[เล่มที่ 22] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 77
๔. สามคามสูตร
ว่าด้วยนครนถ์แตกเป็น ๒ พวกเพราะการตายของนิครนถ์นาฏบุตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 22]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 77
๔. สามคามสูตร
ว่าด้วยนครนถ์แตกเป็น ๒ พวก เพราะการตายของนิครนถ์นาฏบุตร
[๕๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่หมู่บ้านสามคามสักกชนบทก็สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรตายลงใหม่ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์แตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกัน เสียดสีกันและกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก ของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คําที่ควรพูดก่อนท่านพูดทีหลัง คําที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่งของท่านกลายเป็นผิด แม้วาทะของท่าน ที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้คําพูดหรือจงถอนคําพูดเสียถ้าสามารถ นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว ความตายประการเดียวเท่านี้นั้นเป็นสําคัญเป็นไปในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตรแม้สาวกของนิครนถ์นาฏบุตรฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่ายคลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตรดุจว่าเบื่อหน่ายคลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด ให้รู้ผิดไม่ใช่นําออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่แตกไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้.
[๕๒] ครั้งนั้นแล สมณุทเทสจุนทะ จําพรรษาที่เมืองปาวาแล้วเข้าไปยังบ้านสามคามหาท่านพระอานนท์ กราบท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรตายลงใหม่ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 78
ของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันเสียดสีกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูกของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คําที่ควรพูดก่อน ท่านพูดทีหลังคําที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่งของท่านกลายเป็นผิด แม้วาทะของท่านที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้คําพูดหรือจงถอนคําพูดเสีย ถ้าสามารถ นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว ความตายประการเดียวเท่านั้นเป็นสําคัญ เป็นไปในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฎบุตรแม้สาวกของนิครนถ์นาฏบุตร ฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิดให้รู้ผิด ไม่ใช่นําออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่แตกไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้ เมื่อสมณุทเทสจุนทะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกล่าวดังนี้ว่า ท่านจุนทะ เรื่องนี้ มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ มาเถิด เราทั้งสองจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าสมณุทเทสจุนทะรับคําท่านพระอานนท์แล้ว.
[๕๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์และสมณุทเทสจุนทะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระอานนท์พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณุทเทสจุนทะนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญนิครนถ์นาฏบุตรตายลงใหม่ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันเสียดสีกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 79
แม้สาวกของนิครนถ์นาฏบุตรฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่ายคลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่ายคลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด ให้รู้ผิดไม่ใช่นําออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่แตกไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์มีความดําริอย่างนี้ว่า สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไป ความวิวาทอย่าได้เกิดขึ้นในสงฆ์เลย ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมากไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.
[๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ดูก่อนอานนท์ เธอจะยังเห็นภิกษุของเราแม้สองรูป มีวาทะต่างกันได้ในธรรมเหล่านี้หรือท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์๗อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้สองรูป มีวาทะต่างกันในธรรมเหล่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้แลที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น พอสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่ง ความวิวาทนั้นมีแค่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมากไม่ใช่สุขของชนมากไม่ใช่ประโยชน์ของชนมากเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 80
พ. ดูก่อนอานนท์ ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่งนั้นเล็กน้อย ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะเหตุมรรคหรือปฏิปทา ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.
มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง
[๕๕] ดูก่อนอานนท์ มูลเหตุแห่งความวิวาทนี้มี๖ อย่าง ๖ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์
(๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุที่เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยําเกรงแม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยําเกรง แม้ในพระศาสดาแม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในสิกขานั้นย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมากไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้.
[๕๖] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 81
(๒) ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ ... .
(๓) ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ ... .
(๘) ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา ... .
(๕) ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ... .
(๖) ภิกษุเป็นผู้ถือความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความถือรั้น สละคืนได้ยาก ภิกษุที่เป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผินมีความถือรั้น สละคืนได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยําเกรงแม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยําเกรงแม้ในพระศาสดาแม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทําให้บริบูรณ์ในสิกขานั้นย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาทมีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมากไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ดูก่อนอานนท์ ถ้าพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ดูก่อนอานนท์ เหล่านี้แล มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง.
อธิกรณ์ ๔ อย่าง
[๕๗] ดูก่อนอานนท์ อธิกรณ์นี้มี ๔ อย่าง อย่างเป็นไฉน คือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 82
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ดูก่อนอานนท์เหล่านี้แล อธิกรณ ์๔ อย่าง.
อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง
ดูก่อนอานนท์ ก็อธิกรณสมถะนี้มี๗ อย่าง คือ เพื่อระงับอธิกรณ์อันเกิดแล้วเกิดเล่า สงฆ์พึงใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัยปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ.
[๕๘] ดูก่อนอานนท์ ก็สัมมุขาวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมโต้เถียงกัน ว่าธรรมหรือมิใช่ธรรม ว่าวินัยหรือมิใช่วินัยดูก่อนอานนท์ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุมพิจารณาแบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสัมมุขาวินัยก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัยอย่างนี้.
[๕๙] ดูก่อนอานนท์ ก็เยภุยยสิกาเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาสที่มีภิกษุมากกว่าภิกษุทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น ครั้นแล้วพึงพิจารณาแบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์อย่างนี้แลเป็นเยภุยยสิกาก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้.
[๖๐] ดูก่อนอานนท์ ก็สติวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 83
ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสติวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้
[๖๑] ดูก่อนอานนท์ ก็อมูฬหวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุ จงระลึกดูเถิดว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลายข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กําลังทําลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ประพฤติล่วง และได้พูดพล่ามไป ข้าพเจ้าระลึกมันไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าผู้หลงทํากรรมนี้ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้อมฬูหวินัยแก่ภิกษุนั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แลเป็นอมูฬหวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัยอย่างนี้.
[๖๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ปฏิญญาตกรณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทหรือไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมระลึกและเปิดเผยอาบัติได้เธอพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วไหว้เท้า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่าท่านเห็นหรือ เธอตอบว่า ข้าพเจ้าเห็น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ท่านพึงถึงความสํารวมต่อไปเถิด เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถึงความสํารวม ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 84
อานนท์ อย่างนี้แล เป็นปฏิญญาตกรณะ ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะอย่างนี้.
[๖๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ตัสสปาปิยสิกาเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กําลังทําลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก แต่ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กําลังทําลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อันที่จริง ข้าพเจ้าต้องอาบัติ ชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ไม่ถูกใครถามยังรับไฉนข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้วถูกถาม จักไม่รับเล่า ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ก็ท่านต้องอาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อยไม่ถูกถามยังไม่รับ ไฉนท่านต้องอาบติหนัก เห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ไม่ถูกถามจักรับเล่า เอาเถอะท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้ากําลังระลึกได้ ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 85
หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว คําที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกนี้ ข้าพเจ้าพูดพลั้งพูดพลาดไป ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นตัสสปาปิยสิกา ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยทัสสปาปิยสิกาอย่างนี้.
[๖๔] ดูก่อนอานนท์ ก็ติณวัตถารกะเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงและได้พูดละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุม ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันพึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีประกาศให้สงฆ์จงพึงข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก และได้พูดพล่าม ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตนยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังกลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตนต่อแต่นั้นภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่ง พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่าข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก และได้พูดพล่าม ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 86
ประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นติณวัตถารกะ ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยติณวัตถารกะอย่างนี้.
สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ๖ อย่าง
[๖๕] ดูก่อนอานนท์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทําความรัก ทําความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้มี๖ อย่าง ๖ อย่างเป็นไฉน
(๑) ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทําความรัก ทําความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประการหนึ่ง.
(๒) ดูก่อนอานนท์ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับนี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทําความรัก ทําความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
(๓) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทําความรัก ทําความเคารพเป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 87
(๔) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีลาภใดๆ เกิดโดยธรรม ได้โดยธรรม ที่สุดแม้เพียงอาหารติดบาตร เป็นผู้ไม่แย่งกันเอาลาภเห็นปานนั้น ไว้บริโภคแต่เฉพาะผู้เดียว ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ยทั่วไปกับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้มีศีล นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทําความรัก ทําความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
(๕) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีล ในศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทอันวิญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่แตะต้อง เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิเห็นปานนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับนี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทําความรัก ทําความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
(๖) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยทิฏฐิ ในทิฏฐิที่เป็นของพระอริยะ อันนําออก ชักนําผู้กระทําตามเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เห็นปานนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี่ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทําความรัก ทําความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ดูก่อนอานนท์ นี้แล ธรรม ๖ อย่าง เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันทําความรัก ทําความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 88
[๖๖] ดูก่อนอานนท์ ถ้าพวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖อย่างนี้ ประพฤติอยู่ พวกเธอจะยังเห็นทางว่ากล่าวพวกเราได้ น้อยก็ตามมากก็ตาม ซึ่งจะอดกลั้นไว้ไม่ได้ละหรือ.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖ อย่างนี้ ประพฤติเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ สามคามสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 89
อรรถกถาสูตรสามคามสูตร
สามคามสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ดังนี้.
ในสามคามสูตรนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สามคามเก ได้แก่ ในบ้านอัน ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะชาวบ้านสามกะมีหนาแน่น. บทว่า อธุ-นากาลกโต คือ กระทํากาละบัดเดี๋ยวนี้เอง. บทว่า เทฺวฬหกชาตาเกิดเป็นสองพวก คือ เกิด (แตกกัน) เป็นสองฝ่าย. บรรดาการขัดใจกัน เป็นต้นการทะเลาะกันในเบื้องต้น ชื่อว่า ภัณฑนะ การบาดหมาง การทะเลาะกันที่ขยายออกไปด้วยการถือไม้เป็นต้น และด้วยอํานาจการละเมิดพระบัญญัติชื่อว่า กลหะ การทะเลาะ. การพูดขัดแย้งกันเป็นต้นว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยข้อนี้ ดังนี้ ชื่อว่า วิวาทโต้เถียงกัน. บทว่า วิตุทนฺตา คือทิ่มแทงกัน (ด้วยปาก). บทว่า สหิตมฺเม คือ คําของเราประกอบด้วยประโยชน์.คําว่า อธิจิณฺณํ เต วิปราวตฺตํ ความว่า ข้อปฏิบัติที่เคยชินยิ่งของท่านซึ่งเป็นของคล่องแคล่วโดยเป็นระยะกาลนานนั้น มาถึงวาทะของเราเข้าก็เปลี่ยนแปลงไป. คําว่า อาโรปิโต เต วาโท ความว่า เรายกโทษขึ้นเหนือท่านแล้ว. บทว่า จร วาทปฺปโมกขาย ความว่า ท่านจงถือห่อข้าวเข้าไปหาคนนั้นๆ เที่ยวหาให้ยิ่งขึ้น เพื่อต้องการแก้วาทะนั้น. บทว่า นิพฺเพเธหิ ความว่า จงปลดเปลื้องตนเสียจากวาทะที่เรายกขึ้น. บทว่าสเจ ปโหสิ แปลว่า ถ้าท่านอาจ. บทว่า วโธเยว คือ ความตายเท่านั้น.บทว่า นาฏปุตฺติเยสุ ได้แก่ ในพวกอันเตวาสิกของนาฏบุตร. บทว่านิพฺพินฺนรูปา คือ มีความระอาเป็นสภาวะ ไม่กระทําแม้แต่การกราบไหว้เป็นต้น. บทว่า วิรตฺตรูปา คือ เป็นผู้ปราศจากความรัก. บทว่า ปฏิวาน-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 90
รูปาคือ มีสภาวะหวนกลับจากการกระทํานบนอบพวกนิครนถ์เหล่านั้น. บทว่ายถาตํ ได้แก่ พึงเป็นดุจเบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจท้อถอยในธรรมวินัยอันมีสภาวะที่กล่าวไว้ไม่ดีเป็นต้น. บทว่า ทุรกฺขาเต แปลว่า กล่าวชั่ว. บทว่าทุปฺปเวทิเต แปลว่า ให้เข้าใจผิด. บทว่า อนฺปสมสํวตฺตนิเก คือ ไม่สามารถกระทําความสงบระงับกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า ภินฺนถูเป คือเป็นที่พึ่งที่แตก. เพราะในลัทธินี้นาฏบุตรเท่านั้นเป็นดุจสถูป เพราะเป็นที่พึ่งอาศัยของนิครนถ์เหล่านั้น ก็นาฏบุตรนั้นแตก ตายแล้ว. เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็น สถูปที่แตก. บทว่า อปฺปฏิสฺสรเณ คือ ปราศจากที่พึ่งพาอาศัย เพราะไม่มีนาฏบุตรนั้นนั่นเอง.
