ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 50
อธิบาย คัมภีรภาพ ๔ อย่าง
บรรดาคัมภีรภาพทั้ง ๔ นั้น พระบาลี ชื่อว่า ธรรม เนื้อความแห่งพระบาลีนั้นนั่นแล ชื่อว่า อรรถ การแสดงพระบาลีนั้น ที่กำหนดไว้ด้วยใจนั้น ชื่อว่า เทศนา การหยั่งรู้พระบาลีและอรรณแห่งพระบาลีตามเป็นจริง ชื่อว่า ปฏิเวธ
ก็เพราะในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ธรรม อรรถ เทศนา และ ปฏิเวธ เหล่านี้อันบุคคล ผู้มีปัญญาทรามทั้งหลาย หยั่งลงได้ยากและมีที่ตั้งอาศัย ที่พวกเขาไม่พึงได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย มีกระต่าย เป็นต้น หยั่งลงได้ยาก ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงจัดว่าเป็นคุณลึกซึ้ง ก็แลบัณฑิตพึงทราบ คัมภีรภาพทั้ง ๔ ในปิฏกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎก ด้วยประการฉะนี้
[อธิบายคัมภีรภาพอีกนัยหนึ่ง]
อีกอย่างหนึ่ง เหตุ ชื่อว่า ธรรม สมจริง ดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ๑ ผลแห่งเหตุ ชื่อว่า อรรถ สมจริง ดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ว่า ความรู้ในผลแห่งเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ๒
บัญญัติ อธิบายว่า การเทศนาธรรมตามธรรม ชื่อว่า เทศนา
การตรัสรู้ ชื่อว่า ปฏิเวธ ก็ปฏิเวธนั้น เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ คือ ความรู้รวมลงในธรรมตามสมควรแก่อรรถ ในอรรถตามสมควรแก่ธรรม ในบัญญัติตามสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยวิสัย และโดยความไม่งมงาย ๓
บัดนี้ ควรทราบ คัมภีร์ทั้ง ๔ ประการ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎกเพราะเหตุที่ธรรมชาต หรืออรรถชาตใดๆ ก็ดี อรรถ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงให้ทราบ ย่อมเป็นอรรถ มีหน้าเฉพาะต่อญาณของนักศึกษาทั้งหลาย ด้วยประการใดๆ เทศนา อันส่องอรรถนั้นให้กระจ่าง ด้วยประการนั้นๆ นี้ใดก็ดี
ปฏิเวธ คือ ความหยั่งรู้ ไม่วิปริตในธรรม อรรถ และ เทศนานี้ใด ก็ดีในปิฎกเหล่านี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ ทั้งหมดนี้ อันบุคคลผู้มีปัญญาทรามทั้งหลาย มิใช่ผู้มีกุศลสมภารได้ก่อสร้างไว้ พึงหยั่งถึงได้ยาก และ ที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น หยั่งถึงได้ยาก ฉะนั้น
ก็พระคาถานี้ว่า บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา ศาสนา กถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ ในปิฎกเหล่านั้นตามสมควร ดังนี้ (๑-๒ อภิ. วิ. ๓๕/๓๙๙. ๓. สารตฺถทีปนี. ๑/๑๒๒) อธิบายว่า ในความตรัสรู้ เป็นโลกิยะ และ โลกุตระนั้น ความหยั่งรู้ เป็นโลกิยะ มีธรรม มีอวิชชา เป็นต้น เป็นอารมณ์ มีสังขาร มีอรรถ เป็นต้น เป็นอารมณ์ มีการให้เข้าใจธรรมและอรรถทั้งสองนั้น เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ความรู้ รวมลงในธรรม เป็นต้น ตามสมควรแก่อรรถ เป็นต้น โดยวิสัย
ส่วนความตรัสรู้ เป็นโลกุตระนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์ สัมปยุตด้วยมรรค มีการกำจัดความงมงายในธรรม
... ขออนุโมทนา ...
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น