เมื่อเห็นรูป หรือรับอารมณ์ทางอายนะทั้ง ๖ ทำอย่างไรจึงนำมาคิดหรือนำมาปรุงแต่งเช่น รัก ชอบ ชังหรือเกลียด
ใจไม่สงบเพราะอกุศลธรรมเกิดขึ้น ขณะที่กุศลธรรมเกิดขึ้น ขณะนั้นจิตสงบจากอกุศลตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงแสดงความเป็นไปของจิตและเจตสิกว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ สำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับฯ ย่อมมีความรักชอบในอารมณ์ที่ดี ย่อมมีความชังหรือเกลียดในอารมณ์ที่ไม่ดี แต่พระอรหันต์ผู้ได้สดับฯ ได้อบรมเจริญปัญญาจนดับกิเลสได้ทั้งหมดแล้ว ท่านย่อมไม่รักและไม่ชังในอารมณ์ที่มากระทบ ดังนั้น การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระอรหันต์ อบรมเจริญปัญญา ค่อยๆ รู้ตามพระอรหันต์ จึงจะค่อยๆ ละความรักความชังและอกุศลธรรมอื่นๆ ได้ตามลำดับ ฯ
อันที่จริง ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ยกตัวอย่าง เวลาที่เห็น ... เห็น อะไรก็ข้ามพ้นสีที่ปรากฏทางตาไปแล้ว อย่างรวดเร็วจนเป็นตัวตนที่คิดว่าเห็น "คน"จากรูปร่างสัณฐานของสิ่งนั้น ที่ร้ายกว่า คือไปเห็นอีกว่าสิ่งนั้นมีจริง คนนั้น มีจริง จากจิตคิดที่คิดเรื่องของสิ่งที่เห็นแล้วทางตาซึ่งเกิดพร้อมกับอกุศลเจตสิกที่ ปรุงให้คิดรักบ้าง คิดชังบ้าง คิดอิจฉาบ้าง สารพัดความคิดที่เกิดก็เพราะ"อกุศล" เป็นส่วนมาก มากกว่าเจตสิกที่ดีงามจะมีปัจจัยเกิดปรุงแต่งจิตได้ คิดเกิดดับมากมายสลับกับการรับอารมณ์ทางทวารต่างๆ จนเป็นเรื่องราว ต่อๆ กัน (ด้วยอกุศล) ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้ตั้งใจจะคิด แต่ก็ห้ามความคิดไม่ได้แล้วก็ต้อง ทุกข์เพราะความคิดวันแล้ววันเล่า...เป็นเพราะอะไร? เพราะกิเลส (โมหะ) จึงยังไม่เห็นว่าเป็นธรรม...ก็เลยไม่มั่นคงจริงๆ ในธรรม ในแต่ละวัน เราถูกอกุศลปรุงแต่งในความคิดเป็นส่วนมาก แล้วหลงไปยึดว่าความคิดที่อกุศลปรุงแต่งนั้นว่าเป็น "เรา" เป็น "ของเรา" จนกว่าจะได้ฟังพระธรรมของพระผู้มีพระภาคแล้ว ปัญญาเจริญขึ้น หนทางเดียวเท่านั้นจริงๆ ไม่เช่นนั้น ก็จะยังไม่ละคลายการไม่รู้ความจริงของชีวิตในแต่ละขณะจิตได้ครับ
[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๐๐
ข้อความบางตอน...
ว่าด้วยพระมหากัจจานะแสดงอุเทศโดยพิสดาร
แสดงอุเทศโดยพิสดาร
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป เพราะประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใดก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในรูปทั้งหลายที่พึงจะรู้ด้วยตา เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี
ถ้าไม่มีตา ไม่มีจิตเห็นและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยกับจิตเห็น ไม่มีรูปารมณ์ คือสีที่กระทบตาแล้ว จะทุกข์อยู่ไหม? ตราบใดที่ยังมีกิเลสก็ยังมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดทั้งกุศลและอกุศล เมื่ออกุศลเกิดก็ยังจะต้อง ทุกข์อยู่ เมื่อยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏะก็ยังจะต้องรับวิบากกรรมและสร้างวิบากใหม่ ถามว่า คนตาบอดมีความสุขจริงๆ ไหมที่ตาบอด? ไม่เลย คนตาบอดอยากจะได้ยินเสียงดีๆ ไหม? ก็ไม่ต่างจากคนตาดีที่ยังรักชีวิต ยังอยากจะเห็น อยากจะได้ในสิ่งที่ดี ตราบใดที่ยังมีกิเลส หากยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็หนีไม่พ้นเหตุปัจจัยที่จะทำให้ทั้งกุศล และอกุศลเกิดเมื่อยังมีขันธ์ ๕ ครับ
การศึกษาธรรม การฟังธรรม การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญกุศลทุกอย่าง ทำให้ใจสงบจากอกุศลได้ชั่วขณะที่กุศลจิตเกิดค่ะ ไม่มีวิธีอื่นที่ทำให้ใจสงบ นอกจากอบรมปัญญาด้วยการฟังให้เข้าใจ และพิจารณาธรรมะ ที่ได้ยินได้ฟังค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เป็นธรรมและที่สำคัญก็เป็นธรรมดาของคนที่มีกิเลสและทุกอย่างก็เป็นธรรมด้วยครับ เมื่อเห็น ได้ยิน..กิเลสที่สะสมย่อม ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่ปรากฏทางตา หู......ดังนั้น หนทางที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็เพื่อเข้าใจความจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น แม้อกุศลที่เกิดขึ้น (ใจไม่สงบ) ให้รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา แม้ยังไม่รู้ขั้นสติระลึกว่าเป็นธรรม แต่ก็ค่อยๆ มั่น คงในขั้นการฟังด้วยความเห็นถูกว่า เป็นธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย บังคับไม่ได้ เข้าใจเบื้องต้นก็เบาขึ้น เพราะไม่มีตัวตนไปเดือดร้อนกับอกุศลที่เกิดเพราะรู้ว่ายังมีกิเลส และเป็นธรรมที่เกิดขึ้น บังคับไม่ได้ ดังนั้นก็อดทนที่จะฟังต่อไปครับ หนทางเดียวครับ ธรรมทำหน้าที่เองนะ ไม่ใช่เรา
ขออนุโมทนาครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาค่ะ
เป็นเรื่องธรรมดาของ "ปุถุชน" เช่นเราๆ ที่จิตไม่สงบ เมื่อจิตกระทบอารมณ์ทั้งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ ขณะใด "หลงลืมสติ" จิตก็ไม่สงบ เพราะความรักตัวเอง ห่วงตัวเอง เป็นธรรมดาที่ "ปุถุชน" อย่างเราๆ จะหวั่นไหว ทุกข์ สุข กลัว จะหวั่นไหวมากหรือน้อย ก็แล้วแต่กำลังของกิเลสที่สั่งสมมา ซึ่งพิสูจน์ได้ด้วยตัวเองในชีวิตประจำวันว่า ความหวั่นไหว หรือไม่สงบนั้น เกิดมากแค่ไหน ตั้งแต่ตื่นจนหลับ วันแล้ววันเล่า
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