ถามว่า ก็นาฏบุตรนี้ เป็นชาวนาลันทามิใช่หรือ เพราะเหตุไร เขาจึงไปตายที่ปาวา. ตอบว่า ได้ยินว่า เขาได้ฟังอุบาลีคฤหบดีผู้แทงตลอดสัจจะกล่าวพระพุทธคุณ ๑๐ คาถา ถึงสํารอกโลหิตอุ่นๆ (รากเลือด) ครั้งนั้นพวกศิษย์ได้นําเขาผู้กําลังไม่สบาย ไปยังเมืองปาวา. เขาได้ตาย ณ เมืองปาวานั้น แต่เมื่อจะตายเขาคิดตกลงใจว่าลัทธิของเราไม่เป็นนิยยานิกธรรมไร้สาระเราฉิบหายก่อน คนที่เหลืออย่าได้แออัดในอบายเลย ก็หากเราจักบอกว่าคําสอนของเราไม่มีนิยยานิกธรรม (นําออกจากทุกข์ไม่ได้) พวกเขาจักไม่เชื่อถ้ากระไรเราจะไม่ให้คนแม้๒ คนเรียนลัทธิโดยวิธีเดียวกัน ต่อเราล่วงลับไปพวกเขาจักวิวาทกัน พระศาสดาจักทรงอาศัยวาทะนั้นแล้ว จักตรัสธรรมกถาเรื่องหนึ่ง จากนั้น พวกเขาจักรู้ความที่ศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ ดังนี้. ครั้งนั้นศิษย์คนหนึ่งเข้าไปหานาฏบุตรนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านมีกําลังอ่อนเปลี้ย ขอโปรดบอกสาระในธรรมนี้แก่ข้าพเจ้าเท่าๆ กับท่านอาจารย์เถิด.ผู้มีอายุ ต่อเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เธอจงถือว่า "เที่ยง" (ยั่งยืน) (สัสสตทิฏฐิ) ศิษย์อีกคนก็เข้าไปหา เขาก็ให้ศิษย์คนนั้นถือเอาการขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 91
เขาไม่กระทําศิษย์แม้ทั้งสองคนให้มีลัทธิอย่างเดียวกัน ได้ให้เรียนเอามากวิธีด้วยอาการอย่างนี้ แล้วก็ตายไป. ศิษย์เหล่านั้นกระทําฌาปนกิจอาจารย์แล้วประชุมกัน ต่างถามกันว่า ผู้มีอายุ อาจารย์บอกสาระแก่ใคร. ศิษย์คนหนึ่งลุกขึ้นพูดว่า บอกแก่ข้าพเจ้า. บอกอย่างไร? บอกว่า เที่ยงยั่งยืน. ศิษย์อีกคนหนึ่งห้ามศิษย์คนนั้น แล้วกล่าวว่า บอกสาระแก่ข้าพเจ้า เมื่อเป็นอย่างนั้นศิษย์ทั้งหมดก็ขยายการวิวาทกันและกัน โดยกล่าวว่า อาจารย์บอกสาระแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้า ดังนี้ แล้วก็ลุกลามเป็นการด่า การบริภาษและการประหารกันด้วยมือและเท้าเป็นต้น ๒ คนมา (ด้วยกัน) ตามทางสายเดียวกัน (ต่างก็) แยกกันไปคนละทิศ ศิษย์บางพวกก็เป็นคฤหัสถ์ไป. ก็แม้ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ การวิวาทยังไม่เกิดขึ้นในหมู่ภิกษุ. เพราะพระศาสดา เมื่อกรณีวิวาทกัน พอเกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้นก็เสด็จไปเอง ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นแหละมา ตรัสเหตุอย่างหนึ่งในธรรมคือ ขันติ เมตตา การพิจารณา การไม่เบียดเบียนและธรรมที่ให้ระลึกถึงกันทรงระงับการวิวาทเสีย. เมื่อเป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงพระชนม์อยู่ ก็ได้ทรงเป็นที่พึ่งอาศัยของพระสงฆ์ แม้เมื่อจะเสด็จปรินิพพานก็ทรงกระทําเหตุแห่งการไม่วิวาทกันไว้ เสด็จปรินิพพาน. เป็นความจริง มหาปเทส๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในพระสูตร เป็นที่พึ่งและเป็นที่อาศัยแก่ภิกษุทั้งหลาย มาจนตราบเท่าทุกวันนี้. มหาปเทส ๔ ที่ทรงแสดงไว้ในขันธกะและปัญหาพยากรณ์ ๔ ข้อที่ตรัสไว้ในพระสูตร เป็นที่พึ่งอาศัยของภิกษุทั้งหลายได้เหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ จึงตรัสว่า "อานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย เมื่อเราตถาคตล่วงไป ธรรมและวินัยอันนั้น จะเป็นศาสดาของพวกเธอ" ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 92
บทว่า อถ โข จุนฺโท สมณฺทฺเทโส ความว่า พระเถระรูปนี้เป็นน้องชายคนเล็กของพระธรรมเสนาบดี. ในเวลายังเป็นอนุปสัมบัน (สามเณร) ภิกษุทั้งหลายเรียกท่านว่า จุนทะ สมณฺทเทส แม้ในเวลาท่านเป็นพระเถระก็ยังคงเรียกอย่างนั้นอยู่. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จุนทะสมฌุทเทส ดังนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ ถามว่า เข้าไปหาเพราะเหตุไรได้ยินว่า เมื่อนาฏบุตรตายแล้ว พวกมนุษย์ในชมพูทวีปก็ยังประกาศถ้อยคําในที่นั้นๆ ว่า นิครนถ์นาฏบุตร ปรากฏว่าเป็นศาสดาเอก. เพราะท่านกระทํากาละ เหล่าสาวกก็เกิดการโต้แย้งกัน เห็นปานนี้ ส่วนพระสมณโคดมปรากฏว่าเป็นดุจพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ในชมพูทวีป เมื่อพระสมณโคดมปริ-นิพพานแล้ว เหล่าสาวกจักวิวาทโต้แย้งกันเช่นไรหนอ ดังนี้. พระเถระได้สดับถ้อยคํานั้นแล้ว คิดว่า เราจักถือเอาถ้อยคํานี้ไปกราบทูลแก่พระทศพลพระศาสดาจักทรงกระทําเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่องราวแล้วจักตรัสเทศนาอย่างหนึ่ง. ท่านจึงออกไปแล้วเข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่สามคาม ท่านยังไม่ไปสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรง เข้าไปหาท่านพระอานนท์ผู้เป็นอุปัชฌาย์. ได้ยินว่าท่านมีความคิดอย่างนี้ อุปัชฌาย์ของเรามีปัญญามาก ท่านจักกราบทูลข่าวนี้แด่พระศาสดา ทีนั้น พระศาสดาจักทรงแสดงธรรมอันเหมาะสมกับวาทะ (ที่เกิดขึ้น) .
บทว่า กถาปาภฏํ แปลว่า ถ้อยคําอันเป็นต้นเรื่อง จริงอยู่ ต้นทุนท่านเรียกว่า ปาภฏะ. สมดังที่ตรัสไว้ว่า
อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณสมุฏาเปติ อตฺตานํ อณุํ อคฺคึว สนฺธมํ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 93
ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อมตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อยเหมือนคนก่อกองไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่ ฉะนั้นดังนี้.
