหลังเป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่ง อรูปาวจรฌานทั้ง ๔. ข้อที่พิณซึ่งเขาขึงด้วยเส้นด้ายดังได้เอง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งอนุปุพพวิหารธรรม.ข้อที่กลองที่เขาขึ้นด้วยหนังดังเอง เป็นบุพนิมิตแห่งการพร่ําสอน ด้วยธรรมเภรีอันยิ่งใหญ่. ข้อที่เครื่องพันธนาการ มีขื่อคาและโซ่ตรวนเป็นต้น ขาดออกจากกันเป็นบุพนิมิตแห่งการตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด. ข้อที่คนทั้งหลายหายจากโรคต่างๆ เป็นบุพนิมิตแห่งการปราศไปแห่งกิเลสทั้งปวง. ข้อที่คนบอดแต่กําเนิด เห็นรูปได้ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งทิพยจักษุ.ข้อที่คนหนวกแต่กําเนิดได้ยินเสียง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งทิพย-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 69
โสตธาตุ. ข้อที่คนง่อยเปลี้ยสมบูรณ์ด้วยกําลัง เป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุซึ่งอิทธิบาททั้ง ๔. ข้อที่คนบ้าน้ำลาย กลับได้สติ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งสติปัฏฐาน ๔. ข้อที่เรือทั้งหลายที่แล่นออกนอกประเทศถึงท่าโดยสะดวก เป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุปฏิสัมภิทา ๔. ข้อที่รัตนะทั้งหลายส่องสว่างได้เอง เป็นบุพนิมิตแห่งแสงสว่างของพระธรรม ที่พระองค์ทรงแสดงแก่ชาวโลก. ข้อที่ศัตรูทั้งหลาย กลับได้เมตตาจิต เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งพรหมวิหาร ๔. ข้อที่ไฟในนรกอเวจีดับลง เป็นบุพนิมิตแห่งการดับไฟ ๑๑ กองได้. ข้อที่โลกันตรนรก มีแสงสว่าง เป็นบุพนิมิตแห่งการที่พระองค์ทรงกําจัดความมืดคืออวิชชา แล้วทรงเห็นแสงสว่างได้ด้วยพระญาณ. ข้อที่น้ำของมหาสมุทรมีรสหวาน เป็นบุพนิมิตแห่งความที่พระธรรมมีรสอย่างเดียวกัน. ข้อที่ไม่เกิดวาตภัย เป็นบุพนิมิตแห่งการที่พุทธบริษัทไม่แตกแยกกันด้วยอํานาจทิฏฐิ ๖๒. ข้อที่นกทั้งหลายตกลงยังแผ่นดิน เป็นบุพนิมิตแห่งการที่มหาชนฟังคําสั่งสอนถึงสรณะด้วยชีวิต.ข้อที่พระจันทร์งามยิ่งนัก เป็นบุพนิมิตแห่งการที่มหาชนสนใจพระธรรม.ข้อที่พระอาทิตย์ไม่ร้อนไม่เย็น ให้ความสะดวกตามฤดู เป็นบุพนิมิตแห่งการที่มหาชน ถึงความสุขกายสุขใจ. ข้อที่เทวดาทั้งหลาย เล่นกีฬามีการปรบมือเป็นต้นที่ประตูวิมาน เป็นบุพนิมิตแห่งการที่พระมหาสัตว์บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วทรงเปล่งอุทาน. ข้อที่มหาเมฆทั่ว ๔ ทิศ ยังฝนให้ตก เป็นบุพนิมิตแห่งการที่สายน้ำคือพระธรรมตกลงเป็นอันมาก. ข้อที่มนุษย์ทั้งหลายไม่ถูกความหิวเบียดเบียน เป็นบุพนิมิต แห่งการได้เฉพาะซึ่งอมตธรรมคือกายคตาสติ. ข้อที่มนุษย์ทั้งหลายไม่ถูกความกระหายเบียดเบียนเป็นบุพนิมิตแห่งการที่พุทธบริษัทถึงความสุขแล้วด้วยวิมุตติสุข. ข้อที่ประตูหน้าต่างทั้งหลายเปิดได้เอง เป็นบุพนิมิตแห่งการเปิดประตูอัฏฐังคิกมรรค. ข้อที่ต้นไม้ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 70
ผลิดอกออกผล เป็นบุพนิมิตแห่งพระธรรมที่บานด้วยดอกคือวิมุตติ และเต็มแน่นด้วยสามัญญผล. ข้อที่หมื่นแห่งโลกธาตุมีธงเป็นระเบียบอย่างเดียวกันพึงทราบว่า เป็นบุพนิมิตแห่งการที่พุทธบริษัทมีธงของพระอริยเจ้าเป็นมาลัย.นี้ ชื่อสัมพหุลวาร.
