[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 221
เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๕
๘. วัชชิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัชชิตเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 221
๔. วัชชิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัชชิตเถระ
[๓๐๕] ได้ยินว่า พระวัชชิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อเรายังเป็นปุถุชน มืดมนอยู่ไม่เห็นอริยสัจ จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาอยู่ในคติทั้งหลาย ตลอดกาลนาน บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว กำจัดสงสารได้แล้ว คติทั้งปวงเราก็ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ มิได้มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 222
อรรถกถาวัชชิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระวัชชิตเถระ เริ่มต้นว่า สํสรํ ทีฆมทฺธานํ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทั้งหลาย เข้าไปสั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในปัจจันตคามแห่งหนึ่ง ในกัปที่ ๖๕ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นพรานป่าท่องเที่ยวไป วันหนึ่ง ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า อุปสันตะ ผู้อยู่ในถ้ำแห่งภูเขา เขาเห็นความสงบระงับของท่าน แล้วมีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วยดอกจำปา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลที่มั่งคั่งในแคว้นโกศลในพุทธุปบาทกาลนี้ จำเดิมแต่วันที่เขาเกิด พอถึงมือมาตุคาม ก็ร้องไห้ ได้ยินว่าเขาจุติจากพรหมโลกมาในมนุษยโลกนี้ เพราะเหตุที่เขาทนการถูกต้องของมาตุคามไม่ได้ ฉะนั้น จึงได้นามว่า วัชชิตะ เพราะเว้นจากการถูกต้องของมาตุคาม เขาเจริญวัยแล้ว เห็นยมกปาฏิหาริย์ของพระศาสดา แล้วได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในวันนั้นเอง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน อปทานว่า
พระสัมพุทธเจ้า ผู้สงบระงับ อาศัยอยู่ในระหว่างภูเขา เราถือเอาดอกจำปาดอกหนึ่ง เข้าไปหาท่านผู้สูงสุดกว่านระ มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ประคองด้วยมือทั้งสอง บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 223
ผู้เป็นมุนีอันอุดม ผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ ในกัปที่ ๖๕ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ระลึกบุพเพนิวาสญาณของตนได้ ได้กล่าวคาถาสองคาถา ด้วยธรรมสังเวช ความว่า
เมื่อเรายังเป็นปุถุชน มืดมนอยู่ ไม่เห็นอริยสัจ จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาอยู่ในคติทั้งหลายตลอดกาลนาน บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว กำจัดสงสารได้แล้ว คติทั้งปวงเราก็ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํสรํ แปลว่า ท่องเที่ยววนเวียนไปมา ได้แก่ท่องเที่ยวไปอยู่ ได้แก่ แล่นไปๆ มาๆ ในภพนั้นๆ ด้วยการยึดและปล่อย.
บทว่า ทีฆมทฺธานํ (ตลอดกาลนาน) ความว่า ท่องเที่ยวไปในสงสาร อันไม่รู้เบื้องต้นและที่สุดไม่ปรากฏ ตลอดกาลนาน คือตลอดกาลหาประมาณมิได้ในคติทั้งหลาย. บทว่า คตีสุ ความว่า ในสุคติและทุคติทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งกรรมทั้งหลาย ที่ตนทำดี ทำชั่ว. บทว่า ปริตสฺสํ (วนเวียนไปมา) ความว่า เมื่อหมุนไปรอบๆ ดุจเครื่องสูบน้ำ ชื่อว่า วนเวียนไปๆ มาๆ ด้วยอำนาจแห่งการจุติและอุปบัติ. ก็พระเถระกล่าวเหตุแห่งการท่องเที่ยววนเวียนนั้นว่า เมื่อเรายังเป็นปุถุชน มืดมนอยู่ ไม่เห็นอริยสัจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 224
ประกอบความว่า บุคคลเมื่อไม่เห็นอริยสัจทั้งหลาย มีทุกขสัจ เป็นต้น ด้วยญาณจักษุ เพราะยังไม่ได้แทงตลอด ชื่อว่า เป็นคนบอด เพราะความมืดมน คืออวิชชานั่นเอง ชื่อว่า เป็นปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย อันให้เกิดความหนา (กิเลส) เป็นต้น จักวนเวียนไปในคติทั้งหลาย เพราะความที่ตนยังเป็นปุถุชน. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ ทั้งเรา และเธอทั้งหลาย จึงวิ่งไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว อย่างนี้ตลอดกาลนาน "
เมื่อเรานั้น ยังเป็นปุถุชนอยู่ในกาลก่อน โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล บัดนี้ ไม่ประมาทแล้ว โดยนัยอันพระศาสดาทรงประทานแล้ว ยังสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ให้ถึงที่สุดแล้ว ด้วยข้อปฏิบัติคือความไม่ประมาท ตั้งอยู่แล้ว.
บทว่า สํสารา วนฬีกตา (กำจัดสงสารได้แล้ว) ความว่า กรรมกิเลสทั้งหลายอันได้นามว่า สงสาร เพราะเป็นที่ท่องเที่ยวไปของสัตว์ทั้งหลาย อันเรากระทำให้หมดราก เพราะตัดขาดได้แล้วด้วยมรรคอันเลิศ ดังไม้อ้อที่มีรากปราศไปแล้ว.
บทว่า สพฺพา คตี สมุจฺฉินฺนา (คติทั้งปวงเราก็ตัดขาดแล้ว) ความว่า คติทั้งหลายแม้ทั้งปวง มีนรกเป็นต้น ชื่อว่า อันเราตัดขาดแล้ว คือ กำจัดแล้ว โดยชอบทีเดียว เพราะกรรมวัฏ และกิเลสวัฎทั้งหลาย เราตัดได้ขาดแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุ นั้นแล บัดนี้จึงไม่มีภพใหม่อีกต่อไป. ก็และคาถาทั้ง ๒ นี้แหละ ได้เป็น คาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ ดังพรรณนามานี้แล.
จบอรรถกถาวัชชิตเถรคาถา