บทว่า ทสฺสนาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การเข้าเฝ้า. ถามว่า ก็พระจุนทะไม่เคยเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ? ตอบว่า ไม่ใช่ไม่เคยเฝ้า.ก็ท่านผู้นี้ไปเฉพาะที่ปรนนิบัติวันหนึ่ง ๑๘ ครั้ง คือ กลางวัน ๙ ครั้ง กลางคืน ๙ ครั้ง. แต่วันหนึ่งประสงค์จะไปร้อยพันครั้งก็ได้ (ท่าน) จะไปเพราะไม่มีเหตุก็หามิได้ ท่านถือเอาปัญหาสําคัญอย่างหนึ่งเท่านั้นจึงจะไป. วันนั้นท่านประสงค์จะไปด้วยเรื่องนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า อหิตาย ทุกฺขายเทวมนุสฺสานํ ความว่า ความวิวาทเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ในวิหารแห่งหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างไร.ก็เมื่อภิกษุสองรูปวิวาทกัน ศิษย์ของภิกษุเหล่านั้นในวิหารนั้นก็ย่อมวิวาทกันเหมือนในโกสัมพิกขันธกะ ภิกษุณีสงฆ์ผู้รับโอวาทของภิกษุเหล่านั้น ก็วิวาทกัน. แต่นั้น อุปัฏฐากของภิกษุเหล่านั้นก็วิวาทกัน. ลําดับนั้น อารักขเทวดาของพวกมนุษย์ย่อมเป็นสองฝ่าย. ในสองฝ่ายนั้น อารักขเทวดาของพวกที่เป็นธรรมวาที ย่อมเป็นธรรมวาที. ของพวกที่เป็นอธรรมวาที ก็เป็นอธรรมวาที.ต่อจากนั้น ภุมมเทวดาผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดา ย่อมแตกกัน. เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด ยกเว้นพระอริยสาวกย่อมเป็นสองพวก ต่อๆ กันไปอย่างนี้จนถึงพรหมโลก. ก็พวกอธรรมวาทีย่อมมากกว่าพวกธรรมวาที. ต่อแต่นั้นย่อมถือเอาสิ่งที่คนมากถือ พวกที่มากกว่านั้นแล สละธรรมเสีย ถือเอาแต่อธรรมพวกที่ถืออธรรมเหล่านั้น ก็ทําอธรรมให้บริบูรณ์อยู่ ก็จะพากันไปบังเกิดในอบาย. ความวิวาทกันเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ในวิหารหนึ่ง ย่อมมีเพื่อสิ่งไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ชนเป็นอันมาก ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 94
บทว่า อภิฺา เทสิตา ความว่า (เรา) นั่งที่โคนไม้มหาโพธิ์กระทําให้ประจักษ์แล้วประกาศให้รู้. บทว่า ปฏิสฺสยมานรูปา วิหรนฺติคือ เข้าไปอาศัยอยู่. ด้วยคําว่า ภควโต อจฺจเยน ดังนี้ ท่านพระอานนท์กล่าวว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย กระทําพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นเชษฐบุคคลมีความเคารพอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระองค์เป็นผู้มีพระเดชกล้าเพราะทรงเป็นผู้ที่ใครๆ เข้าเฝ้าได้ยาก ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่อาจก่อความวิวาทให้เกิดขึ้น แต่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงไปแล้ว พึงก่อวิวาทนั้นให้เกิดขึ้น.เมื่อจะทรงแสดงเหตุที่ทําความวิวาทนั้นให้เกิด จึงตรัสว่า อชฺฌาชีเว วาอธิปาฏิโมกฺเข วา. ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌาชีเว ได้แก่ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ หรือ เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงชีพ. สิกขาบท ๖ ที่ทรงบัญญัติไว้ในคัมภีร์ปริวารโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม ต้องอาบัติปาราชิก ดังนี้ เว้นสิกขาบท ๖ เหล่านั้นเสีย สิกขาบททั้งมวลที่เหลือชื่อว่าปาติโมกข์อันยิ่ง. บทว่า อปฺปมตฺตโกโส อานนฺท ความว่าธรรมดาว่าความวิวาทที่เกิดขึ้น เพราะปรารภอาชีวะอันยิ่ง และปาติโมกข์อันยิ่ง ก็เพราะเหตุที่เป็นของละได้ง่าย เพราะกําหนดด้วยถ้อยคําของคนอื่นบ้าง ด้วยธรรมดาของตนบ้าง ฉะนั้นจึงตรัสว่า เล็กน้อย. ในบทว่า เล็กน้อยนั้น มีนัยดังต่อไปนี้. ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้คิดเป็นต้นว่าผู้ไม่อวดอุตตริมนุสสธรรมไม่อาจได้อะไรๆ ดังนี้ เพราะเหตุอาชีวะ เพราะการเลี้ยงชีพ จึงพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมบ้าง เที่ยวชักสื่อบ้าง ทําการพูดเลียบเคียงโดยนัยเป็นต้นว่าภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ ดังนี้บ้าง ไม่เป็นไข้ขอบิณฑบาตอันประณีต เพื่อประโยชน์ตนมาบริโภคบ้าง ก็หรือว่า ภิกษุณีขอบิณฑบาตอันประณีตเหล่านั้น ย่อมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ทําการขอแกงและข้าวสุกอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 95
บ้าง ก็หรือว่าทําการล่วงละเมิดพระบัญญัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อนร่วมพรหมจรรย์ จําเธอได้อย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรของภิกษุนี้ ด้วยลาภที่ได้นี้ ผู้ใดบวชในพระศาสนาแล้วเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีวะ ผู้นั้นชื่อว่า กระทําการล่วงละเมิดพระบัญญัติ. เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ แม้โดยธรรมดาของตน. ภิกษุกําหนดว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยลาภนี้ เราบวชในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพนั้น ย่อมกระทําการล่วงละเมิดพระบัญญัติ ดังนี้ แล้วงดเว้นจากการกระทํานั้น. ความวิวาทย่อมเป็นอันละได้ง่าย เพราะกําหนดได้ด้วยถ้อยคําของคนอื่นบ้าง ด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสกะพระอานนท์นั้นว่าเล็กน้อย ดังนี้.
คําว่า มคฺเค วา หิ อานนฺท ปฏิปทาย วา ความว่า ชื่อว่าความวิวาท พอถึงโลกุตรมรรคย่อมระงับไป โดยประการทั้งปวง ความวิวาทย่อมไม่มีแก่ท่านผู้บรรลุมรรคทั้งหลาย คํานี้ตรัสหมายถึงมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้น และปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น. ในคํานั้นมีนัยดังต่อไปนี้. คนทั้งหลายย่อมยกย่องภิกษุรูปนั้นไว้ในโลกุตรธรรม. ภิกษุนั้นถามสัทธิวิหาริกเป็นต้น ผู้มาไหว้แล้วยืนอยู่ว่า พวกเธอมาทําไม. มาเพื่อจะถามกรรมฐานที่ควรทําไว้ในใจ ขอรับ. ภิกษุนั้นกล่าวว่า พวกเธอจงนั่งลง ฉันจักบอกกรรมฐานที่สามารถให้บรรลุพระอหัตทันทีทันใดได้อย่างไร แล้วกล่าวว่า ภิกษุในพระศาสนานี้ เข้าไปในที่อยู่ของตน แล้วนั่งกระทําไว้ในใจถึงมูลกรรมฐานเมื่อเธอทําไว้ในใจถึงซึ่งกรรมฐานนั้น โอภาสย่อมเกิดขึ้น นี้ชื่อว่าปฐมมรรค.เธอทําญาณในโอภาสที่สองให้เกิดขึ้น. ทุติยมรรคย่อมเป็นอันบรรลุแล้ว ทําญาณในโอภาสที่สามและที่สี่ให้เกิดขึ้นด้วยวิธีอย่างนี้ ย่อมเป็นอันบรรลุมรรคและผล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ดังนี้. ทีนั้น ภิกษุเหล่านั้น ตกลงใจว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 96
