ภวสมบัติและโภคสมบัติ เป็นผลของสรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ
โดย pirmsombat  26 มี.ค. 2556
หัวข้อหมายเลข 22683

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจาก

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

แต่ทั้งภวสมบัติ ทั้งโภคสมบัติ ก็เป็นผลของสรณคมน์ที่เป็นโลกิยะนั่นเอง.

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ

ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ เขาละกายมนุษย์

แล้ว จักทำกายเทพให้บริบูรณ์ ดังนี้.

ท่านกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อม

ด้วยเทวดา ๘๔,๐๐๐ เข้าไปหาท่านมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ฯลฯ

ท่านมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้กะท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ยืนอยู่ ณ ที่อัน

สมควรว่า ดูก่อนจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ มีประโยชน์

จริง ดูก่อนจอมเทพ เพราะเหตุที่ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั่นแหละ

สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เขาทั้งหลายย่อมเหนือเทวดาอื่นๆ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์

วรรณะทิพย์ สุข ยศ อธิปไตยทิพย์ รูป เสียง กลิ่น รส และ

โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์. ในพระธรรมและพระสงฆ์ก็นัยนี้. อีกอย่าง

หนึ่ง พึงทราบผลวิเศษแห่งสรณคมน์ แม้ด้วยอำนาจเวลามสูตรเป็นต้น

ผลแห่งสรณคมน์พึงทราบอย่างนี้. แลในสรณคมน์ ๒ อย่างนั้น สรณคมน์

ที่เป็นโลกิยะ ย่อมเศร้าหมองด้วยไม่รู้ สงสัย และรู้ผิดเป็นต้น ในพระ-

รัตนตรัย ย่อมไม่มีผลรุ่งโรจน์ ไม่มีผลแผ่ไพศาล. สรณคมน์ที่เป็น

โลกุตระไม่มีเศร้าหมอง. อนึ่ง สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ มี ๒ ชนิด คือ

ชนิดมีโทษ ๑ ชนิดไม่มีโทษ ๑. ใน ๒ ชนิดนั้น ชนิดมีโทษย่อมมีได้

ด้วยการมอบถวายตนในศาสดาอื่นเป็นต้น ชนิดนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา.

ชนิดไม่มีโทษ ย่อมมีได้ด้วยกาลกิริยา [ตาย] ชนิดนั้นไม่มีผลเพราะ

ไม่มีวิบาก. ส่วนสรณคมน์ที่เป็นโลกุตระไม่มีขาดเลยทีเดียว. ด้วยว่า

แม้ในระหว่างภพ พระอริยสาวกก็ไม่อุทิศศาสดาอื่น พึงทราบความเศร้า

หมอง และความขาดแห่งสรณคมน์อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อุปาสกํ มํ ภวํ โคตโม ธารตุ ความว่า ขอท่าน

พระโคดมผู้เจริญจงทรงจำ คือจงทรงทราบข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็น

อุบาสก ดังนี้. เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเรื่องของอุบาสก พึงทราบข้อ

เบ็ดเตล็ดในที่นี้ดังนี้ว่า อุบาสกคือใคร เหตุไรจึงเรียกอุบาสก อุบาสกมี

ศีลเท่าไร มีอาชีวะอย่างไร มีวิบัติอย่างไร มีสมบัติอย่างไร. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า โก อุปาสโก ได้แก่ คฤหัสถ์บางคนที่ถึงสรณะสาม. สมจริง

ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหานามะ บุคคลเป็นอุบาสกด้วยเหตุใดแล บุคคล

เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์

เป็นสรณะ ดูก่อนมหานามะ บุคคลย่อมเป็นอุบาสกด้วยเหตุเพียงนี้แล.

ถามว่า เหตุไรจึงเรียกอุบาสก แก้ว่า เรียกว่า อุบาสก เพราะนั่งใกล้

พระรัตนตรัย คือเรียกเขาว่า อุบาสก เพราะนั่งใกล้พระพุทธเจ้า เรียก

ว่าอุบาสก เพราะนั่งใกล้พระธรรม พระสงฆ์. ถามว่า อุบาสกมีศีล

เท่าไร แก้ว่า มีเจตนาเครื่องงดเว้นบาป ๕ ข้อ. อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อน

