เรื่องมโนกรรม
โดย tstaiga  25 พ.ย. 2555
หัวข้อหมายเลข 22093

มีคำถามเกี่ยวกับ มโนกรรม ค่ะ

คือเรื่องความคิดนั้นเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ แต่ถ้าความคิดไม่ดีเกิดขึ้นมันจะเป็นกรรมไม่ดี ที่เรียกว่ามโนกรรมใช่หรือเปล่าคะ แล้วหากว่า เมื่อคิดไม่ดีขึ้นมาแวบหนึ่งแล้ว ก็มีความคิดอีกความคิดขึ้นมาค้านว่า ไม่ใช่ แบบนี้เรียกว่า ความคิดไม่ดีที่เกิดขึ้นแวบแรกนั้น เป็นมโนกรรมหรือเปล่า เป็นเรื่องที่สงสัยมานานแล้วน่ะค่ะ เพราะว่า ความคิดนั้น ควบคุมไม่ได้ แล้วแบบนี้ จะควบคุมไม่ให้ทำมโนกรรมได้ยังไง



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 26 พ.ย. 2555

มโนกรรมเป็นเรื่องละเอียดมาก มีหลากหลายนัย

มโนกรรม คือ กรรมที่เกิดขึ้นทางใจ ซึ่งขณะใดที่อกุศลจิต เช่น ชอบอาหาร ขณะนั้นเป็นมโนกรรมที่เป็นมโนทุจริตแล้ว แต่เป็นอกุศลจิตที่ไม่มีกำลัง จึงไม่ให้ผลเป็นวิบาก แต่อกุศลจิตที่มีกำลัง มีการคิดจะฆ่า เบียดเบียน เป็นต้น และถึงกับมีการฆ่าได้ ชื่อว่าเป็นมโนกรรม ให้ผลมีวิบาก มีการเกิดในอบายภูมิ เป็นต้น ครับ

ดังนั้น ที่ผู้ถามเกิดอกุศลจิตที่ไม่มีกำลัง เป็นมโนกรรม โดยนัย อกุศลจิตไม่ได้ให้ผลให้ไปอบายภูมิ ครับ

แต่อกุศลจิตทุกประเภทควรเห็นโทษด้วยปัญญา อันจะมาจากการศึกษาพระธรรม ครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย jaturong  วันที่ 27 พ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 3    โดย วิริยะ  วันที่ 27 พ.ย. 2555

เรียนถาม

มโนกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน คงจะมิใช่ว่าไม่มีผลเลย ใช่หรือไม่คะ ยกตัวอย่างเช่น ความโลภแบบหยาบๆ ที่เห็นได้อย่างชัดเจน อาทิ อยากได้ของสวยๆ งามๆ เวลาไปเดินตามห้าง เห็นอะไรก็อยากได้ไปหมด เป็นต้น อกุศลจิตเหล่านี้ สะสมมากๆ ก็มีแต่จะเพิ่มพูน สะสมไปทุกๆ วัน ทุกๆ ชาติ ก็มีกำลังได้ เป็นเช่นนั้นหรือไม่คะ


ความคิดเห็น 4    โดย paderm  วันที่ 27 พ.ย. 2555

เรียน ความเห็นที่ 3 ครับ

อกุศลจิตที่เกิดบ่อยๆ แต่ไม่มีกำลังจนถึงกับทำทุจริต มีการขโมย เป็นต้น ยังไม่ให้ผลเป็นวิบาก แต่สะสมเป็นอุปนิสัยที่มีกำลัง จนอาจทำให้ทำทุจริตได้ในอนาคต ครับ


ความคิดเห็น 5    โดย tstaiga  วันที่ 27 พ.ย. 2555

ขอสอบถามเพื่อความเข้าใจมากขึ้นนะคะ

ปกติแล้ว ดิฉันได้มองตัวเองบ้าง เผลอหลงไปคิดเรื่องต่างๆ บ้าง แต่จะสังเกตได้คือ ช่างติ แบบว่าติคนอื่นเขาไปทั่ว (ในความคิดชั่วแวบที่อยู่ๆ ก็ผุดขึ้นมาเอง) แล้วส่วนใหญ่ก็มองเห็นทันว่า นี่ติอีกแล้ว

เช่น เวลาขึ้นรถเมล์ เห็นผู้หญิงลุกให้คนแก่นั่ง ใจก็ติไปถึงผู้ชายที่นั่งข้างๆ ทำไมไม่ลุก ให้ผู้หญิงลุก พอติเสร็จก็นึกได้ว่า ติอีกแล้ว แวบแรกแทนที่จะรู้สึกดี ที่เห็นคนมีน้ำใจลุกให้คนแก่นั่ง แต่ดันไปติคนที่ไม่ลุกให้นั่งแทน แต่ความคิดนี้ มันขึ้นมาเพียงไม่กี่วินาทีก็รู้สึกตัว ก็คิดเปลี่ยนเป็นว่า เขาอาจไม่สะดวกที่จะลุกก็ได้

แสดงว่าดิฉันได้ทำมโนกรรม มีจิตอกุศลไปแล้วใช่ไหมคะ แล้วจะมีวิธีอะไรที่จะมาระงับจิตอกุศลนี้ได้บ้าง เพราะสังเกตตัวเองมานานแล้วค่ะว่า ชอบไปติคนอื่นแม้กระทั่งตอนเดินฟุตบาท คนข้างหน้าเดินช้าก็ติ ก็หงุดหงิด คนข้ามถนนก็ติ แม้กระทั่งคนตาบอดเดินร้องเพลง เพื่อแลกเงิน เดินช้าก็ติ ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ควร (แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบข้างต้น คือติได้ไม่กี่วินาทีก็รู้ตัว แล้วก็เลิกติ)

ขอขอบคุณสำหรับคำตอบและขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 27 พ.ย. 2555

เรียน ความเห็นที่ 5 ครับ

สําหรับผู้ที่เป็นปุถุชนย่อมจะเกิดอกุศลเป็นปกติ ซึ่งอกุศลจิตที่คิดติเตียนผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาแต่ไม่มีกำลัง เพราะยังไม่ล่วงออกมาทางกาย วาจา ครับ จึงไม่ให้ผลเป็นวิบาก การอบรมปัญญาด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ย่อมจะเกื้อกูลให้เป็นผู้ที่คิดดีมากขึ้น ครับ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 7    โดย khampan.a  วันที่ 28 พ.ย. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เพียงแค่คิดไม่ดี ก็เป็นอกุศลจิตแล้วในขณะนั้น ถ้าสะสมมากขึ้นๆ ไม่เห็นโทษของอกุศลที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ก็อาจจะเป็นเหตุให้ล่วงเป็นทุจริตกรรมทางหนึ่งทางใดได้ เป็นการสะสมเหตุที่ไม่ดีให้กับตนเอง ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดผลที่ไม่ดีในภายหน้าโดยที่ไม่มีใครทำให้เลย นอกจากตนเองเท่านั้น เพราะความประมาทเพียงนิดเดียว ก็อาจจะพลิกชีวิตไปสู่ภพภูมิที่ต่ำคืออบายภูมิได้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 8    โดย nopwong  วันที่ 28 พ.ย. 2555

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 9    โดย rrebs10576  วันที่ 29 พ.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย Boonyavee  วันที่ 1 ธ.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย natre  วันที่ 3 ธ.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 13    โดย one_someone  วันที่ 1 ส.ค. 2556

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 14    โดย chatchai.k  วันที่ 8 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 15    โดย ค่อยๆศึกษา  วันที่ 28 ส.ค. 2564

ขอบคุณมากครับ

ขออนุโมทนาครับ