ธรรมดาผู้มิใช่พระขีณาสพ ย่อมไม่อาจบอกกรรมฐานข้อหนึ่งได้ ท่านผู้นี้เป็นพระขีณาสพแน่ ดังนี้. สมัยต่อมาท่านบอกกรรมฐานแล้ว มรณภาพ. มนุษย์ทั้งหลายในบ้านที่เที่ยวภิกขาจารโดยรอบมาถามว่า ท่านขอรับ ใครๆ ได้ถามปัญหากะพระเถระหรือเปล่า. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายก็ในกาลก่อนพระเถระได้บอกปัญหาแก่พวกอาตมาไว้. พวกเขาจัดแจงมณฑปดอกไม้ เรือนยอดไม้ สร้างเครื่องปิดตาและเครื่องปิดหน้าด้วยทองคํา บูชาด้วยเครื่องหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น เล่นสาธุกีฬาตลอด ๗ วัน แล้วทําฌาปนกิจ ถือเอาอัฐิไปทําเจดีย์ (บรรจุไว้) . พระอื่นที่จรมา มายังวิหาร ล้างเท้าแล้ว คิดว่าจักเยี่ยมพระมหาเถระ จึงไปถามว่า ท่านผู้มีอายุ พระมหาเถระไปไหน. ปรินิพพานนานแล้วขอรับ. ท่านผู้มีอายุ พระเถระผู้ทํามรรคและผลให้เกิด กระทําสิ่งที่ทําได้ยาก ท่านผู้มีอายุ พวกท่านได้ถามปัญหาไว้หรือ. ท่านผู้เจริญ พระเถระเมื่อบอกกรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย บอกแล้วโดยทํานองนี้. ผู้มีอายุ นั่นไม่ใช่มรรค นั่นชื่อว่าวิปัสสนูปกิเลส พวกท่านไม่รู้ ท่านผู้มีอายุ พระเถระเป็นปุถุชน. ภิกษุเหล่านั้นทําการทะเลาะกัน ลุกลามขึ้นว่า ภิกษุทั้งหลายในวิหารทั้งสิ้น และมนุษย์ทั้งหลายในบ้านที่เที่ยวภิกขาจารย่อมไม่รู้ พวกท่านเท่านั้นรู้ พวกท่านมาโดยหนทางไหน พวกท่านไม่เห็นเจดีย์ที่ประตูวิหารหรือ. ก็ภิกษุผู้มีวาทะอย่างนี้ จะเป็นร้อยรูปพันรูปก็ตามตราบใดยังไม่ละลัทธินั้น สวรรค์ก็ดี มรรคก็ดี ก็ถูกห้ามอยู่ตราบนั้น. คนอื่นๆ เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจะบอกกรรมฐานย่อมบอกอย่างนี้ว่า พึงเอาจิตนั่นแหละ ยกกระเบื้อง ๓ แผ่นขึ้นวางบนเตา ๓ เตา แล้วก่อไฟข้างใต้เอาจิตนั่นแหละ เบิกอาการ ๓๒ ของตนใส่ลงบนกระเบื้อง พึงเอาจิตนั่นแหละใช้ท่อนไม้ให้พลิกไปพลิกมา แล้วพึงย่าง๑เมื่ออาการ ๓๒ ถูกไฟเผา เถ้าที่มี (เหลือ) อยู่นั้น พึงใช้ลมปากเป่าให้ปลิวไป ด้วยวิธี
๑. ม. ภชฺชิตพฺพํ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 97
การเท่านี้ สมณะนี้ย่อมชื่อว่ามีบาปอันขจัดแล้ว. คําที่เหลือพึงให้พิสดารโดยนัยก่อนนั่นแล. อาจารย์อื่นอีกย่อมบอกอย่างนี้ว่า เอาจิตนั่นแหละวางภาชนะใหญ่แล้วประกอบเนยเหลว เอาจิตนั่นแหละเบิกอาการ ๓๒ ของตนใส่ลงในภาชนะใหญ่นั้น ใส่เนยเหลวลงแล้วกวน อาการ ๓๒ ที่ถูกกวนย่อมเหลว. เมื่อเหลว ฟองก็ย่อมผุดขึ้นข้างบน. ฟองนั้นพึงบริโภคได้. ด้วยการทําเพียงเท่านี้ อมตะจักชื่อว่าเป็นอันท่านทั้งหลายบริโภคแล้ว. เบื้องหน้าแต่นี้ไป คําทั้งหมดมีคําว่า ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ดังนี้เป็นต้น พึงให้พิสดารโดยนัยก่อนเหมือนกัน.
บัดนี้เมื่อทรงแสดงมูลแห่งวิวาทที่จะพึงเกิดขึ้นอย่างนั้น จึงตรัสคําว่าฉยิมานิ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารโว ได้แก่ เว้นจากความเคารพ. บทว่า อปฺปติสฺโส คือ ไม่ยําเกรง ได้แก่ไม่ประพฤติถ่อมตน. ก็ในอธิการนี้พึงทราบความดังนี้ ภิกษุใด เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ไม่ไปปรนนิบัติ๓ เวลา. เมื่อพระศาสดาไม่มีฉลองพระบาทเสด็จจงกรม สวมรองเท้าจงกรม เมื่อเสด็จจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ํา (ตัว) อยู่ในที่สูง. ในที่ที่แลเห็นพระศาสดา คลุมไหล่ทั้งสองข้าง กั้นร่ม สวมรองเท้า ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ณ ที่ท่าอาบน้ำ. หรือว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ไม่ไปไหว้พระเจดีย์ กระทํากิจทั้งปวงดังกล่าว ในที่ที่พระเจดีย์ปรากฏและในที่ที่แลเห็นพระศาสดา. และเมื่อภิกษุทั้งหลายอื่นกล่าวว่าเพราะเหตุไรท่านจึงทําอย่างนี้ การกระทํานี้ไม่ควรธรรมดาละอายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมควร ดังนี้ กลับกล่าวว่า ท่านจงนิ่งเสียเถิด ท่านพูดอะไรว่าพระพุทธเจ้าๆ ดังนี้ นี้ชื่อว่า ไม่มีความเคารพในพระศาสดา. ส่วนภิกษุใด เมื่อเขาป่าวร้องการฟังธรรม ไม่ไปโดยเคารพ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพหลับเสีย หรือนั่งเจรจาอยู่ ไม่เรียน ไม่สอนโดยเคารพ. เมื่อกล่าวว่า ทํา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 98
ไมท่านไม่ทําความเคารพใน พระธรรม ก็กล่าวว่า ท่านจงเป็นผู้นิ่งเสีย ท่านร้องว่า ธรรมๆ อะไรชื่อว่าธรรม นี้ชื่อว่า ไม่เคารพในพระธรรม.ส่วนภิกษุใดอันพระเถระไม่เธอเชิญแสดงธรรม กล่าวถามปัญหา เดิน ยืนนั่ง เบียดเสียดพระผู้ใหญ่ เอาผ้ารัดเข่า หรือ เอามือรัดเข่า คลุมไหล่ทั้งสองข้าง ท่ามกลางสงฆ์ กั้นร่ม สวมรองเท้า เมื่อภิกษุทั้งหลายแม้จะพูดว่าควรละอายภิกษุสงฆ์ก็กล่าวคําเป็นต้นว่า ท่านจงนิ่งเสียเถิด ท่านร้องว่าสงฆ์ๆ อะไรเป็นสงฆ์เนื้อสงฆ์แพะสงฆ์หรือ นี้ชื่อว่า ไม่เคารพในพระสงฆ์. ก็เมื่อทําความไม่เคารพแม้ในภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมเป็นอันทําความไม่เคารพในสงฆ์ด้วย. ก็เมื่อไม่ทําสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์นั่นแล ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา.บทว่า อชฺฌตฺตํ วา คือ ในตนและบริษัทของตน. บทว่า พหิทฺธาวาคือ ในคนอื่น หรือในบริษัทของคนอื่น.
