๒. ปริญญาสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรกําหนดรู้และความกําหนดรู้
โดย บ้านธัมมะ  6 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36779

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 61

๒. ปริญญาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรกําหนดรู้และความกําหนดรู้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 61

๒. ปริญญาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้และความกำหนดรู้

[๕๔] กรุงสาวัตถีฯ ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้และความกำหนดรู้ เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้.

[๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความกำหนดรู้เป็นไฉน คือ ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าความกำหนดรู้.

จบ ปริญญาสูตรที่ ๒

อรรถกถาปริญญาสูตรที่ ๒

ในปริญญาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปริญฺเยฺเย แปลว่า พึงกำหนดรู้ อธิบายว่า พึงก้าวล่วงด้วยดี. บทว่า ปริญฺํ ได้แก่ กำหนดรู้ล่วงส่วน อธิบายว่า ก้าวล่วงด้วยดี.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 62

บทว่า ราคกฺขโย เป็นต้น เป็นชื่อของพระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพานนั้นชื่อว่ากำหนดรู้ล่วงส่วน.

จบ อรรถกถาปริญญาสูตรที่ ๒