มหานามะ ด้วยเหตุใดแล อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้งด

เว้นจากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา

คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนมหานามะ อุบาสก

ย่อมมีศีลด้วยเหตุเพียงนี้แล. ถามว่า มีอาชีวะอย่างไร แก้ว่า ละเว้น

การค้าขายที่ผิด ๕ อย่าง เลี้ยงชีพโดยธรรมโดยเหมาะสม. สมจริงดังที่

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่าง อุบาสกไม่พึงกระทำ

๕ อย่างอะไรบ้าง คือขายศัสตรา ขายสัตว์ ขายเนื้อ ขายน้ำเมา ขาย

ยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่

พึงกระทำ. ถามว่า มีวิบัติอย่างไร แก้ว่า ศีลวิบัติและอาชีววิบัตินั้น

แหละ เป็นวิบัติของอุบาสก. อีกอย่างหนึ่ง กิริยาที่เป็นเหตุให้อุบาสกนี้

เป็นผู้ต่ำช้า มัวหมอง เลวทราม แม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวิบัติของ

อุบาสกนั้น. กิริยาที่ว่านั้น โดยความก็คือธรรม ๕ ประการมีความเป็นผู้

ไม่มีศรัทธาเป็นต้น . เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสก

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกต่ำช้า เป็นอุบาสกมัว

หมอง เป็นอุบาสกเลวทราม ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือเป็นผู้ไม่มี

ศรัทธา ๑ ทุศีล ๑ ถือมงคลตื่นข่าว คิดเชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑

แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา ๑ ไม่บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา ๑

ดังนี้ . ถามว่า มีสมบัติอย่างไร. แก้ว่า ศีลสมบัติและอาชีวสมบัตินั่น

แหละ เป็นสมบัติของอุบาสก ธรรม ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้น

ทำอุบาสกนั้นให้เป็นอุบาสกแก้วเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสก

แก้ว อุบาสกปทุม และอุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง

คือเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีลบริสุทธิ์ ๑ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม

ไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา ๑ บำเพ็ญบุญแต่ใน

พุทธศาสนา ๑ ดังนี้.

อคฺค ศัพท์ ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ ย่อมปรากฏในความว่า

(แปลว่า) เป็นต้น ปลาย ส่วน และประเสริฐที่สุด. ปรากฏในความ

ว่า เป็นต้น ในประโยคเป็นต้นว่า แน่ะนายประตูเพื่อนรัก ตั้งแต่วันนี้

เป็นต้นไป ท่านจงกันประตูพวกนิครนถ์ ชายหญิง ดังนี้. ในความว่า

ปลาย ในประโยคเป็นต้นว่า พึงเอาปลายนิ้วนั่นแหละจดปลายนิ้ว ปลาย

อ้อย ปลายไผ่ ดังนี้ . ในความว่า ส่วน ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แบ่งส่วนของมีรสเปรี้ยว หรือส่วนน้ำผึ้ง ตาม

ส่วนของวิหาร หรือตามส่วนของบริเวณ ดังนี้. ในความว่า ประเสริฐที่สุด

ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ

บรรดาสัตว์เหล่านั้น เรากล่าวพระตถาคต ว่าประเสริฐที่สุด ดังนี้. ก็ในที่นี้

อคฺค ศัพท์นี้ พึงเห็นในความว่า เป็นต้น. ฉะนั้น ในบทว่า อชฺช-

ตคฺเค นี้ พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ทำวันนี้ให้เป็นต้น (ตั้งต้นแต่วันนี้

เป็นต้นไป) บทว่า อชฺชตํ แปลว่า ความเป็นวันนี้. ปาฐะว่า

อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี. อักษรทำหน้าที่เชื่อมบท. ความว่า ทำวันนี้ให้

เป็นต้น .

บทว่า ปาณุเปตํ ความว่า เข้าถึงด้วยลมปราณทั้งหลาย คือเข้า

ถึงชั่วเวลาที่ชีวิตของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่.

ขอท่านพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำ คือทรงทราบข้าพระองค์ว่าไม่มีศาสดาอื่น

เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะด้วยไตรสรณคมน์ เป็นกัปปิยการก

ถ้าแม้จะมีใครเอาดาบคมกริบมาตัดศีรษะของข้าพระองค์

ข้าพระองค์ก็จะไม่ยอมกล่าวพระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้า

พระธรรมว่าไม่ใช่พระธรรม หรือพระสงฆ์ว่าไม่ใช่พระสงฆ์

พราหมณ์ (ไม่ปรากฏนาม)

ถึงสรณะด้วยการมอบถวายตน

อย่างนี้.