บัดนี้ วิวาทที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยฐานะ ๖ ประการนี้ ขยายตัว ย่อมต้องอธิกรณ์ใด เพื่อจะทรงแสดงอธิกรณ์นั้น จึงตรัสว่า จตฺตารีมานิ ดังนี้เป็นต้น. ก็ในพระดํารัสนั้น ชื่อว่า อธิกรณ์ เพราะต้องกระทําให้ยิ่งด้วยสมถะทั้งหลายที่ดําเนินอยู่ เพื่อต้องการระงับ. วิวาทด้วย อธิกรณ์นั้นด้วยชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์. แม้ในอธิกรณ์นอกนี้ ก็นัยนี้แหละ. บัดนี้ วิวาท แม้นั้นเมื่อเป็นอธิกรณ์ ๔ แม้เหล่านี้แล้วก็ยังขยายเพิ่มขึ้น ย่อมระงับได้ด้วยสมถะทั้งหลายเหล่าใด เพื่อจะทรงแสดงสมถะเหล่านั้น จึงตรัสคําว่า สตฺตโข ปนีเม ดังนี้ เป็นต้น. ในพระดํารัสนั้น ที่ชื่อว่าอธิกรณสมถะ เพราะอธิกรณ์สงบระงับ. บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺนานํ แปลว่า เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่า. บทว่า อธิกรณานํ ได้แก่อธิกรณ์๔ มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า สมถาย วูปสมาย แปลว่า เพื่อสงบและเพื่อระงับ. พึงให้อธิกรณสมถะ ๗ ประการเหล่านี้ คือ พึงให้สัมมุขาวินัย ฯลฯ ติณวัต-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 99
ถารกะ. ในอธิกรณสมถะนั้น มีวินิจฉัยกถาดังต่อไปนี้. พึงทราบวินิจฉัยในอธิกรณ์ก่อน วิวาทอันใดของภิกษุทั้งหลายผู้วิวาทกันอยู่ด้วยเรื่อง ๑๘ เรื่อง (มีเรื่อง) ว่าธรรมหรือไม่ใช่ธรรม นี้ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์. การโจท คือการว่ากล่าวและการทักท้วงของภิกษุทั้งหลาย ผู้โจทด้วยความวิบัติแห่งศีลหรือความวิบัติแห่งอาจาระ ทิฏฐิ และอาชีวะ นี้ชื่อว่า อนุวาทาธิกรณ์.กองอาบัติ๗ กอง คือ ที่มาในมาติกา ๕ กอง ในวิภังค์๒ กอง ชื่อว่าอาปัตตาธิกรณ์. การทําสังฆกรรม ๔ อย่าง มีอปโลกนกรรมเป็นต้น นี้ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์. ในอธิกรณ์๔ นั้น วิวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับได้ด้วยสมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา. อธิกรณ์ที่สงบระงับด้วยสัมมุขาวินัยนั่นแหละ เกิดขึ้นในวิหารใด มอบให้สงฆ์ในวิหารนั้น นั่นแหละ หรือไปในที่ใด มอบให้แก่สงฆ์ในที่นั้นนั่นแหละหรือในระหว่างทาง สําหรับพวกภิกษุผู้ไปเพื่อระงับ (อธิกรณ์) ในที่อื่น สงฆ์หรือคณะในที่นั้นไม่อาจระงับได้ ก็สมมติด้วยอุพพาหิกาญัตติ ยกเลิกเสีย หรืออันบุคคลทั้งหลายตัดสินในที่นั้น ย่อมระงับได้. ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ในอธิกรณ์ที่ระงับด้วยอาการอย่างนี้ นี้ชื่อว่า สัมมุขาวินัย. ก็บรรดาความพร้อมหน้านั้น ความที่การกสงฆ์พร้อมหน้าด้วยอํานาจสังฆสามัคคี ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์. ความที่เรื่องอันจะพึงระงับมี ชื่อว่า. ความพร้อมหน้าธรรม. การระงับโดยวิธีที่อธิกรณ์จะพึงระงับได้ ชื่อว่า ความพร้อมหน้าวินัย. การที่มีผู้วิวาทกับมีเรื่องวิวาทเกิดพร้อมหน้าคู่วิวาท ผู้มีประโยชน์ขัดกัน ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล. แต่เพราะอธิกรณ์ระงับด้วยอุพพาหิกาญัตติความพร้อมหน้าสงฆ์ในที่นี้ก็ย่อมเสียไป. ก่อนอื่น อธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้นอย่างนี้ ก็หากว่า แม้อย่างนั้น อธิกรณ์ก็ไม่ระงับ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 100
สมมติด้วยอุพพาหิกาญัตติ พึงมอบอธิกรณ์นั้นแก่สงฆ์เท่านั้นว่า พวกกระผมไม่อาจระงับได้. แต่นั้น สงฆ์สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์๕ ให้เป็นผู้แจกสลาก ภิกษุผู้ได้รับสมมตินั้น ให้จับสลากด้วยอํานาจการจับสลากอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาการจับสลาก ๓ อย่าง มีอย่างลับ อย่างเปิดเผย และอย่างกระซิบที่หูของตน เพราะธรรมวาทีบุคคลในบริษัทที่มาประชุมกันมีมากกว่าธรรมวาทีบุคคลย่อมกล่าวโดยประการใด อธิกรณ์ที่ระงับโดยประการนั้นย่อมเป็นอันสงบระงับด้วย สัมมุขาวินัยและ เยภุยยสิกา. บรรดาอธิกรณสมถะเหล่านั้น สัมมุขาวินัยมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็การกระทํากรรมโดยมีพวกมากอย่างนี้ ชื่อว่า เยภุยยสิกา.
วิวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ อย่าง คือ ด้วย สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัยและตัสสปาปิยสิกา. เมื่อระงับด้วยสัมมุขาวินัยนั่นแล วินัยธรฟังคําของผู้เป็นโจทก์และจําเลยเหล่านั้นแล้ว วินิจฉัยอย่างนี้ว่า ถ้าอาบัติไรๆ ไม่มีให้ทั้งสองฝ่ายขอขมาโทษ ถ้ามี ในเรื่องนี้ก็เป็นอาบัติชื่อนี้ ดังนี้ (อธิกรณ์) ย่อมระงับ. ในอธิกรณสมถะเหล่านั้น ลักษณะของสัมมุขาวินัย มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ก็ในกาลใด ภิกษุขีณาสพถูกกําจัดด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูลขอสติวินัย สงฆ์ให้สติวินัยด้วยญัตติจตุตถกรรม ในกาลนั้นอธิกรณ์ย่อมเป็นอันระงับด้วยสัมมุขาวินัย และสติวินัย. ก็เมื่อให้สติวินัยแล้ว ใครๆ ย่อมโจทไม่ขึ้นในบุคคลนั้นอีก. ในกาลใด ภิกษุเป็นบ้า เมื่อกระทําอัชฌาจารอันมิใช่ของสมณะ ด้วยอํานาจของความเป็นบ้า ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่าท่านผู้มีอายุ จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ดังนี้ แม้กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ผมเป็นบ้า กระทํากรรมนั้น ผมระลึกข้อนั้นไม่ได้ จึงถูกภิกษุทั้งหลายโจทเอาย่อมขออมูฬหวินัย เพื่อต้องการมิให้โจทอีก แม้สงฆ์ก็ย่อมให้อมูฬหวินัยแก่เธอ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 101
ด้วยญัตติจตุตถกรรม ในกาลนั้นอธิกรณ์ย่อมเป็นอันระงับด้วยสัมมุขาวินัยและอมูฬหวินัย. แต่เมื่อให้อมูฬหวินัยแล้ว แต่เพราะความบ้านั้นเป็นปัจจัยใครๆ ก็โจทไม่ขึ้นในบุคคลนั้นอีก. ก็ในกาลใด เมื่อบุคคลถูกโจทด้วยปาราชิกหรือเฉียด (ฉายา) ปาราชิก ให้การกลับไปกลับมา เป็นคนเลวเพราะเป็นผู้มีความชั่วมาก สงฆ์สําคัญอยู่ว่า ถ้าผู้นี้จักไม่เป็นมูลเฉท (คือขาดจากพระ) ประพฤติชอบแล้วจักได้การเรียกเข้าหมู่ ถ้าเป็นมูลเฉท ก็จักมีแต่นาสนะ (คือการกําจัดออกไป) แก่เธอนี้เท่านั้นดังนี้ กระทําตัสสปาปิยสิกาด้วย ญัตติ-จตุตถกรรม. ในกาลนั้น อธิกรณ์ย่อมเป็นอันระงับด้วยสัมมุขาวินัย และตัสสปาปิยสิกา. อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ ประการอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓ คือ สัมมุขาวินัยปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ. อาปัตตาธิกรณ์นั้น ย่อมไม่มีการระงับด้วยสัมมุขาวินัยอย่างเดียว. ก็ในกาลใด ภิกษุแสดงอาบัติเบาในสํานักภิกษุรูปหนึ่ง หรือในท่ามกลางสงฆ์ ในกาลนั้น อาปัตตาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสัมมุขาวินัย และปฏิญญาตกรณะ. ในสมถะ ๒ อย่างนั้น จะว่าโดยสัมมุขาวินัยก่อน ความพร้อมหน้าของผู้แสดงและผู้รับแสดงนั้น ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคล. ที่เหลือมีนัยดังกล่าวนั่นแล.
