คำปลอบโยนสำคัญหรืออย่างไร
คุณชอบหรือเปล่าล่ะ ถ้าคุณชอบมันก็สำคัญสำหรับคุณ แต่บางคนก็ไม่ชอบ เพราะทำให้เขารู้สึกเหมือนน่าสงสาร เมตตาดีกว่าไหม?
ปลอบโยนด้วยพระธรรมประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าก็ทรงปลอบโยน
[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ ๒๓๘
๔. เรื่องอภัยราชกุมาร [๑๔๐]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอภัยราชกุมารตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เอถ ปสฺสถิม โลก " เป็นต้น.
พระกุมารได้รับพระราชทานราชสมบัติ
ได้ยินว่า เมื่ออภัยราชกุมารนั้น ทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบมาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารผู้พระบิดา ทรงพอพระทัยแล้ว พระราชทานหญิงฟ้อนคนหนึ่ง ผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับแล้ว ได้พระราชทานราชสมบัติสิ้น ๗ วัน. อภัยราชกุมารนั้น ไม่เสด็จออกภายนอกพระราชมนเฑียรเลย. เสวยสิริแห่งความเป็นพระราชาสิ้น ๗ วัน เสด็จไปสู่ท่าแม่น้ำในวันที่ ๘ ทรงสรงสนานแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระอุทยาน ประทับนั่งทอดพระเนตรการฟ้อนและการขับของหญิงนั้น ดุจสันตติมหาอำมาตย์.
ในขณะนั้นเอง แม้นางนั้นได้ทำกาละ ด้วยอำนาจกองลมกล้าดุจศัสตรา ดุจหญิงฟ้อนของสันตติมหาอำมาตย์ พระกุมารมีความโศกเกิดขึ้นแล้ว เพราะกาลกิริยาของหญิงฟ้อนนั้น ทรงดำริว่า " ผู้อื่น เว้นพระศาสดาเสียจักไม่อาจเพื่อให้ความโศกนี้ของเราดับได้ " ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระ-ศาสดากราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้ความโศกของข้าพระองค์ดับเถิด"
อุบายระงับความโศก
พระศาสดา ทรงปลอบพระกุมารนั้นแล้วตรัสว่า " กุมาร ก็ประมาณแห่งน้ำตาทั้งหลาย ที่เธอร้องไห้อยู่ในกาลแห่งหญิงนี้ตายแล้ว อย่างนี้นี่แลให้เป็นไปแล้ว ย่อมไม่มีในสงสาร ซึ่งมีที่สุดอันใครๆ รู้ไม่ได้ " ทรงทราบความที่ความโศกเป็นภาพเบาบาง เพราะเทศนานั้นแล้วจึงตรัสว่า " กุมาร เธออย่าโศกเลย, ข้อนั้นเป็นฐานะเป็นที่จมลงของชนพาลทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ ๑ อันตระการ ดุจราชรถ, ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่."
ในเวลาจบเทศนา พระราชกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.
เรื่องอภัยราชกุมาร จบ.
การปลอบโยนด้วยพระธรรมเป็นการแก้ที่ถูกจุดและถูกทางที่สุดครับ อนุโมทนาครับ
คำปลอบโยนเป็นชื่อหนึ่งของพระธรรมเช่นกันครับ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๑
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้เป็นวีรบุรุษเปรียบเหมือนผู้ประทานความไม่มีภัย พระธรรมเปรียบเหมือนไม่มีภัย พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่าง เปรียบเหมือนชนผู้ถึงความไม่มีภัย พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ปลอบ พระธรรมเปรียบเหมือนการปลอบ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ถูกปลอบ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนมิตรดี พระธรรมเปรียบเหมือนคำสอนที่เป็นหิตประโยชน์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ประสบประโยชน์ตน เพราะประกอบหิตประโยชน์. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบ่อเกิดทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ที่เป็นสาระ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระ
การปลอบโยนผู้ที่มีความทุกข์ ต้องมีทั้งเมตตาและกรุณา
การอยู่เป็นเพื่อน การได้พูดคุย ซักถาม สัมผัสที่อ่อนโยน ช่วยให้เขาได้พูดระบายความรู้สึก ให้เขารู้ว่า ยังมีคนที่เข้าใจ เห็นใจ พร้อมช่วยเหลืออาจทำให้ความทุกข์เบาบางลงได้ชั่วคราว แต่เดี๋ยวๆ ก็ทุกข์ต่อ ตามเหตุปัจจัย
อนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนา ความแยบคายของผู้ตั้ง และผู้ตอบกระทู้ไม่เคยเห็นกระทู้ไหน ที่ตั้งคำถามได้กระชับเท่านี้และผู้ตอบ ก็ตอบได้หมดจด ประทับใจ
ขออนุโมทนาค่ะ
พระพุทธเจ้าก็ทรงใช้วิธีปลอบโยนแบบละมุมละม่อน เช่น ตอนที่พระวัลกลิติดในรูปพระพุทธเจ้า ภายหลังพระพุทธเจ้าก็บอกว่าจะมาติดอะไรกับรูปกายที่เปื่อยเน่า ไล่พระวักลิไป พระวักลิเศร้าโศกเสียใจ คิดจะไปฆ่าตัวตาย พระพุทธเจ้าก็ไปโปรดและปลอบโยนพระวักลิ ภายหลังท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ผู้ที่เลิศด้วยศรัทธาค่ะ