ด้วยประการฉะนี้ ปวารณาด้วยปัจจัย ๔ แล้วลุกจากอาสะ ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณ รอบแล้วหลีกไป แล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 26 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ มีด้วยการหลายแบบ หลายวิธี แต่ ไม่ว่าจะด้วย

วิธีใด ต้องเกิดจากกุศลจิต เกิดศรัทธา เพราะอาศัยปัญญาที่เข้าใจพระธรรม จึง

เกิดความเลื่อมใสของถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง กุศลจิตที่เกิดจากการ

บูชา ระลึกถึง ขอเป็นที่พึ่งในพระรัตนตรัยย่อมนำมาซึ่งวิบากที่ดี เพราะเป็นกุศลจิต

ที่ระลึกในวัตถุที่เลิศ คือ พระรัตนตรัย อันนำมาซึ่งภพภูมิที่ดี ที่ไ่ด้เกิด คือ เกิดใน

สุคติภูมิ และ นำมาซึ่ง โลกิยสมบัติ เช่น ทรัพย์สิน เงินทอง เป็นต้น และนำมาซึ่ง

โลกุตตรสมบัติ อันเป็นสมบัติประเสริฐสูงสุด เพราะ ทำให้สัตว์โลก พ้นจากกิเลส

พ้นจากทุกข์ไ้ได้ เพราะ เกิดจิตที่มีปัญญารู้ความจริง

การจะได้สมบัิติที่เลิศ จากการถึงพระรัตนตรัยที่ถูกต้อง ก็ด้วยเมื่อมีพระรัตนตรัย

เป็นที่พึ่ง ไม่ใช่เราไปพึ่ง ด้วยให้พ้นภัยทางโลก แต่ พึ่งเพื่อพ้นภัย คือ กิเลสที่เป็น

เหตุแห่งทุกข์ การพึ่งที่ถูกต้อง คือ ด้วยการศึกษาพระธรรม ตามที่พระพุทธเจ้าทรง

แสดง ปัญญาที่เกิดขึ้นกับตนเองนั่นแหละ จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริง และคุณธรรม ความ

ดีที่เกิดขึ้นในจิตใจ มีปัญญา เป็นต้น เป็นทรัพย์ที่ประเสริฐที่สุด อันเกิดจกาการพึ่ง

พระรัตนตรัย โดยการศึกษาพระธรรม ครับ

ขออนุโมทนาคุณหมอ ที่นำพระสูตรดีๆ มาให้พิจารณาอ่านกัน ครับ


ความคิดเห็น 2    โดย pirmsombat  วันที่ 26 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณผเดิม คุณคำปั่น เป็นประโยชน์มากครับ


ความคิดเห็น 3    โดย ธนัตถ์กานต์  วันที่ 26 มี.ค. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย khampan.a  วันที่ 26 มี.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ย่อมหมายถึง ยอมรับนับถือเคารพพระรัตนตรัยว่า

เป็นสิ่งสูงสุด และด้วยการศึกษารู้คุณของพระรัตนตรัย ซึ่งจะขาดความเข้าใจถูกเห็น

ถูกไม่ได้เลย

พระพุทธเจ้า เป็นรัตนะ เพราะทำให้ผู้อื่นได้เกิดปัญญาความเข้าใจที่ถูกต้อง

พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นรัตนะ เพราะทำให้ผู้ที่ได้ฟัง มีความเข้าใจถูกเพิ่มขึ้น

ได้เข้าใจความจริงจนกระทั่งประจักษ์แจ้งความจริงตามที่ได้ฟังจนถึงความเป็นพระสังฆ

รัตนะ คือ สาวกผู้ที่ได้ฟังพระธรรมและดับกิเลสได้ตามพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง

ผู้ที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เมื่อศึกษารู้คุณแล้ว ย่อมประพฤติปฏิบัติตามคำสอน

ของพระรัตนตรัย พึ่งด้วยการปฏิบัติตามคำสอนแล้ว เกิดปัญญารู้ตามที่ทรงแสดง

ด้วยสติปัญญาของตน จนละกิเลสพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ อย่างนี้ชื่อว่า การถึงพระ

รัตนตรัยอย่างสูงสุด เป็นการพึ่งเพื่อให้เกิดปัญญาของตนเองโดยอาศัยพระธรรม

ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งเป็นไปเพื่อปัญญาโดยตลอด ตั้งแต่ต้นจนถึง

ที่สุด ครับ

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนา คุณหมอ, อ. ผเดิม และทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 5    โดย nong  วันที่ 27 มี.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย kinder  วันที่ 27 มี.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย นิรมิต  วันที่ 28 มี.ค. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย orawan.c  วันที่ 26 มิ.ย. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