ในเวลาแสดงแก่บุคคล และแก่คณะ ความพร้อมหน้าสงฆ์ย่อมเสียไปก็ในที่นี้ การกระทํา (แสดงอาบัติ) ว่า ท่านพึงสํารวมต่อไป ดังนี้. ตามการปฏิญญาว่า ท่านขอรับ ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ดังนี้ และว่า ขอรับ ผมเห็นดังนี้ ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ. การขออยู่ปริวาสเป็นต้น ในอาบัติสังฆาทิเสส และการให้ปริวาสเป็นต้น ตามปฏิญญา ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ.ส่วนภิกษุผู้กระทําความบาดหมางกันเกิดเป็นสองฝ่าย ประพฤติล่วงอัชฌาจารอันมิใช่ของสมณะเป็นอันมากเมื่อกลับเกิดลัชชีธรรมขึ้นใหม่ เห็นโทษในการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 102
ที่จะให้กันและกันกระทํา (คืน) อาบัติว่า ถ้าพวกเราจักให้กันและกันกระทํา (คืน) จากอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ที่รุนแรงดังนี้แล้ว กระทํา ติณวัตถารกะ การประนีประนอม ดังกลบด้วยหญ้าในกาลใด ในกาลนั้น อธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสัมมุขาวินัย และด้วยติณวัตถารกะ. ก็ในเรื่องติณวัตถารกะนั้น ภิกษุผู้อยู่ในหัตถบาสมีประมาณเท่าไรไม่ทําความเห็นแย้งออกไปอย่างนี้ว่ากรรมนั้นไม่ชอบใจข้าพเจ้าแล้วไม่รื้อฟื้นว่า กรรมทําไม่ดี กรรมต้องทําใหม่ เป็นผู้กลับอาบัติทั้งปวง แม้ของภิกษุทั้งปวง ยกเว้นอาบัติมีโทษหยาบ และอาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ ย่อมออกไป. อาปัตตาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓ ด้วยประการอย่างนี้. กิจจาธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเดียว คือ สัมมุขาวินัย เท่านั้น. อธิกรณ์ ๔ นี้ย่อมระงับด้วยสมถะ ๗ อย่างนี้ ตามควร. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า พึงให้สัมมุขาวินัย ฯลฯ ติณวัตถารกะ เพื่อสงบ เพื่อระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่า ดังนี้. นัยแห่งการวินิจฉัยในเรื่องอธิกรณสมถะนี้ เพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารมาในสมถขันธกะ นั้นแล. แม้การวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ก็ได้กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกา.
ก็ในพระสูตรนี้ ความพิสดารมีเป็นต้น ว่าอิธานนฺท ภิกขูวิวทนฺติดังนี้ ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วนั้น พึงทราบว่า ตรัสไว้โดยนัยนั้น โดยสังเขปแท้.พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า ธรรม เป็นต้น ในพระบาลีนั้นโดยปริยายแห่งพระสูตรก่อน. กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ธรรม อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่าอธรรม. โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งมาในหนหลังว่า สติปัฏฐาน ๔เป็นต้น ก็ชื่อว่า ธรรม เหมือนกัน. สภาวธรรมนี้คือ สติปัฏฐาน ๓ สัมมัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖ พละ ๖ โพชฌงค์ ๘ และ มรรคมีองค์๙และสังกิลิฏฐธรรม มีอาทิว่า อุปาทาน ๔ นิวรณ์ ๕ ดังนี้ ชื่อว่า อธรรม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 103
ในบรรดาธรรมและอธรรมนั้น ภิกษุถือเอาส่วนแห่งอธรรมส่วนหนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วปรึกษากันว่า พวกเราจักกระทําอธรรมนี้ว่า ธรรม เมื่อเป็นอย่างนี้ ตระกูลอาจารย์ของพวกเราจักเป็นตระกูลนําออก (จากทุกข์) และพวกเราจักเป็นผู้ปรากฏในโลก ดังนี้ แล้วกล่าวอธรรมนั้นว่า นี้เป็นธรรม ดังนี้ย่อมโต้แย้งกันว่า ธรรม. ถือเอาส่วนแห่งธรรมส่วนหนึ่งในบรรดาส่วนแห่งธรรมทั้งหลาย เหมือนอย่างนั้นแหละ แล้วกล่าวว่า นี้เป็นอธรรม โต้แย้งกันว่า อธรรม. แต่เมื่อว่าโดยปริยายพระวินัย กรรมที่ทักท้วงให้ระลึกด้วยเรื่องที่เป็นจริง แล้วกระทําตามปฏิญญา ชื่อว่า ธรรม. ส่วนกรรมที่ทักท้วงให้ระลึกด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงแล้วทําตามปฏิญญา ชื่อว่าอธรรม. แม้ในธรรมและอธรรมนั้น กล่าวอธรรมว่า นี้ธรรม ชื่อว่าวิวาทกันเรื่องธรรม. กล่าวธรรม ว่า นี้อธรรม ชื่อว่า วิวาทกันเรื่องอธรรม. แต่เมื่อว่าโดยปริยายพระสูตร สภาวะนี้ คือการกําจัดราคะ โทสะ และโมหะให้พินาศ การสํารวมการละ การพิจารณา ชื่อว่า วินัย. สภาวะอันนี้ คือ การไม่กําจัดราคะเป็นต้นให้พินาศ การไม่สํารวม การไม่ละ การไม่พิจารณา ชื่อว่าอวินัย.ว่าโดยปริยายพระวินัย สภาวะนี้ คือวัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติอนุสาวนสมบัติ สีมาสมบัติ ปริสสมบัติ ชื่อว่า วินัย. สภาวะนี้คือ วัตถุวิบัติฯลฯ ปริสวิบัติ ชื่อว่า อวินัย. แม้ในวินัยและอวินัยเหล่านั้น กล่าวอวินัยอย่างใดอย่างหนึ่งว่า นี้วินัย ชื่อว่า วิวาทกันเรื่องวินัย. กล่าววินัยว่าอวินัย ชื่อว่าวิวาทกันเรื่องอวินัย. บทว่าธมฺมเนตฺติ สมนุมชฺชิตพฺพาความว่า สายเชือกคือธรรม พึงพิจารณา คือ พึงขัดสีสอบสวนด้วยญาณก็แบบธรรมนี้นั้น ท่านกล่าวว่า มาแล้วในมหาวัจฉโคตตสูตรอย่างนี้ว่า วัจฉะดังนั้นแล ธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นอกุศลธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นกุศลดังนี้.แบบธรรมนั้น จะเป็นอย่าง (ที่ตรัสไว้ในพระสูตร) นี้ หรือเป็นธรรมและวินัยที่ตรัสไว้ในที่นี้ก็ได้. บทว่า ยถา ตตฺถ สเมติ ความว่า ย่อมลงกันในแบบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 104
แห่งธรรมนั้น ด้วยประการใด คือธรรมย่อมเป็นธรรม อธรรมย่อมเป็นอธรรมวินัยย่อมเป็นวินัย และอวินัยย่อมเป็นอวินัย. ในบทว่า ตถา ตํ นี้ ความว่าอธิกรณ์นั้น พึงระงับโดยประการนั้น. ในบทว่า เอกจฺจานํ อธิกรณานํ ดังนี้ในที่นี้ทรงแสดงเฉพาะวิวาทาธิกรณ์ไว้อย่างเดียว ส่วนสัมมุขาวินัยย่อมไม่ได้ในอธิกรณ์ไรๆ หามิได้.
