ทุกข์ เป็นไฉน
วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ สภาวธรรมที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากแห่งกรรมและรูปทั้งหมด
นี้เรียกว่า ทุกข์
ทุกขนิโรธ เป็นไฉน
การละตัณหา ละกิเลสที่เหลือ ละสภาวธรรมที่เป็นอกุศลที่เหลือ ละกุศลมูล ๓
ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และละสภาวธรรมที่เป็นกุศลที่เหลือซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ
นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๑๘๑}
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
-ก่อนอื่นก็ควรที่จะได้เข้าใจก่อนว่า ทุกข์ ซึ่งเป็นทุกขอริยสัจจ์ หมายถึงอะไร
ทุกขอริยสัจจ์ หมายถึง ความจริงอย่างประเสริฐคือสภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ สภาพธรรมที่เกิดดับ และทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ คือ จิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ ซึ่งเป็นโลกิยธรรมทั้งหมด จิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ เป็นความจริงอย่างประเสริฐ เพราะผู้ที่ตรัสรู้ความจริงแห่งธรรมที่เป็นทุกข์ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้เข้าถึงความประเสริฐ คือ เปลี่ยนจากความเป็นปุถุชน เป็น พระอริยบุคคล
ดังนั้น สภาพธรรมที่เป็นทุกข์ เป็นไปในฝ่ายเกิด ซึ่งเป็นโลกิยธรรม ย่อมเป็นที่ตั้งที่ยึดถือของอาสวะได้ทั้งหมด แต่ถ้าเป็นธรรมที่เป็นโลกุตตระ คือ มรรคจิต ผลจิต และ นิพพาน แล้ว ไม่ได้เป็นไปในฝ่ายเกิด แต่เป็นไปในฝ่ายดับวัฏฏะ ดับทุกข์ดับกิเลส ย่อมไม่เป็นที่ตั้งที่ยึดถือของกิเลสใดๆ ได้เลย
จากคำถามที่ ๑ จึงพิจารณาได้ว่า สภาพที่เป็นทุกข์ เฉพาะที่ปรากฏในพระพุทธพจน์นี้ ได้แก่ อกุศลวิบาก กามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจวิบาก และ กิริยาทั้งหมด
(เมื่อกล่าวถึง จิต แล้ว ก็ต้องหมายรวมถึงเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดประกอบพร้อมกับจิต ด้วย) และ รูปทั้งหมด ครับ
-ทุกขนิโรธ เป็นสภาพธรรมที่ดับทุกข์ ได้แก่ พระนิพพาน ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...
ขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