ในสัมพหุลวารนี้ มีคนเป็นอันมากถามเป็นปัญหาว่า ในเวลาที่มหาบุรุษเหยียบบนแผ่นดิน เสด็จพระดําเนินบ่ายหน้าไปทางทิศอุดรแล้วทรงเปล่งอาสภิวาจานั้น ทรงประทับยืนบนแผ่นดินหรืออยู่ในอากาศ ปรากฏพระองค์หรือไม่ปรากฏ ไม่นุ่งผ้า หรือว่าประดับตกแต่งแล้วเป็นอย่างดี เป็นหนุ่มหรือแก่ แม้ภายหลังก็คงสภาพเช่นนั้น หรือเป็นเด็กอ่อน. ก็ครั้นต่อมาภายหลังพระจุลลาภัยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก ได้วิสัชนาปัญหาข้อนี้ไว้แล้วในที่ประชุม ณ โลหะปราสาท. ได้ยินว่าในข้อนี้พระเถระ กล่าวถึงเรื่องราวไว้เป็นอันมาก โดยเป็นนิยตวาทะ ปุพเพกตกัมมวาทะและอิสสรนิมมานวาทะในชั้นสุดท้ายได้พยากรณ์ไว้อย่างนี้ว่า พระมหาบุรุษ ยืนบนแผ่นดิน แต่ได้ปรากฏแก่มหาชน เหมือนเสด็จไปโดยอากาศ และเสด็จไปมีตนเห็น แต่ได้ปรากฏแก่มหาชนเหมือนมองไม่เห็น. ไม่มีผ้านุ่งเสด็จไป แต่ปรากฏแก่มหาชนเหมือนประดับตกแต่งไว้แล้วเป็นอย่างดี. ทั้งที่ยังเป็นเด็ก แต่ได้ปรากฏแก่มหาชนเหมือนมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา. แต่ในภายหลัง คงเป็นเด็กอ่อนธรรมดาไม่ได้เป็นเหมือนเช่นที่ปรากฏ. และเมื่อพระเถระกล่าวชี้แจงอย่างนี้แล้วบริษัททั้งหลายของท่านต่างพากันพอใจ โดยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระเถระกล่าวแก้ปัญหาได้แจ่มแจ้งเหมือนพระพุทธเจ้าทีเดียว. โลกันตริกวาร มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง. บทว่า วิทิตา แปลว่า ปรากฏแล้ว. แท้จริงพระสาวกทั้งหลายย่อมไม่สามารถจะหาช่องทางพิจารณาสังขารที่เป็นส่วนอดีต ในขณะที่ไม่มีโอกาสเช่นเวลาอาบน้ำ ล้างหน้า เคี้ยว และดื่มเป็นต้นได้ จะพิจารณาได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 71
เฉพาะเมื่อมีโอกาสเท่านั้น ฉันใด พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เป็นเหมือนเช่นนั้น.ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงพิจารณาสังขารที่ผ่านไปแล้วภายใน ๗ วัน ได้ตั้งแต่ต้นทรงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้ว ย่อมทรงชี้แจงได้ ขึ้นชื่อว่า ธรรมที่ไม่แจ่มแจ้งแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ท่านจงกล่าวว่า วิทิตา ทรงรู้แจ่มแจ้งแล้ว. คําที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถา อัจฉริยัพภูตสูตร ที่ ๓