ก็วิวาทาธิกรณ์นี้นั้น เพราะเหตุที่ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฉะนั้น ในบัดนี้ แม้เมื่อถึงวาระของสติวินัย ตามลําดับหัวข้อที่วางไว้ในหนหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่ตรัสถึงสติวินัยนั้นเมื่อจะทรงแสดงสมถะที่สองของวิวาทาธิกรณ์นั้นแหละก่อน จึงตรัสว่า กถฺ-จานนฺท เยภฺยยสิกาดังนี้เป็นต้น. ในพระดํารัสนั้น บทว่า พหุตราคืออย่างต่ําเกินกว่า ๒, ๓ สมถะ. คําที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.
บัดนี้ เพื่อจะตรัสสมถะที่เหลือจากสมถะที่พิสดารแล้ว ให้พิสดารไปตามลําดับ ตั้งแต่สติวินัยที่ยังมิได้ตรัสให้พิสดารเป็นต้นไป จึงตรัสพระดํารัสว่ากถฺจนนิท สติวินโย ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่าปาราชิกสามนฺเตน ความว่าใกล้เคียงมี๒ คือใกล้เคียงขันธะ (กองอาบัติ) ๑ใกล้เคียงตัวอาบัติ๑ บรรดาใกล้เคียง ๒ อย่างนั้น ใกล้เคียงส่วนหลังของกองอาบัติส่วนหน้าอย่างนี้ คือ ปาราชิกาปัตติขันธ์ สังฆาทิเสสาปัตติขันธ์ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ และทุพภาสิตาปัตติขันธ์ ชื่อว่าใกล้เคียงขันธ์. ใกล้เคียงอันนี้ คือ ในส่วนเบื้องแรกของปฐมปาราชิกเป็นทุกกฎ สําหรับที่เหลือเป็น ถุลลัจจัย ชื่อว่า ใกล้เคียงอาบัติ. ในบรรดาใกล้เคียงนั้น ชื่อว่า ครุกาบัติ ย่อมมีในใกล้เคียงขันธ์ หรือในใกล้เคียงปาราชิก. บทว่า สรตายสฺมา ตัดบทเป็น สรตุ อายสฺมา (แปลว่าท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 105
ผู้มีอายุจงระลึก) ในบทว่า เอกจฺจานํ อธิกรณานํ ทรงแสดงเฉพาะอนุวาทาธิกรณ์เท่านั้น.
บทว่า ภาสิตปริกนฺตํ ได้แก่ พูดด้วยวาจา และพยายามด้วยกายอธิบายว่า ทํารอบด้าน. ในบทว่า เอกจฺจานํ นี้ก็ทรงประสงค์เอาเฉพาะอนุวาทาธิกรณ์เท่านั้น. ในปฏิญญาตกรณะ ทรงแสดงอาปัตตาธิกรณ์ด้วยคําว่า"เอกจฺจานํ"
บทว่า ทวา แปลว่า ผลุนผลัน. บทว่า รวา (พลั้งพลาด) ได้แก่ต้องการพูดอย่างหนึ่ง แต่กลับพูดไปเสียอีกอย่างหนึ่ง.
คําว่า เอวํ โข อานนฺท ตสฺสปาปิยสิกา โหติ ความว่า ความที่บุคคลนั้นเป็นผู้มีบาปหนา ทรงแสดงวัตถุแห่งกรรมด้วยความเป็นคนมีบาปหนานี้. เพราะต้องทํากรรม (คือสมถะ) อันนั้น แก่บุคคลเห็นปานนั้น เพราะอธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยกรรม มิใช่ระงับด้วยความเป็นบาปหนาของบุคคล.อีกอย่างหนึ่ง อนุวาทาธิกรณ์นั่นแหละ พึงทราบว่า อธิกรณ์ ในที่นี้
ในคําว่า กถฺจานนฺท ติณวตฺถารโกดังนี้ ท่านกล่าวกรรมนี้ว่าชื่อว่า ติณวัตถารกะเพราะเป็นเสมือนกลบไว้ด้วยหญ้า. เปรียบเทียบเหมือนคูถหรือมูตร บุคคลกระทบเข้าย่อมโชยกลิ่น เพราะเป็นของเหม็น แต่เมื่อมันถูกปกปิดกลบไว้ด้วยหญ้า กลิ่นนั้นย่อมไม่โชยไป ฉันใด อธิกรณ์ที่ถึงมูลเหตุน้อยใหญ่อันชั่วหยาบ ยังไม่สงบ ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกสามัคคีเพราะหยาบร้าย เมื่อสงบระงับด้วยกรรมนี้ ย่อมเป็นอันระงับดุจคูถที่ถูกกลบปิดไว้ด้วยหญ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล. ด้วยคําว่า อิธานนฺท ภิกฺขูนํภณฺฑนชาตานํ ดังนี้เป็นต้น ทรงแสดงเพียงอาการอธิกรณ์นั้นเท่านั้น.ส่วนกรรมวาจาที่มาในขันธกะเท่านั้น เป็นประมาณในที่นี้. ก็ในคํานี้ว่าเปตฺวา ถุลฺลวชฺชํ เปตฺวา คิหิปฏิยุตฺตํ ดังนี้ อาบัติปาราชิกและ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 106
อาบัติสังฆาทิเสสอันมีโทษชั่วหยาบ ชื่อว่ามีโทษชั่วหยาบ อาบัติที่ต้องเพราะขู่ ตะเพิด และรับคําอันชอบธรรมด้วยถ้อยคําอันเลวต่อคฤหัสถ์ทั้งหลายชื่อว่า อาบัติที่เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์. ในบทว่า อธิกรณํ นี้ พึงทราบเฉพาะอาปัตตาธิกรณ์เท่านั้น. ก็ในที่นี้ ไม่ตรัสคําอะไรๆ ด้วยอํานาจกิจจา.ธิกรณ์. แม้ไม่ตรัสไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พึงทราบการระงับกิจจาธิกรณ์นั้นก็ด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้น.
ในคําว่า ฉยิเม อานนฺท ธมฺมา สาราณียาดังนี้ ทรงเริ่มพระสูตรเนื่องด้วยการทะเลาะกันในหนหลัง สาราณียธรรมก็มาแล้วข้างหน้า ดังนั้นเทศนาย่อมเป็นอันมาแล้วตามอนุสนธิ ก็ในโกสัมพิยสูตรหนหลัง ตรัสสัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติมรรค ในพระสูตรนี้พึงทราบว่า ตรัสสัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติผล. บทวา อณุํ คือ มีโทษน้อย. บทว่า ถูลํ คือมีโทษมาก. คําที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาสามคามสูตรที่ ๔